เมื่อเริ่มแล้ว.. ก็ต้องลุยต่อ
ย้อนอ่านตอนที่ 1 แผนการใช้เงิน
http://ppantip.com/topic/35916455
human1year ตอนที่ 2 สินทรัพย์อยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง
มีใครเคยสงสัยไหมว่า “สินทรัพย์” กับ “ทรัพย์สิน” แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร หรือเป็นเพียงการเล่นคำของนักภาษาเท่านั้น ส่วนผู้เขียนเองก็เพิ่งสงสัยตอนจะเริ่มบทความนี้แหละ โดยสินทรัพย์และทรัพย์สิน ต่างก็หมายถึงสิ่งของที่มีมูลค่าเช่นเดียวกัน แต่สินทรัพย์จะมีความหมายที่มากกว่าโดยรวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และสินทรัพย์ยังสามารถทำให้ผู้เป็นเจ้าของมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเราศึกษาต่อเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของสินทรัพย์จะพบหลักเกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ
1) สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible assets) เช่น ที่ดิน
2) สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) เช่น ลิขสิทธิ์
แบ่งตามสภาพคล่อง (Convertibility)
1) สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) คือสามารถแปรสภาพเป็นเงินสดได้ใน 12 เดือน)
2) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Long-term assets) อันนี้อาจจะต้องพ่วงท้ายข้อแม้อื่นๆ เพราะลองดูรายการสินทรัพย์ที่จะไล่เรียงในลำดับต่อไปแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะสามารถแปรเป็นเงินสดได้ใน 12 เดือนทั้งนั้น ถ้าเรายอมรับการขาดทุนหรือเสียกำไรที่ควรจะได้รับ
และยังมีการแบ่งสินทรัพย์อีกหลายๆ แบบ เช่น การแบ่งตามการใช้สอย แบ่งเป็น Operating assets และ Non-operating assets เป็นต้น ถ้าใครสนใจเพิ่มเติมมีให้หาอ่านได้ไม่สิ้นสุดในอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว ต่อไปเป็นเรื่องราวตามชื่อตอน “สินทรัพย์อยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง” มาดูกับว่าเรามี “ของสะสม” นี้กันกี่รูปแบบ
I. เงินสด / บัญชีออมทรัพย์
II. บัญชีเงินฝากประจำ / สลากออมสิน
III. ตราสารหนี้ / พันธบัตรรัฐบาล
IV. ตราสารทุน หรือชื่อเล่นว่าหุ้น
V. กองทุนรวม
VI. ประกันชีวิต
VII. เงินตราต่างประเทศ
VIII. สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ
IX. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
X. ธุรกิจที่เราเป็นเจ้าของ
XI. สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
XII. ของสะสมที่มีกลุ่มการแลกเปลี่ยน เช่น พระเครื่อง
ที่ถามว่าเรามีของสะสมนี้กันกี่รูปแบบ เนื่องจากเราจะได้ยินคำกล่าว “อย่าวางไข่ทุกใบไว้ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะสินทรัพย์หลายประเภทจะมีวัฏจักรการขึ้นลงของมูลค่าสินทรัพย์นั้น ถ้าเรากระจายการถือครองสินทรัพย์ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของสินทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้สินทรัพย์แต่ละประเภทอาจจะมีเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือสัญญาที่แตกต่างกัน เช่น กองทุน LTF ที่เราซื้อเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเราจะต้องถือครองต่อไปเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน ถ้าเรามีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนหน้านั้น แล้วตัดสินใจขายหน่วยลงทุนก็ต้องนำเงินที่เคยลดหย่อนภาษีได้ไปใช้คืน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องศึกษาเรื่องของสัญญาต่างๆของสินทรัพย์นั้นก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของ เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์และการนำสินทรัพย์ไปใช้จ่ายตามเป้าหมายที่เคยนึกๆกันไว้ในตอนที่ 1
นอกจากนี้ยังมีสินทรัพย์ที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินตราได้ แต่เราก็จำเป็นต้องสะสมไว้ ได้แก่ สุขภาพดี ความรู้ความสามารถ และมิตรภาพ ตอนต่อไปจะอธิบายอีกครั้งกับเรื่องที่เราคุ้นเคยในวิชาเศรษฐศาสตร์ “เงินเฟ้อ” แต่เราอาจะลืมไปว่าเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตนอกห้องเรียนของเราอย่างไรบ้าง
แหล่งข้อมูล
www.royin.go.th
www.businessdictionary.com
www.a-academy.net
www.efinancemanagement.com
อ่านกันแล้วแนะนำกันได้ทั้งเนื้อหาและภาษา เพื่อจะได้ปรับปรุงในส่วนของตอนต่อๆไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ
จบด้วยเม่าทำพิธีบูชางาน
