http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1481018117
กทม.พลิกแผนสร้างรายได้อนาคต ประกาศจัดเก็บทุกเม็ด ไล่บี้ภาษีคนกรุง ทั้งภาษีโรงเรือน บำรุงท้องที่ ขยายรวมถึง "ป้ายดิจิทัล" เตรียมคิดอัตราใหม่ ตั้งเป้าปี 2560 ต้องได้ 7.6 หมื่นล้านบาท ได้ฤกษ์ใช้ "แผนที่ภาษี" จัดเก็บรายได้ สแกนที่ดิน 2.5 ล้านแปลง เชื่อมต่อทะเบียนทรัพย์สินต้อนเข้าระบบ นำร่อง 4 เขต "ราชเทวี-ปทุมวัน-จตุจักร-หนองแขม" ดีเดย์มกราคมปีหน้า
จ่อรีดโรงแรม-บุหรี่เพิ่ม
นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปี 2560 กทม.ตั้งเป้าประมาณการรายได้ไว้ 76,000 ล้านบาทเป็นรายได้จัดเก็บเอง 20,000 ล้านบาท แยกเป็นภาษีอากร 15,820 ล้านบาท เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ 158 ล้านบาท ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 14,300 ล้านบาท ภาษีป้าย 1,060 ล้านบาท ภาษีน้ำมัน 300 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 1,200 ล้านบาท รายได้ทรัพย์สิน 1,000 ล้านบาท รายได้สาธารณูปโภคการพาณิชย์ 60 ล้านบาท และรายได้เบ็ดเตล็ด 1,920 ล้านบาท ที่เหลือ 56,000 ล้านบาท เป็นรายได้
ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 24,500 ล้านบาท ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อน 11,800 ล้านบาท ภาษีสุรา 1,200 ล้านบาท ภาษีการพนัน 30 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 3,000 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ 12,170 ล้านบาท และภาษีธุรกิจเฉพาะ 3,300 ล้านบาท
รีดเพิ่ม 5 พันล้าน
"ปีหน้าตั้งเป้ารายรับเพิ่มอีก 5,000 ล้านบาทจึงต้องพยายามทุกวิถีทางในการหารายได้ จากปี"59 มีรายได้ 71,775.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,775 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ 70,000 ล้านบาท เป็นรายได้ที่ กทม.จัดเก็บเอง 17,232.29 ล้านบาท และส่วนราชการอื่นจัดเก็บ 54,543.49 ล้านบาท"
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่ายังกังวลว่าจะเก็บรายได้เข้าเป้า 76,000 ล้านบาทหรือไม่ เนื่องจากฐานรายได้เดิมคิดบนพื้นฐานที่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 2560 ซึ่ง กทม.คาดว่าจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมาก แต่ล่าสุดรัฐบาลเลื่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปถึงปี 2562 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อการเก็บรายได้ ซึ่ง กทม.ต้องหาแนวทางเร่งรัดการจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น เช่น เพิ่มฐานภาษีใหม่ นำเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาใช้
ใช้แผนที่ภาษีส่อง
"ปี 2560 จะนำแผนที่ภาษีมาใช้จัดเก็บรายได้ให้ครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิมถึง 80% ปัจจุบันพื้นที่ กทม. มีที่ดินกว่า 2.5 ล้านแปลงแต่มีผู้เสียภาษีเพียง 6 แสนแปลงเท่านั้น ยังตกหล่นอยู่มาก ขณะที่ปัจจุบันการประเมินราคาที่ดินก็ไม่สอดคล้องกับราคาขายจริง หาก กทม.มีแผนที่ภาษีที่ชัดเจน จะดำเนินการจัดเก็บภาษีได้ถูกต้องรัดกุมมากขึ้น นำร่อง 4 เขต คือ ราชเทวี จตุจักร หนองแขม และปทุมวัน เพราะเป็นเขตที่มีข้อมูลประชากร เจ้าหน้าที่พร้อมที่สุด จากนั้นจะทยอยจนครบ 50 เขต"
