ค้นดูกระทู้เก่าๆ....มีหลายท่านถามเกี่ยวกับเปรียญธรรมเก้าประโยค....ก็ขออนุญาตตั้งกระทู้เป็นเกร็ดความรู้....ตั้งกระทู้สะกิดพุทธอิสระบ่อยก็รู้สึกเบื่อๆ (เพราะหมอนี่ด้านนนนจริง)
ผมพอจะรู้จักและมีเพื่อนที่เป็นเปรียญเก้าอยู่หลายคนและหลายรูป มีคนถามว่าเรียนยากไหมเปรียญธรรม......ตอบเลยครับว่ายากสสส์ คนที่สอบได้ประโยคเก้านี่ต้องบอกว่าระดับเทพจริงๆ ครับ......ยิ่งสอบได้ตอนเป็นสามเณรแล้วยิ่งดับเบิ้ลเทพ ที่ดังๆ ไล่ตั้งแต่คนแรกในรัชกาลนี่นะครับ
1. อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านนี้รับประกันได้ครับว่าเทพจริงๆ.....ท่านเคยสอนผมระยะหนึ่ง
2. พระพรมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์) ผมเคยเรียนกับท่านที่ มจร มาเหมือนกัน
3. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร) อธิการบดี มจร
แต่ที่อยากแนะนำอีกท่านหนึ่งที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้คุ้นเคยถือว่าเป็น เจนเนอเรชั่นเดียวกับกับผมคือ คุณ อุทิส ศิริวรรณ ปัจจุบันท่านเป็นศาสตราจารย์....ขี้เกียจบรรยายสรรพคุณ ดูตามลิงค์เลยนะครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/อุทิส_ศิริวรรณ ท่านอุทิส นอกจากจะเป็นสามเณรประโยคแล้ว ท่านแต่งตำราบาลีไวยากรณ์ในแบบฉบับของท่านให้รุ่นน้องๆ ได้อ่านแบบเข้าใจง่ายจนเป็นมหาเปรียญหลายร้อยรูปมาแล้ว
เคยมีคนถามว่าจบเปรียญเก้าแล้วมีหน้าที่อะไร? ต้องออกตัวก่อนนะว่าผมไม่ใช่เปรียญเก้า แต่เคยเริ่มจับหนึงสือบาลีไวยากรณ์พร้อมๆ กับเพื่อนๆ เปรียญเก้ามาในสมัยบวชเรียนแต่ผมไปไม่ถึงฝั่งฝันด่วนลาสิกขาซะก่อน อิ อิ อิ เรื่องหน้าที่ของพระเปรียญเก้านั้นก็แล้วแต่เจ้าอาวาสจะมอบหมายให้ ถ้าหากวัดที่ท่านอาศัยอยู่ไม่มีสำนักเรียนท่านก็อาจจะถูกเรียกไปสอนบาลีที่วัดอื่น หรือเปิดสำนักบาลี อาจจะช่วยงานด้านชำระพระไตรปิฏกบ้าง ถ้าสิกขาลาเพศออกมาอย่างน้อยๆ ก็เป็นอนุศาสนาจารย์บ้าง เป็นราชบัณฑิตบ้างอย่าง ท่านเสฐียรพงษ์ และท่านจำนงค์ ทองประเสริฐ หรือสอนหนังสือตามมหาวิทยาลัยเช่นศิลปากร เช่นท่าน สมบัติ มั่งมีศรีสุข (อดีตสามเณรประโยคเก้าวัดสีหไกรสร อันนี้เป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกัน ถือโอกาสโฆษณา อิ อิ อิ) แต่ที่น่าแปลกใจมีอยู่ท่านหนึ่งจบประโยคเก้าจากวัดจักรวรรดิ์ฯ.....ท่านไปเป็นมัคคุเทสก์นำฝรั่งเที่ยวตามวัดตามวัง
