บทสรุปสำคัญจากผลวิจัยคนไทยมอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทย
จากการรับฟังเสียงของเยาวชนจำนวน 4,000 คน สามารถสรุปประเด็นหลักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ทัศนคติ พฤติกรรม ตลอดจนความต้องการต่างๆ ของเยาวชน ดังนี้
ครอบครัวมีอิทธิพลสูงสุดด้านความคิด โดยมีส่วนสำคัญต่อการปลูกฝังค่านิยม เเละคุณค่าเเก่เยาวชน เยาวชนส่วนมากเห็นว่าคุณค่าที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น ความกตัญญู เเละความกลมเกลียวในครอบครัว มีความสำคัญสูงสุดในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามครอบครัวมักเน้นปลูกฝังด้านการเรียนเเละการพัฒนาตนเองมากกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมเเละความรักต่อประเทศชาติ ดังนั้นเยาวชนกว่า 90% ต้องประสบกับความเครียด โดย 78% ของเยาวชนทั้งหมดนั้นเครียดกับเรื่องของการเรียน ในขณะที่ 33% มีความหดหู่ ซึมเศร้าเเละหมดหวังในชีวิต เเละ 99% ของเยาวชนให้นิยามกับความสำเร็จว่าการได้ผลการเรียน หน้าที่การงานเเละเงินเดือนที่ดี ทั้งนี้เยาวชนส่วนมากยึดคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เเละครู อาจารย์เป็นเเบบอย่าง โดยนอกเหนือจากคนใกล้ตัว ศิลปิน ดารา ถือเป็นเเบบอย่างสำคัญ เพราะมีเยาวชนจำนวน 25% ยึดถือศิลปิน ดาราเป็นเเบบอย่าง
การทุจริตคอร์รัปชันเริ่มตั้งเเต่วัยเยาว์ ผลวิจัยพบว่า 81% เคยลอกข้อสอบเเละเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย 68% คยเซ็นต์ชื่อเพื่อเข้าเรียนเเทนเเละให้เพื่อนเซ็นต์ชื่อให้ เเละส่วนใหญ่เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย เเละ 25% จ่ายสินบนเพื่อให้สอบใบขับขี่ผ่าน
ชีวิตออนไลน์กลายเป็นสังคมของเยาวชน สื่อออนไลน์มีบทบาทและอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนเหนือสื่อรูปแบบเดิม ทั้งนี้เยาวชนใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวันกับสื่อดิจิตอลกับสื่อออนไลน์ เช่นการพูดคุย / อ่านข่าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ / เกมออนไลน์/ เกมในโทรศัพท์มือถือ / อ่านข้อมูลข่าวสารผ่านเวบไซต์ ทำให้การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวลดลง
ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมค่อนข้างจำกัด เยาวชนมีความเข้าใจในหน้าที่ของพลเมืองดีไม่มากนัก และในกว่า90% ของเยาวชนนั้นความหมายของ “ความดี” จำกัดอยู่กับเรื่องของ “น้ำใจ” ดังนั้นความหมายของพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม ยังจำกัดอยู่ในเรื่องใกล้ตัว มากกว่าบทบาทด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชนเเละประเทศชาติ
พร้อมลงมือทำเเต่ยังไม่เเน่ใจว่าสามารถทำได้ เยาวชนเเสดงออกถึงความพร้อมเเละความต้องการที่จะช่วยเปลี่ยนเเปลงและพัฒนาประเทศ ด้วยความหวังที่จะเห็นประเทศไทยเปลี่ยนเเปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต เเต่เชื่อว่าตนเองยังเด็กเกินไปที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เเละยังไม่ทราบว่าตนเองจะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศได้อย่างไรบ้าง โดยเยาวชนจำนวนกว่า 97% กล่าวว่าตนเองยังไม่ได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
แหล่งที่มา :
http://khonthaifoundation.org/th/causes/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
ดาวโหลดวิจัยฉับเตมได้ที่ :
http://khonthaifoundation.org/wp-content/files/6__-_Executive_Summary_Youth_Today_2557.pdf
