อุดรธานีในยุคที่ผมเป็นเด็ก...สงครามเวียดนามกำลังตีโค้งเข้าสู่จุดเอ็นดิ้ง สภาพตัวเมืองในยุคนั้นเรียกได้ว่ารุดหน้าเจริญกว่าบางเขตในกรุงเทพฯทีเดียว แหล่งราตรี บันเทิง บาร์ ไนท์คลับ บริษัท โรงภาพยนต์ขนาดใหญ่เทียบเท่าเฉลิมกรุง สกาล่าในยุคนั้น และสำนักงานต่างๆ ผุดขึ้นเพื่อมารองรับเหล่า “นักรบจีไอ” ที่เพ่นพ่านเต็มเมืองอุดรฯ เวลานั้น แต่ก็นั่นแหละ....เหล่านั้นเป็นความเจริญด้านวัตถุที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพและสถานการณ์นั้นๆ
อีกด้านหนึ่ง...อุดรธานีจัดว่าเป็น “ถิ่นธรรม” ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แห่งหนึ่งของประเทศไทยก็ว่าได้ สถานะความยากจนไม่ใช่อุปสรรคที่จะเข้าถึงธรรมและสัมผัสรสพระธรรม พระสุปฏิปันโณมีให้กราบไหว้แทบจะทุกระแหง ในหมู่บ้าน ป่าชัฏ หรือแม้แต่ในภูผา สิ่งที่น่าทึ่งอย่างหนึ่งของภาคอีสานก็คือ บางหมู่บ้านที่ดูเหมือนจะทุรกันดาน แต่วัดประจำหมู่บ้านจะมีพระอุโบสถหลังใหญ่งามไว้ให้พระภิกษุไว้ทำวัตร เป็นดัชนีที่ชี้ถึง “จิตใจ” ของคนในหมู่บ้านนั้นๆ ว่าอิงแอบแนบชิดศรัทธาและจรรโลงต่อพระพุทธศาสนาอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจมากน้อยเพียงไร และแน่นอน....ที่ขาดไม่ได้เลยคือ “พระบรมฉายาลักษณ์” ที่แขวนบนผนังบ้านในรูปแบบของปฏิทินบ้างหรือใส่กรอบบ้าง แล้วแต่ฐานานุฐานะของของครอบครัว เป็นภาพที่คุ้นเคยตาสำหรับคนอีสานมาตั้งแต่เด็ก
วันนี้ มีเหตุและแรงบันดาลใจที่อยากจะเขียนถึงบ้านเกิดหลายอย่าง ความจริงก็เขียนสอดแทรกในลักษณะ”รักบ้านเกิด” มาแทบตลอด มีบ้างที่โดนสะกิดว่าท้องถิ่นนิยมบ้าง อวดโอ้บ้าง หรือเลยเถิดไปกว่านั้น เคยถูกมองว่าเขียนเพื่อแบ่งพรรคแบ่งภาคบ้างก็มี นั่นก็สุดแล้วแต่คนจะมอง.....แต่จิตสำนึกในส่วนลึกของผม ผมคือคนอีสาน...และภูมิใจตรงนี้ วันนี้ขอเขียนในลักษณะเบาๆ....อ่านแล้วไม่เครียด อ่านจบแล้ว...จะยกมือกล่าวอนุโมทนาสาธุการก็ถือว่าเป็นกุศลร่วมกัน ย้อนกลับมาที่เหตุและแรงบันดาลใจที่อยากจะเขียน คืออีกไม่กี่วันข้างหน้านี้จะมีพระราชพิธีมอบพัดยศเปรียญธรรมเก้าประโยค ปีนี้มีพระเณรลงสอบบาลีฯ หลายร้อยพันรูป และสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคไม่เยอะ มีสามเณรที่สอบเปรียญเก้าได้สามรูป หนึ่งในนั้นมีสามเณรจากสำนักเรียนจังหวัดอุดรธานีสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคหนึ่งรูป และส่วนใหญ่และตลอดมาจะมาจากสำนักบาลีใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ผมในฐานะเคยเป็นศิษย์เก่าที่นั่นก็ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานฉลองพัดยศ
