คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 25
เราไปเจาะเลือด คนไข้ก็เรียกว่าหมอ ยิ่งคนไข้สูงอายุนะ หมอ หลาน หมอ -_- '' บางทีก็กระดากใจตัวเองนิด ๆ หนูไม่ใช่หมอค่ะป้า แต่เห็นคนไข้สูงอายุ แล้วนึกถึงพ่อแม่ทุกที แล้วยิ่งเวลาใส่ชุดกาวน์สั้น ไปข้างนอก คนชอบเรียกว่าหมอ มันคงแยกยากจริงๆ ขนาดเวลาคนไปดูหมอ (หมอดู) เรยกแม่หมอกันหมด 5555
ปล. แต่เราไม่เคยเรียกตัวเองว่าหมอนะ ใครทักนี่บอกหมด ไม่ใช่หมอค่า แล้วยิ่งจบ ทนพ มา ภาษาอังกฤษสาขานี้คล้ายหมอมาก มาเรียน ตปท เพื่อนต่างชาตินี่นึกว่าจบหมอมา ต้องมานั่งอธิบายว่า เป็นคนทำงานในห้องแลป ~ เฮ้อ
ปล. แต่เราไม่เคยเรียกตัวเองว่าหมอนะ ใครทักนี่บอกหมด ไม่ใช่หมอค่า แล้วยิ่งจบ ทนพ มา ภาษาอังกฤษสาขานี้คล้ายหมอมาก มาเรียน ตปท เพื่อนต่างชาตินี่นึกว่าจบหมอมา ต้องมานั่งอธิบายว่า เป็นคนทำงานในห้องแลป ~ เฮ้อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 32
โรงพยาบาลมีตำแหน่งเยอะมาก ยกตัวอย่าง เช่น
แพทย์ (มีกุมารแพทย์ อายุรแพทย์ จักษุแพทย์ จิตแพทย์ รังสีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ฯลฯ)
ทันตแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เภสัชกร (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พยาบาลวิชาชีพ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พยาบาลเทคนิค (พยาบาล 2 ปี เขาน่าจะเรียนต่อกันหมดแล้วมั้ง) (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกายอุปกรณ์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกายภาพบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกิจกรรมบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักเทคนิคการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักจิตวิทยาคลินิก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักสังคมสงเคราะห์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการการเงินและบัญชี (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักโสตทัศนูปกรณ์
นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักอรรถบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักโภชนาการ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักรังสีการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเวชสถิติ
เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการสาธารณสุข (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักการแพทย์แผนไทย (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักจัดการทั่วไป
เจ้าพนักงานธุรการ
ช่างเทคนิค (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้เป็นบางครั้ง)
ช่างกายอุปกรณ์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ของทุกแผนก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พนักงานบริการ ของทุกแผนก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พนักงานประจำตึก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้) เป็นต้น
