๕ ธัวาคม ๒๕๕๙

๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ เป็นปีแรกที่ไม่มีการร้องเพลง สดุดีมหาราชา

และคงจะไม่ได้ยินอีกในปีค่อไป เพราะเป็นเพลงประจำพระองค์ ของในหลวงในพระบรมโกศ รัชกาลที่ ๙

ต่อไปนี้คงไม่มีใครร้องให้ผมฟังอักแล้ว ไม่มีอีกต่อไป

แต่ผมคงไม่มีวันลืมเลือน เรื้องร้องและทำนองเพลงนี้ไว้ในดวงใจนกว่าะตาย


เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ


เบื้องหลังของเพลงสดุดีมหาราชา

============ก่อนจะมาเป็นเพลง..."สดุดีมหาราชา"============

ขอนำเบื้องลึกเบื้องหลัง มาแปะกระทู้
ให้ได้ดูได้อ่านเรื่องดีๆ ซักเรื่องนะครับ

เรื่องดีๆที่ว่า...เป็นเรื่องของคนที่ทำความดี แต่ไม่ต้องการเอ่ยนาม...

(เมื่อชาติที่แล้วคงชอบปิดทองหลังพระ)

หลายๆท่านในที่นี้...หรือ แม้แต่คนไทยทั้งประเทศ คงรู้จัก
และเคยร้องเพลงนี้กันกระหึ่มก้องฟ้าเมืองไทยกันมาแล้วทุกคน

"สดุดีมหาราชา" ครับ...เพลงนี้ แทบจะกลายเป็นเพลงประจำชาติไปแล้ว

ร้องได้แม้แต่เด็กตัวน้อย ไปจนถึง ชราชน...

ก็เลยอยากจะนำเสนอถึงเบื้องลึก เบื้องหลัง ก่อนจะมาเป็นเพลงนี้
ให้ได้ทราบกัน

บางท่านก็คงได้ทราบกันมาเป็นเลาๆ บ้างแล้ว

ความจริงเรื่องนี้ ผมอยากจะเล่าให้ฟังนานแล้ว แต่เจ้าตัวผู้ริเริ่ม
ผู้ได้รับแรงบรรดาลใจ ให้เกิดมีเพลงนี้ขึ้นมา
เค้าไม่ต้องการที่จะเปิดตัว แสดงออกว่า

ที่เกิดเพลงนี้ขึ้นมา เพราะฉันเอง..!

ส่วนใหญ่คนในวงการภาพยนตร์ที่อยู่เบื้องหลัง มักจะมีความคิดกันแบบนี้

ผมเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่อยู่เบื้องหลังในวงการภาพยนตร์ไทย
ก็เลยไม่พูดถึง

อ้าว...พูดถึงเพลง แต่ไปพาดพิงถึงภาพยนตร์...ครับ..

ก็เพราะเพลงนี้เกิดจากเป็นเพลงในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2509

"ลมหนาว"
ภาพยนตร์โดยคุณชรินทร์ นันทนาคร นั่นแหละครับตัวต้นเหตุ

เผอิญวันนี้ เรื่องนี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะชน โดยคุณ "ซูม" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก็เลยเกิดความคิดขึ้นมา
ว่าควรเผยแผ่ให้เป็นที่รู้กัน โดยทั่วไป

เรื่องราวเหล่านี้คุณ ชรินทร์ นันทนาคร เขียนไว้นานแล้ว ในหนังสือที่ระลึก
ของครู "สมาน กาญจนผลิน" แล้วก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น

เมื่อคุณซูมออกมาเผยแพร่ ผมก็เลยถือโอกาส ก็อปมาขยายต่อซะเลย

ขอบคุณครับคุณซูม..!!

จากคุณ : ~นายเฉิ่มศักดิ์~
เขียนเมื่อ : 21 ส.ค. 54 12:20:26
--------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 1

ผม....(ชรินทร์ นันทนาคร) ทราบข่าวการเสียชีวิตของ "น้าหมาน"
(สมาน กาญจนผลิน) จากคุณเพชรา เชาวราษฎร์ทางโทรศัพท์
ขณะทัวร์คอนเสิร์ตอยู่ที่อเมริกา กลับมาก็ได้ไปแสดงความเสียใจต่อบรรดาทายาทของน้าหมาน และได้รับการขอร้องให้เขียนเล่าถึงเบื้องหลังบท เพลงสำคญที่สุด ที่ชื่อ

"สดุดีมหาราชา"

รับปากแล้วลังเลเพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมไม่เคยเอาชื่อของตัวเองเข้าไปผูกพันกับผลงานแต่งเพลง
จนกระทั่งคุณ พูลศรี เจริญพงษ์ ผู้รวบรวมข้อเขียนไว้อาลัยโทรฯ มาบอกว่าให้เขียนเถอะ เพราะความความจริงไม่ใช่เรื่องเสียหาย

