คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 23
แวะมาทักทายสวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ ขอรวบยอดกดอิโมหลงรักทุกเม้น
เกี่ยวกับ "มอญ" นึกถึง "หงส์" ค่ะ
“หงส์” กับชนชาติมอญ
หงส์ ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์คู่ชนชาติมอญมาแต่โบราณกาล สืบเนื่องมาจากพุทธทำนายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากตรัสรู้ได้ ๘ พรรษา ได้เสด็จมายังบริเวณที่เป็นเมืองหงสาวดี (Pegu) ในปัจจุบัน พบหงส์สองตัวลงเล่นน้ำ ซึ่งขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นผืนน้ำเวิ้งว้าง พระพุทธองค์ได้มีพุทธทำนายว่า ในอนาคตสืบไปภายหน้าที่แห่งนั้นจะกลายเป็นแผ่นดิน มีเมืองชื่อว่า “หงสาวดี” และพระพุทธศาสนาของพระองค์จะสถิตย์ถาวรมั่นคงสืบไป
การสร้างเสาหงส์
ประเพณีการสร้างเสาหงส์นั้น เป็นประเพณีที่พบเห็นได้ทั่วไปตามชุมชนมอญในเมืองไทย ส่วนคติการสร้างเสาธง เป็นการสร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ไม่เกี่ยวข้องกับเสาหงส์
“เสาหงส์” ในวัดมอญเมืองไทยทุกวันนี้มีอยู่แทบทุกวัด แม้บางคนจะกล่าวว่า “เสาหงส์” เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ มีแต่ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะคนมอญในเมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดี ดังบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ที่ตอบถวายพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ถึงความเป็นมาของเสาหงส์
“หงส์ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติของชาวฮินดู ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่เดิมเมื่อได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ จึงเอาคติเรื่องหงส์มาผนวกเข้ากับความเชื่อในพุทธศาสนา ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า และ “หงส์” ก็เป็นสัตว์ชั้นสูงของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธทุกชนชาติ เช่น ไทย จีน พม่า เขมร ลาว ญวน ไม่เฉพาะมอญเท่านั้น
“เสาหงส์” นั้นสืบเนื่องมาจากสมัยก่อนที่มีการสร้างเสาแขวนธงยาวแบบธงจีน เป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทว่าธงนั้นงามเฉพาะเวลากลางวัน ครั้นยามกลางคืนก็มองไม่เห็น ต่อมาจึงมีคนคิดผนวกโคมไฟขึ้นบนเสานั้นด้วย ออกแบบให้เป็นรูปหงส์คาบโคมไฟห้อยลงมา ไม่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวมอญ”
ที่มาข้อมูลและภาพ
http://www.openbase.in.th/node/9818
http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9552396/E9552396.html
เกี่ยวกับ "มอญ" นึกถึง "หงส์" ค่ะ
“หงส์” กับชนชาติมอญ
หงส์ ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์คู่ชนชาติมอญมาแต่โบราณกาล สืบเนื่องมาจากพุทธทำนายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากตรัสรู้ได้ ๘ พรรษา ได้เสด็จมายังบริเวณที่เป็นเมืองหงสาวดี (Pegu) ในปัจจุบัน พบหงส์สองตัวลงเล่นน้ำ ซึ่งขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นผืนน้ำเวิ้งว้าง พระพุทธองค์ได้มีพุทธทำนายว่า ในอนาคตสืบไปภายหน้าที่แห่งนั้นจะกลายเป็นแผ่นดิน มีเมืองชื่อว่า “หงสาวดี” และพระพุทธศาสนาของพระองค์จะสถิตย์ถาวรมั่นคงสืบไป
การสร้างเสาหงส์
ประเพณีการสร้างเสาหงส์นั้น เป็นประเพณีที่พบเห็นได้ทั่วไปตามชุมชนมอญในเมืองไทย ส่วนคติการสร้างเสาธง เป็นการสร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ไม่เกี่ยวข้องกับเสาหงส์
“เสาหงส์” ในวัดมอญเมืองไทยทุกวันนี้มีอยู่แทบทุกวัด แม้บางคนจะกล่าวว่า “เสาหงส์” เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ มีแต่ในเมืองไทยเท่านั้น เพราะคนมอญในเมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดี ดังบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ที่ตอบถวายพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ถึงความเป็นมาของเสาหงส์
