ภาพยนตร์สืบสวนสอบสวน กำกับโดย ดาวิด ฟินเชอร์ นำแสดงโดยนักแสดงมากฝีมือทั้ง แบรด์ พริต มอร์แกน ฟรีแทน เคววิน สเปย์ซี่ แกรนิธ แพธโธว์ เป็นภาพยนตร์ระทึกขวัญที่ติดตึงใจผู้ชม และยังเป็นที่กล่าวถึงอยู่เสมอในสื่อออนไลน์ แม้แต่ใน Pantip ก็ยังมีพูดถึง หลายคนยกให้เป็นภาพยนตร์ในดวงใจ หลายคนต้องตั้งกระทู้และกล่าวว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่จะต้องหยิบมาเปิดดูอย่างน้อยปีละครั้ง หลายคนถึงกลับดูคนเดียวไม่ได้ ต้องชวนญาติสนิท มิตรสหาย แม้แต่คู่กัดมานั่งดูเป็นเพื่อน ทั้งที่ไม่ใช่ภาพยนตร์เขย่าขวัญ ผีหลอนวิญญาณโหด
สำหรับใครที่ไม่เชื่อและยังไม่เคยดู หากมีโอกาสสักครั้งจะต้องหามารับชม ติด 1 ใน 250 ภาพยนตร์ที่มีคะแนนโหวตมากที่สุดใน IMDB เท่านี้ก็พอจะการันตีว่า อย่างน้อยคงไม่ใช่หนังที่รู้สึก “เสียดาย” เวลา
เรื่องย่อเท่าที่เปิดเผยในภาพยนตร์ตัวอย่าง ว่าด้วยนักสืบคดีอาชญากรรมแห่งมหานครนิวยอร์ค รุ่นเก่าลายคราม “โซโมเซท” (มอร์แกน ฟรีแมน) ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ กับนักสืบรุ่นใหม่ไฟแรง “มิวส์” (แบรด พิตต์) ทั้งสองต้องมาสืบคดีฆาตกรรม สะเทือนขวัญที่ฆาตกรมีแรงจูงใจในการฆ่าคือ บาปทั้ง 7 ตามคัมภัร์ไบเบิ้ล
และฆาตกรรายนี้ก็เข้าข่ายมีความฉลาด แยบยล หาตัวจับยาก ไม่ทิ้งหลักฐานใด ๆ ไว้ให้เจ้าหน้าที่ มีเพียงปมปริศนาที่ฆาตกรต้องการจะเปิดเผยให้ตำรวจและสังคมได้รับรู้ถึงเจตนาของเขา
ความน่าสนใจก็คือ ตำรวจอายุใกล้เกษียณกับนักสืบรุ่นใหม่ที่ต้องมาเป็นคู่หูกัน จะจับฆาตกรได้หรือไม่ เพราะบาปทั้งเจ็ด ย่อมหมายถึงเป้าหมายของฆาตกรที่ต้องการจะฆ่าคนทั้ง 7 คน
การเมืองและความยุติธรรม
“จะจับโจรต้องทำแบบโจร เพื่อนำโจรมารับผิดตามกระบวนการยุติธรรม”
ในภาวะที่อับจนหนทาง ไร้เป้าหมายและมืดแปดด้าน หากการเดินบนหนทางที่ถูกต้องมีแต่จะพาไปให้เห็นความรู้สึกเหล่านั้น เราจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ในฉากสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ โซโมเรทถามมิวส์ว่า มีเงินอยู่ในตัวเท่าไร เมื่อมิวส์ตอบว่า มีอยู่ 50 ดอลล่าร์ โซโมเรทก็ชวนมิวส์ไปร้านพิซซ่าเพื่อไปเจคน ๆ หนึ่ง
และคน ๆ นั้นก็คือ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เขามาหาโซโมเรทด้วยท่าทีที่ไม่ชอบและร้อนรนแต่ก็ต้องยอมทำตามเพราะ “เงินใต้โต๊ะ” ที่โซโมเรทยื่นให้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอเพื่อให้เขาไปทำภารกิจ “มืด” บางอย่าง และเป็นภารกิจที่มิวส์เองก็ไม่รู้และต้องการให้โซโมเรทอธิบายให้ฟัง
โซโมเรทอธิบายว่า เอฟบีไอมีฐานข้อมูลห้องสมุดทุกแห่งในสหรัฐเพื่อคอยทำบันทึกผู้ที่ยืมหนังสือออกจากห้องสมุด โดยทีใครก็ตามที่ยืมหนังสือที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปั่นป่วนแก่รัฐ เช่น หนังสือผลิตระเบิด ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ หนังสือฆาตกรรมและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีการยืมเอฟบีไอก็จะบันทึกเป็นฐานข้อมูลไว้ว่า ใครเคยยืมหนังสือเหล่านี้ และหากเกิดเหตุการณ์ระเบิด เกิดคดีฆาตกรรมแปลก ๆ ที่ไม่ได้มีแรงจูงใจมาจากเรื่องส่วนตัว บรรดาบุคคลที่เคยยืมหนังสือก็จะเป็นอีกกลุ่มคนที่ต้องสงสัย
