หลังจากที่เราได้กลับไปพักผ่อนออมแรงกันอย่างเต็มที่แล้ว ครั้งนี้เราออกเดินทางไปสัมผัสกับไอหมอกและอากาศหนาวๆ ตามรอยเส้นทางของพ่อกันต่อที่ "ดอยปุย"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"ดอยปุย" ตั้งอยู่ยอดเขาที่สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่จะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส
จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปทางถนนหมายเลข 1004 ผ่านหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ ผ่านพระตำหนักหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ซึ่งไม่ไกลกันมากนักประมาณ 4 กิโลเมตร หากใครที่ไม่ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมา ก็มีรถสองแถวแดงเข้าหมู่บ้านม้งดอยปุยด้วยเช่นกัน
ระหว่างที่ขึ้นมานั้น เราได้จอดรถถ่ายรูปกันที่สถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งเป็นทางขึ้นไปยังหมู่บ้านม้งดอยปุยพอดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สถานีวิจัยดอยปุย
พ.ศ. 2506 คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำบนภูเขาขึ้น โดยเริ่มจากงานที่ "ห้วยคอกม้า" ดอยปุย จ.เชียงใหม่
พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำขึ้น และคณะกรรมการได้แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการโดยเลือกพื้นที่ดำเนินการบริหารลุ่มน้ำห้วยแม่ไนเป็นลุ่มน้ำตัวอย่างการดำเนินงานจัดการลุ่มน้ำ
พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้รองศาสตราจารย์อรรถ บุญนิธี และศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานทางด้านพืชเน้นเกี่ยวกับไม้ผลยืนต้น เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นพืชที่มีคุณสมบัติทดแทนไม้ป่าในแง่ของการอนุรักษ์ ต้นน้ำลำธารได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการศึกษาไม้ผล" ในโครงการจัดการลุ่มน้ำห้วยแม่ไน จ.เชียงใหม่ ทำการทดลองปลูกพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาว เพื่อประโยชน์ในการหาทางส่งเสริมให้ชาวเขาได้ปลูกเป็นอาชีพ
พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช เสด็จฯ ไปเยี่ยมหมู่บ้านชาวเขาและได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 บาท ซื้อสวนผลไม้ และใช้ชื่อว่า "สวนสองแสน" สืบมาจนปัจจุบัน
สถานีวิจัยดอยปุยตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย บนเทือกเขาดอยปุย ถ.ศรีวิชัย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 อยู่ตรงข้ามกับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
ที่มา : http://www.agr.ku.ac.th/research/index.php/th/foa-units/research-station/doi-pui
ตอนที่เราเดินทางมาถึงประมาณ 9 โมงกว่าเข้าไปแล้ว แต่ยังคงมีหมอกจางๆ ให้เราได้เห็นอยู่เลย แวะถ่ายรูปเสพอากาศสดชื่นกันจนเต็มปอดแล้ว ก็เดินทางกันต่อไปยังด้านบนหมู่บ้านม้งดอยปุย
แหมๆ วิวสวยขนาดนี้ไม่ถ่ายภาพเก็บไว้ไม่ได้แล้ว
เมื่อถึงที่หมาย จะมีน้องๆ มัคคุเทศก์น้อยวิ่งเข้ามา เพื่ออาสานำทางเราเข้าไปเที่ยวชมหมู่บ้าน ส่วนค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมชม ก็แล้วแต่เราจะให้กับน้องๆ
เดิมทีบริเวณนี้เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นของชาวแม้วบ้านดอยปุยมาก่อน และรายได้หลักอีกอย่าง คือการเก็บท้อพื้นเมืองขาย ซึ่งมีผลที่เล็ก แต่สามารถทำเงินได้เท่าๆ กับการปลูกฝิ่น เมื่อในหลวงทรงทราบว่าสถานีทดลองดอยปุยที่อยู่ใกล้ๆ กันนี้ สามารถนำกิ่งท้อลูกใหญ่ของฝรั่งมาต่อกับต้นต่อของพันธุ์พื้นเมืองได้ จึงได้พระราชทานเงิน 200,000 บาท เพื่อจัดหาที่ดินบริเวณใกล้กับสถานีดอยปุย สำหรับการวิจัยไม้ผลเขตหนาว มาทดแทนการปลูกฝิ่นให้กับชาวเขา
