คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คนที่เข้าใจอย่าง จขกท คือคนที่ไม่มีความรู้เรื่องภาษีและนโยบายของรัฐบาลเรื่องการเงิน เหตุผลของการออกกฏหมาย FATCA ไม่ใช่เพราะรัฐบาลอเมริกันต้องการเก็บภาษีทุกคนที่มีรายได้ หรือเงินฝากในต่างประเทศ แต่หากเป็นการติดตามความเคลื่อนไหวของ corporations ที่นำเงินไปลงทุนนอกประเทศ โดยได้รับการยกเว้นภาษี แต่เมื่อกิจการทำกำไร กลับไม่นำดอกผลกลับประเทศ แต่กลับนำไปฝากไว้กับ offshore banks อื่นๆ แทน นอกจากนั้น ยังเป็นการติดตามการฟอกเงินผิดกฏหมาย คนธรรมดาไม่กระทบอะไรเลย นอกจากไม่ค่อยสบายใจเพราะไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว จะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนหรือไม่
สรุปง่ายๆ
1. ถ้าหากคุณเป็น US resident/national คือจะเป็นซิติเซ่น หรือมีใบเขียว คุณต้องยื่นแบบภาษีทุกปี ไม่ว่าตัวจะอยู่ที่ไหนในโลก ถ้าคุณอยู่ในอเมริกาน้อยกว่า 183 วัน ต่อปี สถานะของคุณก็จะเป็น non-resident ซึ่งการหักลดหย่อนในส่วน exemptions & tax credits จะต่างออกไป
2. รายได้ในส่วนที่ต้องเสียภาษีให้อังเคิลแซม คือรายได้ที่เกิดในอเมริกาเท่านั้น จะเป็น passive/non-passive income ก็คิดเหมือนกันหมด ส่วนรายได้ที่เกิดนอกประเทศ เมื่อคุณรายงานไป ในส่วนนี้จะต้องคำนวณเป็น foreign income tax credits รายได้ส่วนนี้คุณต้องเสียภาษีให้กับประเทศที่รายได้เกิดขึ้น ดังนั้น คุณไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลอเมริกันอีก แต่ต้องแจ้ง....
ถ้าเป็นห่วงเรื่อง Capital gain ในตลาดหุ้นไทย ขอตอบว่า ไม่กระทบเลย คุณเสียภาษีในไทย แล้วก็แจ้ง ทำเป็น tax credits เวลา file tax return เท่านั้น
เรื่องนี้เลคเชอร์ได้เป็นวัน เอาเป็นว่า ถ้าอยากปรึกษา tax professional จะแนะนำให้
สรุปง่ายๆ
1. ถ้าหากคุณเป็น US resident/national คือจะเป็นซิติเซ่น หรือมีใบเขียว คุณต้องยื่นแบบภาษีทุกปี ไม่ว่าตัวจะอยู่ที่ไหนในโลก ถ้าคุณอยู่ในอเมริกาน้อยกว่า 183 วัน ต่อปี สถานะของคุณก็จะเป็น non-resident ซึ่งการหักลดหย่อนในส่วน exemptions & tax credits จะต่างออกไป
2. รายได้ในส่วนที่ต้องเสียภาษีให้อังเคิลแซม คือรายได้ที่เกิดในอเมริกาเท่านั้น จะเป็น passive/non-passive income ก็คิดเหมือนกันหมด ส่วนรายได้ที่เกิดนอกประเทศ เมื่อคุณรายงานไป ในส่วนนี้จะต้องคำนวณเป็น foreign income tax credits รายได้ส่วนนี้คุณต้องเสียภาษีให้กับประเทศที่รายได้เกิดขึ้น ดังนั้น คุณไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลอเมริกันอีก แต่ต้องแจ้ง....