แน่นอนว่า เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราตั้งคำถามว่า แบบนี้มันไม่ผิดกฎหมายหรอ ไม่ผิดหรือที่เอฟบีไอจะทำฐานข้อมูลคนที่หยิบยืมหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้แจ้งให้สาธารณชนรับทราบ
แล้วไม่ใช่เราที่ตั้งคำถามเท่านั้น แม้แต่ นักสืบมิวส์ก็ตั้งคำถามกับโซโมเรท ในทำนองนี้เช่นกัน แต่โซโมเรทไม่ได้ตอบคำถามนี้ตรง ๆ เขาเพียงบอกกับมิวส์ว่า ทั้งเขาและคุณไม่เคยพบเห็นเหตุการณ์นี้มาก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่เอฟบีไอก็นำรายชื่อบุคคลที่เคยยืมหนังสือที่เป็นลักษณะของคดีฆาตกรรมมาให้นักสืบทั้งสอง
แล้วกาลต่อมา รายชื่อที่นักสืบโซโมเรทยัดเงินใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำรายชื่อบุคคลออกมาจากฐานข้อมูลที่เอฟบีไอบันทึกไว้อย่างผิดกฎหมายนั้นก็นำไปสู่การเจอฆาตกรในที่สุด
ฉากนี้ทั้งหมดชวนให้เราตั้งคำถามสำคัญว่า เอาเข้าจริงแล้วหากเราจำเป็นต้องเลือกเดินในทางที่ไม่ถูกต้อง ต้องเลือกทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เราต้องทำพฤติกรรมอย่างโจรเพื่อจับโจรหรือไม่ และหากเราไม่เลือกทำอย่างโจรเราจะจับโจรได้หรือไม่ แล้วถ้าเราไม่เลือกทำอย่างโจร แต่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำตามหลักกระบวนการยุติธรรม มันจะเสียเวลาแค่ไหนกว่าจะจับตัวฆาตกรที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะต้องฆ่าคนให้ครบตามที่กำหนดไว้
แต่ที่มันตลกไปยิ่งกว่านั้นก็คือ ในฉากต่อมา นักสืบโซโมเรทก็หยุดยั้งไม่ให้นักสืบมิวส์เข้าไปในที่พักของผู้ต้องสงสัยเพราะยังไม่มีหมายค้น แต่นักสืบมิวส์กลับพังประตูเสียเข้าไปดื้อ ๆ สร้างความโกรธให้แก่นักสืบโซโมเรท แล้วสักพักนักสืบมิวส์ก็หาช่องทางเพื่อไม่ให้พฤติกรรมของตัวเองผิดกฎหมายด้วยการ “ยัดเงิน” ให้ชาวบ้านรายหนึ่งให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ที่พักห้องนี้เป็นของฆาตกร เพื่อให้สิ่งที่นักสืบมิวส์ทำเพื่อบุกเข้าไปในบ้านของฆาตกรนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แน่ใจว่าเป็นความอ่อนของบท แต่ระดับนี้คงไม่ใช่เรื่องความอ่อนหรอก แต่ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ที่ทำตามกระบวนการยุติธณรมก็ต้องละเมิดกระบวนการยุติธรรมเพื่อเป้าหมายของตัวเอง “ตำรวจก็ต้องละเมิดกฎหมายเพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษตามกฎหมาย”....เป็นประโยคที่ตลก แต่ก็เป็นตลกที่เราคงขำไม่ออกเหมือนกัน
มันก็ให้ชวนสงสัยแหละว่า การซ้อมผู้ต้องสงสัยเพื่อให้รับสารภาพ ไอ้คำรับสารภาพจะใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่ แน่นอนว่า ในชั้นศาลคงใช้ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเอามาใช้เพื่อให้หลักฐานและพยานแน่นหนาขึ้นเพื่อเอาผิดกับผู้ต้องหาล่ะ...