คิดดูว่าถ้าจะต้องเรียกให้ถูกต้องตามด้านบน ตาสีตาสา สายตาไม่ดี กว่าจะอ่านตำแหน่งถูกต้อง เสียเวลาไปโขเลยค่ะ
สิ่งที่คนไข้ต้องการคืออะไร อาจจะไม่ใช่การเรียกให้ถูกต้อง เขาน่าจะต้องการให้เขาหายจากโรคหรือดีขึ้นจากอาการป่วย หมอตำแยทำคลอด ยังถูกเรียกว่าหมอ นักเทคนิคการแพทย์ผู้ต้องตรวจสิ่งส่งตรวจทั้ง เลือด อุจจาระ (เขาต้องเขี่ยอุจจาระของพวกคุณไปส่องกล้อง คิดดูว่าหน้าที่เขาน่ายกย่องแค่ไหน) ปัสสาวะ เสมหะ บางอย่างต้องเพาะเชื้อ อยู่กับเชื้อโรค เอาอาหารให้เชื้อกินเพื่อวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจนนำไปสู่การรักษาของแพทย์ เขาต้องอยู่กับ เลือดผู้ป่วย HIV เสมหะผู้ป่วยวัณโรค เลือดผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ
ถ้าไม่มีผลตรวจ CBC แพทย์จะบอกได้หรือไม่ว่าติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ต้องให้ antibiotic ไหม เม็ดเลือดขาวเท่าไหร่ เกล็ดเลือดเท่าไหร่ เป็นไข้เลือดออกไหม
ถ้าไม่มีผลตรวจ Electrolyte แพทย์จะทราบหรือไม่ว่าโปรแตสเซียมต่ำ ต้องให้ KCl หรือเปล่า หรือสูงต้องแก้ K หรือเปล่า ถ้าแลปผิดปกติเขาต้องตรวจซ้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าผลเลือดคุณถูกต้อง อาจจะต้องไปขอเจาะเลือดออกเพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง (อย่าด่าเขาที่เจาะอีก เพราะเขาเป็นห่วงคนไข้จริงๆ)
ถ้าไม่มีผลตรวจหมู่เลือด ไม่มีธนาคารเลือดในโรงพยาบาล เขาต้องไปขอเลือดจากโรงพยาบาลอื่นมาให้คนไข้ เก็บเลือดให้คนไข้ ทำครอสแมช ก่อนให้เลือด รักษาชีวิตคนไข้ร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ มีเหตุผลใดที่เรียกเขาว่าหมอไม่ได้
คนไข้ถูกงูกัดมา เขาก็ต้องเอาเลือดไปตรวจปฏิกิริยาของพิษงูต่อเลือด เพื่อให้คุณได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยเสพยาเสพติดมาตรวจปัสสาวะ ต้องมาตรวจต่อหน้าตำรวจและผู้ต้องหาโดยผู้ต้องหาเห็นหน้า พอ positive เท่านั้น ขู่อาฆาตกันเลยทีเดียว
เขาขึ้นเวร 24 ชั่วโมง โดยที่ 8.00-16.00 น. ยังต้องมาทำงาน และรอรับโทรศัพท์ทั้งคืน จะหลับดีๆยังไม่ได้เลย โรงพยาบาลเล็กๆมี นักเทคนิคการแพทย์แค่สองคน เวียนกันคนละ 15 วัน เจ๋งป่ะหล่ะ
ส่วนคลินิกเบาหวานเขาต้องมาทำงานเช้ากว่าปกติ เพราะผู้ป่วยเบาหวานต้องงดอาหารมา หากมาสายกว่าจะเจาะเสร็จ กว่าจะได้กินข้าว คนไข้น้ำตาลคงได้หามส่งห้องฉุกเฉินกันระนาว
เทุกอย่างที่กล่าวมา เขาไม่สมควรถูกเรียกว่าหมอตรงไหน เขาทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ เพื่อรักษาคนไข้หลายหมื่นคน หลายล้านคนทั่วประเทศ
ไม่ได้เบลมวิชาชีพอื่นนะ ทุกวิชาชีพหรือทุกอาชีพมีความสำคัญ มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเพื่อรักษาคนไข้คนหนึ่งให้ดีที่สุดตามศักยภาพของโรงพยาบาล เราทำงานกันเป็นทีม