ถ้าเป็นห่วงเรื่อง Capital gain ในตลาดหุ้นไทย ขอตอบว่า ไม่กระทบเลย คุณเสียภาษีในไทย แล้วก็แจ้ง ทำเป็น tax credits เวลา file tax return เท่านั้น
เรื่องนี้เลคเชอร์ได้เป็นวัน เอาเป็นว่า ถ้าอยากปรึกษา tax professional จะแนะนำให้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
เตือนอีกเรื่อง นอกจากแจ้งเรื่องรายได้ในประเทศไทยแล้ว
"ต้อง" file FBAR คือแจ้งสินทรัพย์ที่มีอยู่นอกประเทศ(อเมริกา)ด้วยนะคะ
เพราะโทษของการไม่แจ้ง FBAR นี่โหดสุดๆ
เราไม่ได้ถือกรีนการ์ด แต่อยู่ในอเมริกาด้วย H วีซ่า จากที่เมื่อก่อนเป็นนักเรียนถือ F-1
ซึ่งเอาจริงๆถ้าอยู่อเมริกาเกิน 5 ปี และอ้าง closer connection to foreign country ในฐานะนักเรียนต่างชาติไม่ได้
ทุกคนถูกนับเป็น resident for income tax purpose คือต้องรายงานรายได้นอกอเมริกาหมดทุกคนนะคะ
ของเราเอง อย่าง tax ปีล่าสุดก็รายงาน capital gain/dividends จาก port ที่ถือที่เมืองไทยไปด้วยค่ะ
ซึ่งเอาจริงๆมันจะมีรายละเอียดที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้มากอยู่ ต้องศึกษาดูให้ละเอียด
ของเราเอง โดนรายได้จากเมืองไทยผลักขึ้นไปอยู่ใน tax bracket ที่สูงกว่ารายได้ในอเมริกาพอสมควร
แต่ถ้าเป็น capital gain ที่มาจาก long term คือถือหุ้นตัวนั้นมากกว่า 1 ปี จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงค่ะ
เช่นถ้าคุณมีรายได้ตกอยู่ใน bracket 10-15% แต่ถ้าคุณถือหุ้นตัวนั้นมามากกว่า 1 ปี
ภาษีที่คุณต้องจ่ายเฉพาะในส่วน capital gain ของหุ้นตัวนี้ คือ 0% หรือไม่ต้องจ่ายเลยค่ะ
หรือถ้าคุณอยู่ใน bracket สูงสุดคือ 39.6% ถ้าคุณถือหุ้นตัวนั้นเกิน 1 ปี คุณจะเสียภาษีในส่วนนี้แค่ 20% ค่ะ
เวลา file tax ก็แจกแจงไป ว่าซื้อเมื่อไหร่ ขายเมื่อไหร่ เราลงวันที่ไว้ละเอียดมากค่ะ
(ใช้ศิลปะในการจับคู่นิดหน่อย จับคู่ยังไงให้ขาดทุนหรือกำไรน้อยสุด และระยะเวลาเกิน 1 ปี)
ในส่วนของ dividend ก็จะมีแยกอีกว่าเป็น dividend ทั่วไปหรือ qualified dividends
qualified dividend คร่าวๆคือ dividend จากหุ้นที่คุณถือเป็นเวลาอย่างน้อย 61 วันในช่วงเวลาที่กำหนด
ปกติคือ 60 วันก่อน XD - 60 วันหลัง XD หรือรวมทั้งหมด 120 วัน
ใน 120 วันนี้ ถ้าคุณถือหุ้นตัวนี้มากกว่า 61 วัน ก็นับเป็น qualified dividend จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลง
http://www.schwab.com/public/schwab/nn/articles/Taxes-Whats-New
ซึ่ง dividend ที่ได้ในเมืองไทย จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตโนมัติอยู่แล้ว
เราก็เอารายละเอียดตรงนี้ไปกรอกในส่วนของ Foreign Tax Credit (ไม่ใช่ deduction นะคะ)
ซึ่ง IRS ก็จะไม่เอาภาษีที่คุณจ่ายให้ไทยไปแล้วมาคิดภาษีคุณเพิ่มถ้าภาษีคุณถึงเกณฑ์แล้ว
เช่น จาก Bracket ของคุณ สมมติคุณต้องจ่ายภาษีของ qualified dividend ที่ 10%
คุณกรอกที่คุณจ่ายที่เมืองไทย 10% ลงไปใน Foreign Tax Credit คุณก็ไม่ต้องจ่ายให้ IRS แล้ว