“กระบวนการยุติธรรม การล้างแค้น สิ่งไหนตอบสนองอารมณ์ของมนุษย์มากกว่ากัน”
ฉากสุดท้าย ไคลแมกของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ฉากที่ นักสืบมิวส์รู้ความจริงจากผู้ต้องสงสัยว่า เขาได้ฆ่าภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์และตัดหัวมาให้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานให้คำพูดของฆาตกรมีน้ำหนักมากขึ้น แม้เจ้าหน้าที่มิวส์จะไม่ให้ศีรษะของภรรยา แต่เรื่องเล่าจากฆาตกรและสีหน้า แววตาของนักสืบโซโมเรทที่เห็นศีรษะภรรยาของนักสืบมิวส์ นั่นก็มากพอแล้วที่จะทำให้นักสืบมิวส์ “เชื่อ” ได้ว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ฆ่าภรรยาของเขา
แน่นอนว่า เป็นความเชื่อที่ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนพิสูจน์หลักฐาน พยาน และไต่สวนในชั้นศาลตามกระบวนการยุติธรรม ฆาตกรรายนี้ยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยเท่านั้น ยังไม่เป็นผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน ยังไม่เป็นจำเลยในชั้นอัยการสั่งฟ้อง และยังไม่เป็นนักโทษ ยังไม่มีคำพิพากษาจากศาล ฆาตกรยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัย....ที่นักสืบมิวส์เชื่อและตัดสินไปแล้วว่า ฆาตกรต้องถูกเขาพิพากษาให้ถึงแก่ชีวิต
เพราะฉากนั้นนักสืบมิวส์ถือปืนจ่อหัวไว้ที่ฆาตกรแล้ว เหลือเพียงเขาจะเหนี่ยวไกเพื่อตอบสนองอารมณ์ความแค้น โทสะของเขาด้วยอำนาจที่เขามีในมือ หรือจะรอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ให้ฆาตกรกลายเป็นนักโทษ โดยที่นักสืบมิวส์อาจมีคำถามว่า ฆาตกรรายนี้จะสมควรได้รับโทษเท่าที่เขาอยากให้มันได้รับหรือไม่
นั่นแหละคำถามสำคัญของ “การลงโทษ” เพื่อตอบสนองอารมณ์ของมนุษย์งั้นหรือ ฉากนี้ชวนเราตั้งคำถามมาก ๆ และก็เป็นคำถามที่ภาพยนตร์หลายเรื่องก็ชวนตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมภายในจิตใจของมนุษย์เสมอว่า เราเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากแค่ไหน เรานิยามคำว่า “ลงโทษ” คืออะไร ลงโทษเพื่อตอบสนองความแค้นในใจเรา หรือลงโทษเพื่อให้นักโทษสำนึกผิด หรือลงโทษเพื่อให้สังคมไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
แน่นอนว่าหากยึดเอาตามหลักนิติศาสตร์แล้ว การลงโทษ ย่อมมีความมุ่งหวังให้นักโทษสำนึกในความผิดและกลับตัวเป็นคนดีในสังคม และมีผลสะท้อนให้คนในสังคมไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ทั้งสองนิยามอาจไม่เข้าข่ายตอบสนองนิยามของเราเลย หากนักโทษคนนั้นทำร้ายคนที่เรารัก
สำหรับคนที่ชมแล้วต่างรู้ดีว่า นักสืบมิวส์เลือกที่จะใช้อำนาจในมือฆ่าฆาตกรเสียเองเพื่อตอบสนองอารมณ์ของเขา แน่นอนเขาพ่ายแพ้ให้แก่ฆาตกรเพราะตัวฆาตกรก็มุ่งหวังให้นักสืบมิวส์ฆ่าตัวเองอยู่แล้ว ไม่เท่านั้นนักสืบมิวส์ยังกลายเป็น “ฆาตกร” เสียเองเพราะเขาไม่มีอำนาจตามกระบวนการยุติธรรมที่จะเอาปืนจ่อและยิงผู้ต้องสงสัย
