พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มี
อาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลส
เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ (ถ้าเป็นอยู่โดนชอบแล้ว)
ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่ เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านใน
พระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัย
คุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจ
ไปสู่บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า (ถัาเป็นอยู่โดย
ครองเรือนแล้ว) ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่า ตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้อง
กลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา
โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อม
ใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะ
สิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านใน
พระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่
จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธ-
เจ้าข้า (ถ้าเป็นอยู่โดยคนหมู่มากแล้ว) ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ
หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ
จึงน้อมใจไปสู่ความ เงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่
ความเงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้
สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้
พระพุทธเจ้าข้า (ถ้าเป็นอยู่โดยศีลหรือข้อวัตร
ส่วนเดียวแล้ว) ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควร
ทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะ
ต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ
เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่
ความ ไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไเบียดเบียน
(ซึ่งเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.)
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
ว่าด้วยพระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล
อาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลส
เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ (ถ้าเป็นอยู่โดนชอบแล้ว)
ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่ เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านใน
พระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัย
คุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจ
ไปสู่บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า (ถัาเป็นอยู่โดย
ครองเรือนแล้ว) ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่า ตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้อง
กลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา
โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อม
ใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะ
สิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านใน
พระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่
จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธ-
เจ้าข้า (ถ้าเป็นอยู่โดยคนหมู่มากแล้ว) ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ
หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ
จึงน้อมใจไปสู่ความ เงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่
ความเงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้
สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้
พระพุทธเจ้าข้า (ถ้าเป็นอยู่โดยศีลหรือข้อวัตร
ส่วนเดียวแล้ว) ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย
ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควร
ทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะ
ต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ
เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่
ความ ไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ
เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไเบียดเบียน
(ซึ่งเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.)
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