นานมาแล้ว มีหนุ่มย่านจังหวัด นางาโนะ ผู้นั่งรถไฟมาเล่าเรียนถึงกรุงโตเกียว จบสายวรรณกรรมญี่ปุ่น ด้วยความสามารถด้านการวาดภาพฉากทิวทัศน์ ได้พาเขาสู่บริษัทเกมส์ Falcom เป็นดั่งสำนักฝึกปรือด้านคอมพิวเตอร์ ที่นั่นทำให้เขาเริ่มทำอนิเมชั่นเป็นครั้งแรก ก่อนที่การเติบโตได้พาเขาออกจากบริษัท สู่การเป็นผู้กำกับอนิเมชั่นเต็มตัว
นี่คือภูมิหลัง ของ ชินไค มาโคโตะ เหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา จากการข้ามสายวรรณกรรมสู่อนิเมชั่น ด้วยแนวคิดและภูมิหลังไม่ตรงสายงาน อนิเมชั่นของชินไคจึงไม่เหมือนใครและเป็นเอกลักษณ์ คำถามคือ "แล้วอะไรคือเอกลักษณ์ในงานของชินไค?"
ทางเพจ "Movies Can Talk หนังพูดได้” โดย 3 แอดมิน ตอง,เอ็ม,หมูลี จึงมาร่วมสันนิษฐาน และ นำเสนอว่าชินไคทำไมชอบเล่าเรื่องแบบนี้ มีไว้ทำอะไร ด้วยความน่าสนใจของผู้กำกับท่านนี้ เราขอแถลงไขด้วย “ 6 เอกลักษณ์ในงานชินไค มาโกโตะ ” โดยจับส่วนเด่นชัดมาเขียน มาแชร์ด้วยกัน ดังนั้นเรามา
“หลับตาฝันถึงชินไค” ดูซิว่าเราต่างเจออะไรกันมาบ้าง มาเชยชมด้วยกันเถิดครับ
1.คัดลอกจากสถานที่จริง
{พบได้ใน : 5 centimeters per second , Garden of words , Your Name}
หากใครเคยดูงานของ ชินไค มาโคโตะ แล้วเกิดติดตาฉากในหนังจนอยากไปญี่ปุ่นโดยพลันเพราะอยากเดินตามรอยสถานที่ในหนัง แสดงว่ามาถูกทางแล้ว
ด้วยตัวหนังส่วนมากว่าด้วยธีมของคำว่า”ความทรงจำ” สถานที่จึงเป็นสิ่งควรค่าแก่การคำนึงถึง ชินไคเลือกการรีเซิร์จและถ่ายรูปเป็นพันๆภาพมาวาดเป็นฉากหลังดั่งที่เห็นในหนัง โดยชินไคเคยกล่าวว่า “การใช้สถานที่จริงจะทำให้คนดูคุ้นเคย สามารถดูหนังสลับระหว่างตนเองกับตัวละครในหนังได้”
สถานที่ในหนังจึงไม่ได้เป็นแค่การคัดลอกฉากเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจำลองสถานที่จริงเพื่อเกิดเป็นความทรงจำแด่คนดูและสัมผัสได้จริง โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นที่ต่างชินกับบรรยากาศรถไฟ , ฤดูกาลดอกซากูระบานสะพรั่ง หรือ ศาลเจ้าพร้อมมิโกะประจำศาล ล้วนเป็นภาพคุ้นตาและทำให้พวกเขารู้สึกอินกับเหตุการณ์และสถานที่ง่ายขึ้น
สถานที่ที่หลายคนตามไปเก็บตกกันคงหนีไม่พ้นย่านชินจูกุ ไม่ว่าจะเป็น สถานีชินจูกุ (ใน 5 centimeters per second) , สวนชินจูกุเงียวเอน (ใน The Garden of words) อันเป็นที่ๆ ชินไคเคยใช้ชีวิตในที่แห่งนี้อยู่เป็นสิบปี ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียดและปราณีตจากความผูกพันธ์และคุ้นเคยสถานที่
สำหรับ Your Name ถือเป็นอีกความท้าทายในการใช้หลายสถานที่ นอกจากพื้นที่ในชินจูกุแล้ว จังหวัดสมมติของ มิสึฮะ นางเอกของเรื่อง หลายฉากจำลองมาจากเมืองฮิดะ จังหวัดกิฟุ ที่มีสถานีรถไฟ , ศาลเจ้าฮิดะ-ซันโนะกุ ฮิเอะ และห้องสมุดสาธารณะ รวมถึงการใช้เกาะโอกะชิมะ เป็นฉากหลักของเรื่อง
ความขยันของชินไค ไม่เพียงสร้างภาพจำแก่สถานที่เท่านั้น มันยังดึงดูดให้ผู้คนต่างเสาะหาสถานที่จริงเพื่อความโรแมนติกในการผูกติดชีวิตตนกับหนังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย
2.แสงแบบนี้นี่แหละชินไค
{พบได้ใน Voice of a Distant Star จนถึง Your Name}
จุดเด่นในงานของชินไคที่สัมผัสได้ คือการใช้แสงที่ช่วยให้เกิดงานภาพอันประณีต ด้วยฝีมือกำกับศิลป์ที่ต่อให้เปลี่ยนลายเส้นเปลี่ยนคนวาด ก็ยังบ่งบอกสไตล์เฉพาะตัวว่าเป็นชินไคได้ชัดเจน
ชินไคมักใช้ภาพย้อนแสงและให้เงาตกกระทบบนตัวละคร แสงของชินไคมีหน้าที่แบ่งตัวละครเป็น 2 ด้าน คือด้านที่รับแสงและด้านที่มีเงาตกกระทบ สะท้อนภาวะของตัวละครที่ต้องอยู่กับตัวเอง (ในเงา) ขณะเดียวกันก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์ภายนอก (รับแสง) ไปด้วย
งานภาพจะมีสีแบ็คกราวนด์หลักๆ อย่างสีน้ำเงิน เขียว และชมพู ที่ใช้เป็นฉากหลังอยู่บ่อยๆ โดย 2 สีแรกมักใช้เป็นแบ็คกราวนด์พื้นฐาน ก่อนจะให้สีชมพูมาตัดกับ 2 สีแรก จากนั้นใช้แสงมาช่วยขับเน้นวัตถุสีชมพูอีกที ทำให้ภาพของชินไคมีความอวบอิ่มและหวานเจือปนอยู่
เอกลักษณ์อีกอย่างของชินไค คือเส้นแสงสองสายที่ตัดกันเป็นรูปสีแยกไฟแดงที่เรียกว่า Lens Flare (แสงส่องประกายจ้า) เพื่อขับอารมณ์โรแมนติกให้ชัดขึ้น โดยเฉพาะฉากที่คู่พระนางมาพบกัน แสงจากเลนส์นี้ก็จะยิ่งเด่นชัด เพื่อเปรียบเทียบการพบกันของตัวละครกับเส้นแสงที่ตัดกันนั่นเอง
โดยชินไคให้เหตุผลว่า การเพิ่มรายละเอียดภาพและการใช้แสง นอกจากทำให้ภาพดูสมจริงแล้ว ยังขับเน้นอารมณ์ในฉากนั้นๆให้ดูสำคัญและน่าจดจำขึ้นด้วย ซึ่งคิดกันตั้งแต่ตอนทำสตอรี่บอร์ดแล้ว ที่ยังเขียนเป็นภาพวาดด้วยมือแทนที่จะวาดในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เห็นจุดหรือจังหวะที่จะเลือกใช้แสงได้ลงตัว จนเกิดเป็นแสงสไตล์ชินไคออกมา
3.VoiceOver แห่งความเหงา
{พบได้ในหนังเรื่อง : หนังสั้นเรื่อง She and Her Cat จนถึง Your Name}
*หมายเหตุ ภาพนี้มาจากตัวอย่างหนังโฆษณาของชินไคชื่อว่า "Cross Road" ครับ
อาจเป็นเทคนิกจำเจเสียหน่อยสำหรับหนังเหงา เสียงของตัวละครต่างพัดพาให้ทั้งสองเจอกัน ทำไมมันถึงเข้ากับหนังชินไคเสียได้
ส่วนหนึ่งมาจากสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีโลกส่วนตัวสูง และรักษาความเป็นปัจเจกเพื่อรักษามารยาทในสังคม ตัวละครต่างพูดจากการที่รู้สึกว่าเข้ากับสถานที่และผู้คนไม่ได้ การใช้เสียงบรรยายความรู้สึกตัวละครเป็นการแชร์ความรู้สึกจริงๆถึง "สิ่งที่ไม่สามารถพูดออกมาได้"
นอกจากมีบทบาทในวงการอนิเมชั่น ชินไคมักเขียนวรรณกรรมควบคู่กับอนิเมชั่นที่เขาทำ สิ่งที่คาดหวังได้คือ บทบรรยายเป็นกวี เป็นห้วงๆของชั่วเวลาหนึ่งที่เราต่างรำพันถึงอดีต จนเกิดเป็นความทรงจำของตัวละครขึ้น โดยคนดูมีส่วนในการสวมบทอินไปกับความรู้สึกตัวละครด้วย
ชินไคใช้ภาพสถานที่สวยๆ โลเคชั่นโล่งๆ อันพบได้ในชีวิตประจำวัน ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวผ่านตัวละครหลัก(อาจมากกว่า 1 ตัว) เสียงเอื้อนเอ่ยจากปากของพวกเขาได้กระทบกัน เกิดเป็นความโรแมนติกถึงความคิดอยากเข้าใกล้ แต่ ณ ปัจจุบันตัวละครยังไม่ได้ทำตามที่คิด จากโลกส่วนตัวที่กั้นไว้นั่นเอง
