ทำไมประเทศไทยถึงมีชื่อว่า THAILAND

นั่งๆดูบอลไทย U21 ภาษาเวียตนาม  ได้ยินเสียงคนพากย์ ไทลาน ไทแลน
จู่ๆ เลยนึกสงสัยขึ้นมาเอ๊ะ คำว่า Land มันไม่ใช่ภาษาไทยนี่หว่า
ถ้า Thai เฉยๆ ก็ใช่อยู่ Siam ก็ใช่อยู่ เลยคิดๆย้อนไป ช่วงนั้นเราคงรับวัฒนธรรมตะวันตกมาเยอะ
แต่คิดๆอีกที (คิดมากไปหน่อย) เราไม่น่ามีภาษาอังกฤษอยู่ในชื่อประเทศเราเลย
เราก็ไม่ได้เป็นเมืองขึ้นใครนี่หว่า...ต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เพื่อนบ้านไม่มีแลนด์เลย
เข้าใจอยู่ว่า เวลาเขียนชื่อประเทศ ภาษาไทยคือ " (ประเทศ)ไทย " ภาษาสากล คือ " Thailand (Country) "
ขออภัยที่สงสัย ถ้ามี Vietland Laosland Camboland Myanland ด้วย จะไม่สงสัยเลย อิอิ
ใครเก่งประวัติศาสตร์รบกวนขอที่มายุคตอนเปลี่ยนชื่อ และเหตุผลหน่อยครับ

หัวเราะหัวเราะหัวเราะหัวเราะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ความรู้ใหม่ มี"Land"ต่อท้าย คือเป็นเมืองขึ้น....

รับการศึกษามาจากไหนหนอ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 44
มาจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครับ ซึ่งในเวลานั้นมีความคิดต้องการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย"

ซึ่งจอมพล ป. ได้มีแถลงการณ์ต่อรัฐสภาว่า "การที่เราใช้คำว่า ประเทศสยามนั้น นอกจากจะไม่ตรงกับเชื้อชาติของเราแล้ว ในต่อไปภายหน้าคนชาวต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศของเรา ก็อาจที่จะถือเอาสิทธิประเทศของเราเป็นประเทศของเขาก็ได้ คือเราเป็นชาวไทย เราก็อยู่ในประเทศสยาม ชาวจีนก็อยู่ในสยาม ถ้าหากว่าการที่อพยพของชาวต่างประเทศมากขึ้นในต่อไปข้างหน้าตั้งพันปี เราก็อาจจะไม่เข้าใจว่าประเทศสยามนี้เป็นของไทยหรือของจีน หรือของคนอื่น"

อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงกันในรัฐสภามากมาย แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนตามเสียงส่วนใหญ่


ส่วนชื่อภาษาอังกฤษ หลวงวิจิตรวาทการกับอีกหลายคนเสนอให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า THAILAND ซึ่งปรีดี พนมยงค์ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ (อ. ปรีดีไม่เห็นด้วยในการเปลี่ยนชื่อสยามเป็นไทย) แต่ไม่สามารถทานเสียงข้างมากในสภาได้

ซึ่งทัศนะเกี่ยวกับ THAILAND อ.ปรีดีได้ให้ความเห็นไว้ในบทความ "ความเป็นมาของชื่อ 'ประเทศสยาม' กับ 'ประเทศไทย' " ว่า

" ๕. เมื่อได้ตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยแล้ว ก็เกิดปัญหาว่าในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ต้องเขียนชื่อประเทศไทยนั้นจะใช้คำอังกฤษและฝรั่งเศสอย่างไร

ผู้ที่ได้รับยกย่องว่ามีความรู้ในภาษาต่างประเทศ รวมทั้งหลวงวิจิตรวาทการได้เสนอให้เรียกประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษว่า "THAILAND" ภาษาฝรั่งเศสว่า "THAILANDE" และพลเมืองของประเทศนี้เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "THAILANDAIS" ซึ่งฝรั่งพากันงง

ข้าพเจ้าได้เสนอว่าควรให้เรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า "SIAM" ตามที่คนทั่วโลกได้รู้จักชื่อประเทศของเราในนามนั้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็มีตัวอย่างอยู่เช่นประเทศเยอรมันซึ่งเรียกชื่อประเทศเป็นภาษาเยอรมันว่า "DEUTSCHLAND" นั้น เขาก็มิได้กำหนดให้เรียกชื่อประเทศของเขาเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสตามชื่อภาษาเยอรมัน หากเรียกชื่อประเทศของเขาในภาษาอังกฤษว่า "GERMANY" และภาษาฝรั่งเศส "ALLEMAGNE" ตามที่คนอังกฤษและฝรั่งเศสเคยเรียกและเคยรู้จักชื่อประเทศของเขาในนามนั้น

