เมื่อลูกชายกลับมาถึงบ้าน เราจะชอบถามเรื่องที่โรงเรียน ว่าไปโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ไปเจออะไรมาบ้าง สนุกมั้ย ได้แกล้งเพื่อนหรือโดนเพื่อนแกล้งหรือเปล่า เค้าเราก็จะกลับมาเล่าตามเรื่องตามราวที่เค้าได้ไปเจอมา สำหรับวันนี้ลูกชายได้เล่าว่า
"ครูคนนี้...เรียกหนูว่าไออ้วนอีกแล้ว"
ฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจนะ จริงอยู่ที่ลูกเราอ้วน ครอบครัวเราก็อ้วน และไม่มีใครอยากอ้วนหรอก
เรารู้ดีว่าการถูกเรียกว่าอ้วนมันแย่แค่ไหน รู้สึกอย่างไร ยิ่งเป็นเด็กด้วยแล้วมันกระทบกระเทือนจิตใจเด็กคนนึงมากแค่ไหน
นี่เป็นครั้งที่สองที่ลูกเล่าเรื่องถูกครูคนนี้เรียกด้วย"ปมด้อย" ในครั้งแรก พอลูกเล่าให้ฟัง เรารู้สึกโกรธมากนะ ถึงขนาดอยากจะส่งจดหมายไปหาคุณครูท่านนั้น แต่กังวลว่าเค้าอาจจะถูกครูเกลียด หรือรุนแรงถึง Anti-boycott เมื่อไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว สุดท้ายเราหักห้ามใจมากที่จะไม่พูด ไม่ระบาย เพราะหากใครไม่เข้าใจแล้วจะคิดว่า เป็นเรื่องแค่นี้เอง? เอามาเล่าให้เป็นเรื่องทำไม? ก็อ้วนเองนี่ ช่วยไม่ได้? เราได้แต่พิมพ์แล้วก็ลบ แล้วก็พิมพ์ใหม่ ลบอีก ประมาณ 3-4 รอบ สุดท้ายก็คิดในใจได้ว่า "ช่างมันเถอะ" ก็ได้แต่สอนลูกว่าไม่เป็นไรลูก นี่ไงพ่อก็อ้วน แม่ก็อ้วน หนูตัวใหญ่เหมือนพ่อแม่ หนูแข็งแรง หนูอย่าคิดมากนะ ...
ปัญหาที่เกิดในช่วงนี้คือพฤติกรรมการกินของเค้า เด็กอายุ 5 ขวบ เคยกิน เคยเล่นเต็มที่ ต้องมานั่งกังวลว่า หนูไม่กิน หนูกลัวอ้วน หนูไม่อยากอ้วน แล้วสักพักก็มาบอกเราว่า "แม่ หนูขอกินคำนึงได้มั้ย" กลายเป็นเด็กสับสนกับตัวเองอีก บางทีบอกเราว่าไม่กินแล้วเผลอตัว ก็ต้องมานั่งโกหกกันอีกว่าไม่ได้กินๆ แล้วก็ต้องมาดุกันว่าลูกโกหก แล้วนี่มันใช่เรื่องที่ลูกเราต้องมานั่งกังวลจริงๆหรือ?
นี่ไม่ใช่ครั้งเดียว แต่สองครั้ง จะมีครั้งต่อไปหรือเปล่าเราก็ไม่รู้ ก็คงต้องบอกลูกว่าอยากคิดมากแบบนี้ไปตลอด เราเองเป็นคนธรรมดาไม่ได้มีความรู้ถึงขั้นเป็นครู ยังรู้เลยว่าการล้อเลียนปมด้อยคนอื่นสมควรกระทำหรือไม่ รู้มั้ยว่าอาจจะทำให้เด็กเกิดอารมณ์เสียใจ นั่งโทษตัวเอง หรือหากรู้สึกแย่มากๆไปอาจเป็นโรคซึมเศร้า ไม่กล้าสู้หน้าคนอื่น เก็บตัว เข้าใจอะไรผิดๆ ผลกระทบอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งเป็นครูด้วยแล้ววุฒิภาวะควรมีในระดับหนึ่ง จิตสำนึก จรรยาบรรณครูอยู่ตรงไหน ครูไม่ควรพูดแบบนี้กับเด็กอนุบาลเลย
แนวทางแก้ไขที่ครอบครัวเราจะทำในตอนนี้
1. บอกลูกว่าอย่าคิดมาก อย่าเสียใจที่ตัวเองเป็นแบบนี้ หนูมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำได้ดี ทำได้เก่ง ควรภูมิใจกับจุดๆนั้น
2. เป็นกำลังใจให้ลูก บอกลูกให้เข้มแข็ง ถือว่าเอาคำพูดครูคนนี้มาเป็นภูมิ ต่อไปหากโดนอีก จะได้เข้าใจ โตขึ้นอีกนิดจะได้ไม่เสียใจ ถ้าไม่อยากถูกล้อหนูต้องลดน้ำหนัก
สุดท้ายที่เราอยากบอกลูกคือ เหล่านี้แหละคือ "ประสบการณ์ชีวิต" เป็นสิ่งที่หนูหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิต ในโลกใบนี้
ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้ ...