ถามว่าระดับประโยคได้เจ้าคุณเร็วสิท่า?? เป็นไปได้สูงครับ และแล้วแต่กรณี(เส้นสายด้วย) อย่างท่านจำนงค์ ทองประเสริฐ ผมเคยเรียนวิชาตรรกะศาสตร์กับท่าน ท่านเป็นเจ้าคุณที่อายุน้อยมากรู้สึกว่าตอนอายุยี่สิบเจ็ดปีเอง ท่านเป็นสหธรรมิกกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศและเป็นเจ้าคุณก่อนสมเด็จเกี่ยว แต่ไม่ไกลจากวัดสระเกศเท่าไหร่แค่สามร้อยกว่าเมตรคือวัดสิตาราม(วัดคอกหมู)เจ้าอาวาสตอนนั้นคือ พระมหาสมศรี อินทโชโต สอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2498 (ปีพศ ผมไม่ได้เช็คข้อมูล แต่ที่รู้คือสอบประโยคเก้าได้ก่อนปี2500) แทบจะเรียกได้เป็นมหาเปรียญเก้าที่รั้งตำแหน่ง "พระมหา" ยาวนานที่สุดก็ว่าได้ ท่านเป็นคนขอนแก่น ปี2530 ผมเคยเรียนถามท่านตรงๆ ว่าไม่น้อยใจบ้างหรือขอรับ.....ท่านบอกว่ายอมรับชะตาแล้ว ขนาดพระลูกวัดของท่านเป็นพระครูตั้งสองรูปท่านก็ยังเป็นพระมหาสมศรีจนมรณภาพ
บางคนถามว่าสอบ/เรียนยากไหม? ...ไม่ต้องไปไกลถึงประโยคเก้าหรอกขอรับ แค่ประสอบประโยค 1-2 ก็ยากเย็นแสนเข็ญ คนที่สมองไม่เอื้ออำนวยสอบห้าหกปียังไม่ผ่าน สมัยเป็นเป็นสามเณรน้อยท่ี่บ้านนอก ต้องเดินจากวัดมาโบกรถสิบล้อที่บรรทุกอ้อยเข้ามาเรียนที่สำนัก วันไหนรถไม่มาก็ไม่ได้เรียน สำนักเรียนตอนนั้นอยู่ที่วัดมัชฌิมวาส(อุดรฯ)มีพระเดชพระคุณเท่านเจ้าคุณราชปริยัติเมธี(ปธ ๘)เป็นอาจารย์สอนไวยากรณ์ ท่านเขี่ยวเค็ญให้ท่อง...ถ้าท่องไม่ได้ก็มายืนคาบไม้บรรทัดหน้าห้องเรียนทำโทษ....ไม้เด็ดของท่านเจ้าคุณคือท่านสั่งให้ใช้ตัดมะพร้าววครึ่งลูกแล้วเฉือนส่วนที่แหลมทิ้ง....ให้ใช้มะพร้าวครึ่งลูกหนุนแทนหมอนนอนอ่านและท่องบาลีบนพื้นกุฏิ....อ่านไปๆ เกิดเคลิ้มง่วงนอนขึ้นมาหัวก็หล่นจากมะพร้าวลงฟาดกับพื้นโป๊กใหญ่
สารภาพตรงๆ ว่า....ตอนนั้นอายุแค่สิบสอง เรียนไปก็สักแต่เรียน หลวงปู่เจ้าอาวาสว่าอยากมีมหาสักคนในหมู่บ้านบ้างก็เอา แต่ผมมาเห็นคุณค่าภาษาบาลีเอาก็ต่อเมื่อผมเริ่มฝึกเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง.......เห็นการผันคำนาม ผันกริยาของภาษาอังกฤษผมก็มองว่ากล้วยๆ เพราะผ่านของแข็งอย่างบาลีไวยากรณ์มาแล้ว อังกฤษผันกริยาได้สามช่อง speak, spoke, spoken แต่บาลีผันกริยาได้หลากหลาย ติ อันติ สิ ถะ มิ มะ ผมคิดว่าการที่ได้เรียนภาษาบาลีมาแล้วช่วยผมในเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง (ซึ่งปัจจุบันผมก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นชีวิตประจำวันทั้งที่ทำงานและในครอบครัวของผม)อดีตมหาเปรียญที่เก่งอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์ สำราญ คำยิ่ง ท่านนี้เขียนตำราไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขายจนโด่งดังทั่วประเทศไทยเชียวนะ ขานั้นเขาก็มีพื้นฐานมาจากบาลีมาก่อน อาจารย์เสฐียรพงษ์แปลพุทธพจน์จากธรรมบทเป็นภาษาอังกฤษซะสวยหรูฝรั่งชมเปราะ
ก้อเคยนะ.....โดนค่อนแคะในสมัยเรียนบาลีจากเพื่อนว่า เฮ้ย..เรียนไปได้ไรฟร่ะ? จะไปหางานทำที่กรุงพาราณาสี หรือกรุงราชคฤห์หรือไง?
