คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เราเริ่มใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่อดีต D.G.E. Hall ได้เขียนใน "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ว่า จีนเรียกอาณาจักรสุโขทัยว่า "เสียน" ส่วนคำว่า "สยาม" เป็นชื่อที่กัมพูชาใช้หมายถึง "คนป่า" จากแถบกลางของแม่น้ำ (เจ้าพะยา) ซึ่งมีรูปแกะสลักอยู่ที่ระเบียงด้านใต้ของนครวัด หลักฐานการใช้คำนี้เก่าแก่ที่สุดชณะนี้พบในจารึกของชาวจามในคริสตศตวรรษที่ 11 ซึ่งเอ่ยถึงชาวสยามในรายชื่อเชลยศึก ซื่อนี้ดูเหมือนจะแผลงมาจากคำ "ชาน" ซึ่งพม่าใช้เรียกชาวเขาทางเหนือซึ่งเรียงรายกันจากเหนือลงมาใต้จากรัฐมองโกลและรัฐโยมิน ไม่มีผู้ใดทราบว่าคำว่า "สยาม" มีคามหมายทางนิรุกติศาสตร์ว่าอย่างไร หลังการตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้นใน ค.ศ. 1350 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อาณาจักรนี้ก็ได้ชื่อว่า สยาม ชาวยุโรปมักเรียกตัวเมืองอยุธยาว่า "นครแห่งสยาม"
ในปีพ.ศ. 2482 จอมพลป.พิบูลสงครามได้เสนอเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ประเด็นเดียวที่ ถกกันหนัก ใช้เวลา กว่า 1 ชั่วโมง ก็คือ ตัวสะกด ของชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ว่าควรจะมี ย ต่อท้าย ไท หรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ไทย ได้รับความเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ ต้นคิดจริง ๆ ของ การเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยาม มาเป็น ไทย นี้นอกเหนือจาก จอมพลป. พิบูลสงคราม แล้วคนที่มีส่วนผลักดันสำคัญเห็นจะเป็น "หลวงวิจิตรวาทการ" ผู้ประกาศแนวคิด ต่อต้านคนจีน มาโดยตลอด
โดยหลวงวิจิตรวาทการได้ให้เหตุผลว่า
1. ไม่ตรงกับเชื้อชาติ ของพลเมืองซึ่งเป็นไทย ทำให้ชื่อประเทศเป็นอย่างหนึ่ง และชื่อพลเมืองเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง
2. ทำให้คนไทยมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับต่างกัน คือ คนไทยในเวลานั้นมีสัญชาติเป็นไทย แต่อยู่ในบังคับสยาม
3. คำว่า "สยาม" มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องประการใดกับชนชาติไทย คำว่า "สยาม" เป็นแต่เพียงชื่อเมืองเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑลของขอม ที่ปกครองชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล และเมื่อพระร่วงกู้อิสรภาพของไทยได้ ก็ได้ยกเลิกคำว่าสยามเสีย
4. คำว่า "สยาม" แม้ในเวลานั้นก็ใช้กันแต่ในภาษาหนังสือ ส่วนในภาษาพูดโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยใช้
5. ชนชาติไทยเป็นชาติที่มีสาขาใหญ่หลวงอยู่ในเวลานั้น สมควรจะเรียกชื่อประเทศให้สมศักดิ์ของเชื้อชาติไทย
ในปีพ.ศ. 2482 จอมพลป.พิบูลสงครามได้เสนอเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามมาเป็นไทย ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ประเด็นเดียวที่ ถกกันหนัก ใช้เวลา กว่า 1 ชั่วโมง ก็คือ ตัวสะกด ของชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ว่าควรจะมี ย ต่อท้าย ไท หรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ไทย ได้รับความเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ ต้นคิดจริง ๆ ของ การเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยาม มาเป็น ไทย นี้นอกเหนือจาก จอมพลป. พิบูลสงคราม แล้วคนที่มีส่วนผลักดันสำคัญเห็นจะเป็น "หลวงวิจิตรวาทการ" ผู้ประกาศแนวคิด ต่อต้านคนจีน มาโดยตลอด
โดยหลวงวิจิตรวาทการได้ให้เหตุผลว่า
1. ไม่ตรงกับเชื้อชาติ ของพลเมืองซึ่งเป็นไทย ทำให้ชื่อประเทศเป็นอย่างหนึ่ง และชื่อพลเมืองเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง
2. ทำให้คนไทยมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับต่างกัน คือ คนไทยในเวลานั้นมีสัญชาติเป็นไทย แต่อยู่ในบังคับสยาม
3. คำว่า "สยาม" มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องประการใดกับชนชาติไทย คำว่า "สยาม" เป็นแต่เพียงชื่อเมืองเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑลของขอม ที่ปกครองชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล และเมื่อพระร่วงกู้อิสรภาพของไทยได้ ก็ได้ยกเลิกคำว่าสยามเสีย
4. คำว่า "สยาม" แม้ในเวลานั้นก็ใช้กันแต่ในภาษาหนังสือ ส่วนในภาษาพูดโดยทั่วไปนั้นไม่ค่อยใช้
5. ชนชาติไทยเป็นชาติที่มีสาขาใหญ่หลวงอยู่ในเวลานั้น สมควรจะเรียกชื่อประเทศให้สมศักดิ์ของเชื้อชาติไทย
แสดงความคิดเห็น
ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสยามเป็นประเทศไทย