ตำนานเพชรโฮป (3)

กระทู้สนทนา


เพชรนี้ถูกขนานนามว่า "เพชรโฮป" เนื่องจากทายาทตระกูลโฮปที่ได้รับเพชรนี้เป็นมรดกกล่าวหาว่า เพชรนี้เป็นต้นเหตุแห่งความโชคร้ายของเขา ตำนานอาถรรพ์เพชรนี้จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย
.
ตำนาน: การถือครองเพชรนี้ของเจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริก
.
ในปี พ.ศ. 2338 แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทสมรสกับเจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริก แต่พระองค์ไม่ชื่นชอบเธอ อีกทั้งพระองค์มีพระสนมหลายคน ชีวิตสมรสของเธอจึงไม่มีความสุข
ในปี พ.ศ. 2339 แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทให้กำเนิดเจ้าหญิงชาร์ลอตต์-ออกุสต้า แต่ชีวิตสมรสของพวกเขายิ่งเลวร้ายลงไปอีก เจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริกร้องขอแยกเตียงนอนกับเธอ
ในปี พ.ศ. 2340 แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทตัดสินใจขอย้ายออกจากพระราชวังไปอยู่ที่ย่านชาร์ลตัน (กรุงลอนดอน) โดยไม่ได้พาเจ้าหญิงชาร์ลอตต์-ออกุสต้าไปด้วย
แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทต้องใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นตลอดหลายปี ต่อมาชาร์ลวิลเลียม-แฟร์ดิน็องด์เดินทางมาเยี่ยมเธอ และมอบเพชรเหล่านี้ให้กับเธอในปี พ.ศ. 2348
เจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริกยอมรับซื้อมาจากแคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบท และให้ ดาเนียล เอเลียสัน เป็นผู้ถือครองเพชรนี้แทนเพื่อปกปิดที่มาของเพชรนี้ โดยไม่มีข้อมูลด้านราคา
มีภาพวาดของพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรสวมใส่เครื่องราชที่ประดับด้วยเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับเพชรนี้ แต่คลังเก็บเครื่องเพชรแห่งราชวงศ์อังกฤษปฏิเสธไม่เคยมีเพชรนี้อยู่ในบัญชีรายการเครื่องเพชรแห่งราชวงศ์อังกฤษ
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร, แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบท และ อลิซาเบธ คอนนีงแฮม (พระสนมของพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร)
.
ในปี พ.ศ. 2357 แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทตัดสินใจย้ายออกจากอังกฤษเพื่อแลกกับเงินจำนวน 35,000 ปอนด์ (ประมาณ 71 ล้านบาท) เธอซื้อบ้านอยู่แถบทะเลสาบโกโม (ปัจจุบันอยู่ในอิตาลี)
ในปี พ.ศ. 2363 พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (พ่อของเจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริก) สิ้นพระชนม์ เจ้าชายจอร์จ-ออกุสตัสเฟรเดอริกได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
ในปี พ.ศ. 2364 แคโรไลน์เอมีเลีย-อลิซาเบทเดินทางกลับอังกฤษ และเรียกร้องสิทธิการเป็นพระราชินีของอังกฤษ แต่พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรไม่ยินยอม
หลายสัปดาห์ต่อมาเธอเสียชีวิตอย่างปริศนาขณะมีอายุ 53 ปี แพทย์วินิจฉัยว่า เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง แต่ชาวอังกฤษส่วนใหญ่เชื่อว่า เธอถูกวางยาพิษ ศพของเธอถูกส่งไปฝังที่เมืองบรอนวิก (ปัจจุบันอยู่ในเยอรมัน) อย่างเดียวดาย
ในปี พ.ศ. 2373 พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรสิ้นพระชนม์ขณะมีอายุ 68 ปีจากโรครุมเร้าหลายโรค เช่น โรคเกาต์, โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และอาการบวมน้ำ
ต่อมา อลิซาเบธ คอนนีงแฮม นำเครื่องเพชรหลายชิ้นที่พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรมอบให้เธอหลบไปกรุงปารีส หลายคนเชื่อว่า เธอขโมยเพชรนี้ไปด้วย เธอเสียชีวิตขณะมีอายุ 92 ปีในปี พ.ศ. 2404
.
