บีบีซีรายงานว่า คณะนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก พบหลักฐานบ่งชี้จากการศึกษาผู้ใช้เฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียยอดนิยม ว่าอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกต่อสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมชื่นชอบการเปิดอ่านเฟซบุ๊กของผู้อื่นไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน
โดยผู้ที่นิยมอ่านเฟซบุ๊กนั้นควรพักผ่อนจากการใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าวบ้าง เช่น หยุดใช้งานเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
การศึกษาดังกล่าวใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการ 1,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมอ่านเฟซบุ๊กเป็นประจำนั้นมีอารณ์ความรู้สึกและความพึงพอใจต่อชีวิตของตัวเองเองน้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมนี้ เนื่องจากเกิดการเปรียบเทียบ ซึ่งนักสังคมศาสตร์ระบุว่า เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่มีเหตุผล แต่ส่งผลต่อจิตใจ
คณะนักวิจัยเตือนว่า ภาวะน้อยเนื้อต่ำใจ ความอิจฉาริษยา และความถดถอยทางอารมณ์ อาจเกิดขึ้นจากการอ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้อื่นมากเกินไป พร้อมแนะนำว่า ควรหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเชื่อมต่อกันในทางสังคมนอกโลกออนไลน์ อาทิ การนัดพบกันข้างนอกสถานที่ หรืออาจเป็นการสนทนาแบบเรียลไทม์ แต่จะดีที่สุดหากเป็นการสนทนากันในชีวิตจริง
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_156081
นักวิทย์เตือนระวังจิตโทรม-เหตุดู‘เฟซบุ๊ก’คนอื่นมากไป
บีบีซีรายงานว่า คณะนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก พบหลักฐานบ่งชี้จากการศึกษาผู้ใช้เฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียยอดนิยม ว่าอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกต่อสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมชื่นชอบการเปิดอ่านเฟซบุ๊กของผู้อื่นไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน
โดยผู้ที่นิยมอ่านเฟซบุ๊กนั้นควรพักผ่อนจากการใช้แอพพลิเคชั่นดังกล่าวบ้าง เช่น หยุดใช้งานเป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
การศึกษาดังกล่าวใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการ 1,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมอ่านเฟซบุ๊กเป็นประจำนั้นมีอารณ์ความรู้สึกและความพึงพอใจต่อชีวิตของตัวเองเองน้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีพฤติกรรมนี้ เนื่องจากเกิดการเปรียบเทียบ ซึ่งนักสังคมศาสตร์ระบุว่า เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่มีเหตุผล แต่ส่งผลต่อจิตใจ
คณะนักวิจัยเตือนว่า ภาวะน้อยเนื้อต่ำใจ ความอิจฉาริษยา และความถดถอยทางอารมณ์ อาจเกิดขึ้นจากการอ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้อื่นมากเกินไป พร้อมแนะนำว่า ควรหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเชื่อมต่อกันในทางสังคมนอกโลกออนไลน์ อาทิ การนัดพบกันข้างนอกสถานที่ หรืออาจเป็นการสนทนาแบบเรียลไทม์ แต่จะดีที่สุดหากเป็นการสนทนากันในชีวิตจริง
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/sci-tech/news_156081