เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และ ห้างเซ็นทรัล จัดแสดงนิทรรศการ
“ในหลวง...ในดวงใจราษฎร์ : King of Our Hearts” ขึ้น ณ บริเวณ Event Space ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 มกราคม 2560
24 พ.ย. – 31 ม.ค. 60 นิทรรศการถาวร
เรียน เล่น จนเป็น งาน : From Play to Practice
พระปรีชาสามารถในการทรงงาน ทอดพระเนตรเห็นปัญหา และมีพระราชวินิจฉัยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในประเทศนั้น เป็นผลมาจากความสนพระทัยใฝ่รู้ และการละเล่นต่างๆ ครั้งทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น
1.
ความสนพระทัยในเรื่องวิทยุสื่อสาร – ครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมเชษฐา ทรงรวมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อชิ้นส่วนมาต่อเป็นวิทยุด้วยพระองค์เอง จากเหตุการณ์นั้น ทำให้มีความสนพระทัย และเห็นความสำคัญของวิทยุสื่อสารในภายหลังทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาเสาอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารในถิ่นทุรกันดาร ให้มีความฉับไว และสามารถช่วยเหลือพสกนิกรได้อย่างทันท่วงที
2.
ความสนพระทัยและพระปรีชาสามารถในด้านดนตรี – จากความสนพระทัยในดนตรี ที่เริ่มจากการฟังวิทยุ และเล่นแผ่นเสียง จนถึงการทรงดนตรี นำไปสู่การตั้งวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ และสถานี อ.ส. วันศุกร์ ที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระองค์กับพสกนิกร เนื่องจากบางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการขอเพลง โดยทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก วงดนตรี อ.ส. ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อประกาศชักชวนให้ประชาชนบริจาคทรัพย์ สิ่งของ ฯลฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย อันเป็นจุดกำเนิดของ "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์"
3.
พระปรีชาสามารถด้านกีฬา – จากการปลูกฝังของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ให้ทรงออกกำลังพระวรกายด้วยกีฬาประเภทต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้ทรงเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ และเป็นแบบอย่างของนักกีฬาที่ดี หมั่นฝึกซ้อม รู้แพ้รู้ชนะ ปฏิบัติตามกฎกติกา การออกกำลังพระวรกายอยู่เสมอยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นห่างไกล นอกจากนั้น ยังทรงติดตามการแข่งขันกีฬา และพระราชทานกำลังใจแก่นักกีฬาไทยอยู่เสมอ
4.
พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ – จากกล้องตัวเล็กๆ ราคา 2 ฟรังค์ซึ่งทรงได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา เป็นจุดเริ่มต้นของความสนพระทัยในการทรงถ่ายรูป พระบรมฉายาลักษณ์พร้อมกล้องถ่ายภาพคล้องพระศอ เป็นภาพคุ้นตาของพสกนิกรชาวไทย การทรงถ่ายรูปไม่ใช่เพียงเพื่อความสำราญ แต่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาแผนที่ส่วนพระองค์ และบันทึกสำหรับเป็นข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป
5.