ตำนาน: การถือครองเพชรนี้ของเฮนรี่ฟิลลิป-โฮป
.
ในปี พ.ศ. 2373 ดาเนียล เอเลียสัน ประสบปัญหาหนี้สินอย่างหนักจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย เพชรนี้จึงหายสาบสูญอีกครั้ง
ครอบครัวโฮปสะสมเครื่องเพชรจำนวนมาก แต่การถือครองเพชรนี้ของครอบครัวโฮปเป็นเรื่องน่าสงสัย ข่าวลือการถือครองเพชรนี้มีหลายกระแส
- กระแสที่ 1: โธมัส โฮป รับซื้อเพชรนี้รวมทั้งเครื่องเพชรอื่นที่ถูกจารกรรมจากคลังเก็บเครื่องเพชรแห่งราชวงศ์ฝรั่งเศสจากตลาดมืดระหว่างปี พ.ศ. 2339-2345 โดยไม่มีข้อมูลด้านราคา ต่อมาเขามอบเพชรนี้ให้กับเฮนรี่ฟิลลิป-โฮป
- กระแสที่ 2: เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปรับซื้อเพชรนี้รวมทั้งเครื่องเพชรอื่นที่ถูกจารกรรมจากคลังเก็บเครื่องเพชรแห่งราชวงศ์ฝรั่งเศสจากตลาดมืดระหว่างปี พ.ศ. 2339-2345 โดยไม่มีข้อมูลด้านราคา
ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แผ่ขยายจักวรรดิฝรั่งเศสออกไปทั่วยุโรป ส่งผลให้เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เนื่องมาจากภาวะสงครามระหว่างปี พ.ศ. 2351-2355
เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปจำต้องนำเพชรนี้ไปจำนำกับ ดาเนียล เอเลียสัน ในราคา 65,000-90,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 132-183 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2355 เพื่อกอบกู้ฐานะทางการเงินของเขา ต่อมาเขาไถ่ถอนเพชรนี้คืนในปี พ.ศ. 2367
- กระแสที่ 3: เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปรับซื้อเพชรนี้จาก อลิซาเบธ คอนนีงแฮม ในราคา 65,000-90,000 เหรียญสหรัฐระหว่างปี พ.ศ. 2373-2382
- กระแสที่ 4: เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปรับซื้อเพชรนี้จาก ดาเนียล เอเลียสัน ในราคา 65,000-90,000 เหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2373
.
ตำนาน: เพชรนี้นำหายนะมาสู่ครอบครัวโฮป
.
ในปี พ.ศ. 2382 เฮนรี่ฟิลลิป-โฮปเสียชีวิตโดยไม่มีทายาท แต่บัญชีรายการเครื่องเพชรของเขาปรากฎเพชรนี้ หลานอา 3 คนของเขา (ลูกของ โธมัส โฮป) จึงร้องขอต่อศาลขอเป็นทายาทในการรับมรดกจากเขา
ในปี พ.ศ. 2392 ศาลพิพากษาให้ลูก 3 คนของโธมัส-โฮปได้เป็นทายาทรับมรดกจากเฮนรี่ฟิลลิป-โฮป โดยเฮนรี่โธมัส-โฮป (ลูกชายคนโตของโธมัส-โฮป) ได้รับเพชร 8 ชิ้นรวมทั้งเพชรนี้เป็นมรดก
ในปี พ.ศ. 2405 เฮนรี่โธมัส-โฮปเสียชีวิต แต่ แอนเน่ อเดล (ภรรยาของเฮนรี่โธมัส-โฮป) ยึดมรดกรวมทั้งเพชรนี้เป็นของตนเอง โดยอ้างไม่ไว้วางใจเฮนรี่เพลแฮม-คลินตัน (สามีของเฮนรีเอ็ตตาโธมัส-โฮป (ลูกสาวของเฮนรี่โธมัส-โฮป))
.