แต่ถ้าคุณมีภาระต้องเสียภาษีที่ 15% คุณก็ต้องจ่ายให้ IRS เฉพาะในส่วนต่างของ 15% และ 10% ที่เสียให้ไทยไปแล้ว
ถ้าเอาให้ชัวร์ จ้าง CPA ค่ะ
"ต้อง" file FBAR คือแจ้งสินทรัพย์ที่มีอยู่นอกประเทศ(อเมริกา)ด้วยนะคะ
เพราะโทษของการไม่แจ้ง FBAR นี่โหดสุดๆ
เราไม่ได้ถือกรีนการ์ด แต่อยู่ในอเมริกาด้วย H วีซ่า จากที่เมื่อก่อนเป็นนักเรียนถือ F-1
ซึ่งเอาจริงๆถ้าอยู่อเมริกาเกิน 5 ปี และอ้าง closer connection to foreign country ในฐานะนักเรียนต่างชาติไม่ได้
ทุกคนถูกนับเป็น resident for income tax purpose คือต้องรายงานรายได้นอกอเมริกาหมดทุกคนนะคะ
ของเราเอง อย่าง tax ปีล่าสุดก็รายงาน capital gain/dividends จาก port ที่ถือที่เมืองไทยไปด้วยค่ะ
ซึ่งเอาจริงๆมันจะมีรายละเอียดที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้มากอยู่ ต้องศึกษาดูให้ละเอียด
ของเราเอง โดนรายได้จากเมืองไทยผลักขึ้นไปอยู่ใน tax bracket ที่สูงกว่ารายได้ในอเมริกาพอสมควร
แต่ถ้าเป็น capital gain ที่มาจาก long term คือถือหุ้นตัวนั้นมากกว่า 1 ปี จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงค่ะ
เช่นถ้าคุณมีรายได้ตกอยู่ใน bracket 10-15% แต่ถ้าคุณถือหุ้นตัวนั้นมามากกว่า 1 ปี
ภาษีที่คุณต้องจ่ายเฉพาะในส่วน capital gain ของหุ้นตัวนี้ คือ 0% หรือไม่ต้องจ่ายเลยค่ะ
หรือถ้าคุณอยู่ใน bracket สูงสุดคือ 39.6% ถ้าคุณถือหุ้นตัวนั้นเกิน 1 ปี คุณจะเสียภาษีในส่วนนี้แค่ 20% ค่ะ
เวลา file tax ก็แจกแจงไป ว่าซื้อเมื่อไหร่ ขายเมื่อไหร่ เราลงวันที่ไว้ละเอียดมากค่ะ
(ใช้ศิลปะในการจับคู่นิดหน่อย จับคู่ยังไงให้ขาดทุนหรือกำไรน้อยสุด และระยะเวลาเกิน 1 ปี)
ในส่วนของ dividend ก็จะมีแยกอีกว่าเป็น dividend ทั่วไปหรือ qualified dividends
qualified dividend คร่าวๆคือ dividend จากหุ้นที่คุณถือเป็นเวลาอย่างน้อย 61 วันในช่วงเวลาที่กำหนด
ปกติคือ 60 วันก่อน XD - 60 วันหลัง XD หรือรวมทั้งหมด 120 วัน
ใน 120 วันนี้ ถ้าคุณถือหุ้นตัวนี้มากกว่า 61 วัน ก็นับเป็น qualified dividend จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลง
http://www.schwab.com/public/schwab/nn/articles/Taxes-Whats-New
ซึ่ง dividend ที่ได้ในเมืองไทย จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตโนมัติอยู่แล้ว
เราก็เอารายละเอียดตรงนี้ไปกรอกในส่วนของ Foreign Tax Credit (ไม่ใช่ deduction นะคะ)
ซึ่ง IRS ก็จะไม่เอาภาษีที่คุณจ่ายให้ไทยไปแล้วมาคิดภาษีคุณเพิ่มถ้าภาษีคุณถึงเกณฑ์แล้ว
เช่น จาก Bracket ของคุณ สมมติคุณต้องจ่ายภาษีของ qualified dividend ที่ 10%
คุณกรอกที่คุณจ่ายที่เมืองไทย 10% ลงไปใน Foreign Tax Credit คุณก็ไม่ต้องจ่ายให้ IRS แล้ว
แต่ถ้าคุณมีภาระต้องเสียภาษีที่ 15% คุณก็ต้องจ่ายให้ IRS เฉพาะในส่วนต่างของ 15% และ 10% ที่เสียให้ไทยไปแล้ว
ถ้าเอาให้ชัวร์ จ้าง CPA ค่ะ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามผู้ที่มี Green Card และมีพอร์ตลงทุนหรือทรัพย์สินในประเทศไทย