ธุรกิจทวงหนี้คึกคัก เหตุสถาบันการเงิน-นอนแบงก์จ้างบริหารพอร์ตลดต้นทุนทั้ง “รับซื้อ-ติดตามเรียกเก็บ” บสส.ยืดอกนำเงินส่งคืนกองทุนฟื้นฟูฯกว่า 6,000 ล้านมั่นใจทั้งปีจัดเก็บรายได้เข้าเป้าหลังปรับกลยุทธ์ ด้าน “ลีดเดอร์กรุ๊ป” เผยแนวโน้มการส่งยอดค้าง 1 งวดลดภาระ-เพิ่มรอบปล่อยกู้
นายชูเกียรติ จิตติไมตรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.หรือแซม) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า 9 เดือนที่ผ่านมาประมูลซื้อเอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินแล้ว 1,000-2,000 ล้านบาทจากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้จำนวน 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ทั้งปีน่าจะประมูลซื้อได้ตามเป้าโดยสิ้นปีพอร์ตเอ็นพีแอลมีประมาณ 3 แสนล้านบาทและสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ) 2 หมื่นล้านบาท ช่วงที่เหลือไตรมาส 4 ของปีนี้ยังมีมีสถาบันการเงินเจ้าหนี้เสนอประมูลเอ็นพีแอล 4-5 แห่ง จากต้นปีมีการนำทรัพย์ออกประมูล 6-7 แห่งคาดว่าสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อย เอสเอ็มอีและรายใหญ่ซึ่งสอดคล้องตัวเลขหนี้ครัวเรือนรายย่อยที่มีแนวโน้มไม่ขยับลงแต่สะท้อนปรับเพิ่ม แต่ในส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ยังอยู่ในระดับเดิม
ขณะที่ผู้รับซื้อเอ็นพีแอลต่างได้รับประโยชน์ในปริมาณทรัพย์ที่นำออกมา โดยปีนี้เป็นปีเดียวที่เอ็นพีแอลลออกมาเยอะมากทำให้ตลาดแข่งขันพอสมควร คือ
1.การให้ราคา(ประมูล)ตามคุณภาพของทรัพย์
2.ความรู้และประสบการณ์บริษัทบริหารสินทรัพย์หรือทรัพย์ที่แต่ละค่ายโฟกัส โดยระยะหลังมีผู้ประกอบการเข้ามามีบทบาทหลายรายในธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินและติดตามทวงถามหนี้ สำหรับแซมหรือบสส.มีจุดแข็งทั้งด้านความรู้ประสบการณ์ที่อยู่ในวงการ 16 ปีมีบิ๊กดาต้าเพียงพอและให้ความเป็นธรรมโดยดูความสามารถในการชำระหนี้ โดยที่แซมจะไม่รับซื้อเอ็นพีแอลที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้
ต่อข้อถามศักยภาพการผ่อนชำระของลูกหนี้ ภายหลังปรับโครงสร้างหนี้นั้น ที่ผ่านมา 9 เดือนสัญญาณผ่อนชำระของรายย่อยไม่ค่อยดี เห็นได้จากลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว 2-3 รอบพบว่าประมาณ 30% ต้องกลับมาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันใหม่ ส่วนหนึ่งจากภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อรายได้ต้องมาคุยกันใหม่โดยแซมจะขยายเวลาให้ลูกหนี้ผ่อนชำระตามความสามารถ
“เอ็นพีแอลออกมาประมูลขายสูงและจะทะลักถึงกลางปีหน้า เป็นการประมูลขายตามสถานะ โดยไม่เป็นภาระทางการเงินทั้งกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กรณีลูกหนี้ผ่อนชำระไม่ไหว หรือต้นทุนในการดำเนินคดี และต้องใช้จำนวนคน ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจหลัก ระยะหลังสถาบันการเงินเจ้าหนี้และนอนแบงก์จึงวิ่งหาเอเอ็มซี และเอเอ็มซีเกิดใหม่เยอะมาก”
โดยเฉพาะแซมปีนี้ต้องปรับกบยุทธ์เพื่อที่จะให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้า ซึ่งมาจนถึงปัจจุบันมั่นใจว่าจะนำส่งเงินคืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ได้ 6,800 ล้านบาท และเป้าจัดเก็บรายได้ทั้งปีประมาณหมื่นล้านบาท
ต่อข้อถามสัญญาณเจ้าหนี้สถาบันการเงินส่งลูกหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่งวดแรกให้บริษัทติดตามทวงถามนั้น นายเมธ์ ปุ่มเป้า กรรมการ บริษัท ลีดเดอร์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ในกลุ่มเช่าซื้อนั้น เริ่มวางใจให้บริษัทติดตามทวงถามมากขึ้น เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ที่สำคัญบริษัทติดตามทวงถามหนี้มีทรัพยากรครบวงจรและมีเครือข่าย ยกตัวอย่างการทวงถามส่วนใหญ่สถาบันการเงินเจ้าหนี้จ่ายผลตอบแทนตามความสำเร็จของงาน