ที่มา :
http://www.royalprojectthailand.com/about
น้องๆ มัคคุเทศก์ น่ารักกก
ระหว่างที่เดินชมหมู่บ้าน ก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ชาวเขานำออกมาวางขายกันมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกของฝาก ของที่ระลึก เช่น ใบชาสำเร็จรูป และ แก้วชงชา
ใบชาสำเร็จรูปสำหรับไปชงน้ำร้อนดื่ม มีทั้งชาอู่หลง ชามะลิ
แก้วสำหรับชงชา ที่มีขายกันตลอดเส้นทางเดิน มีลวดลายสวยงามให้เราได้เลือกอย่างมากมาย
เมื่อเดินมาถึงด้านบนจะเจอกับพิพิธภัณฑ์ชาวเขาบ้านม้ง ดอยปุย ค่าเข้าชมอยู่ที่คนละ 10 บาท
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ จะจำลองบ้านเสมือนจริงของชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น แม้ว ม้ง มูเซอ อีก้อ และลีซอ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน จุดประสงค์ของที่นี่ ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมถึงความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของชาวเขานั่นเอง
ดอยปุยนั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีวิถีชีวิตน่าสนใจ จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเข้ามามากมาย ทำให้หมู่บ้านที่แสนธรรมดาแห่งนี้ กลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เมื่อชาวม้งมีรายได้มากขึ้น เด็กและผู้ใหญ่จึงมีงานทำ การปลูกฝิ่นจึงค่อยๆ หายไป จนเหลือแค่แปลงทดลองขนาดย่อม ที่ปลูกไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมต้นฝิ่นอย่างใกล้ชิด
และด้วยดอยปุยมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี จึงเหมาะแก่การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว เอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมหรือจะถ่ายรูปสวยๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ได้ หรือถ้าอยากให้เก๋กว่านั้น ที่นี่ยังมีบริการเช่าชุดของชาวเขาเผ่าต่างๆ ไว้อีกด้วย
ใครไปก็อย่าลืมใส่แล้วถ่ายรูปเก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกนะ
ระหว่างทางที่เดินลงมายังจุดจอดรถ เราได้แวะชมสวนน้ำตกดอยปุย โดยจะต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ซึ่งตอนที่เราไปน้ำค่อนข้างน้อย แต่ภายในก็ตกแต่งไปด้วยไม้ประดับมากมายเลยทีเดียว และด้วยความเขียวขจีนี้เอง จึงทำให้ให้มองดูแล้วเย็นสบายตายิ่งนัก
น้ำจากน้ำตกที่ไหลมาตามกระบอกไม้ไผ่ จะไหลลงไปยังบ่อกักเก็บน้ำของหมู่บ้าน
[SR] ppantip.com ร่วมกับ ททท. ตามรอยพ่อ ด้วยความคิดถึง เชียงใหม่ #2 : เส้นทางดอยปุย
หลังจากที่เราได้กลับไปพักผ่อนออมแรงกันอย่างเต็มที่แล้ว ครั้งนี้เราออกเดินทางไปสัมผัสกับไอหมอกและอากาศหนาวๆ ตามรอยเส้นทางของพ่อกันต่อที่ "ดอยปุย"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปทางถนนหมายเลข 1004 ผ่านหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ ผ่านพระตำหนักหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ซึ่งไม่ไกลกันมากนักประมาณ 4 กิโลเมตร หากใครที่ไม่ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมา ก็มีรถสองแถวแดงเข้าหมู่บ้านม้งดอยปุยด้วยเช่นกัน