ก็ขอย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2507 ผมมีโอกาสขึ้นไปดูสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ที่บ้านป่าแป๋
ที่มีน้ำพุร้อนสวยที่สุดที่เชียงใหม่ เห็นแม๊วเป๊อะของเต็มกระบุงขึ้นดอยมา
ที่ขอบกระบุงมีธง ภ.ป.ร.ผืนน้อยเสียบอยู่ ถามดูได้ความว่าซื้อมาจากในเมือง อันละ 8 บาท
จะเอาไปติดบูชาที่ประตูบ้านในวันสำคัญ้ของเจ้าพ่อหลวง

ผมมองตามธงผืนนั้นไกลออกไปในระหว่างหุบเขา และจะด้วยอะไรก็ไม่รู้ ผมนึกชื่อขึ้นมาได้ชื่อหนึ่งว่า

"สุดดีมหาราชา"

เก็บชื่อ และคิดว่าจะทำอะไรอยู่ 2 ปีจึงได้ไปพบผู้มีพระคุณท่านหนึ่งซึ่งผมนับถือเสมือน "พ่อ"

ท่านคือ พระยาศรีวิศาลวาจา

กราบเรียนถามท่านว่าถ้าเราจะแต่งเพลงรักและบูชาพระเจ้าอยู่หัว และพระราชินีของเรา โดยใช้ถ้อยคำธรรมดาง่ายๆแบบชาวบ้าน
จะเป็นการมิบังควรหรือเปล่า ท่านบอกเป็นความคิดที่ดีมาก รีบไปทำได้เลย

นักประพันธ์เพลงที่ฝีมือดีมีมากมายในบ้านเรา แต่ผู้ที่จะมาสร้างทำนองเพลงอันสำคัญนี้
คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก "น้าหมาน" หรือคุณสมาน กาญจนผลิน เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่าน
เคยบันทึกเสียงเพลงด้วยกันมา ผมทราบดีว่าคนคนนี้ "อัจฉริยะ"

ปัญหาอยู่ที่เนื้อร้อง ผมตรงไปพบ คุณสุรัฐ พุกกะเวส นักประพันธ์เพลงอาวุโส และช่วงนั้น
ท่านเป็นนายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงด้วย ท่านขอเวลา 2 วัน ถึงเวลาไปรับเนื้อเพลงปรากฏว่ายาวมาก
ถ้อยคำส่วนใหญ่จะเป็นราชาศัพท์ ไม่ตรงกับใจที่หวังไว้ ถึงอย่างไรก็ถือว่าได้เริ่มต้นกันแล้ว

คิดอยู่อีกนานว่าจะทำอย่างไร เผอิญได้พบกับคุณ ชาลี อินทรวิจิตร ในร้านอาหาร "สีทันดร"
ผมระบายความในใจและสิ่งที่อยากจะได้ให้เขาฟัง บอกชื่อเพลงให้เขาไปว่า "สดุดีมหาราชา"

รุ่งขึ้นรับชาลีที่บ้านหลังศาลเจ้าแซ่ซิ้ม ธนบุรี ตี 5 ครึ่งบึ่งไปบ้านน้าหมานในซอยข้างวัดเทพธิดาราม
พอเริ่มแต่งเพลง ชาลีเริ่มเกร็ง เนื้อร้องต้องมาก่อนเอาง่ายๆแบบชาวบ้านแต่ประทับใจ ผมบอก...

ชาลีเถียง ....นั่นแหละยากแล้ว

จากคุณ : ~นายเฉิ่มศักดิ์~
เขียนเมื่อ : 21 ส.ค. 54 12:30:17


ความคิดเห็นที่ 2

ชาลีก็ถามผมขึ้นมาลอยๆว่า....
"เออ ชรินทร์ ถ้าเผอิญในหลวงท่านมาในซอยนี้ แล้วเราไปเจอพระองค์ท่านเราจะทำยังไง"
ผมก็บอกไปว่า "เราคงต้องนั่ง หรือคุกเข่าพนมมือ...ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า....แล้วเรามีอะไรก็กราบบังคมทูลพระองค์ท่าน"

ชาลีรีบเขียนในกระดาษ

....ขอเดชะองค์พระประมุขภูมิพล มิ่งขวัญปวงชนประชาชาติไทย....

เหมือนลมเย็นพัดมาวูบหนึ่ง แล้วก็พาความวิตกกังวลที่สุมอยู่ในหัวใจผมมานานหายไปในพริบตา
ผมดึงเนื้อเพลงบรรทัดนั้นส่งให้น้าหมาน ท่านพรมนิ้วลงบนคีย์เปียโนไล่เสียง ไม่นานเลย
แล้วทำนองเพลงก็หลั่งไหลมา ครั้งเดียวก็ดีเยี่ยม เป็นทำนองที่เราท่านทั้งหลายร้องสดุดีมหาราชาจากวันนั้นถึงวันนี้

ได้บรรทัดแรกมาเราสามคนก็หายจากอาการเกร็ง...ฟ้าดินเป็นใจเราแล้ว
ก็แต่งต่อจนจบท่อน สดุดีมหาราชา...สดุดีมหาราชินี
แล้วชาลีก็พูดขึ้นอีกว่า...ต่อไปนี้เป็นท่อนจบความไพราะทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมารวมกันอยู่ที่ตรงนี้....และนี่คือเนื้อเพลง...

