การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์ มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
ชีวิตประกอบด้วยกายและใจ กายต้องสืบต่อด้วยอาหารอยู่ทุกวัน ใจก็สืบต่อด้วยการหล่อเลี้ยงด้วยธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกวันเช่นกัน ซึ่งพุทธบริษัท ๔ ต่างช่วยกันสืบต่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาอยู่ทุกวันด้วยข้าวปลาอาหาร
เมื่อญาติโยมอุบาสกอุบาสิกามาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณรแล้ว พระภิกษุ-สามเณรจะได้สวดมนต์ให้พร
การสวดมนต์ คือ การรักษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ ผู้ที่จะสวดจึงต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า มนต์ที่สวดไปนั้นแปลว่าอะไร จึงจะเกิดความซาบซึ้งในเนื้อหา และจะได้สวดมนต์อย่างเต็มเสียงด้วยความปลื้มใจว่า เรากำลังกล่าวถ้อยคำแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระธรรม และต่อพระสงฆ์ ด้วยวาจาอันบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ถ้าผู้สวดมีใจสงบ ขณะที่กำลังสวดมนต์ก็นำใจไปตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ทำใจนิ่ง ๆอย่างนั้นใจผู้ฟังจะนิ่งตาม สงบตาม แม้ไม่เคยทำสมาธิ ใจก็จะสงบตามไปด้วย ความสงบใจขณะฟังเสียงให้พรนี้เอง จะทำให้ใจของญาติโยมจรดเข้าศูนย์กลางกายได้ง่ายตามเสียงสวดของพระ แม้ไม่ทราบคำแปล แต่ว่าเป็นเสียงที่เปล่งออกจากศูนย์กลางกาย ที่ทำให้ใจสงบ โยมก็ปลื้มใจ บุญก็เกิดขึ้นโดยง่ายอีกเหมือนกันทั้งที่ไม่ทราบคำแปลเรื่องนี้เคยมีตัวอย่างจริงเกิดขึ้นมาแล้วในต่างประเทศ เหมือนที่เราติดตามช่อง DMCแล้วก็มีจดหมายที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยของเรานำมาอ่านให้ฟังว่ามีชาวต่างชาติหลาย ๆ คน ที่ไม่รู้ภาษาไทย แต่ก็ชอบมานั่งฟัง DMC ทั้งที่ไม่รู้ภาษาไทยสักคำเดียว เขาบอกว่าฟังเสียงหลวงพ่อแล้วสบายใจ
ถามว่าฟังภาษาไทยไม่ออกแล้วทำไมสบายใจ ก็เพราะเสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเปล่งออกมาจากศูนย์กลางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ท่านนำนั่งสมาธิ ท่านพูดในขณะกำลังนั่งหลับตาทำสมาธิ เสียงของท่านจึงออกมาจากศูนย์กลางกายที่ดิ่งลงไป ฉะนั้นผู้ฟังจะฟังออกหรือไม่ออก จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจความหมายก็จะรู้สึกชื่นใจ เพราะว่ามีแรงดึงดูดชนิดหนึ่งออกมาจากในตัวเขา เป็นแรงดึงดูดให้ใจของเขาจรดที่ศูนย์กลางกายได้ง่าย
จากหลักการเดียวกันนี้เอง เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์ให้พร เสียงนั้นจึงเป็นเสียงสวดที่ออกมาจากศูนย์กลางกาย เลยน้อมนำให้ใจของผู้ฟังเข้ามาอยู่ในศูนย์กลางกายได้ง่ายโดยไม่รู้ตัวแล้วก็ทำให้เป็นสมาธิได้ง่าย
แต่ละครั้งที่พระภิกษุให้พร ท่านกำลังกล่าวคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุในฐานะที่เป็นลูกของพระพุทธองค์จึงต้องให้ความเคารพต่อสมเด็จพ่อ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งที่จะสวดที่จะกล่าวออกมานั้นเป็นธรรมะที่กลั่นออกมาจากใจของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงเห็นธรรมภายในที่ปราบกิเลสแล้วก็ทรงใช้วาจาบริสุทธ์เปล่งถึงธรรมบริสุทธิ์นั้น กล่าวถึงอานุภาพของธรรมภายในออกมาให้ชาวโลกฟัง