เวลามีคนไข้หัวใจหยุดเต้นมา หากเป็น โรงพยาบาลอำเภอเล็กๆ คนที่ปั้มหัวใจคุณคนแรกคือเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินและผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ที่ทำหน้าถูพื้นในเวลาปกติด้วย) แพทย์มีคนเดียวเตรียมใส่ท่อ พยาบาลแทงน้ำเกลือ เจาะเลือดให้นักเทคนิคการแพทย์ตรวจโดยขอเป็นแลปด่วน(แปลว่าเอาผลมาภายใน 10 นาที) บีบ ambubag โทรเรียกพยาบาลหน่วยงานอื่นมาช่วย ติด monitor ต่าง ๆ แล้วเตรียมฉีดยา (ที่เภสัชได้เตรียมกล่องยาฉุกเฉินไว้ให้แล้ว) เตรียมเครื่องกระตุกหัวใจ เมื่อทำหน้าที่ตนเองสร็จ พยาบาลกับแพทย์ถึงจะได้มาช่วยปั้มหัวใจ เพราะปั้มคนเดียวไม่ได้ มันเหนื่อยมาก บางทีพนักงานขับรถยังต้องมาช่วยปั้มเลยค่ะ ทุกคนในโรงพยาบาลแม้กระทั่งคนถูพื้นคลำชีพจรเป็นและปั้มหัวใจได้ BLS ได้ฝึกทุกคน หากเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชน แม้แต่แบ็คออฟฟิศยังต้องมาช่วยเลยค่ะ
ปล. แพทย์ที่โรงพยาบาลแนะนำเจ้าหน้าที่ขณะออกปฏิบัติงานในชุมชนด้วยกัน ว่า "ผมหมอ.... นี่ หมอ....เป็นเภสัช นี่หมอ....เป็นนักกายภาพบำบัด นี่หมอ....เป็นพยาบาลจิตเวช " เขาไม่ได้ยึดติดว่าเขามีสิทธิ์ใช้คำว่าหมอคนเดียว แพทย์ยังให้เกียรติเพื่อนร่วมงานขนาดนี้ คนไข้จะให้เกียรติทุกคนในโรงพยาบาล มันก็ไม่น่าจะแปลกนะคะ
ปล. 2 เราไม่ได้เป็นนักเทคนิคการแพทย์ เป็นเพียงเพื่อนร่วมงานที่เห็นคุณค่าของพวกเขาเท่านั้น
แพทย์ (มีกุมารแพทย์ อายุรแพทย์ จักษุแพทย์ จิตแพทย์ รังสีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ฯลฯ)
ทันตแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เภสัชกร (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พยาบาลวิชาชีพ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พยาบาลเทคนิค (พยาบาล 2 ปี เขาน่าจะเรียนต่อกันหมดแล้วมั้ง) (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกายอุปกรณ์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกายภาพบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักกิจกรรมบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักเทคนิคการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักจิตวิทยาคลินิก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักสังคมสงเคราะห์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการการเงินและบัญชี (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักโสตทัศนูปกรณ์
นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักอรรถบำบัด (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักโภชนาการ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักรังสีการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเวชสถิติ
เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการสาธารณสุข (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักการแพทย์แผนไทย (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักจัดการทั่วไป
เจ้าพนักงานธุรการ
ช่างเทคนิค (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้เป็นบางครั้ง)
ช่างกายอุปกรณ์ (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ของทุกแผนก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พนักงานบริการ ของทุกแผนก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้)
พนักงานประจำตึก (มีหน้าที่ที่ต้องเจอกับคนไข้) เป็นต้น
คิดดูว่าถ้าจะต้องเรียกให้ถูกต้องตามด้านบน ตาสีตาสา สายตาไม่ดี กว่าจะอ่านตำแหน่งถูกต้อง เสียเวลาไปโขเลยค่ะ
สิ่งที่คนไข้ต้องการคืออะไร อาจจะไม่ใช่การเรียกให้ถูกต้อง เขาน่าจะต้องการให้เขาหายจากโรคหรือดีขึ้นจากอาการป่วย หมอตำแยทำคลอด ยังถูกเรียกว่าหมอ นักเทคนิคการแพทย์ผู้ต้องตรวจสิ่งส่งตรวจทั้ง เลือด อุจจาระ (เขาต้องเขี่ยอุจจาระของพวกคุณไปส่องกล้อง คิดดูว่าหน้าที่เขาน่ายกย่องแค่ไหน) ปัสสาวะ เสมหะ บางอย่างต้องเพาะเชื้อ อยู่กับเชื้อโรค เอาอาหารให้เชื้อกินเพื่อวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจนนำไปสู่การรักษาของแพทย์ เขาต้องอยู่กับ เลือดผู้ป่วย HIV เสมหะผู้ป่วยวัณโรค เลือดผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ
ถ้าไม่มีผลตรวจ CBC แพทย์จะบอกได้หรือไม่ว่าติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ต้องให้ antibiotic ไหม เม็ดเลือดขาวเท่าไหร่ เกล็ดเลือดเท่าไหร่ เป็นไข้เลือดออกไหม
ถ้าไม่มีผลตรวจ Electrolyte แพทย์จะทราบหรือไม่ว่าโปรแตสเซียมต่ำ ต้องให้ KCl หรือเปล่า หรือสูงต้องแก้ K หรือเปล่า ถ้าแลปผิดปกติเขาต้องตรวจซ้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าผลเลือดคุณถูกต้อง อาจจะต้องไปขอเจาะเลือดออกเพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง (อย่าด่าเขาที่เจาะอีก เพราะเขาเป็นห่วงคนไข้จริงๆ)
ถ้าไม่มีผลตรวจหมู่เลือด ไม่มีธนาคารเลือดในโรงพยาบาล เขาต้องไปขอเลือดจากโรงพยาบาลอื่นมาให้คนไข้ เก็บเลือดให้คนไข้ ทำครอสแมช ก่อนให้เลือด รักษาชีวิตคนไข้ร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ มีเหตุผลใดที่เรียกเขาว่าหมอไม่ได้
คนไข้ถูกงูกัดมา เขาก็ต้องเอาเลือดไปตรวจปฏิกิริยาของพิษงูต่อเลือด เพื่อให้คุณได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยเสพยาเสพติดมาตรวจปัสสาวะ ต้องมาตรวจต่อหน้าตำรวจและผู้ต้องหาโดยผู้ต้องหาเห็นหน้า พอ positive เท่านั้น ขู่อาฆาตกันเลยทีเดียว
เขาขึ้นเวร 24 ชั่วโมง โดยที่ 8.00-16.00 น. ยังต้องมาทำงาน และรอรับโทรศัพท์ทั้งคืน จะหลับดีๆยังไม่ได้เลย โรงพยาบาลเล็กๆมี นักเทคนิคการแพทย์แค่สองคน เวียนกันคนละ 15 วัน เจ๋งป่ะหล่ะ
ส่วนคลินิกเบาหวานเขาต้องมาทำงานเช้ากว่าปกติ เพราะผู้ป่วยเบาหวานต้องงดอาหารมา หากมาสายกว่าจะเจาะเสร็จ กว่าจะได้กินข้าว คนไข้น้ำตาลคงได้หามส่งห้องฉุกเฉินกันระนาว