เยาวชนไทยคิดอย่างไร
จากการรับฟังเสียงของเยาวชนจำนวน 4,000 คน สามารถสรุปประเด็นหลักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ทัศนคติ พฤติกรรม ตลอดจนความต้องการต่างๆ ของเยาวชน ดังนี้
ครอบครัวมีอิทธิพลสูงสุดด้านความคิด โดยมีส่วนสำคัญต่อการปลูกฝังค่านิยม เเละคุณค่าเเก่เยาวชน เยาวชนส่วนมากเห็นว่าคุณค่าที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น ความกตัญญู เเละความกลมเกลียวในครอบครัว มีความสำคัญสูงสุดในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามครอบครัวมักเน้นปลูกฝังด้านการเรียนเเละการพัฒนาตนเองมากกว่าความรับผิดชอบต่อสังคมเเละความรักต่อประเทศชาติ ดังนั้นเยาวชนกว่า 90% ต้องประสบกับความเครียด โดย 78% ของเยาวชนทั้งหมดนั้นเครียดกับเรื่องของการเรียน ในขณะที่ 33% มีความหดหู่ ซึมเศร้าเเละหมดหวังในชีวิต เเละ 99% ของเยาวชนให้นิยามกับความสำเร็จว่าการได้ผลการเรียน หน้าที่การงานเเละเงินเดือนที่ดี ทั้งนี้เยาวชนส่วนมากยึดคนใกล้ตัว เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เเละครู อาจารย์เป็นเเบบอย่าง โดยนอกเหนือจากคนใกล้ตัว ศิลปิน ดารา ถือเป็นเเบบอย่างสำคัญ เพราะมีเยาวชนจำนวน 25% ยึดถือศิลปิน ดาราเป็นเเบบอย่าง
การทุจริตคอร์รัปชันเริ่มตั้งเเต่วัยเยาว์ ผลวิจัยพบว่า 81% เคยลอกข้อสอบเเละเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย 68% คยเซ็นต์ชื่อเพื่อเข้าเรียนเเทนเเละให้เพื่อนเซ็นต์ชื่อให้ เเละส่วนใหญ่เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย เเละ 25% จ่ายสินบนเพื่อให้สอบใบขับขี่ผ่าน
ชีวิตออนไลน์กลายเป็นสังคมของเยาวชน สื่อออนไลน์มีบทบาทและอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนเหนือสื่อรูปแบบเดิม ทั้งนี้เยาวชนใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวันกับสื่อดิจิตอลกับสื่อออนไลน์ เช่นการพูดคุย / อ่านข่าวสารผ่านแอพพลิเคชั่นสังคมออนไลน์ การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ / เกมออนไลน์/ เกมในโทรศัพท์มือถือ / อ่านข้อมูลข่าวสารผ่านเวบไซต์ ทำให้การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวลดลง
ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมค่อนข้างจำกัด เยาวชนมีความเข้าใจในหน้าที่ของพลเมืองดีไม่มากนัก และในกว่า90% ของเยาวชนนั้นความหมายของ “ความดี” จำกัดอยู่กับเรื่องของ “น้ำใจ” ดังนั้นความหมายของพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม ยังจำกัดอยู่ในเรื่องใกล้ตัว มากกว่าบทบาทด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชนเเละประเทศชาติ
พร้อมลงมือทำเเต่ยังไม่เเน่ใจว่าสามารถทำได้ เยาวชนเเสดงออกถึงความพร้อมเเละความต้องการที่จะช่วยเปลี่ยนเเปลงและพัฒนาประเทศ ด้วยความหวังที่จะเห็นประเทศไทยเปลี่ยนเเปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต เเต่เชื่อว่าตนเองยังเด็กเกินไปที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เเละยังไม่ทราบว่าตนเองจะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศได้อย่างไรบ้าง โดยเยาวชนจำนวนกว่า 97% กล่าวว่าตนเองยังไม่ได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
แหล่งที่มา : http://khonthaifoundation.org/th/causes/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
ดาวโหลดวิจัยฉับเตมได้ที่ : http://khonthaifoundation.org/wp-content/files/6__-_Executive_Summary_Youth_Today_2557.pdf