เรื่องเล่าประสบการณ์การเข้าร่วมงานรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize Ceremony)

สวัสดีชาวไกลบ้านทุกคนค่ะ
เนื่องด้วยช่วงนี้เป็นช่วงเดียวพิธีรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize Ceremony) ที่ออสโล ประเทศนอร์เวย์
ประจวบเหมาะกับเพิ่งสอบจบปริญญาโทเสร็จเลยอยากจะมาเล่าสู่ประสบการณ์ที่ได้รับเลือกเป็นตัวเเทนประเทศไทย
เข้าร่วมงานประจําปี 2015 ให้กันฟัง


รูปถ่ายในงานก่อนที่พระราชินี Sonja เเห่งประเทศนอร์เวย์จะเสร็จเข้ามาในงาน ถ่ายรูปกับเพื่อนที่เป็นตัวเเทนจากประเทศฮังการี

ก่อนที่จะเล่าว่าเราได้ไปงานนี้ได้อย่างไร ขอเล่าประวัติของรางวัลโนเบลก่อนนะคะ
รางวัลโนเบลนั้นเป็นรางวัลที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ Alfred Nobel นักเคมีชาวสวีเดน
ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์
เขาจึงมอบทรัพยสินของเค้าเพื่อใช้เป็นเงินรางวัล สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
สาขาวรรณกรรม เเละ เศษฐศาสตร์ นั้นจะรับที่สต็อคโฮม ประเทศสวีเดน เเละสาขาสันติภาพนั้นจะจัดขึ้นใน
เมืองออสโลประเทศนอร์เวย์


ทําอะไรถึงไปได้บัตรเชิญใบนี้มา?




พวกเราในรูปเหล่านี้ได้เข้าไปร่วมงานได้อย่างไร?

ก่อนอื่นต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนว่าในปี 2007-2009 นั้นได้รับทุน United World Colleges ไปศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่ UWC Red Cross Nordic ประเทศนอร์เวย์ (ทุนปีนี้สําหรับนักเรียนมัธยมปลายเปิดเเล้วนะคะ สามารถไปติดตามได้ที่เพจ UWC Thailand National Committee บน Facebook)  ในตอนที่เรียนนั้นทางโรงเรียนได้รับบัตรเชิญจากทาง Nobel Peace Prize Foundation เข้าร่วมงานรับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพที่เมืองออสโล ซึ่งโรงเรียนของเรานั้นน่าจะเป็นโรงเรียนเดียวในเเทบสเเกนดิเนเวียที่ได้รับเชิญให้ส่งตัวเเทนนักเรียนไปเข้าร่วมพิธี ซึ่งตอนนั้นทางโรงเรียนก็ได้เลือกตัวเเทนจากประเทศที่ได้รับรางวัลเเละนักเรียนคนอื่นๆอีกสี่คนในเเต่ละปี
ตอนนั้นก็ตื่นเต้นยากไปมากเเต่ก็ไม่ได้ไป ต่อจากนั้นก็ได้เก็บเป็นความอยากอยู่เรื่อยมาว่าขอให้ได้ไปสักครั้งหนึ่งจะดีมากเลยทีเดียว



หลายปีผ่านมาถึงปี 2015 ก็ได้ยินเรื่องการรับสมัครเยาวชนไทยมาเข้าค่าย DTAC Telenor Youth Forum เพื่อเป็นสองตัวเเทนประเทศไทย
ในการเข้าร่วมงาน Telenor Youth Forum ที่ออสโล ประเทศนอร์เวย์ เเละเข้าร่วมงานรับรางวัล Nobel Peace Prize พอดีช่วงนั้นยุ่งมากเรื่องเรียนเเละชีวิตส่วนก็ได้เเต่คิดว่าโอเคเดี๋ยวค่อยทําละกัน จนมานึกได้อีกทีเห้ย! เราเหลือเวลาอีกสามชั่วโมงที่ต้องเขียนให้เสร็จก่อนปิดรับสมัคร
ตอนนั้นนี่เเบบพิมพ์เรียงความ เตรียม upload resume เข้าไประบบเเล้วก็ส่งให้เรียบร้อยตอนเวลา 11.59 PM แบบลุ้นมากๆตอนนั้นเเบบบอกเลยว่าต้องขอบคุณอินเตอร์เน็ตมหาวิทยาลัยที่รวดเร็วทันใจมากในวันนั้นเลยทันพอดี

หลังจากนั้นก็ลุ้นเรื่อยๆจนถึงวันที่มีการอัพเดทว่าจะประกาศว่ามีใครได้มาเข้าค่ายคัดเลือกบ้าง มีการเเอบ LINE ไปถามพี่เจ้าหน้าที่ด้วยว่าจะออกกีโมงคะ พี่เค้าบอกว่าจะออกสองทุ่ม! เรานี่เเบบว่าจ้องหน้าจอเเละเมื่อรายชื่อประกาศขึ้นมา เราเเบบอ่านมาประมาณสองรอบได้เพื่อความชัวร์ว่าเห็นชื่อของตัวบอกเลยว่า ตอนนั้นที่รู้ว่าได้ไปเข้าค่ายนี่เเบบร้องกริ๊ดลั่นห้อง common room มากดีทีอยู่คนเดียวตอนนั้น