พระองค์ทรงเป็นผู้เคารพในธรรม การกล่าววาจาแสดงธรรมของพระองค์จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงออกมาจากใจที่เปี่ยมด้วยความเคารพในธรรมอย่างมหาศาล
พระองค์ทรงเคารพในธรรมขนาดไหนทรงอุปมาไว้ว่า ราชสีห์จะตะปบช้างมาเป็นอาหารก็ตะปบด้วยความระมัดระวัง ต้องไม่พลาด ไม่ยอมให้ช้างหลุดไป ถ้าหลุดไปก็เสียศักดิ์ศรีของราชสีห์เลยทีเดียว เป็นที่เยาะเย้ยของสิงโต ของเสือทั้งหลาย เป็นที่เยาะเย้ยของสัตว์ที่กินเนื้อทั้งหลาย
ราชสีห์แม้จะตะปบกระต่ายสักตัวหนึ่งมากินก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง กระต่ายตัวเล็ก ๆ มันจะมีเรี่ยวแรงอะไรมาต่อสู้กับราชสีห์ แต่กระต่ายเป็นสัตว์ที่ว่องไว ถ้าราชสีห์ตะปบกระต่ายแล้วหลุดไปได้ อย่าว่าแต่พวกเสือ พวกสิงโต จะหัวเราะเยาะเย้ยเอาเลย แม้แต่สุนัขหรือแมวก็หัวเราะกันฟันหัก โธ่เอ๊ย นี้หรือราชสีห์ที่ใคร ๆ กลัวนักกลัวหนา ขนาดกระต่ายตัวเล็ก ๆ ยังไม่มีปัญญาตะปบได้
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าราชสีห์จะตะปบช้างตะปบกระต่าย ต้องใช้ความระมัดระวังเท่ากันฉันใด พระองค์เองก็เหมือนกัน เวลาจะทรงเทศน์ให้ใครฟังก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ว่าจะทรงเทศน์ให้พระราชามหากษัตริย์ฟัง ให้นักปราชญ์บัณฑิตฟัง หรือแม้แต่ให้เด็กน้อยฟัง พระองค์ก็ทรงเทศน์ด้วยความระมัดระวัง ไม่ต่างกับราชสีห์ที่ระมัดระวังทั้งในเวลาตะปบช้างและตะปบกระต่ายเท่า ๆ กัน
อุปมานี้แสดงว่า พระองค์ทรงให้ความเคารพในธรรมอย่างมาก ในเมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมเองยังทรงให้ความเคารพในธรรมปานนั้น พระภิกษุผู้เป็นลูกของพระองค์เป็นผู้สวดสาธยายธรรมของพระองค์ จึงสวดแบบมักง่ายไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่สมกับเป็นลูกของพระองค์
ในพระพุทธศาสนานี้ พระภิกษุฉันข้าวจากศรัทธาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สบงจีวร ผ้าผ่อนทั้งหลายที่นุ่งที่ห่ม แท้ที่จริงก็ได้มาจากความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพระองค์เขาจึงถวายผ้าไตรให้ ถวายข้าวปลาอาหารให้ถวายกุฏิศาลาให้เป็นที่อยู่อาศัย ถึงคราวป่วยคราวไข้ก็ถวายหยูกยามาแก้ไขกันไป ญาติโยมถวายให้พระภิกษุเพราะความเคารพศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิฉะนั้นเขาไม่มีทางให้อย่างเด็ดขาด
พระภิกษุอาศัยข้าวปลาอาหารจากญาติโยม และญาติโยมที่มาถวายก็มีทั้งคนจนคนรวย คนรวยมีเหลือกินเหลือใช้ แต่ข้าวปลาอาหารแต่ละช้อน แต่ละทัพพี ที่คนจนตักมาถวาย มันเหมือนบีบออกมาจากปากตัวเอง ออกมาจากปากลูกปากหลานของเขาเลย เพราะฉะนั้นพระจึงต้องเคารพในไทยธรรม เคารพในจิตใจที่เลื่อมใสต่อพระรัตนตรัยของญาติโยมให้ดี
เหตุนี้ แม้จะสวดมนต์บทไหนก็ตามจะให้พรบทไหนก็ตาม พระจึงต้องระมัดระวังจะได้ไม่ฉันข้าวแล้วเป็นหนี้โยม ต้องให้ความเคารพต่อพระรัตนตรัย และให้ความเคารพต่อความเลื่อมใสศรัทธาที่โยมมีต่อพระรัตนตรัยด้วย
เพราะฉะนั้น เวลาจะสวดมนต์จะให้พรแต่ละที พระจะต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเตรียมความพร้อมให้พร้อมทั้งกาย วาจา ใจที่แสดงออกถึงความเคารพในธรรมอย่างชัดเจน
พระท่านเตรียมพร้อมทั้งกาย วาจา ใจกันอย่างไร ก็ตั้งแต่เมื่อจะมารับถวายภัตตาหารจากญาติโยม จะมาฉันก็นุ่งห่มให้เรียบร้อยครองผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ พาดให้เรียบร้อยเป็นการให้ความเคารพในศรัทธาของญาติโยมเคารพในไทยธรรมของญาติโยมที่ตั้งใจ
การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์ มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
ชีวิตประกอบด้วยกายและใจ กายต้องสืบต่อด้วยอาหารอยู่ทุกวัน ใจก็สืบต่อด้วยการหล่อเลี้ยงด้วยธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกวันเช่นกัน ซึ่งพุทธบริษัท ๔ ต่างช่วยกันสืบต่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาอยู่ทุกวันด้วยข้าวปลาอาหาร
เมื่อญาติโยมอุบาสกอุบาสิกามาถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ-สามเณรแล้ว พระภิกษุ-สามเณรจะได้สวดมนต์ให้พร
การสวดมนต์ คือ การรักษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ ผู้ที่จะสวดจึงต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า มนต์ที่สวดไปนั้นแปลว่าอะไร จึงจะเกิดความซาบซึ้งในเนื้อหา และจะได้สวดมนต์อย่างเต็มเสียงด้วยความปลื้มใจว่า เรากำลังกล่าวถ้อยคำแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระธรรม และต่อพระสงฆ์ ด้วยวาจาอันบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ถ้าผู้สวดมีใจสงบ ขณะที่กำลังสวดมนต์ก็นำใจไปตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ทำใจนิ่ง ๆอย่างนั้นใจผู้ฟังจะนิ่งตาม สงบตาม แม้ไม่เคยทำสมาธิ ใจก็จะสงบตามไปด้วย ความสงบใจขณะฟังเสียงให้พรนี้เอง จะทำให้ใจของญาติโยมจรดเข้าศูนย์กลางกายได้ง่ายตามเสียงสวดของพระ แม้ไม่ทราบคำแปล แต่ว่าเป็นเสียงที่เปล่งออกจากศูนย์กลางกาย ที่ทำให้ใจสงบ โยมก็ปลื้มใจ บุญก็เกิดขึ้นโดยง่ายอีกเหมือนกันทั้งที่ไม่ทราบคำแปลเรื่องนี้เคยมีตัวอย่างจริงเกิดขึ้นมาแล้วในต่างประเทศ เหมือนที่เราติดตามช่อง DMCแล้วก็มีจดหมายที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยของเรานำมาอ่านให้ฟังว่ามีชาวต่างชาติหลาย ๆ คน ที่ไม่รู้ภาษาไทย แต่ก็ชอบมานั่งฟัง DMC ทั้งที่ไม่รู้ภาษาไทยสักคำเดียว เขาบอกว่าฟังเสียงหลวงพ่อแล้วสบายใจ
ถามว่าฟังภาษาไทยไม่ออกแล้วทำไมสบายใจ ก็เพราะเสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเปล่งออกมาจากศูนย์กลางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ท่านนำนั่งสมาธิ ท่านพูดในขณะกำลังนั่งหลับตาทำสมาธิ เสียงของท่านจึงออกมาจากศูนย์กลางกายที่ดิ่งลงไป ฉะนั้นผู้ฟังจะฟังออกหรือไม่ออก จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจความหมายก็จะรู้สึกชื่นใจ เพราะว่ามีแรงดึงดูดชนิดหนึ่งออกมาจากในตัวเขา เป็นแรงดึงดูดให้ใจของเขาจรดที่ศูนย์กลางกายได้ง่าย
จากหลักการเดียวกันนี้เอง เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์ให้พร เสียงนั้นจึงเป็นเสียงสวดที่ออกมาจากศูนย์กลางกาย เลยน้อมนำให้ใจของผู้ฟังเข้ามาอยู่ในศูนย์กลางกายได้ง่ายโดยไม่รู้ตัวแล้วก็ทำให้เป็นสมาธิได้ง่าย
แต่ละครั้งที่พระภิกษุให้พร ท่านกำลังกล่าวคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุในฐานะที่เป็นลูกของพระพุทธองค์จึงต้องให้ความเคารพต่อสมเด็จพ่อ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งที่จะสวดที่จะกล่าวออกมานั้นเป็นธรรมะที่กลั่นออกมาจากใจของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงเห็นธรรมภายในที่ปราบกิเลสแล้วก็ทรงใช้วาจาบริสุทธ์เปล่งถึงธรรมบริสุทธิ์นั้น กล่าวถึงอานุภาพของธรรมภายในออกมาให้ชาวโลกฟัง