ขออนุญาตเกริ่นเรื่องการเรียนบาลีฯ สักเล็กน้อยสำหรับท่านที่ยังไม่รู้ การเรียนบาลีมีเก้าระดับ ขั้นต้นเรียกว่าเปรียญตรี (ประโยค1-3) ขั้นกลางเปรียญโท(ประโยค4-6) และเปรียญเอก(ประโยค7-9) (เรียนเปรียญธรรม กับ เรียนนักธรรมคนละอย่างนะครับ อย่าสับสนกัน) เป็นวิชาที่ต้องเรียนหนักเอาการพอดู สมัยผมเรียน มีพระหรือสามเณรบางรูปใช้เวลาเกือบสี่ถึงห้าปีกว่าจะได้ประโย 1-2 บางรูปถอดใจเลิกเรียนไปก็มี เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงว่าเปรียญธรรมประโยคเก้าจะสาหัสขนาดไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสามเณร......ดังนั้นจึงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่าถ้าสามเณรรูปใดสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยค พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานพัดยศและรับสามเณรรูปนั้นเป้น “นาคหลวง” อุปสมบทที่วัดพระแก้ว ผมเคยฝันตรงจุดนี้เหมือนกัน.....แต่ผมตกม้าตายไปไม่ถึงฝั่งฝันตั้งแต่จุดสตาร์ท และที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนอีสานก็คือ สามเณรรูปแรกที่สอบข้อเขียนได้เปรียญธรรมเก้าประโยคในรัชสมัย ร.๙ มาจากภาคอีสานคืออดีตสามเณรที่ชื่อเสฐียรพงษ์ วรรณปก และอีกเช่นกัน สามเณรที่อายุน้อยที่สุดที่สอบเปรียญธรรมเก้าประโยคได้ก็มากจากภาคอีสานคือสามเณรสันติราษฏร์ พวงมะลิ (สอบได้เมื่ออายุ18) และประธานสมาคมเปรียญธรรมเก้าประโยคปัจจุบันคือนายรักสยาม นามานุภาพ(จากอุดรฯ เคยสะพายย่ามบวชเรียนมาด้วยกัน) ปีนี้ ท่าน
สามเณรธนธรณ์ คูสูงเนิน จากสำนักเรียนบาลีที่วัดไวกูลฐารามในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อนารายณ์น้อย อำเภอบ้านผือใกล้ชายแดนลาวสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยค นำความภาคภูมิใจสู่หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัดและประเทศ
บรรากาศและห้องเรียนของวัด
วิถีชีวิตของลูกผู้ชาย/ผู้หญิงคนอีสานมีให้เลือกไม่มากโดยเฉพาะเรื่องการศึกษา เพราะฐานะทางครอบครัวคนอีสานส่วนใหญ่ยากจน จึงไม่แปลกที่สถิติประชากรด้อยการศึกษาในภาคอีสานจึงสูง แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าคุณค่าทางจิตใจจะด้อยไปด้วย...การดิ้นรนขนขวายเพื่อการศึกษาที่ดีกว่าของคนอีสานมีหลากหลายรูปแบบ พี่เสียสละให้น้องเรียนต่อบ้าง พ่อแม่ทิ้งหมู่บ้านลงไปหางานทำในกรุงเพื่อส่งลูกๆ เรียนบ้าง รับจ้างขายแรงงานและเรียนไปพร้อมๆ กันบ้าง ฯลฯ และอีกแนวทางหนึ่ง...ที่เด็กผู้ชายคนอีสานพอจะลืมตาอ้าปากได้ร่ำเรียนเขียนอ่านเป็นกับเขาก็คือการบวชเรียน นั่นคือเส้นทางที่ผมและหลายเด็กผู้ชายหลายในภาคอีสานได้เลือกเดิน ประสบความสำเร็จระดับประชาติก็มี ล้มเหลวระหว่างทางก็มี หรือเป็น “พระอริยะ” ให้คนทั่วประเทศกราบไหว้ก็มี หรือเป็นพระนักวิชาการ นักเทศน์ นักปาฐกก็มี เหล่านี้ถือว่าล้วนเป็น “สมบัติบุคคล” ของชาติ แม้ว่าบางกรณีชาติไม่เคยไปช่วยหรือพยุงเขาเลยก่อนที่จะเดินมาถึงจุดนี้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะครองผ้ากาสาวพัตร์ต่อไปหรือสึกออกมา....ก็รับประกันได้ระดับหนึ่งว่า อย่างน้อยๆ พวกเขาก็ผ่านการบวชเรียนมาแม้ปริญญาอาจจะไม่มี.....แต่การเป็นคนดีของสังคมไม่ได้วัดกันตรงนั้น หากแต่อยู่ที่จิตใจใครว่าการอบรมและบ่มนิสัยด้านคุณธรรมมาขนาดไหน?