ความสนพระทัยในการประดิษฐ์ – จากการเรียนรู้ผ่านการทดลองลงมือปฏิบัติในสมัยทรงพระเยาว์ ทำให้ต่อมา โปรดการประดิษฐ์ทดลองอยู่เสมอ ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศอย่างมากมาย อาทิ การสร้างฝาย สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ กังหันน้ำชัยพัฒนา และน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
24 พ.ย. – 7 ธ.ค. 59 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 1
ครอบครัวมหิดล : The Mahidol Family
ความอบอุ่นของครอบครัวมหิดล ครอบครัวเล็กๆ ที่แม้ว่าพระราชโอรส พระราชธิดาจะเติบโตและเล่าเรียนในต่างประเทศตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทุกพระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาวิทยาการทันสมัยของโลกตะวันตก และด้วยการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทำให้ทั้ง 2 พระราชโอรสและ 1 พระราชธิดาได้กลับมาทรงงานเป็นคุณูปการเพื่อประเทศไทยมาโดยตลอดกว่า 70 ปี
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชจริยวัตรงดงาม ทรงตระหนักถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ ในฐานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ครั้นเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงเสด็จนิวัติและประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ด้วยพระทัยมุ่งมั่น ทรงใช้เวลาและความเพียรวิริยะในช่วงต้นรัชกาล ทำความรู้จักประเทศไทยที่ทรงห่างเหินไปนาน โดยการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรของพระองค์ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะใกล้ไกล ไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทรงงานเพื่อราษฎรและประเทศไทยอย่างไม่รู้จบ...จวบจนสิ้นรัชกาล
8-21 ธ.ค. 59 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 2
เส้นทางสานพระราชไมตรี : The Royal Journey of Friendship
การเสด็จฯ เยือนต่างประเทศเพื่อเจริญพระราชสัมพันธไมตรี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2503-2510
ด้วยพระจริยาวัตรอันงดงามของพระประมุขทั้ง 2 พระองค์เป็นชื่นชมในทุกแห่งที่เสด็จฯ เยือน นอกจากจะเป็นการสานพระราชสัมพันธไมตรีระหว่างพระมหากษัตริย์จากโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแล้ว ยังเป็นการจุดประกายให้มวลมหามิตรจากประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นมหาอำนาจและมหามิตร หันมาให้ความสนใจประเทศเล็กๆ จนทำให้ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักในอาณาอารยประเทศ พระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมิตรประเทศนี้เอง ได้นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านวิทยาการเพื่อการพัฒนา
22 ธ.ค. – 11 ม.ค. 60 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 3
พรภูมิพล : Blessings of Bhumibol
เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งหมด 49 เพลง การพระราชนิพนธ์เพลงแต่ละเพลง ทรงมีจุดมุ่งหมายหลากหลายประการ ทั้งเพลงรัก เพลงสะท้อนสัจธรรมชีวิต และเพลงที่ทรงตั้งพระทัยแต่งขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสต่างๆ อาทิ เพลงยิ้มสู้ เพลงประจำมหาวิทยาลัย และเพลงพรปีใหม่ เป็นต้น
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ นอกจากเราจะมีเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ตั้งแต่ปี 2529 จนถึง ปี 2559 รวมระยะเวลา 30 ปี พสกนิกรชาวไทยยังได้รับของขวัญปีใหม่พระราชทานอันล้ำค่าอีกสิ่งหนึ่ง คือ ส.ค.ส. พระราชทาน
13-31 ม.ค. 60 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 4
นิทรรศการ “ในหลวง” ดวงใจของปวงชน
จัดโดย สมาคมศิลปินทัศนศิลป์ นานาชาติแห่งประเทศไทย โดยเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ 99 องค์ ผลงาน 99 ศิลปินแห่งชาติและศิลปินชื่อดังทั้งชาวไทย และต่างชาติ อาทิ ธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ, สมภพ บุตรราช, สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ, ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง, สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงศ์, ธนฤทธิ์ ทิพย์วารี ฯลฯ มาจัดแสดง พร้อมจัดพิมพ์ผลงานเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอนุสรณ์อันทรงคุณค่า โดยรายได้จากการจำหน่ายจะนำสมทบมูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อไป
“ต้นไม้ของพ่อ”