ต้นกำเนิดตำนานเพชรโฮป
.
ในปี พ.ศ. 2427 แอนเน่ อเดล เสียชีวิต พินัยกรรมของเธอระบุยกทรัพย์สินรวมทั้งเพชรนี้ให้กับฟรานซิสเพลเลม-คลินตัน (ลูกชายของเฮนรีเอ็ตตาโธมัส-โฮป) อย่างมีเงื่อนไข
พินัยกรรมกำหนดเงื่อนไขให้ฟรานซิสเพลเลม-คลินตันได้รับมรดกนี้เมื่อเขามีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ และเขาต้องต่อท้ายนามสกุลด้วย "โฮป" เนื่องจากเขาเป็นทายาทชายคนสุดท้ายของครอบครัวโฮป
ในปี พ.ศ. 2430 ฟรานซิสเพลเลม-คลินตันอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เขาต่อท้ายนามสกุลเป็นฟรานซิสเพลเลม-คลินตันโฮป และได้รับมอบมรดกรวมทั้งเพชรนี้ แต่พินัยกรรมระบุห้ามเขาขายทรัพย์สินมรดก นอกจากได้รับการอนุญาตจากศาล
ในปี พ.ศ. 2437 ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปสมรสกับ เมย์ โยเฮ (นักแสดงละครเพลงอเมริกัน)
แม้ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปจะได้รับมรดกจำนวนมาก แต่เขาไม่สามารถจำหน่ายมรดกเหล่านี้ได้ ส่งผลให้ฐานะการเงินของเขาเริ่มย่ำแย่ นอกจากนี้ยังมีข่าวลือ เมย์ โยเฮ เคยสวมใส่เพชรนี้ แต่พวกเขาปฏิเสธ
ในปี พ.ศ. 2439 ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปถูกฟ้องล้มละลาย แต่เขาไม่สามารถขายมรดกเพื่อชดใช้หนี้สินได้ เขาจึงร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อจำหน่ายมรดกรวมทั้งเพชรนี้
ในปี พ.ศ. 2444 ศาลอนุญาตให้ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปจำหน่ายมรดกรวมทั้งเพชรนี้เพื่อชดใช้หนี้ เขาจำหน่ายเพชรนี้ให้กับ อดอล์ฟ วีล์ล (ผู้ค้าเพชรอังกฤษ) ในราคา 29,000 ปอนด์ (ประมาณ 125 ล้านบาท)
ในปี พ.ศ. 2445 ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปกับ เมย์ โยเฮ หย่าร้างกัน เธอตัดสินใจสมรสกับพุตนัมแบรดลี-สตรอง (ลูกชายของผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค)
ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮป และ เมย์ โยเฮ กล่าวหาเพชรนี้นำความโชคร้ายมาสู่พวกเขา
ต่อมาสื่อมวลชนอังกฤษขนานนามเพชรนี้ว่า "เพชรโฮป" ตำนานอาถรรพ์เพชรนี้จึงเกิดขึ้นจากบทความหนังสือพิมพ์ที่กล่าวถึงเส้นทางของเพชรนี้
ช่วงปี พ.ศ. 2463-2464 เมย์ โยเฮ เขียนบทภาพยนตร์ "อาถรรพ์เพชรโฮป" และพยายามนำเสนอต่อผู้สร้างภาพยนตร์หลายคน แต่ถูกปฏิเสธ
ฟรานซิสเพลแฮม-คลินตันโฮปเสียชีวิตขณะมีอายุ 64 ปีในปี พ.ศ. 2471 ส่วน เมย์ โยเฮ เสียชีวิตขณะมีอายุ 72 ปีในปี พ.ศ. 2481
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่