เทุกอย่างที่กล่าวมา เขาไม่สมควรถูกเรียกว่าหมอตรงไหน เขาทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ เพื่อรักษาคนไข้หลายหมื่นคน หลายล้านคนทั่วประเทศ
ไม่ได้เบลมวิชาชีพอื่นนะ ทุกวิชาชีพหรือทุกอาชีพมีความสำคัญ มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเพื่อรักษาคนไข้คนหนึ่งให้ดีที่สุดตามศักยภาพของโรงพยาบาล เราทำงานกันเป็นทีม
เวลามีคนไข้หัวใจหยุดเต้นมา หากเป็น โรงพยาบาลอำเภอเล็กๆ คนที่ปั้มหัวใจคุณคนแรกคือเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินและผู้ช่วยเหลือคนไข้ (ที่ทำหน้าถูพื้นในเวลาปกติด้วย) แพทย์มีคนเดียวเตรียมใส่ท่อ พยาบาลแทงน้ำเกลือ เจาะเลือดให้นักเทคนิคการแพทย์ตรวจโดยขอเป็นแลปด่วน(แปลว่าเอาผลมาภายใน 10 นาที) บีบ ambubag โทรเรียกพยาบาลหน่วยงานอื่นมาช่วย ติด monitor ต่าง ๆ แล้วเตรียมฉีดยา (ที่เภสัชได้เตรียมกล่องยาฉุกเฉินไว้ให้แล้ว) เตรียมเครื่องกระตุกหัวใจ เมื่อทำหน้าที่ตนเองสร็จ พยาบาลกับแพทย์ถึงจะได้มาช่วยปั้มหัวใจ เพราะปั้มคนเดียวไม่ได้ มันเหนื่อยมาก บางทีพนักงานขับรถยังต้องมาช่วยปั้มเลยค่ะ ทุกคนในโรงพยาบาลแม้กระทั่งคนถูพื้นคลำชีพจรเป็นและปั้มหัวใจได้ BLS ได้ฝึกทุกคน หากเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชน แม้แต่แบ็คออฟฟิศยังต้องมาช่วยเลยค่ะ
ปล. แพทย์ที่โรงพยาบาลแนะนำเจ้าหน้าที่ขณะออกปฏิบัติงานในชุมชนด้วยกัน ว่า "ผมหมอ.... นี่ หมอ....เป็นเภสัช นี่หมอ....เป็นนักกายภาพบำบัด นี่หมอ....เป็นพยาบาลจิตเวช " เขาไม่ได้ยึดติดว่าเขามีสิทธิ์ใช้คำว่าหมอคนเดียว แพทย์ยังให้เกียรติเพื่อนร่วมงานขนาดนี้ คนไข้จะให้เกียรติทุกคนในโรงพยาบาล มันก็ไม่น่าจะแปลกนะคะ
ปล. 2 เราไม่ได้เป็นนักเทคนิคการแพทย์ เป็นเพียงเพื่อนร่วมงานที่เห็นคุณค่าของพวกเขาเท่านั้น
ความคิดเห็นที่ 87
ถ้าอคติขนาดนี้อย่ามาตั้งกระทู้เลยค่ะ แสดงให้เห็นถึงความอคติเกินไปไหมคะ?
เขาก็บอกกันอยู่ปาวๆว่าตามความหมายของคำว่า "หมอ" แล้วควรใช้เช่นไร
ไม่ว่าจะเฉพาะทางสายแพทย์หรือสายอื่นๆ การเรียกตัวเองว่าหมอ หรือถูกเรียกว่าหมอ
โดยที่ตนเองมีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยแม้แต่น้อย
ผู้ที่เอาอคติมาวัดคำเรียกของผู้อื่นว่าไม่ควรสิน่าอายมากกว่า...
อนึ่ง เราไม่ได้ทำงานสายแพทย์แต่อย่างใด แต่อยากยกคำเรียกของญี่ปุ่นมาลองเปรียบเทียบกัน
นั่นคือคำว่า "อาจารย์" ซึ่งสำหรับที่นั่นใช้เรียกคนเกือบทุกสายวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถว่า อาจารย์ กันทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นไม่ต่างกับคำว่า "หมอ" ที่คุณหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเลยค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น การเรียกหรือการถูกเรียกขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคลค่ะ
