[CR] มนต์เสน่ห์บ้านส้อง

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปเที่ยว"บ้านส้อง"จังหวัดสุราษฎร์ธานีใครที่สนใจเชิญตามมาได้เลยครับบ                  
           ตำบลบ้านส้องเป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอเวียงสระ เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อมีการแบ่งเขตการปกครองมาเป็นอำเภอเวียงสระ ตำบลบ้านส้องก็มาขึ้นอยู่กับอำเภอเวียงสระจนถึงปัจจุบัน

การเดินทางเข้าสู่ตำบลใช้เส้นทางสายสุราษฏร์ธานี-นครศรีธรรมราช(ถนนหมายเลข 4009) และสายบ้านส้อง-นครศรีธรรมราช (ถนนหมายเลข 4015)

เดินทางมาเหนื่อยๆเมื่อพักผ่อนเต็มที่เรามาเริ่มเช้าวันใหม่ได้ที่ร้านนิสากร ติ่มซำ ตลาดบ้านส้อง จ.สุราษฎร์ธานี มีทั้งโจ๊ก มีทั้งน้ำชา ติ่มซำ น้ำจิ่มรสเด็ดมากเลยขอบอก ปาท่องโก๋ อื่นๆอีกมากมาย ได้ลิ่มรสอาหารแบบภูมิปัญญาชาวบ้านทางภาคใต้กันเลยทีเดียว ร้านจะเปิดตั้งแต่เวลา 6.30 น. เชิญแวะมาลองชิมได้ครับ ทั้งราคาถูกและอร่อยฝุดๆ

ตกเย็นผมขอแนะนำ นี่เลย ขนมจีนเส้นสด ขอบอกว่าสดจริงๆ น้ำยาอร่อยมาก...ของเจ๊ เค้าแจ่มจริงๆ

เผื่อใครยังไม่อิ่มหรือยังหิวอยู่ ก็จัดไปเลยครับร้านนี้ ก๋วยเตี๋ยวไข่ต้มยำ ตั้งอยู่ที่ 4009, ตำบล เวียงสระ อำเภอ เวียงสระ สุราษฎร์ธานี
มีทั้งแบบแห้งและแบบน้ำ รสชาติก๋วยเตี๋ยวไข่ต้มยำ นํ้าซุปรสจัดพอประมาณทานกับไข่มะตูมหวานมันอร่อยมาก ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นรสหวานเค็ม   เรียกว่าอร่อยทุกเมนูจนอดสั่งเพิ่มไม่ได้เลย บอกเลยว่าเด็ดจริง  ๆ  
ราคาอาหาร 40-70 บาทเท่านั้น

หากใครอยากมีที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ...ผมขอเชิญที่ร้านอิงเวียง ตั้งอยู่ 89/1 เวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นร้านแนวคลาสสิค บรรยากาศภายในร้านตกแต่งด้วยของเก่าๆ เช่น นาฬิกา เหรียญเก่าๆ เป็นต้น หากใครที่คิดอยากนั่งพักผ่อนชิลด์ๆจิบเครื่องดื่มเย็นๆไปคุยกับเพื่อนไป พร้อมกับบรรยากาศสุดคลาสสิค ก็ขอเชิญที่ร้านนี้เลยครับ....

ณ บ้านกาแฟ ตั้งอยู่ 4009 เวียงสระ บ้านส้อง (ถนนพาด) ชื่อก็บอกอยู่ว่าบ้านกาแฟ แต่ร้านนี้ไม่ได้ขึ้นชื่อเพียงแค่เรื่องกาแฟนะครับ ยังมีเมนูอาหารให้เลือกทานได้มากมายอีกด้วย มีทั้งกาแฟ และน้ำปั่นรสชาติถูกปากให้เลือกสั่งมากมาย คือถ้าได้มาร้านนี้แล้วจะรู้สึกอิ่มและฟินไปพร้อมๆกันเลยก็ว่าได้..