….อุดรธานี อีสานบ้านผม....
อีกด้านหนึ่ง...อุดรธานีจัดว่าเป็น “ถิ่นธรรม” ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แห่งหนึ่งของประเทศไทยก็ว่าได้ สถานะความยากจนไม่ใช่อุปสรรคที่จะเข้าถึงธรรมและสัมผัสรสพระธรรม พระสุปฏิปันโณมีให้กราบไหว้แทบจะทุกระแหง ในหมู่บ้าน ป่าชัฏ หรือแม้แต่ในภูผา สิ่งที่น่าทึ่งอย่างหนึ่งของภาคอีสานก็คือ บางหมู่บ้านที่ดูเหมือนจะทุรกันดาน แต่วัดประจำหมู่บ้านจะมีพระอุโบสถหลังใหญ่งามไว้ให้พระภิกษุไว้ทำวัตร เป็นดัชนีที่ชี้ถึง “จิตใจ” ของคนในหมู่บ้านนั้นๆ ว่าอิงแอบแนบชิดศรัทธาและจรรโลงต่อพระพุทธศาสนาอันเป็นที่พึ่งทางจิตใจมากน้อยเพียงไร และแน่นอน....ที่ขาดไม่ได้เลยคือ “พระบรมฉายาลักษณ์” ที่แขวนบนผนังบ้านในรูปแบบของปฏิทินบ้างหรือใส่กรอบบ้าง แล้วแต่ฐานานุฐานะของของครอบครัว เป็นภาพที่คุ้นเคยตาสำหรับคนอีสานมาตั้งแต่เด็ก
วันนี้ มีเหตุและแรงบันดาลใจที่อยากจะเขียนถึงบ้านเกิดหลายอย่าง ความจริงก็เขียนสอดแทรกในลักษณะ”รักบ้านเกิด” มาแทบตลอด มีบ้างที่โดนสะกิดว่าท้องถิ่นนิยมบ้าง อวดโอ้บ้าง หรือเลยเถิดไปกว่านั้น เคยถูกมองว่าเขียนเพื่อแบ่งพรรคแบ่งภาคบ้างก็มี นั่นก็สุดแล้วแต่คนจะมอง.....แต่จิตสำนึกในส่วนลึกของผม ผมคือคนอีสาน...และภูมิใจตรงนี้ วันนี้ขอเขียนในลักษณะเบาๆ....อ่านแล้วไม่เครียด อ่านจบแล้ว...จะยกมือกล่าวอนุโมทนาสาธุการก็ถือว่าเป็นกุศลร่วมกัน ย้อนกลับมาที่เหตุและแรงบันดาลใจที่อยากจะเขียน คืออีกไม่กี่วันข้างหน้านี้จะมีพระราชพิธีมอบพัดยศเปรียญธรรมเก้าประโยค ปีนี้มีพระเณรลงสอบบาลีฯ หลายร้อยพันรูป และสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคไม่เยอะ มีสามเณรที่สอบเปรียญเก้าได้สามรูป หนึ่งในนั้นมีสามเณรจากสำนักเรียนจังหวัดอุดรธานีสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคหนึ่งรูป และส่วนใหญ่และตลอดมาจะมาจากสำนักบาลีใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ผมในฐานะเคยเป็นศิษย์เก่าที่นั่นก็ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานฉลองพัดยศ
ขออนุญาตเกริ่นเรื่องการเรียนบาลีฯ สักเล็กน้อยสำหรับท่านที่ยังไม่รู้ การเรียนบาลีมีเก้าระดับ ขั้นต้นเรียกว่าเปรียญตรี (ประโยค1-3) ขั้นกลางเปรียญโท(ประโยค4-6) และเปรียญเอก(ประโยค7-9) (เรียนเปรียญธรรม กับ เรียนนักธรรมคนละอย่างนะครับ อย่าสับสนกัน) เป็นวิชาที่ต้องเรียนหนักเอาการพอดู สมัยผมเรียน มีพระหรือสามเณรบางรูปใช้เวลาเกือบสี่ถึงห้าปีกว่าจะได้ประโย 1-2 บางรูปถอดใจเลิกเรียนไปก็มี เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงว่าเปรียญธรรมประโยคเก้าจะสาหัสขนาดไหน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสามเณร......ดังนั้นจึงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่าถ้าสามเณรรูปใดสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยค พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานพัดยศและรับสามเณรรูปนั้นเป้น “นาคหลวง” อุปสมบทที่วัดพระแก้ว ผมเคยฝันตรงจุดนี้เหมือนกัน.....แต่ผมตกม้าตายไปไม่ถึงฝั่งฝันตั้งแต่จุดสตาร์ท และที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนอีสานก็คือ สามเณรรูปแรกที่สอบข้อเขียนได้เปรียญธรรมเก้าประโยคในรัชสมัย ร.๙ มาจากภาคอีสานคืออดีตสามเณรที่ชื่อเสฐียรพงษ์ วรรณปก และอีกเช่นกัน สามเณรที่อายุน้อยที่สุดที่สอบเปรียญธรรมเก้าประโยคได้ก็มากจากภาคอีสานคือสามเณรสันติราษฏร์ พวงมะลิ (สอบได้เมื่ออายุ18) และประธานสมาคมเปรียญธรรมเก้าประโยคปัจจุบันคือนายรักสยาม นามานุภาพ(จากอุดรฯ เคยสะพายย่ามบวชเรียนมาด้วยกัน) ปีนี้ ท่านสามเณรธนธรณ์ คูสูงเนิน จากสำนักเรียนบาลีที่วัดไวกูลฐารามในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อนารายณ์น้อย อำเภอบ้านผือใกล้ชายแดนลาวสอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยค นำความภาคภูมิใจสู่หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัดและประเทศ
บรรากาศและห้องเรียนของวัด
วิถีชีวิตของลูกผู้ชาย/ผู้หญิงคนอีสานมีให้เลือกไม่มากโดยเฉพาะเรื่องการศึกษา เพราะฐานะทางครอบครัวคนอีสานส่วนใหญ่ยากจน จึงไม่แปลกที่สถิติประชากรด้อยการศึกษาในภาคอีสานจึงสูง แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่าคุณค่าทางจิตใจจะด้อยไปด้วย...การดิ้นรนขนขวายเพื่อการศึกษาที่ดีกว่าของคนอีสานมีหลากหลายรูปแบบ พี่เสียสละให้น้องเรียนต่อบ้าง พ่อแม่ทิ้งหมู่บ้านลงไปหางานทำในกรุงเพื่อส่งลูกๆ เรียนบ้าง รับจ้างขายแรงงานและเรียนไปพร้อมๆ กันบ้าง ฯลฯ และอีกแนวทางหนึ่ง...ที่เด็กผู้ชายคนอีสานพอจะลืมตาอ้าปากได้ร่ำเรียนเขียนอ่านเป็นกับเขาก็คือการบวชเรียน นั่นคือเส้นทางที่ผมและหลายเด็กผู้ชายหลายในภาคอีสานได้เลือกเดิน ประสบความสำเร็จระดับประชาติก็มี ล้มเหลวระหว่างทางก็มี หรือเป็น “พระอริยะ” ให้คนทั่วประเทศกราบไหว้ก็มี หรือเป็นพระนักวิชาการ นักเทศน์ นักปาฐกก็มี เหล่านี้ถือว่าล้วนเป็น “สมบัติบุคคล” ของชาติ แม้ว่าบางกรณีชาติไม่เคยไปช่วยหรือพยุงเขาเลยก่อนที่จะเดินมาถึงจุดนี้ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะครองผ้ากาสาวพัตร์ต่อไปหรือสึกออกมา....ก็รับประกันได้ระดับหนึ่งว่า อย่างน้อยๆ พวกเขาก็ผ่านการบวชเรียนมาแม้ปริญญาอาจจะไม่มี.....แต่การเป็นคนดีของสังคมไม่ได้วัดกันตรงนั้น หากแต่อยู่ที่จิตใจใครว่าการอบรมและบ่มนิสัยด้านคุณธรรมมาขนาดไหน?