แต่ ณ ขณะนั้น ในฉากนั้นก็ชวนตั้งคำถามว่า ใครมีอำนาจกันแน่ระหว่างนักสืวมิวส์กับฆาตกร หนังตอบให้เบ็ดเสร็จตามที่เล่าไปข้างต้นว่า นักสืบมิวส์แพ้ให้แก่ฆาตกร และก็กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม ซึ่งประจักษ์พยานก็จะทำให้เขาเป็นนักโทษในที่สุด
แล้วในฐานะ “สัญญาประชาคม” ที่เรามอบอำนาจให้แก่รัฐเพื่อหวังให้รัฐคุ้มครองเรา ในแง่หนึ่ง หากรัฐคุ้มครองเราและคนที่เรารักไม่ได้ล่ะ เราสามารถขอยกเลิกสัญญาประชาคมนั้นเสีย แล้วขอเขียนกฎหมายไว้บังคับใช้เองได้หรือไม่
ฉากนี้มีการตั้งกระทู้ถามกันหลายครั้งหลายคราแล้วว่า หากคุณรู้(จากความตั้งใจของฆาตกร) ว่า เขาได้ฆ่าคนที่คุณรักไปแล้ว หากคุณมีโอกาสที่จะล้างแค้น คุณจะล้างแค้นหรือจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม รอให้ฆาตกรได้รับโทษตามกฎหมาย
มันก็สะท้อนกลับมาว่า เอาจริง ๆ แล้ว เราเชื่อมั่นในคำว่า “ความถูกต้อง” มากแค่ไหนหากชีวิตเราเจอแต่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ติดตาม แลกเปลี่ยนและวิจารณ์ พูดคุยพบเจอกันได้ที่นี้
"เพจมองมุมหนัง"
https://www.facebook.com/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87-1824801794428920/
“มองมุมหนัง” –การเมืองและความยุติธรรม- ใน ภาพยนตร์ SE7EN
สำหรับใครที่ไม่เชื่อและยังไม่เคยดู หากมีโอกาสสักครั้งจะต้องหามารับชม ติด 1 ใน 250 ภาพยนตร์ที่มีคะแนนโหวตมากที่สุดใน IMDB เท่านี้ก็พอจะการันตีว่า อย่างน้อยคงไม่ใช่หนังที่รู้สึก “เสียดาย” เวลา
เรื่องย่อเท่าที่เปิดเผยในภาพยนตร์ตัวอย่าง ว่าด้วยนักสืบคดีอาชญากรรมแห่งมหานครนิวยอร์ค รุ่นเก่าลายคราม “โซโมเซท” (มอร์แกน ฟรีแมน) ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ กับนักสืบรุ่นใหม่ไฟแรง “มิวส์” (แบรด พิตต์) ทั้งสองต้องมาสืบคดีฆาตกรรม สะเทือนขวัญที่ฆาตกรมีแรงจูงใจในการฆ่าคือ บาปทั้ง 7 ตามคัมภัร์ไบเบิ้ล
และฆาตกรรายนี้ก็เข้าข่ายมีความฉลาด แยบยล หาตัวจับยาก ไม่ทิ้งหลักฐานใด ๆ ไว้ให้เจ้าหน้าที่ มีเพียงปมปริศนาที่ฆาตกรต้องการจะเปิดเผยให้ตำรวจและสังคมได้รับรู้ถึงเจตนาของเขา
ความน่าสนใจก็คือ ตำรวจอายุใกล้เกษียณกับนักสืบรุ่นใหม่ที่ต้องมาเป็นคู่หูกัน จะจับฆาตกรได้หรือไม่ เพราะบาปทั้งเจ็ด ย่อมหมายถึงเป้าหมายของฆาตกรที่ต้องการจะฆ่าคนทั้ง 7 คน
การเมืองและความยุติธรรม
“จะจับโจรต้องทำแบบโจร เพื่อนำโจรมารับผิดตามกระบวนการยุติธรรม”