...อ่าองค์พระสยมบรมราชันย์ขวัญหล้า...

อ่านบรรทัดที่หนึ่งผมก็นิ่ง ชาลีเขาอ่านสีหน้าผมออกยิ่งกว่าอ่านแบบเรียนเร็ว....ชาลีพูดเสียงดัง...

"กูตามใจมืงมา 8 บรรทัดแล้ว จะแต่งตามใจกูสักบรรทัดไม่เชียวหรือวะ...ชรินทร์"

เออ.... ก็ต้องรีบประนีประนอมขอฟังทำนองจากน้าหมานก่อน ถ้าเพราะก็คงไม่ยาก

น้าหมานอ่านเนื้อแล้วไล่คีย์เปียโน...บอกว่าทำนองจะขาดไป 2 ห้อง ต้องทำสะพานดนตรีลงมารับกับคำร้องท่อนสุดท้าย

...อ่าองค์พระสยม...แล้วท่านก็ดีดให้ฟัง

อีกครั้ง อัจฉริยะชนคนธรรมดาสำแดงฤทธิ์ทางดนตรี ดีดทีเดียวก็ไพเราะจับใจ ท่านผู้อ่านลองร้องดูเถอะครับ...

...อ่าองค์พระสยมบรมราชันย์ขวัญหล้า เปล่งบุญญาสมสง่าบารมี
ผองข้าพระพุทธเจ้า น้อมเกล้าขออัญชุลี สดุดีมหาราชา สดุดี มหาราชินี...

เพลงสดุดีมหาราชาเผยแพร่สู่ประชาชนครั้งแรก โดยบรรจุไว้ในภาพยนตร์เพลงพระราชทาน "ลมหนาว" ที่ผมสร้าง
ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงเมื่อปี 09 เป็นตอนใกล้จบเรื่อง
มีภาพนักโทษการเมือง และพระเอกของเรื่องที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา
เดินออกจากคุกและพร้อมใจกันก้มกราบระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ผู้คนที่เข้ามาดูภาพยนตร์ในรอบแรก ต่างลุกขึ้นยืนถวายความเคารพ คนเฝ้าประตูใหญ่ด้านข้างของเฉลิมกรุงก็เปิดประตู

ผู้คนเข้าใจว่าภาพยนตร์จบแล้ว ต่างก็กรูกันออกไปเต็มถนนเจริญกรุง

ไม่นานก็ได้เรื่อง

ตำรวจพาตัวผมไปที่โรงพักพระราชวังเพราะมีคนไปแจ้งความว่าผมเอาเพลงอะไรก็ไม่รู้มาเปิดแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

จากคุณ : ~นายเฉิ่มศักดิ์~
เขียนเมื่อ : 21 ส.ค. 54 12:39:15


ความคิดเห็นที่ 3

อธิบายให้ตำรวจฟังยังไงก็ไม่เข้าใจ ทางโรงก็ไม่กล้าฉายหนัง ผมก็ต้องโทรถึงที่พึ่งของผม

พักใหญ่ที่พึ่งของผมท่านก็มา ตำรวจตั้งแถวกันพรึบพรับทั่วทั้งโรงพักและทุกอย่างก็จบลงด้วยรอยยิ้มและความเข้าใจ

ภาพยนตร์ก็ฉายได้ตามปกติ

จากวันนั้นถึงวันนี้ เพลง "สดุดีมหาราชา" ได้กลายเป็นเพลงของประชาชนคนไทยทั้งประเทศไปแล้ว
ถ้าสวรรค์มีจริง อัจฉริยะชนคนธรรมดา และเป็นคนดีที่พร้อมอย่างน้าหมาน ท่านคงยิ้มอย่างเป็นสุขอยู่บนนั้น.




ครับ...เป็นบันทึกเรื่องราวที่เขียนโดย
คุณชรินทร์ นันทนาคร


ต้นเหตุ...ก่อนจะเป็นเพลง..."สดุดีมหาราชา"


ผมเพียงนำมาเล่าสู่กันฟัง...!!

จากคุณ : ~นายเฉิ่มศักดิ์~
เขียนเมื่อ : 21 ส.ค. 54 12:42:48

เหตุเกิดเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙

ผู้เล่านำมาเล่าเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๔

ผมเอามาเล่าต่อในอีก ๕ ปีค่อมา พ.ศ.๒๕๕๙

น่ำตาไหลรินออกมาเงียบ ๆ ห้ามไม่หยุดครับ.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่