ระหว่างที่ขึ้นมานั้น เราได้จอดรถถ่ายรูปกันที่สถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งเป็นทางขึ้นไปยังหมู่บ้านม้งดอยปุยพอดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอนที่เราเดินทางมาถึงประมาณ 9 โมงกว่าเข้าไปแล้ว แต่ยังคงมีหมอกจางๆ ให้เราได้เห็นอยู่เลย แวะถ่ายรูปเสพอากาศสดชื่นกันจนเต็มปอดแล้ว ก็เดินทางกันต่อไปยังด้านบนหมู่บ้านม้งดอยปุย
แหมๆ วิวสวยขนาดนี้ไม่ถ่ายภาพเก็บไว้ไม่ได้แล้ว
เมื่อถึงที่หมาย จะมีน้องๆ มัคคุเทศก์น้อยวิ่งเข้ามา เพื่ออาสานำทางเราเข้าไปเที่ยวชมหมู่บ้าน ส่วนค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมชม ก็แล้วแต่เราจะให้กับน้องๆ
เดิมทีบริเวณนี้เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นของชาวแม้วบ้านดอยปุยมาก่อน และรายได้หลักอีกอย่าง คือการเก็บท้อพื้นเมืองขาย ซึ่งมีผลที่เล็ก แต่สามารถทำเงินได้เท่าๆ กับการปลูกฝิ่น เมื่อในหลวงทรงทราบว่าสถานีทดลองดอยปุยที่อยู่ใกล้ๆ กันนี้ สามารถนำกิ่งท้อลูกใหญ่ของฝรั่งมาต่อกับต้นต่อของพันธุ์พื้นเมืองได้ จึงได้พระราชทานเงิน 200,000 บาท เพื่อจัดหาที่ดินบริเวณใกล้กับสถานีดอยปุย สำหรับการวิจัยไม้ผลเขตหนาว มาทดแทนการปลูกฝิ่นให้กับชาวเขา
ที่มา : http://www.royalprojectthailand.com/about
น้องๆ มัคคุเทศก์ น่ารักกก
ระหว่างที่เดินชมหมู่บ้าน ก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ชาวเขานำออกมาวางขายกันมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกของฝาก ของที่ระลึก เช่น ใบชาสำเร็จรูป และ แก้วชงชา
ใบชาสำเร็จรูปสำหรับไปชงน้ำร้อนดื่ม มีทั้งชาอู่หลง ชามะลิ
แก้วสำหรับชงชา ที่มีขายกันตลอดเส้นทางเดิน มีลวดลายสวยงามให้เราได้เลือกอย่างมากมาย
เมื่อเดินมาถึงด้านบนจะเจอกับพิพิธภัณฑ์ชาวเขาบ้านม้ง ดอยปุย ค่าเข้าชมอยู่ที่คนละ 10 บาท
ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ จะจำลองบ้านเสมือนจริงของชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น แม้ว ม้ง มูเซอ อีก้อ และลีซอ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน จุดประสงค์ของที่นี่ ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมถึงความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตของชาวเขานั่นเอง
ดอยปุยนั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีวิถีชีวิตน่าสนใจ จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเข้ามามากมาย ทำให้หมู่บ้านที่แสนธรรมดาแห่งนี้ กลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เมื่อชาวม้งมีรายได้มากขึ้น เด็กและผู้ใหญ่จึงมีงานทำ การปลูกฝิ่นจึงค่อยๆ หายไป จนเหลือแค่แปลงทดลองขนาดย่อม ที่ปลูกไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมต้นฝิ่นอย่างใกล้ชิด
และด้วยดอยปุยมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี จึงเหมาะแก่การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว เอาไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมหรือจะถ่ายรูปสวยๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ได้ หรือถ้าอยากให้เก๋กว่านั้น ที่นี่ยังมีบริการเช่าชุดของชาวเขาเผ่าต่างๆ ไว้อีกด้วย
ใครไปก็อย่าลืมใส่แล้วถ่ายรูปเก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกนะ
ระหว่างทางที่เดินลงมายังจุดจอดรถ เราได้แวะชมสวนน้ำตกดอยปุย โดยจะต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 10 บาท ซึ่งตอนที่เราไปน้ำค่อนข้างน้อย แต่ภายในก็ตกแต่งไปด้วยไม้ประดับมากมายเลยทีเดียว และด้วยความเขียวขจีนี้เอง จึงทำให้ให้มองดูแล้วเย็นสบายตายิ่งนัก
น้ำจากน้ำตกที่ไหลมาตามกระบอกไม้ไผ่ จะไหลลงไปยังบ่อกักเก็บน้ำของหมู่บ้าน