นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา (สนย.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจ้างที่ปรึกษา สำรวจ และออกแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าพระจันทร์-ท่าศิริราชว่า ที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเบื้องต้น จากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ประชาชนเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และคณะที่ปรึกษาได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดำเนินงานประมาณ 2,458.4 ล้านบาท ในส่วนนี้ยืนยันว่า ไม่มีการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการฯ ส่วนรูปแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำนั้นจะมีความสูงเท่ากับสะพานพระปิ่นเกล้าฯ มีความยาวประมาณ 240 เมตร กว้างประมาณ 10-15 เมตร หลังจากนี้ คณะที่ปรึกษาจะรวบรวมผลการศึกษาทั้งหมดส่งสำนักการโยธาภายในเดือนมกราคม จากนั้นสำนักการโยธาจะนำเสนอคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์พิจารณาให้ความเห็นชอบ ควบคู่กับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ (EIA)
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า มีความคิดเห็นอย่างไรที่ก่อนหน้านี้ทางกลุ่มเฟรน ออฟ เดอะ ริเวอร์ (Friends of the river) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ตั้งข้อสังเกตถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นเมื่อเทียบกับเรือข้ามฟาก นายไทวุฒิกล่าวว่า โครงการฯ มีความคุ้มค่าแน่นอน ทั้งการอำนวยความสะดวกผู้ที่สัญจรทั้งสองฝั่ง ซึ่งเฉลี่ยต่อวันวันละ 7,000 คน ขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศชาติ ซึ่งเรายังไม่มีสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเลย หากก่อสร้างสะพานเสร็จ จะทำให้ผู้คนสัญจรได้เห็นทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ริมแม่น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ บนสะพานจะออกแบบพื้นที่สำหรับรถพยาบาลขนาดเล็กเท่ารถกอล์ฟวิ่งรับส่งผู้ป่วยข้ามฝั่งได้อย่างสะดวก โดยจะเชื่อมต่อไปยังอาคารของโรงพยาบาลศิริราช แต่ไม่ได้ออกแบบสำหรับรถยนต์ทั่วไปใช้งาน
สำหรับโครงการจ้างที่ปรึกษา สำรวจ และออกแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าพระจันทร์-ท่าศิริราช สนย.ได้ลงนามว่าจ้าง 4 บริษัทที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2559 ประกอบด้วย 1.บริษัท เอกซิลอน จำกัด 2.บริษัท ไฟนอล ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด 3.บริษัท แพลนโปร จำกัด และ 4.บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงินงบประมาณ 49.4 ล้านบาท ระยะเวลา 9 เดือน
ที่มา : มติชนออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1482052414
กทม.เผยทางจักรยานข้ามเจ้าพระยา"ท่าวังหลัง-ศิริราช" ใช้งบ2.4พันล้าน ชี้ปชช.ส่วนใหญ่เห็นด้วย
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา (สนย.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจ้างที่ปรึกษา สำรวจ และออกแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าพระจันทร์-ท่าศิริราชว่า ที่ปรึกษาได้สรุปผลการศึกษาเบื้องต้น จากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่ประชาชนเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และคณะที่ปรึกษาได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุนและดำเนินงานประมาณ 2,458.4 ล้านบาท ในส่วนนี้ยืนยันว่า ไม่มีการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการฯ ส่วนรูปแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำนั้นจะมีความสูงเท่ากับสะพานพระปิ่นเกล้าฯ มีความยาวประมาณ 240 เมตร กว้างประมาณ 10-15 เมตร หลังจากนี้ คณะที่ปรึกษาจะรวบรวมผลการศึกษาทั้งหมดส่งสำนักการโยธาภายในเดือนมกราคม จากนั้นสำนักการโยธาจะนำเสนอคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์พิจารณาให้ความเห็นชอบ ควบคู่กับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ (EIA)
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า มีความคิดเห็นอย่างไรที่ก่อนหน้านี้ทางกลุ่มเฟรน ออฟ เดอะ ริเวอร์ (Friends of the river) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ตั้งข้อสังเกตถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นเมื่อเทียบกับเรือข้ามฟาก นายไทวุฒิกล่าวว่า โครงการฯ มีความคุ้มค่าแน่นอน ทั้งการอำนวยความสะดวกผู้ที่สัญจรทั้งสองฝั่ง ซึ่งเฉลี่ยต่อวันวันละ 7,000 คน ขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศชาติ ซึ่งเรายังไม่มีสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเลย หากก่อสร้างสะพานเสร็จ จะทำให้ผู้คนสัญจรได้เห็นทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ริมแม่น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ บนสะพานจะออกแบบพื้นที่สำหรับรถพยาบาลขนาดเล็กเท่ารถกอล์ฟวิ่งรับส่งผู้ป่วยข้ามฝั่งได้อย่างสะดวก โดยจะเชื่อมต่อไปยังอาคารของโรงพยาบาลศิริราช แต่ไม่ได้ออกแบบสำหรับรถยนต์ทั่วไปใช้งาน
สำหรับโครงการจ้างที่ปรึกษา สำรวจ และออกแบบสะพานคนเดินและทางจักรยานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าพระจันทร์-ท่าศิริราช สนย.ได้ลงนามว่าจ้าง 4 บริษัทที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2559 ประกอบด้วย 1.บริษัท เอกซิลอน จำกัด 2.บริษัท ไฟนอล ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด 3.บริษัท แพลนโปร จำกัด และ 4.บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงินงบประมาณ 49.4 ล้านบาท ระยะเวลา 9 เดือน
ที่มา : มติชนออนไลน์ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1482052414