เสียดาย....ที่บาลีไวยากรณ์ไม่ได้ถูกบรรจุในหลักสุตรตำราเรียนให้นักเรียนทั่วๆ ไป ไม่งั้นเราไม่ต้องมาพะวงเรื่องไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้มาก หรือแม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็จะได้รู้ลึกซึ่ง ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมเคยอ้างมาหลายที่แล้วการแปลคำว่ า"วิหค" ซึ่งผมก็บอกใครต่อใครว่าแปลว่า "นก" ตรงๆ นั้นไม่ถูกต้องนัก ถ้าหากจะดุรากศัพท์ของคำๆ นี้ก็จะเข้าใจทันทีว่า "วิหค" ไม่ได้แปลว่านก
วิหค...มาจากคำว่า เวหา+คม(อ่านว่า "คะมะ" เป็นธาตุที่แปลว่า "ไป" คำว่า "คมนาคม" ก็มาจากธาตุตัวนี้แหละ) "เวหา" และ "คม" สมาสสนธิกันเข้าก็คลอดคำว่า "วิหค" ออกมา(ขออนุญาตไม่อธิบายรายละเอียด) แปลตามศัพท์ก็ได้ว่า "
บุคคล, สิ่งมีชีวิต)ผู้มีปรกติซึ่งไปในอากาศ" ดังนั้น ผู้ที่มีปรกติซึ่งไปในอากาศ(บิน)ต้องรวมเอาทั้ง ผีเสื้อ แมลงปอ ยุง ไร ฯลฯ ไม่ได้หมายถึง "นก" เพียงอย่างเดียว....แปลไทยเป็นไทยก็คือ วิหคแปลว่าสัตว์ปีก(ที่บินได้) นกเป็นวิหค แต่วิหคไม่ใช่นก(เพียงอย่างเดียว) เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ อิ อิ อิ
เล่าเรื่องเรียน....เปรียญธรรม
ผมพอจะรู้จักและมีเพื่อนที่เป็นเปรียญเก้าอยู่หลายคนและหลายรูป มีคนถามว่าเรียนยากไหมเปรียญธรรม......ตอบเลยครับว่ายากสสส์ คนที่สอบได้ประโยคเก้านี่ต้องบอกว่าระดับเทพจริงๆ ครับ......ยิ่งสอบได้ตอนเป็นสามเณรแล้วยิ่งดับเบิ้ลเทพ ที่ดังๆ ไล่ตั้งแต่คนแรกในรัชกาลนี่นะครับ
1. อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านนี้รับประกันได้ครับว่าเทพจริงๆ.....ท่านเคยสอนผมระยะหนึ่ง
2. พระพรมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์) ผมเคยเรียนกับท่านที่ มจร มาเหมือนกัน
3. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร) อธิการบดี มจร
แต่ที่อยากแนะนำอีกท่านหนึ่งที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้คุ้นเคยถือว่าเป็น เจนเนอเรชั่นเดียวกับกับผมคือ คุณ อุทิส ศิริวรรณ ปัจจุบันท่านเป็นศาสตราจารย์....ขี้เกียจบรรยายสรรพคุณ ดูตามลิงค์เลยนะครับ http://th.wikipedia.org/wiki/อุทิส_ศิริวรรณ ท่านอุทิส นอกจากจะเป็นสามเณรประโยคแล้ว ท่านแต่งตำราบาลีไวยากรณ์ในแบบฉบับของท่านให้รุ่นน้องๆ ได้อ่านแบบเข้าใจง่ายจนเป็นมหาเปรียญหลายร้อยรูปมาแล้ว