ข้าพเจ้าได้ให้ความเห็นต่อไปว่า การที่จะเอาคำว่า "LAND" ต่อท้ายคำว่า "THAI" เป็น "THAILAND" ก็ดี ย่อมทำให้คล้ายกันกับประเทศเมืองขึ้นในแอฟริกาของอังกฤษ (สมัยนั้น) และเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (สมัยนั้น) ที่ลงท้ายด้วยคำว่า "LAND" หรือ "LANDE" ข้าพเจ้าได้ให้ข้อสังเกตว่าประเทศ "IRELAND" ใต้ เมื่อได้เป็นเอกราชจากอังกฤษแล้วก็ตัดคำว่า "LAND" ออก โดยเรียกชื่อประเทศของตนว่า "EIRE" ส่วนในประเทศยุโรป บางประเทศที่มีคำท้ายว่า "LAND" เช่น "ICELAND" ก็เพราะภาษาของเขาอยู่ในตระกูลเดียวกันกับภาษาอังกฤษ จึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องเอาตัวอย่างนี้ แต่ความเห็นส่วนข้างมากในคณะรัฐมนตรีให้เปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษด้วย ตามที่มีผู้เสนอให้เปลี่ยนเป็น "THAILAND" ในภาษาอังกฤษ และ "THAILANDE" ในภาษาฝรั่งเศส

ข้าพเจ้าได้เสนอต่อไปอีกว่า ถ้าส่วนข้างมากต้องการให้ชาวโลกเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสโดยมีคำว่า "THAI" เป็นสำคัญแล้ว ก็ขออย่าเอาคำว่า "LAND" หรือ "LANDE" ไปต่อท้ายไว้ด้วยเลย คือให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสทับศัพท์ตามที่สามัญชนคนไทยเรียกชื่อประเทศของตนว่า "เมืองไทย" เป็นภาษาอังกฤษ "MUANG THAI" ฝรั่งเศส "MUANG THAI" แต่ส่วนมากในคณะรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย

๖. เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลทวี บุณยเกตุ เห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยนั้น ใช้บังคับเฉพาะชื่อประเทศไทยในภาษาไทยเท่านั้น รัฐบาลนั้นจึงได้ประกาศให้ใช้ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า "SIAM" ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศไทยในคำนั้นมาหลายศตวรรษแล้ว

ฉะนั้น เอกสารทางราชการที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสจึงเรียกชื่อประเทศไทยว่า "SIAM" รวมทั้งหนังสือเดินทาง ให้เขียนเรียกชื่อประเทศไทยในภาษาไทยว่า "ประเทศไทย" ส่วนในภาษาฝรั่งเศสให้เขียนว่า "SIAM" และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทางให้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "SIAMOIS"

ทั้งนี้ ก็ตรงกับที่ข้าพเจ้าได้เคยเสนอดังกล่าวไว้แล้ว ในข้อ ๕ ว่าแม้ประเทศเยอรมันเรียกชื่อประเทศของเขาเป็นภาษาเยอรมันว่า "DEUTSCHLAND" แต่ในภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า "GERMANY" และในภาษาฝรั่งเศส "ALLEMAGNE" ส่วนในประเทศในตะวันออกไกล เช่น ประเทศจีน ซึ่งเรียกตามภาษาจีนว่า "จงกัวะ" แปลว่า "ประเทศกลาง" นั้น ทางราชการจีนก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "CHINA" และภาษาฝรั่งเศสว่า "CHINE" ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศจีนในภาษานั้นมาแล้วหลายศตวรรษ ประเทศญี่ปุ่นเรียกชื่อประเทศเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "นิปปอนโกกุ" แปลว่าประเทศแห่งพระอาทิตย์อุทัยนั้น ทางราชการญี่ปุ่นเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "JAPAN" และภาษาฝรั่งเศสว่า "JAPON" ตามที่เกือบทั่วโลกรู้จักประเทศญี่ปุ่นในภาษานั้นมาหลายศตวรรษ แม้ว่าลัทธิแสนยานุภาพญี่ปุ่นจะมีทรรศนะ "คลั่งชาติ" (CHAUVINISM) แต่ก็ไม่คลั่งจนถึงขนาดทำให้คนเกือบทั่วโลกงง ถ้าหากต้องเรียกชื่อประเทศญี่ปุ่นตามภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ

๗. เมื่อได้เกิดรัฐประหาร ๘ พ.ย. ๒๔๙๐ แล้ว นายควงเป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ ๓ เดือนเศษ รัฐบาลนี้คงเรียกชื่อประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า "SIAM" ต่อไปอีก

ต่อมาในเดือนเมษายน ๒๔๙๑ รัฐบาลพิบูลสงครามเข้ารับตำแหน่งแทนรัฐบาลควง แล้วก็ได้กลับเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า "THAILAND" และในภาษาฝรั่งเศส "THAILANDE" ซึ่งรัฐบาลต่อๆ มาก็ได้ใช้ตามจนปัจจุบันนี้"
ความคิดเห็นที่ 36
เคยได้ยินว่า "สยาม" เป็นการเรียกกลุ่มชนนะครับ ไม่ใช่หมายถึงแค่คนไทยปัจจุบันเท่านั้น
แต่ยังหมายถึงกลุ่มคนลาว เขมร พม่า มอญ ญวน จีน อะไรพวกนี้ด้วย
(เหมือนเราเรียก "ฝรั่ง" อ่ะครับ ที่ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นคนประเทศไหน ..ฝรั่งคือชาวต่างชาติตะวันตก)
ความหมายในภาษาสันสกฤตของ "สยาม" เหมือนจะแปลว่า สีคล้ำ สีทอง อะไรประมาณนั้น
ซึ่งคนไทยสมัยก่อนส่วนใหญ่ก็เรียกตัวเองว่า "ไท" นี่แหละครับ ไม่ได้เรียกตัวเองว่าชาวสยาม เรียกสยามนั่นเป็นชาวต่างชาติต่างหากที่เรียกเรา
คงต้องย้อนไปที่สมัยก่อนเราปกครองกันแบบอาณาจักร ไม่ได้นับเป็นประเทศ พอมีการรวมอาณาจักรเป็นประเทศ คนของเราจึงหลากหลาย
ทำให้ประเทศเรามีทั้งคนไท คนลาว คนญวณ คนมอญ และคนจีนอยู่รวมกัน เราจึงถูกเรียกว่า "ประเทศสยาม" อย่างเลี่ยงไม่ได้

ที่ชาวต่างชาติเค้าเรียกเราว่า "ชาวสยาม" เนื่องจากภาพรวมของคนประเทศเราที่เป็นคนผิวคล้ำอ่ะครับ ไม่ใช่คนขาวแบบฝรั่ง หรือสีดำแบบนิโกร
เพราะประเทศเราในตอนนั้นกว้างมากจริงๆ คนก็หลากหลายเชื้อชาติในแต่ละพื้นที่ของประเทศ เป็นเหมือนศูนย์รวมของกลุ่มคนสีผิวแบบนี้
ทุกวันนี้เราถึงได้มีภาษาถิ่นไงครับ เพราะแต่ละพื้นที่ของเราก็มีภาษาเป็นของตัวเองตั้งแต่ต้น เป็นภาษาตระกูลเดียวกันแต่พูดไม่เหมือนกัน

ซึ่งผมเข้าใจว่าการที่เราเรียกตัวเองว่าสยามไปด้วย มันเป็นการเรียกตัวเองกับชาวต่างชาติเท่านั้น เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
เหมือนเวลาเราคุยกับฝรั่งเราจะเรียกกรุงเทพฯว่า "Bangkok" ไม่ใช่ "Krung Thep" นั่นแหละครับ
คือเรามีชื่อของเราแบบนึง แต่ฝรั่งเรียกเราอีกแบบนึง พอเราคุยกับเค้า เราเลยต้องพูดแบบที่เค้าเข้าใจ

ส่วน "ประเทศไทย" และ "Thailand" เปลี่ยนมาก็คงเพราะเราต้องการใช้ชื่อของตัวเองนี่แหละ เพื่อจะบอกว่าที่นี่คือพื้นดินของคนไทย
(หลังจากที่ฝรั่งพากันมาหั่นแบ่งประเทศเราคนละนิดคนละหน่อยยังกะแบ่งเค้กไปแล้วน่ะนะ)
และเรียกคนในประเทศนี้(ที่เหลืออยู่)รวมกันว่าเป็น "คนไทย" เหมือนกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ใช่เรียกตัวเองกันคนละแบบ
และผมเคยอ่านเจอว่า "Thailand" เป็นคำพิเศษ คือจะออกเสียงตรงตัวเลยว่า "ไทย-แลนด์" เพราะมันมาจาก "Land of Thais"
ไม่ได้ออกเสียงเป็น "-ลันด์" แบบประเทศอื่นๆที่ลงท้ายด้วย "-land"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่