ในภาวะที่อับจนหนทาง ไร้เป้าหมายและมืดแปดด้าน หากการเดินบนหนทางที่ถูกต้องมีแต่จะพาไปให้เห็นความรู้สึกเหล่านั้น เราจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ในฉากสำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ โซโมเรทถามมิวส์ว่า มีเงินอยู่ในตัวเท่าไร เมื่อมิวส์ตอบว่า มีอยู่ 50 ดอลล่าร์ โซโมเรทก็ชวนมิวส์ไปร้านพิซซ่าเพื่อไปเจคน ๆ หนึ่ง
และคน ๆ นั้นก็คือ เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เขามาหาโซโมเรทด้วยท่าทีที่ไม่ชอบและร้อนรนแต่ก็ต้องยอมทำตามเพราะ “เงินใต้โต๊ะ” ที่โซโมเรทยื่นให้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอเพื่อให้เขาไปทำภารกิจ “มืด” บางอย่าง และเป็นภารกิจที่มิวส์เองก็ไม่รู้และต้องการให้โซโมเรทอธิบายให้ฟัง
โซโมเรทอธิบายว่า เอฟบีไอมีฐานข้อมูลห้องสมุดทุกแห่งในสหรัฐเพื่อคอยทำบันทึกผู้ที่ยืมหนังสือออกจากห้องสมุด โดยทีใครก็ตามที่ยืมหนังสือที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปั่นป่วนแก่รัฐ เช่น หนังสือผลิตระเบิด ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ หนังสือฆาตกรรมและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากมีการยืมเอฟบีไอก็จะบันทึกเป็นฐานข้อมูลไว้ว่า ใครเคยยืมหนังสือเหล่านี้ และหากเกิดเหตุการณ์ระเบิด เกิดคดีฆาตกรรมแปลก ๆ ที่ไม่ได้มีแรงจูงใจมาจากเรื่องส่วนตัว บรรดาบุคคลที่เคยยืมหนังสือก็จะเป็นอีกกลุ่มคนที่ต้องสงสัย
แน่นอนว่า เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราตั้งคำถามว่า แบบนี้มันไม่ผิดกฎหมายหรอ ไม่ผิดหรือที่เอฟบีไอจะทำฐานข้อมูลคนที่หยิบยืมหนังสือออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้แจ้งให้สาธารณชนรับทราบ
แล้วไม่ใช่เราที่ตั้งคำถามเท่านั้น แม้แต่ นักสืบมิวส์ก็ตั้งคำถามกับโซโมเรท ในทำนองนี้เช่นกัน แต่โซโมเรทไม่ได้ตอบคำถามนี้ตรง ๆ เขาเพียงบอกกับมิวส์ว่า ทั้งเขาและคุณไม่เคยพบเห็นเหตุการณ์นี้มาก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่เอฟบีไอก็นำรายชื่อบุคคลที่เคยยืมหนังสือที่เป็นลักษณะของคดีฆาตกรรมมาให้นักสืบทั้งสอง
แล้วกาลต่อมา รายชื่อที่นักสืบโซโมเรทยัดเงินใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำรายชื่อบุคคลออกมาจากฐานข้อมูลที่เอฟบีไอบันทึกไว้อย่างผิดกฎหมายนั้นก็นำไปสู่การเจอฆาตกรในที่สุด
ฉากนี้ทั้งหมดชวนให้เราตั้งคำถามสำคัญว่า เอาเข้าจริงแล้วหากเราจำเป็นต้องเลือกเดินในทางที่ไม่ถูกต้อง ต้องเลือกทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เราต้องทำพฤติกรรมอย่างโจรเพื่อจับโจรหรือไม่ และหากเราไม่เลือกทำอย่างโจรเราจะจับโจรได้หรือไม่ แล้วถ้าเราไม่เลือกทำอย่างโจร แต่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำตามหลักกระบวนการยุติธรรม มันจะเสียเวลาแค่ไหนกว่าจะจับตัวฆาตกรที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าจะต้องฆ่าคนให้ครบตามที่กำหนดไว้