“หงส์ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติของชาวฮินดู ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่เดิมเมื่อได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ จึงเอาคติเรื่องหงส์มาผนวกเข้ากับความเชื่อในพุทธศาสนา ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า และ “หงส์” ก็เป็นสัตว์ชั้นสูงของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธทุกชนชาติ เช่น ไทย จีน พม่า เขมร ลาว ญวน ไม่เฉพาะมอญเท่านั้น
“เสาหงส์” นั้นสืบเนื่องมาจากสมัยก่อนที่มีการสร้างเสาแขวนธงยาวแบบธงจีน เป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทว่าธงนั้นงามเฉพาะเวลากลางวัน ครั้นยามกลางคืนก็มองไม่เห็น ต่อมาจึงมีคนคิดผนวกโคมไฟขึ้นบนเสานั้นด้วย ออกแบบให้เป็นรูปหงส์คาบโคมไฟห้อยลงมา ไม่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวมอญ”
ที่มาข้อมูลและภาพ
http://www.openbase.in.th/node/9818
http://2g.ppantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9552396/E9552396.html
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....มีแต่เสียง 30/11/2016.../sao..เหลือ..noi
กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
https://www.youtube.com/watch?v=m66PQxydbRk
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป
ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพส
สิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลง
จึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สุขสันต์เย็นวันพุธนะคะ .... สวัสดีเพื่อนๆ ห้องเพลง
พี่สาวเหลือน้อยรับหน้าที่ MC ค่ะ
วันนี้พาไปรู้จัก "สะพานมอญ" ที่ จังหวัดกาญจนบุรีค่ะ
สะพานอุตตมานุสรณ์
สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร
และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย
ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้
แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี[
ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน
ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร
พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา
หลังจากผ่านไป 1 ปี การซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ก็ยังไม่เสร็จ และเกินสัญญาว่าจ้าง 120 วัน เนื่องจากมีปัญหาด้านบริษัทผู้รับเหมา
ที่มีปัญหาไม่สามารถนำไม้ที่ต้องขนส่งมาจากภาคอีสานมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย
ในที่สุด สะพานอุตตมานุสรณ์ก็ได้รับการสร้างจากทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอ
สังขละบุรี ใช้เวลาเพียงแค่ 29 วัน และมีพิธีเปิดใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันครบรอบ
ชาตกาล 104 ปี หลวงพ่ออุตตมะ โดยมีการแสดงแสงสีเสียงด้วย
มอญคือใคร?
มอญ หรือ รามัญ เป็นหนึ่งในชนชาติที่เก่าแก่ และมีอารยธรรมที่รุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นชนชาติที่เคยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศพม่า ในอดีตเมืองหงสาวดีก็เป็นเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ของมอญ ต่อมา
ถูกพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กษัตริย์พม่าเข้าตี และยึดหงสาวดีไปเป็นของพม่า ชาวมอญได้ถูกพม่ากดขี่ข่มเหง เพื่อต้องการทำลาย
ชาติพันธ์ุของมอญให้สิ้นไป มอญจึงต้องสู้รบกับพม่าตลอดมา และได้อพยพเข้ามาพึ่งกษัตริย์ไทยหลายต่อหลายครั้ง
มอญได้เข้ามาอยู่ในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 ในพม่าได้เกิดกบฎชาวมอญ ต่อสู้กับพม่า จนพ่ายแพ้และถูกพม่าปราบปราม จึงเป็นช่วงที่มีมอญหนีตายเข้ามาในประเทศไทย