” ปัจจุบันบริษัทติดตามทวงถามหนี้นั้น แบ่งเป็นกลุ่มรับซื้อเอ็นพีแอลมาบริหารเอง ซึ่งกลุ่มนี้ต้องมีทุนเพื่อเข้าประมูลแข่งขันจึงมีเพียงน้อยราย อีกขาทำหน้าที่รับบริหารจัดการติดตามตอนนี้เกิดขึ้นมหาศาลบางค่ายต่อยอดธุรกิจปล่อยกู้บวกดอกเบี้ยอีกทอด โดยปรับโครงสร้างยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระให้ลูกหนี้ สำหรับยอดค้างชำระ 1 งวดที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ส่งให้บริษัทติดตามทวงหนี้นั้นส่วนใหญ่ทวงหนี้ได้เร็ว เช่น ลูกค้า 100 รายเรียกเก็บได้ 95″
นอกจากนี้เท่าที่คลุกคลีในวงการ สถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องการลดภาระ โดยแยกหนี้เสียออก เพื่อที่จะทำหน้าที่หลักในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งกรณีที่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้เร็วทางสถาบันการเงินเจ้าหนี้สามารถนำเงินไปหมุนรอบปล่อยกู้ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อดีของบริษัทติดตามทวงหนี้ปัจจุบันนอกจากดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การทวงถามหนี้แล้ว ในส่วนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้แต่ละแห่งยังมีกติกาในการเลือกบริษัทมืออาชีพรับบริหารพอร์ตเช่นกัน ยกตัวอย่าง บางสถาบันการเงินเจ้าหนี้กำหนดให้กรรมการของบริษัทบริหารหนี้มีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 7 วันหรือพนักงานของบริษัทถ้ามีหนี้ผิดนัดชำระต้องไม่เกิน 30 วันเท่านั้นโดยสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะมีการตรวจเช็คประวัติทางการเงินกับเครดิตบูโรหรือบริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เอ็นซีบี) ทุก 3 เดือนเป็นต้น
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี...ธุรกิจ‘ทวงหนี้’ขาขึ้น แบงก์จ้างเรียกเก็บพุ่ง‘ลดภาระ-เพิ่มรอบปล่อยกู้’
นายชูเกียรติ จิตติไมตรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.หรือแซม) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า 9 เดือนที่ผ่านมาประมูลซื้อเอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินแล้ว 1,000-2,000 ล้านบาทจากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้จำนวน 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ทั้งปีน่าจะประมูลซื้อได้ตามเป้าโดยสิ้นปีพอร์ตเอ็นพีแอลมีประมาณ 3 แสนล้านบาทและสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ) 2 หมื่นล้านบาท ช่วงที่เหลือไตรมาส 4 ของปีนี้ยังมีมีสถาบันการเงินเจ้าหนี้เสนอประมูลเอ็นพีแอล 4-5 แห่ง จากต้นปีมีการนำทรัพย์ออกประมูล 6-7 แห่งคาดว่าสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อย เอสเอ็มอีและรายใหญ่ซึ่งสอดคล้องตัวเลขหนี้ครัวเรือนรายย่อยที่มีแนวโน้มไม่ขยับลงแต่สะท้อนปรับเพิ่ม แต่ในส่วนของลูกหนี้รายใหญ่ยังอยู่ในระดับเดิม
ขณะที่ผู้รับซื้อเอ็นพีแอลต่างได้รับประโยชน์ในปริมาณทรัพย์ที่นำออกมา โดยปีนี้เป็นปีเดียวที่เอ็นพีแอลลออกมาเยอะมากทำให้ตลาดแข่งขันพอสมควร คือ
1.การให้ราคา(ประมูล)ตามคุณภาพของทรัพย์
2.ความรู้และประสบการณ์บริษัทบริหารสินทรัพย์หรือทรัพย์ที่แต่ละค่ายโฟกัส โดยระยะหลังมีผู้ประกอบการเข้ามามีบทบาทหลายรายในธุรกิจบริหารจัดการทรัพย์สินและติดตามทวงถามหนี้ สำหรับแซมหรือบสส.มีจุดแข็งทั้งด้านความรู้ประสบการณ์ที่อยู่ในวงการ 16 ปีมีบิ๊กดาต้าเพียงพอและให้ความเป็นธรรมโดยดูความสามารถในการชำระหนี้ โดยที่แซมจะไม่รับซื้อเอ็นพีแอลที่ไม่มีทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้