เคยมีคนถามว่าจบเปรียญเก้าแล้วมีหน้าที่อะไร? ต้องออกตัวก่อนนะว่าผมไม่ใช่เปรียญเก้า แต่เคยเริ่มจับหนึงสือบาลีไวยากรณ์พร้อมๆ กับเพื่อนๆ เปรียญเก้ามาในสมัยบวชเรียนแต่ผมไปไม่ถึงฝั่งฝันด่วนลาสิกขาซะก่อน อิ อิ อิ เรื่องหน้าที่ของพระเปรียญเก้านั้นก็แล้วแต่เจ้าอาวาสจะมอบหมายให้ ถ้าหากวัดที่ท่านอาศัยอยู่ไม่มีสำนักเรียนท่านก็อาจจะถูกเรียกไปสอนบาลีที่วัดอื่น หรือเปิดสำนักบาลี อาจจะช่วยงานด้านชำระพระไตรปิฏกบ้าง ถ้าสิกขาลาเพศออกมาอย่างน้อยๆ ก็เป็นอนุศาสนาจารย์บ้าง เป็นราชบัณฑิตบ้างอย่าง ท่านเสฐียรพงษ์ และท่านจำนงค์ ทองประเสริฐ หรือสอนหนังสือตามมหาวิทยาลัยเช่นศิลปากร เช่นท่าน สมบัติ มั่งมีศรีสุข (อดีตสามเณรประโยคเก้าวัดสีหไกรสร อันนี้เป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกัน ถือโอกาสโฆษณา อิ อิ อิ) แต่ที่น่าแปลกใจมีอยู่ท่านหนึ่งจบประโยคเก้าจากวัดจักรวรรดิ์ฯ.....ท่านไปเป็นมัคคุเทสก์นำฝรั่งเที่ยวตามวัดตามวัง
ถามว่าระดับประโยคได้เจ้าคุณเร็วสิท่า?? เป็นไปได้สูงครับ และแล้วแต่กรณี(เส้นสายด้วย) อย่างท่านจำนงค์ ทองประเสริฐ ผมเคยเรียนวิชาตรรกะศาสตร์กับท่าน ท่านเป็นเจ้าคุณที่อายุน้อยมากรู้สึกว่าตอนอายุยี่สิบเจ็ดปีเอง ท่านเป็นสหธรรมิกกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศและเป็นเจ้าคุณก่อนสมเด็จเกี่ยว แต่ไม่ไกลจากวัดสระเกศเท่าไหร่แค่สามร้อยกว่าเมตรคือวัดสิตาราม(วัดคอกหมู)เจ้าอาวาสตอนนั้นคือ พระมหาสมศรี อินทโชโต สอบได้เปรียญธรรมเก้าประโยคตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2498 (ปีพศ ผมไม่ได้เช็คข้อมูล แต่ที่รู้คือสอบประโยคเก้าได้ก่อนปี2500) แทบจะเรียกได้เป็นมหาเปรียญเก้าที่รั้งตำแหน่ง "พระมหา" ยาวนานที่สุดก็ว่าได้ ท่านเป็นคนขอนแก่น ปี2530 ผมเคยเรียนถามท่านตรงๆ ว่าไม่น้อยใจบ้างหรือขอรับ.....ท่านบอกว่ายอมรับชะตาแล้ว ขนาดพระลูกวัดของท่านเป็นพระครูตั้งสองรูปท่านก็ยังเป็นพระมหาสมศรีจนมรณภาพ
บางคนถามว่าสอบ/เรียนยากไหม? ...ไม่ต้องไปไกลถึงประโยคเก้าหรอกขอรับ แค่ประสอบประโยค 1-2 ก็ยากเย็นแสนเข็ญ คนที่สมองไม่เอื้ออำนวยสอบห้าหกปียังไม่ผ่าน สมัยเป็นเป็นสามเณรน้อยท่ี่บ้านนอก ต้องเดินจากวัดมาโบกรถสิบล้อที่บรรทุกอ้อยเข้ามาเรียนที่สำนัก วันไหนรถไม่มาก็ไม่ได้เรียน สำนักเรียนตอนนั้นอยู่ที่วัดมัชฌิมวาส(อุดรฯ)มีพระเดชพระคุณเท่านเจ้าคุณราชปริยัติเมธี(ปธ ๘)เป็นอาจารย์สอนไวยากรณ์ ท่านเขี่ยวเค็ญให้ท่อง...ถ้าท่องไม่ได้ก็มายืนคาบไม้บรรทัดหน้าห้องเรียนทำโทษ....ไม้เด็ดของท่านเจ้าคุณคือท่านสั่งให้ใช้ตัดมะพร้าววครึ่งลูกแล้วเฉือนส่วนที่แหลมทิ้ง....ให้ใช้มะพร้าวครึ่งลูกหนุนแทนหมอนนอนอ่านและท่องบาลีบนพื้นกุฏิ....อ่านไปๆ เกิดเคลิ้มง่วงนอนขึ้นมาหัวก็หล่นจากมะพร้าวลงฟาดกับพื้นโป๊กใหญ่