พระองค์ทรงเป็นผู้เคารพในธรรม การกล่าววาจาแสดงธรรมของพระองค์จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงออกมาจากใจที่เปี่ยมด้วยความเคารพในธรรมอย่างมหาศาล
พระองค์ทรงเคารพในธรรมขนาดไหนทรงอุปมาไว้ว่า ราชสีห์จะตะปบช้างมาเป็นอาหารก็ตะปบด้วยความระมัดระวัง ต้องไม่พลาด ไม่ยอมให้ช้างหลุดไป ถ้าหลุดไปก็เสียศักดิ์ศรีของราชสีห์เลยทีเดียว เป็นที่เยาะเย้ยของสิงโต ของเสือทั้งหลาย เป็นที่เยาะเย้ยของสัตว์ที่กินเนื้อทั้งหลาย
ราชสีห์แม้จะตะปบกระต่ายสักตัวหนึ่งมากินก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง กระต่ายตัวเล็ก ๆ มันจะมีเรี่ยวแรงอะไรมาต่อสู้กับราชสีห์ แต่กระต่ายเป็นสัตว์ที่ว่องไว ถ้าราชสีห์ตะปบกระต่ายแล้วหลุดไปได้ อย่าว่าแต่พวกเสือ พวกสิงโต จะหัวเราะเยาะเย้ยเอาเลย แม้แต่สุนัขหรือแมวก็หัวเราะกันฟันหัก โธ่เอ๊ย นี้หรือราชสีห์ที่ใคร ๆ กลัวนักกลัวหนา ขนาดกระต่ายตัวเล็ก ๆ ยังไม่มีปัญญาตะปบได้
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าราชสีห์จะตะปบช้างตะปบกระต่าย ต้องใช้ความระมัดระวังเท่ากันฉันใด พระองค์เองก็เหมือนกัน เวลาจะทรงเทศน์ให้ใครฟังก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ว่าจะทรงเทศน์ให้พระราชามหากษัตริย์ฟัง ให้นักปราชญ์บัณฑิตฟัง หรือแม้แต่ให้เด็กน้อยฟัง พระองค์ก็ทรงเทศน์ด้วยความระมัดระวัง ไม่ต่างกับราชสีห์ที่ระมัดระวังทั้งในเวลาตะปบช้างและตะปบกระต่ายเท่า ๆ กัน
อุปมานี้แสดงว่า พระองค์ทรงให้ความเคารพในธรรมอย่างมาก ในเมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมเองยังทรงให้ความเคารพในธรรมปานนั้น พระภิกษุผู้เป็นลูกของพระองค์เป็นผู้สวดสาธยายธรรมของพระองค์ จึงสวดแบบมักง่ายไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่สมกับเป็นลูกของพระองค์
ในพระพุทธศาสนานี้ พระภิกษุฉันข้าวจากศรัทธาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สบงจีวร ผ้าผ่อนทั้งหลายที่นุ่งที่ห่ม แท้ที่จริงก็ได้มาจากความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพระองค์เขาจึงถวายผ้าไตรให้ ถวายข้าวปลาอาหารให้ถวายกุฏิศาลาให้เป็นที่อยู่อาศัย ถึงคราวป่วยคราวไข้ก็ถวายหยูกยามาแก้ไขกันไป ญาติโยมถวายให้พระภิกษุเพราะความเคารพศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิฉะนั้นเขาไม่มีทางให้อย่างเด็ดขาด
พระภิกษุอาศัยข้าวปลาอาหารจากญาติโยม และญาติโยมที่มาถวายก็มีทั้งคนจนคนรวย คนรวยมีเหลือกินเหลือใช้ แต่ข้าวปลาอาหารแต่ละช้อน แต่ละทัพพี ที่คนจนตักมาถวาย มันเหมือนบีบออกมาจากปากตัวเอง ออกมาจากปากลูกปากหลานของเขาเลย เพราะฉะนั้นพระจึงต้องเคารพในไทยธรรม เคารพในจิตใจที่เลื่อมใสต่อพระรัตนตรัยของญาติโยมให้ดี
เหตุนี้ แม้จะสวดมนต์บทไหนก็ตามจะให้พรบทไหนก็ตาม พระจึงต้องระมัดระวังจะได้ไม่ฉันข้าวแล้วเป็นหนี้โยม ต้องให้ความเคารพต่อพระรัตนตรัย และให้ความเคารพต่อความเลื่อมใสศรัทธาที่โยมมีต่อพระรัตนตรัยด้วย
เพราะฉะนั้น เวลาจะสวดมนต์จะให้พรแต่ละที พระจะต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเตรียมความพร้อมให้พร้อมทั้งกาย วาจา ใจที่แสดงออกถึงความเคารพในธรรมอย่างชัดเจน
พระท่านเตรียมพร้อมทั้งกาย วาจา ใจกันอย่างไร ก็ตั้งแต่เมื่อจะมารับถวายภัตตาหารจากญาติโยม จะมาฉันก็นุ่งห่มให้เรียบร้อยครองผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ พาดให้เรียบร้อยเป็นการให้ความเคารพในศรัทธาของญาติโยมเคารพในไทยธรรมของญาติโยมที่ตั้งใจ