ไม่มีถูกมีผิดแต่อย่างใด ตราบใดที่เขาไม่ได้นำคำคำนั้นไปหลอกลวงใครเพื่อผลประโยชน์
อย่าพยายามตีโพยตีพายเพื่อที่จะกดอาชีพอื่นๆ แล้วทำตัวเหมือนอาชีพใดอาชีพหนึ่งวิเศษวิโสกว่าอาชีพใดๆเลยค่ะ
จบแพทย์มา หรือจะจบวิชาชีพใดมาก็ควรจะได้รับการยกย่องทั้งนั้นค่ะ เมื่อมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมากๆ
จะเรียกตัวเองว่า "หมอ" ก็ไม่แปลกค่ะ อย่าพยายามเถียงข้างๆคูๆอย่างนั้นอย่างนี้เลยค่ะ
เจตนาของคุณ ดูจากการตั้งกระทู้หรือการตอบคอมเม้นแล้วเดาได้ไม่ยากเลยค่ะว่าต้องการจะสื่ออะไร
ปล. หากคุณเป็นแพทย์ คงจะเป็นเรื่องน่าเศร้ามากเลยนะคะ เพราะคุณคงจะรักษาผู้ป่วยได้ไม่เต็มที่
เนื่องจากคุณก็ป่วยด้วยเช่นกัน "ใจของคุณกำลังป่วยค่ะ"
ขอให้สักวันสามารถลบอคติที่บังตาและจิตใจได้ในเร็ววันนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
เขาก็บอกกันอยู่ปาวๆว่าตามความหมายของคำว่า "หมอ" แล้วควรใช้เช่นไร
ไม่ว่าจะเฉพาะทางสายแพทย์หรือสายอื่นๆ การเรียกตัวเองว่าหมอ หรือถูกเรียกว่าหมอ
โดยที่ตนเองมีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลยแม้แต่น้อย
ผู้ที่เอาอคติมาวัดคำเรียกของผู้อื่นว่าไม่ควรสิน่าอายมากกว่า...
อนึ่ง เราไม่ได้ทำงานสายแพทย์แต่อย่างใด แต่อยากยกคำเรียกของญี่ปุ่นมาลองเปรียบเทียบกัน
นั่นคือคำว่า "อาจารย์" ซึ่งสำหรับที่นั่นใช้เรียกคนเกือบทุกสายวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถว่า อาจารย์ กันทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นไม่ต่างกับคำว่า "หมอ" ที่คุณหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเลยค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น การเรียกหรือการถูกเรียกขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคลค่ะ
ไม่มีถูกมีผิดแต่อย่างใด ตราบใดที่เขาไม่ได้นำคำคำนั้นไปหลอกลวงใครเพื่อผลประโยชน์
อย่าพยายามตีโพยตีพายเพื่อที่จะกดอาชีพอื่นๆ แล้วทำตัวเหมือนอาชีพใดอาชีพหนึ่งวิเศษวิโสกว่าอาชีพใดๆเลยค่ะ
จบแพทย์มา หรือจะจบวิชาชีพใดมาก็ควรจะได้รับการยกย่องทั้งนั้นค่ะ เมื่อมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมากๆ
จะเรียกตัวเองว่า "หมอ" ก็ไม่แปลกค่ะ อย่าพยายามเถียงข้างๆคูๆอย่างนั้นอย่างนี้เลยค่ะ
เจตนาของคุณ ดูจากการตั้งกระทู้หรือการตอบคอมเม้นแล้วเดาได้ไม่ยากเลยค่ะว่าต้องการจะสื่ออะไร
ปล. หากคุณเป็นแพทย์ คงจะเป็นเรื่องน่าเศร้ามากเลยนะคะ เพราะคุณคงจะรักษาผู้ป่วยได้ไม่เต็มที่
เนื่องจากคุณก็ป่วยด้วยเช่นกัน "ใจของคุณกำลังป่วยค่ะ"
ขอให้สักวันสามารถลบอคติที่บังตาและจิตใจได้ในเร็ววันนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 88