ข้อดีของแผนที่ภาษีจะบอกรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าการเก็บขยะ ข้อมูลประชากร จำนวนอาคาร ที่อยู่อาศัยเอื้อต่อการทำรายงานระบบการเงินการคลังของ กทม. และลดการทุจริตและเลี่ยงจ่ายภาษีได้ ซึ่งแผนที่จะใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 1,000 โดยนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่ดูย้อนหลังได้ จะรู้ว่าที่ดินแปลงนี้ทำประโยชน์อะไร เพื่อนำมาประเมินภาษีต่อไป
"ที่ผ่านมา กทม.จ้างคนเดินสำรวจบ้านทุกหลังใน 50 เขต แต่ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเนื่องจากเจ้าของบ้านไม่ยอมให้เข้าสำรวจ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ หาก กทม.เก็บรายได้ 73,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว"
ลุยภาษีป้าย-โรงแรม-บุหรี่
นางวรรณวิไลกล่าวว่า นอกจากนี้จะพัฒนาขีดความสามารถในการจัดเก็บภาษีและรายได้ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยขอแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. ปี 2528 ให้สามารถจัดเก็บภาษีได้เหมือนเช่นท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษีโรงแรม ภาษีบุหรี่ ซึ่งภาษีโรงแรมยังไม่กำหนดอัตราต้องรอให้ พ.ร.บ.ผ่านการอนุมัติก่อน ส่วนภาษีบุหรี่จะเก็บมวนละ 10 สตางค์ อีกทั้งจะขอปรับอัตราภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันกทม.จัดเก็บอยู่ลิตรละ 5 สตางค์ เป็น 10 สตางค์ คาดว่าจะเริ่มเก็บในปี 2560 เช่นเดียวกัน
"ส่วนภาษีป้ายหลังมหาดไทยได้ปรับอัตราภาษีป้ายใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกฎกระทรวงบังคับใช้ทั่วประเทศ จะทำให้ กทม.มีรายได้จากภาษีป้ายเพิ่มขึ้นจากปี"59 ที่จัดเก็บได้ 855 ล้านบาท ซึ่งกฎหมายใหม่ให้จัดเก็บภาษีป้ายดิจิทัลเพิ่มเข้ามา คาดว่าจะทำให้ได้เม็ดเงินเพิ่มมากขึ้น"
สำหรับรายละเอียดอัตราภาษีป้ายที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ 1.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรไทยล้วนปรับจาก 3 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 6 บาท/500 ตร.ซม. 2.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรภาษาไทยปนกับภาษาต่างประเทศ และหรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น จาก 20 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 30 บาท/500 ตร.ซม.
3.ป้ายที่ไม่มีตัวอักษรภาษาไทย จาก 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 50 บาท/500 ตร.ซม. 4.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรไทยอยู่ใต้ภาษาต่างประเทศ เก็บ 40 บาท/500 ตร.ซม.เท่าเดิม 5.ป้ายใช้เครื่องจักรกลมีจำนวนภาพไม่เกิน 3 ภาพ จากเดิม 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 60 บาท/500 ตร.ซม. เกิน 3 ภาพคิดเพิ่มภาพละ 10 บาท/500 ตร.ซม.