แต่ที่มันตลกไปยิ่งกว่านั้นก็คือ ในฉากต่อมา นักสืบโซโมเรทก็หยุดยั้งไม่ให้นักสืบมิวส์เข้าไปในที่พักของผู้ต้องสงสัยเพราะยังไม่มีหมายค้น แต่นักสืบมิวส์กลับพังประตูเสียเข้าไปดื้อ ๆ สร้างความโกรธให้แก่นักสืบโซโมเรท แล้วสักพักนักสืบมิวส์ก็หาช่องทางเพื่อไม่ให้พฤติกรรมของตัวเองผิดกฎหมายด้วยการ “ยัดเงิน” ให้ชาวบ้านรายหนึ่งให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ที่พักห้องนี้เป็นของฆาตกร เพื่อให้สิ่งที่นักสืบมิวส์ทำเพื่อบุกเข้าไปในบ้านของฆาตกรนั้นชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แน่ใจว่าเป็นความอ่อนของบท แต่ระดับนี้คงไม่ใช่เรื่องความอ่อนหรอก แต่ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ที่ทำตามกระบวนการยุติธณรมก็ต้องละเมิดกระบวนการยุติธรรมเพื่อเป้าหมายของตัวเอง “ตำรวจก็ต้องละเมิดกฎหมายเพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษตามกฎหมาย”....เป็นประโยคที่ตลก แต่ก็เป็นตลกที่เราคงขำไม่ออกเหมือนกัน
มันก็ให้ชวนสงสัยแหละว่า การซ้อมผู้ต้องสงสัยเพื่อให้รับสารภาพ ไอ้คำรับสารภาพจะใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่ แน่นอนว่า ในชั้นศาลคงใช้ไม่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเอามาใช้เพื่อให้หลักฐานและพยานแน่นหนาขึ้นเพื่อเอาผิดกับผู้ต้องหาล่ะ...
“กระบวนการยุติธรรม การล้างแค้น สิ่งไหนตอบสนองอารมณ์ของมนุษย์มากกว่ากัน”
ฉากสุดท้าย ไคลแมกของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ฉากที่ นักสืบมิวส์รู้ความจริงจากผู้ต้องสงสัยว่า เขาได้ฆ่าภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์และตัดหัวมาให้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานให้คำพูดของฆาตกรมีน้ำหนักมากขึ้น แม้เจ้าหน้าที่มิวส์จะไม่ให้ศีรษะของภรรยา แต่เรื่องเล่าจากฆาตกรและสีหน้า แววตาของนักสืบโซโมเรทที่เห็นศีรษะภรรยาของนักสืบมิวส์ นั่นก็มากพอแล้วที่จะทำให้นักสืบมิวส์ “เชื่อ” ได้ว่า ผู้ต้องสงสัยรายนี้ฆ่าภรรยาของเขา
แน่นอนว่า เป็นความเชื่อที่ยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนพิสูจน์หลักฐาน พยาน และไต่สวนในชั้นศาลตามกระบวนการยุติธรรม ฆาตกรรายนี้ยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยเท่านั้น ยังไม่เป็นผู้ต้องหาในชั้นพนักงานสอบสวน ยังไม่เป็นจำเลยในชั้นอัยการสั่งฟ้อง และยังไม่เป็นนักโทษ ยังไม่มีคำพิพากษาจากศาล ฆาตกรยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัย....ที่นักสืบมิวส์เชื่อและตัดสินไปแล้วว่า ฆาตกรต้องถูกเขาพิพากษาให้ถึงแก่ชีวิต