เราเป็นหมอ แต่ก็ไม่รู่สึกแปลกนะที่ใคร จะเรียกเจ้าหน้าที่คนอื่น ที่ไม่ใช่หมอว่า หมอ เราว่าทำงานเป็นทีมนะ มีหมอคนเดียวก็อยู่ไม่ได้ ยิ่งสมัยนี้ความกดดัน เรื่องงานก็มีมากอยู่แล้ว ถ้าคนอื่นไปเรียก คนที่ไม่ใช่หมอ ว่าหมอ มันก็เป็นกำลังใจให้เขาอย่างหนึ่งนะ อย่างน้อยก็ให้เขารู้สึกว่า เขาก็เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาคนไข้ ต้องปฎิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดไรงี้ เราว่า ถ้าทำงานช่วยเหลือคนไข้ ก็ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหมอนะ เพราะ หมอคือ ผู้ที่ช่วยเหลือและรักษาคนไข้ แน่นอน หมออาชีพเดียว ทำไม่ได้หมดทุกอย่างหรอก เราต้องพึ่งกัน
เราว่า ถ้าจะแอนตี้ เราควรแอนตี้ คนที่ไม่ใช่หมอ หรือ แม้แต่หมอ ก็ตาม แต่เอาชื่อหมอ ไปใช้ในทางที่ผิด อย่างนี้ควรประนามมากว่านะ ประมาณว่า หลอกว่าเป็นหมอ แล้วไปขายยา หรือแม้แต่หมอใช้ชื่อหมอ ไปโฆษณาชวนเชื่อ อย่างนี้ น่าจะประนามมากกว่านะ
เราว่า ถ้าจะแอนตี้ เราควรแอนตี้ คนที่ไม่ใช่หมอ หรือ แม้แต่หมอ ก็ตาม แต่เอาชื่อหมอ ไปใช้ในทางที่ผิด อย่างนี้ควรประนามมากว่านะ ประมาณว่า หลอกว่าเป็นหมอ แล้วไปขายยา หรือแม้แต่หมอใช้ชื่อหมอ ไปโฆษณาชวนเชื่อ อย่างนี้ น่าจะประนามมากกว่านะ
ความคิดเห็นที่ 118
สรุป จะแซะเพจหมอแล็ปคนดัง แต่กลัวคนมองว่าอคติ เลยพยายามชักแม่น้ำทั้งห้า หก เจ็ด แปด
ก็อปความเห็นที่ดูเป็นกลางเข้าท่า และเข้าข้างตัวเองไปไว้หัวกระทู้ เสริมความดูดีให้ตัวเอง
ไล่บี้พวกที่ไม่เข้าข้างตัวเอง ยินกรานกระต่ายขาเดียว อ้างความถูกต้องของคำศัพท์แบบตรรกะวิบัติ
ตามนี้ โอเค้ ?
นั่นสิ ผมชักสงสัยแบบ คห. 108 ขายยาลดความอ้วน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือเปล่า
ความเห็นผมเหรอ? ซ้ำกับหลาย คห. ข้างบน คำว่าหมอมีมาก่อนคำว่าแพทย์ ใครอยากเรียกยังไงก็เรียกไปเถอะ
ก็อปความเห็นที่ดูเป็นกลางเข้าท่า และเข้าข้างตัวเองไปไว้หัวกระทู้ เสริมความดูดีให้ตัวเอง
ไล่บี้พวกที่ไม่เข้าข้างตัวเอง ยินกรานกระต่ายขาเดียว อ้างความถูกต้องของคำศัพท์แบบตรรกะวิบัติ
ตามนี้ โอเค้ ?
นั่นสิ ผมชักสงสัยแบบ คห. 108 ขายยาลดความอ้วน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือเปล่า
ความเห็นผมเหรอ? ซ้ำกับหลาย คห. ข้างบน คำว่าหมอมีมาก่อนคำว่าแพทย์ ใครอยากเรียกยังไงก็เรียกไปเถอะ
แสดงความคิดเห็น
สมัยนี้ นักเทคนิคการแพทย์ ก็เรียกว่าเป็น "หมอ" แล้วหรือ ?
จะใช้เรียกกับ นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ และ ทันตแพทย์ เท่านั้นนิ
ส่วน นักสาธารณสุข พยาบาล เภสัช หรือนักเทคนิคการแพทย์ จะไม่เรียกว่า หมอ
ปล.ไม่รวมถึง หมออื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับสายแพทย์นะ อย่าง หมอลำ หมอนวด หมอดู หรือ หมอความ
ปล.เพิ่มเติม ต้องแบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
๑.ผู้ป่วยเรียกเอง ว่าหมอ กับ
๒.ตัวเองเรียกตัวเอง ว่าหมอ
....................................................................................................................................................................................