ประติมากรรมที่มีความสูง 6.75 เมตร กว้าง 4.86 เมตร แผ่กิ่งก้านสง่างาม ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี รอประชาชนคนไทยร่วมเขียนสิ่งที่ตั้งใจทำดีตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ลงบนใบไม้แห่งความดี โดยสามารถรับใบไม้และเขียนได้ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และบริเวณจุดแสดงความอาลัยในห้างเซ็นทรัลทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมนำมาประดับ “ต้นไม้ของพ่อ” เมื่อจบนิทรรศการ และครบจำนวน 99,999 ใบ ใบไม้แห่งความดีทั้งหมด จะนำไปหลอมเป็นระฆัง 9 ใบ ถวายวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9 ต่อไป ทั้งนี้ ระฆังเงินออกแบบโดย ศ.วิชัย สิทธิรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พุทธศักราช 2558
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และ ห้างเซ็นทรัล จัดแสดงนิทรรศการ “ในหลวง...ในดวงใจราษฎร์ : King of Our Hearts”
เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และ ห้างเซ็นทรัล จัดแสดงนิทรรศการ “ในหลวง...ในดวงใจราษฎร์ : King of Our Hearts” ขึ้น ณ บริเวณ Event Space ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 มกราคม 2560
24 พ.ย. – 31 ม.ค. 60 นิทรรศการถาวร
เรียน เล่น จนเป็น งาน : From Play to Practice
พระปรีชาสามารถในการทรงงาน ทอดพระเนตรเห็นปัญหา และมีพระราชวินิจฉัยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในประเทศนั้น เป็นผลมาจากความสนพระทัยใฝ่รู้ และการละเล่นต่างๆ ครั้งทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น
1. ความสนพระทัยในเรื่องวิทยุสื่อสาร – ครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมเชษฐา ทรงรวมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อชิ้นส่วนมาต่อเป็นวิทยุด้วยพระองค์เอง จากเหตุการณ์นั้น ทำให้มีความสนพระทัย และเห็นความสำคัญของวิทยุสื่อสารในภายหลังทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาเสาอากาศให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารในถิ่นทุรกันดาร ให้มีความฉับไว และสามารถช่วยเหลือพสกนิกรได้อย่างทันท่วงที
2. ความสนพระทัยและพระปรีชาสามารถในด้านดนตรี – จากความสนพระทัยในดนตรี ที่เริ่มจากการฟังวิทยุ และเล่นแผ่นเสียง จนถึงการทรงดนตรี นำไปสู่การตั้งวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ และสถานี อ.ส. วันศุกร์ ที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระองค์กับพสกนิกร เนื่องจากบางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้มีการขอเพลง โดยทรงรับโทรศัพท์ด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก วงดนตรี อ.ส. ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อประกาศชักชวนให้ประชาชนบริจาคทรัพย์ สิ่งของ ฯลฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย อันเป็นจุดกำเนิดของ "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์"
3. พระปรีชาสามารถด้านกีฬา – จากการปลูกฝังของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ให้ทรงออกกำลังพระวรกายด้วยกีฬาประเภทต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้ทรงเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ และเป็นแบบอย่างของนักกีฬาที่ดี หมั่นฝึกซ้อม รู้แพ้รู้ชนะ ปฏิบัติตามกฎกติกา การออกกำลังพระวรกายอยู่เสมอยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นห่างไกล นอกจากนั้น ยังทรงติดตามการแข่งขันกีฬา และพระราชทานกำลังใจแก่นักกีฬาไทยอยู่เสมอ
4. พระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพ – จากกล้องตัวเล็กๆ ราคา 2 ฟรังค์ซึ่งทรงได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา เป็นจุดเริ่มต้นของความสนพระทัยในการทรงถ่ายรูป พระบรมฉายาลักษณ์พร้อมกล้องถ่ายภาพคล้องพระศอ เป็นภาพคุ้นตาของพสกนิกรชาวไทย การทรงถ่ายรูปไม่ใช่เพียงเพื่อความสำราญ แต่เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาแผนที่ส่วนพระองค์ และบันทึกสำหรับเป็นข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป
5. ความสนพระทัยในการประดิษฐ์ – จากการเรียนรู้ผ่านการทดลองลงมือปฏิบัติในสมัยทรงพระเยาว์ ทำให้ต่อมา โปรดการประดิษฐ์ทดลองอยู่เสมอ ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศอย่างมากมาย อาทิ การสร้างฝาย สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ กังหันน้ำชัยพัฒนา และน้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
24 พ.ย. – 7 ธ.ค. 59 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 1
ครอบครัวมหิดล : The Mahidol Family