6.ป้ายอักษรวิ่ง เดิมเก็บไม่เกิน 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 60 บาท/500 ตร.ซม. 7.ป้ายจออิเล็กทรอนิกส์หรือป้ายดิจิทัล โฆษณามากกว่า 1 ภาพใน 60 วินาที เดิมเก็บไม่เกิน 60 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 200 บาท/500 ตร.ซม. รวมถึงจะเก็บป้ายโฆษณาติดตามรถยนต์ด้วยหากเกิน 500 ตร.ซม. จากเดิมจะได้รับการยกเว้น
งัด"แผนที่ภาษี"รีดคนกรุง เป้า7.6หมื่นล.-นำร่อง4ทำเลกลางเมือง
กทม.พลิกแผนสร้างรายได้อนาคต ประกาศจัดเก็บทุกเม็ด ไล่บี้ภาษีคนกรุง ทั้งภาษีโรงเรือน บำรุงท้องที่ ขยายรวมถึง "ป้ายดิจิทัล" เตรียมคิดอัตราใหม่ ตั้งเป้าปี 2560 ต้องได้ 7.6 หมื่นล้านบาท ได้ฤกษ์ใช้ "แผนที่ภาษี" จัดเก็บรายได้ สแกนที่ดิน 2.5 ล้านแปลง เชื่อมต่อทะเบียนทรัพย์สินต้อนเข้าระบบ นำร่อง 4 เขต "ราชเทวี-ปทุมวัน-จตุจักร-หนองแขม" ดีเดย์มกราคมปีหน้า
จ่อรีดโรงแรม-บุหรี่เพิ่ม
นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปี 2560 กทม.ตั้งเป้าประมาณการรายได้ไว้ 76,000 ล้านบาทเป็นรายได้จัดเก็บเอง 20,000 ล้านบาท แยกเป็นภาษีอากร 15,820 ล้านบาท เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ 158 ล้านบาท ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 14,300 ล้านบาท ภาษีป้าย 1,060 ล้านบาท ภาษีน้ำมัน 300 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 1,200 ล้านบาท รายได้ทรัพย์สิน 1,000 ล้านบาท รายได้สาธารณูปโภคการพาณิชย์ 60 ล้านบาท และรายได้เบ็ดเตล็ด 1,920 ล้านบาท ที่เหลือ 56,000 ล้านบาท เป็นรายได้
ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 24,500 ล้านบาท ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์หรือล้อเลื่อน 11,800 ล้านบาท ภาษีสุรา 1,200 ล้านบาท ภาษีการพนัน 30 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 3,000 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ 12,170 ล้านบาท และภาษีธุรกิจเฉพาะ 3,300 ล้านบาท
รีดเพิ่ม 5 พันล้าน
"ปีหน้าตั้งเป้ารายรับเพิ่มอีก 5,000 ล้านบาทจึงต้องพยายามทุกวิถีทางในการหารายได้ จากปี"59 มีรายได้ 71,775.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,775 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ 70,000 ล้านบาท เป็นรายได้ที่ กทม.จัดเก็บเอง 17,232.29 ล้านบาท และส่วนราชการอื่นจัดเก็บ 54,543.49 ล้านบาท"
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่ายังกังวลว่าจะเก็บรายได้เข้าเป้า 76,000 ล้านบาทหรือไม่ เนื่องจากฐานรายได้เดิมคิดบนพื้นฐานที่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 2560 ซึ่ง กทม.คาดว่าจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมาก แต่ล่าสุดรัฐบาลเลื่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปถึงปี 2562 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อการเก็บรายได้ ซึ่ง กทม.ต้องหาแนวทางเร่งรัดการจัดเก็บรายได้ให้มากขึ้น เช่น เพิ่มฐานภาษีใหม่ นำเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาใช้
ใช้แผนที่ภาษีส่อง
"ปี 2560 จะนำแผนที่ภาษีมาใช้จัดเก็บรายได้ให้ครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิมถึง 80% ปัจจุบันพื้นที่ กทม. มีที่ดินกว่า 2.5 ล้านแปลงแต่มีผู้เสียภาษีเพียง 6 แสนแปลงเท่านั้น ยังตกหล่นอยู่มาก ขณะที่ปัจจุบันการประเมินราคาที่ดินก็ไม่สอดคล้องกับราคาขายจริง หาก กทม.มีแผนที่ภาษีที่ชัดเจน จะดำเนินการจัดเก็บภาษีได้ถูกต้องรัดกุมมากขึ้น นำร่อง 4 เขต คือ ราชเทวี จตุจักร หนองแขม และปทุมวัน เพราะเป็นเขตที่มีข้อมูลประชากร เจ้าหน้าที่พร้อมที่สุด จากนั้นจะทยอยจนครบ 50 เขต"