Photo Credit: DTAC & Telenor Youth Forum Facebook Page

ค่าย DTAC Telenor Youth Forum คือการคัดเลือกเยาวชนอายุ 18-28 ปีจากทั่วประเทศไทยมาเข้าค่าย workshop
สามวันภายใต้ Theme "Knowledge For All" ซึ่งในค่ายนั้นจะมีกิจกรรมมากมายตั้งเเต่การทัวร์รอบ DTAC พูดคุยกับ
ผู้เชี่ยวชาญทํากิจกรรมต่างๆมากมายตั้งเเต่ผู้บริหาร LINE จนถึงตัวเเทนจากองค์กร UNICEF Thailand เเละในวันที่สอง
ก่อนกลับบ้านก็ได้มีการให้ทุกคนไปเตรียม 1-minute pitch presentation ในโปรเจคที่เกี่ยวข้องกับ Theme "Knowledge For All"
ในเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมงเเละเตรียม Presentation 15 นาทีไปด้วยเผื่อผ่านเข้ารอบ

3OLVED – 3D Object Learning Visual Education System
3OLVED คือโปรเจคที่เราได้นําไปเสนอในปีนั้น เเรงบันดาลใจของโปรเจค​ proposal
เเรงบันดาลใจของโปรเจคนี้ได้มาจากการที่ได้เป็นตัวเเทนของ United World Colleges Red Cross Nordic ไปเข้าร่วม
Project Based Learning Week ที่โรงเรียน Laski School for the Blind ที่เมือง Laski ประเทศโปเเลนด์
เเละเป็นโฮสให้รับเค้าที่โรงเรียนของเราตอนที่เค้าบินมาที่โรงเรียนของเราซึ่งตอนนั้นเองก็ได้เป็นครั้งเเรกที่ได้พบกับ
Queen Sonja เเห่งประเทศนอร์เวย์ ซึ่งท่านได้เสด็จมาเยี่ยมนักเรียนทุกคนทุกๆสองปี


รูปถ่ายกับหนึ่งในนักเรียนตาบอดชาวโปเเลนด์ที่เราได้ไปทําโปรเจคด้วยพาเค้าไปสถานที่ต่างๆเช่น ค่ายกักกัน Auschwitz

ด้วยความที่ตัวเองนั้นมีความสนใจวิทยาศาสตร์ก็เลยได้ไปเยี่ยมห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของเค้าอีกด้วย
ปรากฎเดินเข้าไปถึงกับช็อคว่า เรียนวิทยาศาสตร์ยังไงถ้าไม่มีเครื่องมือใดๆเลยเเละจะพวกเค้าเหล่านี้จะ
เข้าใจวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรถ้าพวกเค้ามองไม่เห็น เพราะหลายๆครั้งวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ใช่วิชาท่องจํา
เเต่เป็นการจินตนาการเเละเข้าใจในเนื้อหาวิชาซะมากกว่า คําถามข้อนั้นก็ติดอยู่ในใจเรามานานมาก

หลังจากที่ได้ไปโปเเลนด์กลับมาเเล้วเรียนจบที่นอร์เวย์เเละได้ทุนไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ที่ Clark University
ทุน Shelby Davis UWC Scholars ก็ได้รับการสนับสนุนให้ไปฝึกงานที่สถาบันวิจัย National Museum of Natural History, Smithsonian Institution ในกรุงวอชิงตันดีซีหลายครั้ง เเต่เเรงบันดาลใจได้มาจากครั้งล่าสุดที่ไปเมื่อปี 2014 ซึ่งได้เดินไปเจอนักศึกษาฝึกงานคนหนึ่ง
ยืนถือเครื่อง 3D scanner สเเกนกระดูกไดโนเสาร์อยู่ ก็เลยเริ่มคิดว่าถ้าเราสามารถนําเอาเทคโนโลยี
มาใช้ได้ทําอะไรสักอย่างละ ความคิดเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เเต่ถว่าก็พับไว้เพราะยังคิดไม่ออกในตอนนั้น
ว่าจะทําอย่างไรดี


รูปตอนที่ไปฝึกงานที่ National Museum of Natural History, Smithsonian Institution, Washington DC (2015)