มากที่สุด ครั้งนั้นรัชกาลที่ 2 โปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ปากเกร็ด พระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาในครั้งอื่นๆ ได้กระจัดกระจายอยู่ในไทย
ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคกลาง โดยเฉพาะนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ และมีบางส่วนอยู่ทางภาคเหนือ
ชาติมอญมีหงส์เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ และปรากฏอยู่ในธงชาติมอญที่มีพื้นสีแดง มีหงส์สีทองอยู่ตรงกลาง โดยชาวมอญมีความเชื่อใน
ตำนานเรื่องหงส์นี้ว่า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงที่ที่เป็นที่ตั้งเมิองหงสาวดี พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นหงส์ 2 ตัว
ว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะเล็กๆ ที่มีพื้นที่สำหรับหงส์แค่ตัวเดียว หงส์ตัวเมียจึงขึ้นไปยืนเกาะอยู่บนหลังหงส์ตัวผู้ พระองค์จึงทรงมีพุทธทำนายว่า
ต่อไปในภายภาคหน้า แผ่นดินแห่งนี้จะกลายเป็นมหานคร ชื่อหงสาวดี เป็นที่ที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองที่เมืองหงสาวดีสืบไป ตำนาน
การสร้างเมืองของอาณาจักรมอญจึงเริ่มขึ้นที่หงสาวดี และหงส์จึงเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหงสาวดี และชนชาติมอญ
ปัจจุบัน ชาวมอญเป็นกลายชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ ส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศ เช่นเดียวกับกะเหรี่ยง ถึงมอญ
จะเป็นชนชาติที่สิ่นแผ่นดิน แต่ชาวมอญก็ไม่ยอมสิ้นชาติ แม้ชาวมอญจะถูกกลืนไปกับชาวพม่า และชาวไทย แต่วัฒนธรรมมอญที่เคยมี
อิทธิพลเหนือชนชาติอื่นในอดีต ก็ยังคงมีให้เห็นปะปนอยู่ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญหลายอย่าง เช่นวัฒนธรรมทางด้านดนตรี
มีปี่พาทย์มอญ และ เพลงไทยบรรเลง เช่น มอญร้องไห้ มอญนกขมิ้น เป็นต้น
สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เปิดวันแรก ชาวบ้าน-นักเที่ยวแห่เข้าชมกันกว่า
1,000 คน บรรยากาศเช้านี้ มีการตักบาตรบนสะพาน เดินวิ่งปั่นจักรยาน ส่วนช่วงเย็นมีการจุดพลุ 1,500 ดอก และ
ปล่อยโคมลอย 109 ดวง
ประเพณีตักบาตรตอนเช้า สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ กาญจนบุรี
การใส่บาตรในช่วงเช้า โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะตื่นแต่เช้า นำขันใส่ข้าวสวยมานั่งรอบนพื้นถนนเป็นแถว เพื่อรอพระมาบิณฑบาตร
ชาวบ้านมักจะใส่บาตรด้วยข้าวสวย และดอกไม้ และกราบพระลงกับพื้นถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ
วัฒนธรรมการเทินของไว้บนหัวของชาวมอญ ซึ่งบางคนยังคงนิยมเทินสิ่งของไว้บนหัว แทนการห้ิวสัมภาระมากมาย บางคนสามารถเทิน
ของได้สูงๆ หรือหนักมากๆ แล้วยังสามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมอญ สังเกตได้จากการแต่งกายโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง เสื้อแขนกระบอกสามส่วน
มีผ้าแถบยาวเหมือนสไบพาดไว้ที่บ่า ผมรวมมัดเป็นมวยไว้ด้านหลัง ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง บนใบหน้าของหญิงชายชาวมอญ รวมถึงเด็กๆ
นิยมทาแป้งทานาคา ที่มีสีออกเหลืองนวลๆ ฉาบไว้ที่ใบหน้า (แป้งทานาคาทำจากท่อนไม้ต้นทานาคาฝนกับแป้นหินทราย ทาบนหน้าแล้ว
เกลี่ยด้วยแปรง)
ในหน้าร้อน บริเวณสะพานมอญ เหมือนเป็นสวนน้ำสำหรับเด็กๆ จะมีเด็ก มาเล่นน้ำใสๆ ในแม่น้ำซองกาเลีย และกระโดดน้ำจากสะพานมอญ
http://www.kanchanaburi.co/th/specific-place/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D/
เปิดเพลงมอญที่ใครๆก็รู้จักค่ะ
เพลงประจำมหาวิทยาลัย ทำนองมอญดูดาว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.youtube.com/watch?v=_Mko00TsZPo