เราขอพักเรื่องกินมาเข้าวัดเข้าวาพร้อมกับชื่นชมอารยธรรมโบราณของที่นี่กันบ้างเนอะ...
          จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี โดยทาง "รถยนต์" ระยะทางประมาณ ๖๙ กิโลเมตร ถึงอำเภอเวียงสระ หรือจะเดินทางมาโดยทาง "รถไฟ" ไปลงที่สถานีรถไฟ “บ้านส้อง” แล้วต่อด้วยรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ไปยังหมู่ที่ ๗ ให้เลี้ยวเข้าไปยังถนนเส้นที่ติดป้ายบอกทางไปยัง “วัดเวียงสระ” จนสุดทาง ก็จะพบกับวัดเวียงสระ ตั้งอยู่สุดถนนเส้นที่ว่านั่นเอง
          ปัจจุบัน “วัดเวียงสระ” มีความเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปไม่มากนัก ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษกิจของเมืองที่เปลี่ยนทำเลไป ทำให้ปัจจุบัน วัดเวียงสระ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ ค่อนข้างจะโดดเดี่ยว ห่างไกลออกมาจากความวุ่นวายของตัวเมืองอยู่พอสมควรทีเดียว จึงทำให้โบสถ์เก่า กุฎิ ศาลาต่าง ๆ ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ๆ เหมือนสมัยเมื่อเกือบร้อยปีก่อน พร้อม ๆ กับซากเมืองโบราณอายุกว่าพันปี ก็ได้ซุกซ่อนตัวอยู่ในป่าทึบ ด้านหลังของ “วัดเวียงสระ"เชื่อกันว่าเมืองเวียงสระ มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ โดยมีหลักฐานยืนยันจากจดหมายเหตุจากเมืองจีน ที่กล่าวถึงการติดต่อกันทางราชทูตราวช่วง พ.ศ. ๙๖๗ คาดกันว่า เมืองเวียงสระ น่าจะตั้งขึ้นก่อนสมัยอาณาจักร "ศรีวิชัย" อันเป็นอาณาจักรโบราณที่สำคัญในแถบภาคใต้นี้ด้วยซ้ำนั่นก็เพราะว่าบริเวณนี้ ได้มีการค้นพบหลักฐานสำคัญทางด้านโบราณคดีมากมาย ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือศิลาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เทวรูปและพระพุทธรูปเก่าแก่ หลายยุคสมัยต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อันนี้เองทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ชุมชนโบราณเมืองเวียงสระนั้น ได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง มีสภาพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีค่อนข้างสูง ดังจะเห็นจากการรู้จักสร้างกำแพงและคูเมือง โดยอาศัยลำน้ำธรรมชาติและขุดคลองเชื่อมต่อกัน นั่นทำให้แหล่งเมืองโบราณเวียงสระนี้ จึงมีความสำคัญทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ ของแหล่งอารยะธรรมโบราณ ในดินแดนแถบภาคใต้อีกด้วย

             ปัจจุบัน ด้วยปัจจัยทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่มีไม่มากนัก ประกอบกับสภาพของตัวเมืองโบราณเวียงสระเอง ที่คงสภาพเดิม ๆ เหมือนซ่อนตัวอยู่ในป่าทึบ อันเกี่ยวเนื่องมาจากความเชื่อของชาวบ้านในละแวกนั้น ที่จะไม่เข้าไปยุ่งย่ามภายในเขตเมืองโบราณโดยไม่จำเป็น จึงทำให้ตัวเมืองโบราณเวียงสระ ยังคงได้รับการอนุรักษ์ในสภาพเดิม ๆ เหมือนอย่างเช่นที่นักสำรวจเมืองโบราณรุ่นแรก ๆ ได้ผ่านมาพบเจอ
             ถึงแม้ว่าตัวเมืองโบราณเวียงสระในปัจจุบัน อาจจะไม่ใหญ่โต สมบูรณ์ กว้างขวาง หรือมีวัตถุโบราณอันสวยงามอย่างที่ใคร ๆ คาดหวัง แต่จุดเด่นของที่นี่ ก็คงอยู่ที่ตัวเมืองโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในป่าทึบ คงสภาพแบบดิบ ๆ เดิม ๆ เหมือนไม่เคยผ่านการบูรณะมาก่อน นี่จึงเป็นสาเหตุให้ก้าวแรก ของผู้ที่มีโอกาสเหยียบย่างลงบนผืนแผ่นดินโบราณแห่งนี้ จะได้สัมผัสกับบรรยากาศแห่งความเก่าแก่ ขรึมขลัง จนรู้สึกได้ อย่างที่ผมเคยรู้สึกในก้าวแรก ในการเดินทางมาเยี่ยมเยือนดินแดนแห่งบรรพบุรุษแห่งนี้ พร้อม ๆ กับความรู้สึกทึ่ง ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของผืนแผ่นดินแห่งนี้นั่นเอง…

CR.http://bansong.blogspot.com/2009/02/blog-post.html


สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านได้ท่องเที่ยวกันอย่างสนุกนะครับ...
ชื่อสินค้า:   บ้านส้อง
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่