ข้อดีของแผนที่ภาษีจะบอกรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าการเก็บขยะ ข้อมูลประชากร จำนวนอาคาร ที่อยู่อาศัยเอื้อต่อการทำรายงานระบบการเงินการคลังของ กทม. และลดการทุจริตและเลี่ยงจ่ายภาษีได้ ซึ่งแผนที่จะใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 1,000 โดยนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินที่ดูย้อนหลังได้ จะรู้ว่าที่ดินแปลงนี้ทำประโยชน์อะไร เพื่อนำมาประเมินภาษีต่อไป
"ที่ผ่านมา กทม.จ้างคนเดินสำรวจบ้านทุกหลังใน 50 เขต แต่ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเนื่องจากเจ้าของบ้านไม่ยอมให้เข้าสำรวจ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ หาก กทม.เก็บรายได้ 73,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว"
ลุยภาษีป้าย-โรงแรม-บุหรี่
นางวรรณวิไลกล่าวว่า นอกจากนี้จะพัฒนาขีดความสามารถในการจัดเก็บภาษีและรายได้ให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยขอแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. ปี 2528 ให้สามารถจัดเก็บภาษีได้เหมือนเช่นท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษีโรงแรม ภาษีบุหรี่ ซึ่งภาษีโรงแรมยังไม่กำหนดอัตราต้องรอให้ พ.ร.บ.ผ่านการอนุมัติก่อน ส่วนภาษีบุหรี่จะเก็บมวนละ 10 สตางค์ อีกทั้งจะขอปรับอัตราภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันกทม.จัดเก็บอยู่ลิตรละ 5 สตางค์ เป็น 10 สตางค์ คาดว่าจะเริ่มเก็บในปี 2560 เช่นเดียวกัน
"ส่วนภาษีป้ายหลังมหาดไทยได้ปรับอัตราภาษีป้ายใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกฎกระทรวงบังคับใช้ทั่วประเทศ จะทำให้ กทม.มีรายได้จากภาษีป้ายเพิ่มขึ้นจากปี"59 ที่จัดเก็บได้ 855 ล้านบาท ซึ่งกฎหมายใหม่ให้จัดเก็บภาษีป้ายดิจิทัลเพิ่มเข้ามา คาดว่าจะทำให้ได้เม็ดเงินเพิ่มมากขึ้น"
สำหรับรายละเอียดอัตราภาษีป้ายที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ 1.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรไทยล้วนปรับจาก 3 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 6 บาท/500 ตร.ซม. 2.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรภาษาไทยปนกับภาษาต่างประเทศ และหรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น จาก 20 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 30 บาท/500 ตร.ซม.
3.ป้ายที่ไม่มีตัวอักษรภาษาไทย จาก 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 50 บาท/500 ตร.ซม. 4.ป้ายที่จัดทำขึ้นโดยใช้อักษรไทยอยู่ใต้ภาษาต่างประเทศ เก็บ 40 บาท/500 ตร.ซม.เท่าเดิม 5.ป้ายใช้เครื่องจักรกลมีจำนวนภาพไม่เกิน 3 ภาพ จากเดิม 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 60 บาท/500 ตร.ซม. เกิน 3 ภาพคิดเพิ่มภาพละ 10 บาท/500 ตร.ซม.
6.ป้ายอักษรวิ่ง เดิมเก็บไม่เกิน 40 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 60 บาท/500 ตร.ซม. 7.ป้ายจออิเล็กทรอนิกส์หรือป้ายดิจิทัล โฆษณามากกว่า 1 ภาพใน 60 วินาที เดิมเก็บไม่เกิน 60 บาท/500 ตร.ซม. เป็น 200 บาท/500 ตร.ซม. รวมถึงจะเก็บป้ายโฆษณาติดตามรถยนต์ด้วยหากเกิน 500 ตร.ซม. จากเดิมจะได้รับการยกเว้น