จากที่อ่านคอมเมนมา สรุปได้ว่า
๑.จะมุ่งไปทางผู้ป่วยเรียกซะส่วนใหญ่ โดย
ส่วนใหญ่จะเป็นคนสมัยเก่าหรือคนต่างจังหวัด จะเรียกผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขหรือในโรงพยาบาลว่า "หมอ"
เพื่อเป็นการให้เกียรติ เป็นการแสดงความนับถือ หรือรวมไปถึง ความหมายของภาษาถิ่นนั้นๆเอง
และเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสาธารณสุขที่ถูกเรียกว่าหมอ ส่วนใหญ่จะมีการแจ้งกับผู้ป่วยแล้วว่า ไม่ใช่หมอ
แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังคงเรียกหมอ เหมือนเดิม
๒.ซึ่งจะต่างจากคนสมัยใหม่หรือคนในเมือง จะเรียกผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเป็นส่วนๆไปตามตำแหน่งหน้าที่
ไม่ได้เรียกทุกเจ้าหน้าที่ทุกคนว่า "หมอ" โดยจะเรียก "หมอ" ก็ต่อเมื่อ คนๆนั้นเป็นหมอจริงๆ คือเป็นแพทย์ผู้รักษา
เช่น หมอสมชาย พี่หมอสมปอง เป็นต้น ส่วนเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น จะเรียกเป็นตำแหน่งแทน เช่น คุณพยาบาล
พี่นักเทคนิค น้องเภสัช หรือเรียกเป็นชื่อไปเลย เช่น คุณสมศรี พี่สมหญิง น้องสมหมาย เป็นต้น
๓.ส่วนคำเรียกหมอเทียบอื่นๆ เช่น ทนายเรียกว่าหมอความ เป็นการเรียกถึงผู้มีความรู้ด้านกฏหมายการว่าความ
หรือหมอดู คือผู้ที่มีความรู้ด้านดูดวง หรือหมอนวด คือผู้มีความรู้ทางด้านการนวด เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อแม้ อย่างอาชีพทนายความ ก็ไม่นิยมเรียกทนายว่าหมอความ ไม่งั้นความหมายอาจผิดเพี้ยนได้
เช่น ทนายสมศัก เรียกเป็น หมอความสมศัก เพี้ยนเป็น หมอสมศัก จะกลายเป็นหมอหรือแพทย์ไป จึงไม่มีใคร
เรียกทนายว่าหมอความกันจริงๆจังๆ
เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานสาธารณสุข หากเรียก ทนพ.ว่าเป็น หมอแล็ป และก็จะเพี้ยนเป็น หมอไปในที่สุด
ดังนั้น คำว่า หมอความ หมอแล็ป หมอยา จึงเป็นเสมือนฉายา หรือชื่อเล่น ที่ไม่ได้ใช้กันอย่างเป็นทางการ
กรณีที่มีตัวตนชัดเจน ก็อย่าง พยาบาลคนหนึ่งที่เข้าวงการบันเทิง แต่หลายคนก็เรียกเธอว่า หมอ จนคนอื่น
คิดว่าเธอเป็นแพทย์หรือเป็นหมอจริงๆ เป็นต้น
....................................................................................................................................................................................
ช่วง คอมเมนโดนใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เนื่องจากมีคนสงสัยว่านักรังสีทำไมไปขายยาได้ จึงเอาคำอธิบายของเจ้าของคอมเมนมาให้อ่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
..................................................................................................................................................................................
มีคอมเมนแนะนำให้เอา คอมเมนนี้มาแปะ เพื่อความชัดเจนให้มากขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
....................................................................................................................................................................................
มีคอมเมนแนะนำให้เอาคำอธิบายเพิ่มมาแปะไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
..........................................................................................................................................................................