เพราะฉากนั้นนักสืบมิวส์ถือปืนจ่อหัวไว้ที่ฆาตกรแล้ว เหลือเพียงเขาจะเหนี่ยวไกเพื่อตอบสนองอารมณ์ความแค้น โทสะของเขาด้วยอำนาจที่เขามีในมือ หรือจะรอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ให้ฆาตกรกลายเป็นนักโทษ โดยที่นักสืบมิวส์อาจมีคำถามว่า ฆาตกรรายนี้จะสมควรได้รับโทษเท่าที่เขาอยากให้มันได้รับหรือไม่
นั่นแหละคำถามสำคัญของ “การลงโทษ” เพื่อตอบสนองอารมณ์ของมนุษย์งั้นหรือ ฉากนี้ชวนเราตั้งคำถามมาก ๆ และก็เป็นคำถามที่ภาพยนตร์หลายเรื่องก็ชวนตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมภายในจิตใจของมนุษย์เสมอว่า เราเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากแค่ไหน เรานิยามคำว่า “ลงโทษ” คืออะไร ลงโทษเพื่อตอบสนองความแค้นในใจเรา หรือลงโทษเพื่อให้นักโทษสำนึกผิด หรือลงโทษเพื่อให้สังคมไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
แน่นอนว่าหากยึดเอาตามหลักนิติศาสตร์แล้ว การลงโทษ ย่อมมีความมุ่งหวังให้นักโทษสำนึกในความผิดและกลับตัวเป็นคนดีในสังคม และมีผลสะท้อนให้คนในสังคมไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ทั้งสองนิยามอาจไม่เข้าข่ายตอบสนองนิยามของเราเลย หากนักโทษคนนั้นทำร้ายคนที่เรารัก
สำหรับคนที่ชมแล้วต่างรู้ดีว่า นักสืบมิวส์เลือกที่จะใช้อำนาจในมือฆ่าฆาตกรเสียเองเพื่อตอบสนองอารมณ์ของเขา แน่นอนเขาพ่ายแพ้ให้แก่ฆาตกรเพราะตัวฆาตกรก็มุ่งหวังให้นักสืบมิวส์ฆ่าตัวเองอยู่แล้ว ไม่เท่านั้นนักสืบมิวส์ยังกลายเป็น “ฆาตกร” เสียเองเพราะเขาไม่มีอำนาจตามกระบวนการยุติธรรมที่จะเอาปืนจ่อและยิงผู้ต้องสงสัย
แต่ ณ ขณะนั้น ในฉากนั้นก็ชวนตั้งคำถามว่า ใครมีอำนาจกันแน่ระหว่างนักสืวมิวส์กับฆาตกร หนังตอบให้เบ็ดเสร็จตามที่เล่าไปข้างต้นว่า นักสืบมิวส์แพ้ให้แก่ฆาตกร และก็กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม ซึ่งประจักษ์พยานก็จะทำให้เขาเป็นนักโทษในที่สุด
แล้วในฐานะ “สัญญาประชาคม” ที่เรามอบอำนาจให้แก่รัฐเพื่อหวังให้รัฐคุ้มครองเรา ในแง่หนึ่ง หากรัฐคุ้มครองเราและคนที่เรารักไม่ได้ล่ะ เราสามารถขอยกเลิกสัญญาประชาคมนั้นเสีย แล้วขอเขียนกฎหมายไว้บังคับใช้เองได้หรือไม่
ฉากนี้มีการตั้งกระทู้ถามกันหลายครั้งหลายคราแล้วว่า หากคุณรู้(จากความตั้งใจของฆาตกร) ว่า เขาได้ฆ่าคนที่คุณรักไปแล้ว หากคุณมีโอกาสที่จะล้างแค้น คุณจะล้างแค้นหรือจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม รอให้ฆาตกรได้รับโทษตามกฎหมาย
มันก็สะท้อนกลับมาว่า เอาจริง ๆ แล้ว เราเชื่อมั่นในคำว่า “ความถูกต้อง” มากแค่ไหนหากชีวิตเราเจอแต่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ติดตาม แลกเปลี่ยนและวิจารณ์ พูดคุยพบเจอกันได้ที่นี้
"เพจมองมุมหนัง"
https://www.facebook.com/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87-1824801794428920/