ทดลองเขียนสืบเนื่องจากตกงาน - ตอนที่ 2 สินทรัพย์อยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง
ย้อนอ่านตอนที่ 1 แผนการใช้เงิน http://ppantip.com/topic/35916455
human1year ตอนที่ 2 สินทรัพย์อยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง
มีใครเคยสงสัยไหมว่า “สินทรัพย์” กับ “ทรัพย์สิน” แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร หรือเป็นเพียงการเล่นคำของนักภาษาเท่านั้น ส่วนผู้เขียนเองก็เพิ่งสงสัยตอนจะเริ่มบทความนี้แหละ โดยสินทรัพย์และทรัพย์สิน ต่างก็หมายถึงสิ่งของที่มีมูลค่าเช่นเดียวกัน แต่สินทรัพย์จะมีความหมายที่มากกว่าโดยรวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ และสินทรัพย์ยังสามารถทำให้ผู้เป็นเจ้าของมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเราศึกษาต่อเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของสินทรัพย์จะพบหลักเกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้
แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ
1) สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible assets) เช่น ที่ดิน
2) สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets) เช่น ลิขสิทธิ์
แบ่งตามสภาพคล่อง (Convertibility)
1) สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) คือสามารถแปรสภาพเป็นเงินสดได้ใน 12 เดือน)
2) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Long-term assets) อันนี้อาจจะต้องพ่วงท้ายข้อแม้อื่นๆ เพราะลองดูรายการสินทรัพย์ที่จะไล่เรียงในลำดับต่อไปแล้ว ทุกอย่างก็ดูจะสามารถแปรเป็นเงินสดได้ใน 12 เดือนทั้งนั้น ถ้าเรายอมรับการขาดทุนหรือเสียกำไรที่ควรจะได้รับ
และยังมีการแบ่งสินทรัพย์อีกหลายๆ แบบ เช่น การแบ่งตามการใช้สอย แบ่งเป็น Operating assets และ Non-operating assets เป็นต้น ถ้าใครสนใจเพิ่มเติมมีให้หาอ่านได้ไม่สิ้นสุดในอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว ต่อไปเป็นเรื่องราวตามชื่อตอน “สินทรัพย์อยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง” มาดูกับว่าเรามี “ของสะสม” นี้กันกี่รูปแบบ
I. เงินสด / บัญชีออมทรัพย์
II. บัญชีเงินฝากประจำ / สลากออมสิน
III. ตราสารหนี้ / พันธบัตรรัฐบาล
IV. ตราสารทุน หรือชื่อเล่นว่าหุ้น
V. กองทุนรวม
VI. ประกันชีวิต
VII. เงินตราต่างประเทศ
VIII. สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ
IX. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
X. ธุรกิจที่เราเป็นเจ้าของ
XI. สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
XII. ของสะสมที่มีกลุ่มการแลกเปลี่ยน เช่น พระเครื่อง
ที่ถามว่าเรามีของสะสมนี้กันกี่รูปแบบ เนื่องจากเราจะได้ยินคำกล่าว “อย่าวางไข่ทุกใบไว้ในตะกร้าเดียวกัน” เพราะสินทรัพย์หลายประเภทจะมีวัฏจักรการขึ้นลงของมูลค่าสินทรัพย์นั้น ถ้าเรากระจายการถือครองสินทรัพย์ก็จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของสินทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้สินทรัพย์แต่ละประเภทอาจจะมีเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือสัญญาที่แตกต่างกัน เช่น กองทุน LTF ที่เราซื้อเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเราจะต้องถือครองต่อไปเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน ถ้าเรามีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนหน้านั้น แล้วตัดสินใจขายหน่วยลงทุนก็ต้องนำเงินที่เคยลดหย่อนภาษีได้ไปใช้คืน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องศึกษาเรื่องของสัญญาต่างๆของสินทรัพย์นั้นก่อนตัดสินใจเป็นเจ้าของ เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์และการนำสินทรัพย์ไปใช้จ่ายตามเป้าหมายที่เคยนึกๆกันไว้ในตอนที่ 1
นอกจากนี้ยังมีสินทรัพย์ที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินตราได้ แต่เราก็จำเป็นต้องสะสมไว้ ได้แก่ สุขภาพดี ความรู้ความสามารถ และมิตรภาพ ตอนต่อไปจะอธิบายอีกครั้งกับเรื่องที่เราคุ้นเคยในวิชาเศรษฐศาสตร์ “เงินเฟ้อ” แต่เราอาจะลืมไปว่าเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตนอกห้องเรียนของเราอย่างไรบ้าง
แหล่งข้อมูล
www.royin.go.th
www.businessdictionary.com
www.a-academy.net
www.efinancemanagement.com
อ่านกันแล้วแนะนำกันได้ทั้งเนื้อหาและภาษา เพื่อจะได้ปรับปรุงในส่วนของตอนต่อๆไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ
จบด้วยเม่าทำพิธีบูชางาน