ความอบอุ่นของครอบครัวมหิดล ครอบครัวเล็กๆ ที่แม้ว่าพระราชโอรส พระราชธิดาจะเติบโตและเล่าเรียนในต่างประเทศตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทุกพระองค์ทรงมีโอกาสศึกษาวิทยาการทันสมัยของโลกตะวันตก และด้วยการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทำให้ทั้ง 2 พระราชโอรสและ 1 พระราชธิดาได้กลับมาทรงงานเป็นคุณูปการเพื่อประเทศไทยมาโดยตลอดกว่า 70 ปี
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชจริยวัตรงดงาม ทรงตระหนักถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ ในฐานะของพระมหากษัตริย์ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ครั้นเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงเสด็จนิวัติและประทับอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ด้วยพระทัยมุ่งมั่น ทรงใช้เวลาและความเพียรวิริยะในช่วงต้นรัชกาล ทำความรู้จักประเทศไทยที่ทรงห่างเหินไปนาน โดยการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรของพระองค์ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะใกล้ไกล ไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทรงงานเพื่อราษฎรและประเทศไทยอย่างไม่รู้จบ...จวบจนสิ้นรัชกาล
8-21 ธ.ค. 59 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 2
เส้นทางสานพระราชไมตรี : The Royal Journey of Friendship
การเสด็จฯ เยือนต่างประเทศเพื่อเจริญพระราชสัมพันธไมตรี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2503-2510
ด้วยพระจริยาวัตรอันงดงามของพระประมุขทั้ง 2 พระองค์เป็นชื่นชมในทุกแห่งที่เสด็จฯ เยือน นอกจากจะเป็นการสานพระราชสัมพันธไมตรีระหว่างพระมหากษัตริย์จากโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแล้ว ยังเป็นการจุดประกายให้มวลมหามิตรจากประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นมหาอำนาจและมหามิตร หันมาให้ความสนใจประเทศเล็กๆ จนทำให้ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักในอาณาอารยประเทศ พระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนมิตรประเทศนี้เอง ได้นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านวิทยาการเพื่อการพัฒนา
22 ธ.ค. – 11 ม.ค. 60 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 3
พรภูมิพล : Blessings of Bhumibol
เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งหมด 49 เพลง การพระราชนิพนธ์เพลงแต่ละเพลง ทรงมีจุดมุ่งหมายหลากหลายประการ ทั้งเพลงรัก เพลงสะท้อนสัจธรรมชีวิต และเพลงที่ทรงตั้งพระทัยแต่งขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสต่างๆ อาทิ เพลงยิ้มสู้ เพลงประจำมหาวิทยาลัย และเพลงพรปีใหม่ เป็นต้น
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ นอกจากเราจะมีเพลง “พรปีใหม่” เป็นของขวัญพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ตั้งแต่ปี 2529 จนถึง ปี 2559 รวมระยะเวลา 30 ปี พสกนิกรชาวไทยยังได้รับของขวัญปีใหม่พระราชทานอันล้ำค่าอีกสิ่งหนึ่ง คือ ส.ค.ส. พระราชทาน
13-31 ม.ค. 60 นิทรรศการหมุนเวียน ครั้งที่ 4
นิทรรศการ “ในหลวง” ดวงใจของปวงชน
จัดโดย สมาคมศิลปินทัศนศิลป์ นานาชาติแห่งประเทศไทย โดยเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ 99 องค์ ผลงาน 99 ศิลปินแห่งชาติและศิลปินชื่อดังทั้งชาวไทย และต่างชาติ อาทิ ธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ, สมภพ บุตรราช, สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ, ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง, สมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงศ์, ธนฤทธิ์ ทิพย์วารี ฯลฯ มาจัดแสดง พร้อมจัดพิมพ์ผลงานเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอนุสรณ์อันทรงคุณค่า โดยรายได้จากการจำหน่ายจะนำสมทบมูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ต่อไป
“ต้นไม้ของพ่อ”
ประติมากรรมที่มีความสูง 6.75 เมตร กว้าง 4.86 เมตร แผ่กิ่งก้านสง่างาม ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี รอประชาชนคนไทยร่วมเขียนสิ่งที่ตั้งใจทำดีตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ลงบนใบไม้แห่งความดี โดยสามารถรับใบไม้และเขียนได้ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และบริเวณจุดแสดงความอาลัยในห้างเซ็นทรัลทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมนำมาประดับ “ต้นไม้ของพ่อ” เมื่อจบนิทรรศการ และครบจำนวน 99,999 ใบ ใบไม้แห่งความดีทั้งหมด จะนำไปหลอมเป็นระฆัง 9 ใบ ถวายวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9 ต่อไป ทั้งนี้ ระฆังเงินออกแบบโดย ศ.วิชัย สิทธิรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พุทธศักราช 2558