ต่อข้อถามศักยภาพการผ่อนชำระของลูกหนี้ ภายหลังปรับโครงสร้างหนี้นั้น ที่ผ่านมา 9 เดือนสัญญาณผ่อนชำระของรายย่อยไม่ค่อยดี เห็นได้จากลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว 2-3 รอบพบว่าประมาณ 30% ต้องกลับมาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันใหม่ ส่วนหนึ่งจากภาวะเศรษฐกิจที่มีผลต่อรายได้ต้องมาคุยกันใหม่โดยแซมจะขยายเวลาให้ลูกหนี้ผ่อนชำระตามความสามารถ
“เอ็นพีแอลออกมาประมูลขายสูงและจะทะลักถึงกลางปีหน้า เป็นการประมูลขายตามสถานะ โดยไม่เป็นภาระทางการเงินทั้งกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กรณีลูกหนี้ผ่อนชำระไม่ไหว หรือต้นทุนในการดำเนินคดี และต้องใช้จำนวนคน ซึ่งไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจหลัก ระยะหลังสถาบันการเงินเจ้าหนี้และนอนแบงก์จึงวิ่งหาเอเอ็มซี และเอเอ็มซีเกิดใหม่เยอะมาก”
โดยเฉพาะแซมปีนี้ต้องปรับกบยุทธ์เพื่อที่จะให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้า ซึ่งมาจนถึงปัจจุบันมั่นใจว่าจะนำส่งเงินคืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ได้ 6,800 ล้านบาท และเป้าจัดเก็บรายได้ทั้งปีประมาณหมื่นล้านบาท
ต่อข้อถามสัญญาณเจ้าหนี้สถาบันการเงินส่งลูกหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่งวดแรกให้บริษัทติดตามทวงถามนั้น นายเมธ์ ปุ่มเป้า กรรมการ บริษัท ลีดเดอร์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ในกลุ่มเช่าซื้อนั้น เริ่มวางใจให้บริษัทติดตามทวงถามมากขึ้น เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ที่สำคัญบริษัทติดตามทวงถามหนี้มีทรัพยากรครบวงจรและมีเครือข่าย ยกตัวอย่างการทวงถามส่วนใหญ่สถาบันการเงินเจ้าหนี้จ่ายผลตอบแทนตามความสำเร็จของงาน
” ปัจจุบันบริษัทติดตามทวงถามหนี้นั้น แบ่งเป็นกลุ่มรับซื้อเอ็นพีแอลมาบริหารเอง ซึ่งกลุ่มนี้ต้องมีทุนเพื่อเข้าประมูลแข่งขันจึงมีเพียงน้อยราย อีกขาทำหน้าที่รับบริหารจัดการติดตามตอนนี้เกิดขึ้นมหาศาลบางค่ายต่อยอดธุรกิจปล่อยกู้บวกดอกเบี้ยอีกทอด โดยปรับโครงสร้างยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระให้ลูกหนี้ สำหรับยอดค้างชำระ 1 งวดที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ส่งให้บริษัทติดตามทวงหนี้นั้นส่วนใหญ่ทวงหนี้ได้เร็ว เช่น ลูกค้า 100 รายเรียกเก็บได้ 95″
นอกจากนี้เท่าที่คลุกคลีในวงการ สถาบันการเงินเจ้าหนี้ต้องการลดภาระ โดยแยกหนี้เสียออก เพื่อที่จะทำหน้าที่หลักในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งกรณีที่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้เร็วทางสถาบันการเงินเจ้าหนี้สามารถนำเงินไปหมุนรอบปล่อยกู้ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อดีของบริษัทติดตามทวงหนี้ปัจจุบันนอกจากดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การทวงถามหนี้แล้ว ในส่วนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้แต่ละแห่งยังมีกติกาในการเลือกบริษัทมืออาชีพรับบริหารพอร์ตเช่นกัน ยกตัวอย่าง บางสถาบันการเงินเจ้าหนี้กำหนดให้กรรมการของบริษัทบริหารหนี้มีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 7 วันหรือพนักงานของบริษัทถ้ามีหนี้ผิดนัดชำระต้องไม่เกิน 30 วันเท่านั้นโดยสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะมีการตรวจเช็คประวัติทางการเงินกับเครดิตบูโรหรือบริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เอ็นซีบี) ทุก 3 เดือนเป็นต้น