สารภาพตรงๆ ว่า....ตอนนั้นอายุแค่สิบสอง เรียนไปก็สักแต่เรียน หลวงปู่เจ้าอาวาสว่าอยากมีมหาสักคนในหมู่บ้านบ้างก็เอา แต่ผมมาเห็นคุณค่าภาษาบาลีเอาก็ต่อเมื่อผมเริ่มฝึกเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง.......เห็นการผันคำนาม ผันกริยาของภาษาอังกฤษผมก็มองว่ากล้วยๆ เพราะผ่านของแข็งอย่างบาลีไวยากรณ์มาแล้ว อังกฤษผันกริยาได้สามช่อง speak, spoke, spoken แต่บาลีผันกริยาได้หลากหลาย ติ อันติ สิ ถะ มิ มะ ผมคิดว่าการที่ได้เรียนภาษาบาลีมาแล้วช่วยผมในเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง (ซึ่งปัจจุบันผมก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นชีวิตประจำวันทั้งที่ทำงานและในครอบครัวของผม)อดีตมหาเปรียญที่เก่งอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์ สำราญ คำยิ่ง ท่านนี้เขียนตำราไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขายจนโด่งดังทั่วประเทศไทยเชียวนะ ขานั้นเขาก็มีพื้นฐานมาจากบาลีมาก่อน อาจารย์เสฐียรพงษ์แปลพุทธพจน์จากธรรมบทเป็นภาษาอังกฤษซะสวยหรูฝรั่งชมเปราะ
ก้อเคยนะ.....โดนค่อนแคะในสมัยเรียนบาลีจากเพื่อนว่า เฮ้ย..เรียนไปได้ไรฟร่ะ? จะไปหางานทำที่กรุงพาราณาสี หรือกรุงราชคฤห์หรือไง?
เสียดาย....ที่บาลีไวยากรณ์ไม่ได้ถูกบรรจุในหลักสุตรตำราเรียนให้นักเรียนทั่วๆ ไป ไม่งั้นเราไม่ต้องมาพะวงเรื่องไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้มาก หรือแม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็จะได้รู้ลึกซึ่ง ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมเคยอ้างมาหลายที่แล้วการแปลคำว่ า"วิหค" ซึ่งผมก็บอกใครต่อใครว่าแปลว่า "นก" ตรงๆ นั้นไม่ถูกต้องนัก ถ้าหากจะดุรากศัพท์ของคำๆ นี้ก็จะเข้าใจทันทีว่า "วิหค" ไม่ได้แปลว่านก
วิหค...มาจากคำว่า เวหา+คม(อ่านว่า "คะมะ" เป็นธาตุที่แปลว่า "ไป" คำว่า "คมนาคม" ก็มาจากธาตุตัวนี้แหละ) "เวหา" และ "คม" สมาสสนธิกันเข้าก็คลอดคำว่า "วิหค" ออกมา(ขออนุญาตไม่อธิบายรายละเอียด) แปลตามศัพท์ก็ได้ว่า "บุคคล, สิ่งมีชีวิต)ผู้มีปรกติซึ่งไปในอากาศ" ดังนั้น ผู้ที่มีปรกติซึ่งไปในอากาศ(บิน)ต้องรวมเอาทั้ง ผีเสื้อ แมลงปอ ยุง ไร ฯลฯ ไม่ได้หมายถึง "นก" เพียงอย่างเดียว....แปลไทยเป็นไทยก็คือ วิหคแปลว่าสัตว์ปีก(ที่บินได้) นกเป็นวิหค แต่วิหคไม่ใช่นก(เพียงอย่างเดียว) เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ อิ อิ อิ