19/12/59
เรื่องเล่าจากลูกชาย
"ครูคนนี้...เรียกหนูว่าไออ้วนอีกแล้ว"
ฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจนะ จริงอยู่ที่ลูกเราอ้วน ครอบครัวเราก็อ้วน และไม่มีใครอยากอ้วนหรอก
เรารู้ดีว่าการถูกเรียกว่าอ้วนมันแย่แค่ไหน รู้สึกอย่างไร ยิ่งเป็นเด็กด้วยแล้วมันกระทบกระเทือนจิตใจเด็กคนนึงมากแค่ไหน
นี่เป็นครั้งที่สองที่ลูกเล่าเรื่องถูกครูคนนี้เรียกด้วย"ปมด้อย" ในครั้งแรก พอลูกเล่าให้ฟัง เรารู้สึกโกรธมากนะ ถึงขนาดอยากจะส่งจดหมายไปหาคุณครูท่านนั้น แต่กังวลว่าเค้าอาจจะถูกครูเกลียด หรือรุนแรงถึง Anti-boycott เมื่อไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว สุดท้ายเราหักห้ามใจมากที่จะไม่พูด ไม่ระบาย เพราะหากใครไม่เข้าใจแล้วจะคิดว่า เป็นเรื่องแค่นี้เอง? เอามาเล่าให้เป็นเรื่องทำไม? ก็อ้วนเองนี่ ช่วยไม่ได้? เราได้แต่พิมพ์แล้วก็ลบ แล้วก็พิมพ์ใหม่ ลบอีก ประมาณ 3-4 รอบ สุดท้ายก็คิดในใจได้ว่า "ช่างมันเถอะ" ก็ได้แต่สอนลูกว่าไม่เป็นไรลูก นี่ไงพ่อก็อ้วน แม่ก็อ้วน หนูตัวใหญ่เหมือนพ่อแม่ หนูแข็งแรง หนูอย่าคิดมากนะ ...
ปัญหาที่เกิดในช่วงนี้คือพฤติกรรมการกินของเค้า เด็กอายุ 5 ขวบ เคยกิน เคยเล่นเต็มที่ ต้องมานั่งกังวลว่า หนูไม่กิน หนูกลัวอ้วน หนูไม่อยากอ้วน แล้วสักพักก็มาบอกเราว่า "แม่ หนูขอกินคำนึงได้มั้ย" กลายเป็นเด็กสับสนกับตัวเองอีก บางทีบอกเราว่าไม่กินแล้วเผลอตัว ก็ต้องมานั่งโกหกกันอีกว่าไม่ได้กินๆ แล้วก็ต้องมาดุกันว่าลูกโกหก แล้วนี่มันใช่เรื่องที่ลูกเราต้องมานั่งกังวลจริงๆหรือ?
นี่ไม่ใช่ครั้งเดียว แต่สองครั้ง จะมีครั้งต่อไปหรือเปล่าเราก็ไม่รู้ ก็คงต้องบอกลูกว่าอยากคิดมากแบบนี้ไปตลอด เราเองเป็นคนธรรมดาไม่ได้มีความรู้ถึงขั้นเป็นครู ยังรู้เลยว่าการล้อเลียนปมด้อยคนอื่นสมควรกระทำหรือไม่ รู้มั้ยว่าอาจจะทำให้เด็กเกิดอารมณ์เสียใจ นั่งโทษตัวเอง หรือหากรู้สึกแย่มากๆไปอาจเป็นโรคซึมเศร้า ไม่กล้าสู้หน้าคนอื่น เก็บตัว เข้าใจอะไรผิดๆ ผลกระทบอื่นๆอีกมากมาย ยิ่งเป็นครูด้วยแล้ววุฒิภาวะควรมีในระดับหนึ่ง จิตสำนึก จรรยาบรรณครูอยู่ตรงไหน ครูไม่ควรพูดแบบนี้กับเด็กอนุบาลเลย
แนวทางแก้ไขที่ครอบครัวเราจะทำในตอนนี้
1. บอกลูกว่าอย่าคิดมาก อย่าเสียใจที่ตัวเองเป็นแบบนี้ หนูมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำได้ดี ทำได้เก่ง ควรภูมิใจกับจุดๆนั้น
2. เป็นกำลังใจให้ลูก บอกลูกให้เข้มแข็ง ถือว่าเอาคำพูดครูคนนี้มาเป็นภูมิ ต่อไปหากโดนอีก จะได้เข้าใจ โตขึ้นอีกนิดจะได้ไม่เสียใจ ถ้าไม่อยากถูกล้อหนูต้องลดน้ำหนัก
สุดท้ายที่เราอยากบอกลูกคือ เหล่านี้แหละคือ "ประสบการณ์ชีวิต" เป็นสิ่งที่หนูหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิต ในโลกใบนี้
ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ให้ได้ ...
19/12/59