ตัดกลับมาเมืองไทยน้อยกว่า 12 ชั่วโมงก่อนต้องพรีเซ้นท์
ตอนนั้นเราก็เริ่มกลับมาคิดเรื่องไอเดียนี้อีกครั้งหนึ่งเริ่ม Search กูเกิ้ลมากขึ้นเรื่องอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการศึกษา
ที่ผู้พิการทางสายตาสามารถนํามาใช้ได้ในเรื่องของการเรียนรู้ นอกจากนี้ก็ได้ทราบว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็
มีบุคคลทางสายตาน้อยมากที่ได้ทํางานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นนักวิจัย ในประเทศไทยในตอนนั้นได้อ่านเจอว่ามี นักวิจัย
สองคน อยู่ที่สวทช เเบบอะไรนะ!? เเค่สองคนทั้งๆที่ประเทศเรามีคนที่มีความพิการมากมาย ที่มีความสามารถเหลือล้นมากกว่า
คนที่ครบสามสิบสองสักอีก ก็เลยคิดว่าเอาละจะทําเรื่องนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนเหล่านี้มีส่วนร่วมในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น
คืนนั้นก็ได้โทรไปหาอาจารย์ที่รู้จักที่เป็นผู้พิการทางสายตาทํางานอยู่ที่วิทยาลัยราชสุดา ถามท่านว่าอะไรคืออุปสรรคของ
ผู้พิการทางสายตาในการเรียนบ้าง เมื่อได้คําตอบมาเเล้วเราก็รีบทํา เตรียมเขียน Script เเละเตรียมวาดรูป Presentation ให้เรียบร้อย


ตอนพรีเซ้นท์รอบสุดท้ายต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

หลังจากที่ทํามาจนถึงเช้าก็รีบวิ่งกลับบ้านจากห้องทํางานมาอาบนํ้าเเต่งตัว ขึ้นมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
ตอนนั้นผมกระจุยมากเพราะบอกให้พี่มอเตอร์ไซต์รีบสุดชีวิต ขึ้นบีทีเอส ขึ้นมอเตอร์ไซต์ต่อมาลงที่หน้าตึกจามจุรี square
บอกเลยวันนั้นทั้งง่วงเเละตื่นเต้นมากๆ


บรรยากาศระหว่างรอถ่ายวิดีโอให้กรรมการตัดสิน

ในวันสุดท้ายนั้นเเบ่งออกเป็นสองช่วงคือ
1. 1-minute elevator pitch หน้ากล้องซึ่งเราสามารถถ่ายได้ทั้งหมดสองครั้งเท่านั้น
2. 15-minute presentation สําหรับคนที่เข้ารอบสุดท้าย

วันนั้นบอกเลยว่าทุกคนยืนอยู่ในมุมของตัวเองท่อง Script เต็มที่เราบอกเลยว่าตื่นเต้นกดดันมาก เพราะตอนนั้นมีโอกาส 15:40
ในการเข้ารอบก็เเบบจําได้เลยว่าเเบบท่องไปด้วยดื่ม Mocha Frappuchino ไปด้วยทั้งๆที่ไม่ชอบกาเเฟเเต่วันนี้บอกตัวเอง
เอาละ! มาขนาดนี้เเล้วสู้ตาย!

ตอนที่เดินเข้าไปในตอนเเรกบอกเลยเห็นเเสง spotlight ส่องหน้าเเรงมากๆเเบบเเรงจริงจัง ไม่ชินเเละบอกเลยว่า
เหงี่อไหลพรากเลยทีเดียวเพราะตื่นเต้นสุดๆ พูดครั้งเเรกนี่เเบบลําบากมากขนาดเป็นภาษาอังกฤษนะ
ตอนนั้นบอกตัวเองตั้งสติเยอะๆเเละพูดไปเลย ตอนที่เดินออกมานี่เเบบงานนี้ไม่รู้จะเหลือไหม
เพื่อนๆก็บอกว่าน่าจะได้ผ่านเข้ารอบน่า เเต่ถว่าเมื่อเราเห็นโปรเจคของคนอื่นบอกเลย กดดันมากเพราะทุกคนดีมากจริงๆ

ตอนประกาศผล....
ชื่อเริ่มประกาศไปเเล้วทีละคนไปเรื่อยๆเเละมีชื่อเราเป็นคนสุดท้าย ตอนนั้นที่ได้ไปยืนข้างหน้านี่เเบบรู้สึกเบามากเเบบตกใจมากที่เราได้เหรอ
หลังจากนั้นมีเวลาหนึ่งชั่วโมงตอนทานข้าว ตอนนั้นนี่เเบบว่าเอาข้าวมาทานหน้าคอมพิวเตอร์เเล้วก็รีบเเก้ Presentation เพิ่มเติม
เเละก็ขึ้นไป present ให้กรรมการได้ดู หลังจากที่ทั้งสิบห้าคนได้พูดกันไปหมดเเล้วพวกเราก็เตรียมดูว่าจะมีชื่อใครบ้างที่ได้เข้ารอบสุดท้าย
เป็นผู้ชนะเเละเป็นตัวเเทนประเทศไทยในปีนี้


นี่คือตอนที่เรามีการรับ Popular Vote จากเพื่อนๆมาก่อนที่จะประกาศคะเเนน

ผลประกาศคะเเนนออกมาคนที่ได้เป็นอันดับที่สองผลคะเเนนรวม "Piangfan Naksukpaiboon"
บอกเลยตอนนั้นเเทบจะกระโดดเลยทีเดียว ดีใจมากที่จะได้เข้ารอบสุดท้ายเพื่อไปคัดว่าใครจะได้ไปนอร์เวย์


รูปของผู้ชนะทั้งหมดสี่คนจากประเทศไทยเพื่อคัดเลือกเป็นตัวเเทนไปงาน Telenor Youth Forum ที่ออสโล ประเทศนอร์เวย์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่