เกร็ด : Other World หนังสั้นเรื่องแรกของชินไคและเป็นเพียงเรื่องเดียวใช้ข้อความตัวอักษรบรรยายเหตุการณ์แทนการใช้เสียงพากษ์ตัวละคร
4.ระยะห่างของความสัมพันธ์
{พบได้ในทุกงานของชินไค}
งานของชินไคจะพูดถึงระยะห่างอยู่ที่มีหลากหลายแบบ เช่น ระยะของการเดินทาง (ใน Children Who Chase Lost Voices) ระยะห่างของเธอกับฉัน (ใน Voices of a Distant Star) ระยะที่อยู่ใกล้กันแต่ความรู้สึกกลับแสนไกล (ใน 5 Centimeters Per Second) ระยะห่างของอายุ (ใน The Garden of Words) ฯลฯ ชินไคใส่เอาไว้ในงานของเขาที่สร้างความปวดจิ๊ดให้ผู้คนมากมาย
การสร้างระยะห่างของชินไค เป็นเงื่อนไขที่ผลักตัวละครห่างไกลออกไปถึงแม้จะอยู่ใกล้กัน หนังของชินไคเหมือนเดินทางไปกับการสื่อสารที่ล้มเหลว การมีอยู่ของเครื่องมือช่วยการสื่อสาร อย่างโซเซียลมีเดีย , จดหมาย , โทรศัพท์ รวมถึงการคมนาคมแสนสะดวกทั้งรถไฟ จักรยาน เพื่อต่อระยะให้ใกล้กัน แต่แท้จริงก็ไม่ได้ใกล้กัน เพราะเราต่างก็ไม่เห็นจริงๆว่าอีกฝ่ายเป็นยังไง เป็นแบบที่เขาบอกหรือเปล่า การสื่อสารในงานของชินไคจึงรู้หน้าไม่รู้ใจ เพราะคนเราต่างสร้างระยะห่างขึ้นมาเอง
ชินไคใช้เรื่องความห่างไกลจากสิ่งที่ผูกพัน ไม่ว่าจะครอบครัว สถานที่ คนรัก มาขยี้ให้คนดูรู้สึกเข้าถึงได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ การที่คนเข้าใจความรู้สึกเดียวกันกลับต้องห่างไกลกัน เกิดเป็นสิ่งที่ผูกพันมาก ดึงดูดให้คนดูมีความรู้สึกร่วมกัน เหงาไปด้วยกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน และเข้าหาหนังได้โดยง่าย
5.เขียนโครงสร้างหนังเหมือนอ่านหนังสือ เคล็ดลับการเล่าเรื่องของชินไค
{พบได้ในหนังเรื่อง : The Place Promised in Our Early Days ถึง Your Name}
สำหรับชินไค การเริ่มต้นหนังของเขามักเริ่มต้นด้วยเสียงคำนึงของตัวละคร ก่อนค่อยๆเผยข้อมูลสิ่งที่เขาพูดไม่ว่าจะเป็น ผู้คนที่เขาพูดถึง , สถานที่ๆเขารู้จัก และเหตุการณ์สำคัญออกมาเป็นภาพ มองเผินๆ เหมือนเป็นการนำเสนอความรู้สึกลอยๆ แต่นั้นล่ะคือเสน่ห์ในหนังของชินไค เสียงที่ว่าไม่ต่างจากการให้คนดูสวมบทเป็นตัวเอกตอนอ่านนิยายเสียเลย
ด้วยชินไคเองจบวรรณกรรมญี่ปุ่นและเขียนนิยายเป็นทุนเดิม จึงถ่ายทอดน้ำเสียงออกมาเป็นกวี ส่วนหนึ่งเพราะชินไคเคยบอกว่าได้อิทธิพลจากงานของฮารูกิ มูราคามิ
จะเห็นว่าทั้งสองต่างพูดเรื่องความเหงาและการสำรวจจิตใจตัวเอกที่คำนึงถึงอดีตที่ผ่านมา ผ่านถ้อยคำในแต่ละบทด้วยชุดสถานที่และเหตุการณ์ต่างๆที่ตนประสบมาและจบปลายเปิดให้คนดูคิดต่อ เหมือนคนย้อนกลับไปหาอดีตและหยุดคิดได้เพื่อกลับมาอยู่กับปัจจุบันอีกครั้ง ด้วยความที่ชินไคเป็นคนรักสันโดษ , ชอบฟังเพลง และ เลี้ยงแมว (ซึ่งคล้ายกับมูราคามิ เพียงแต่ทางดนตรี ชินไคเป็นป็อปมากกว่าแจ๊สแบบมูราคามิ) จุดเอกของชินไค จึงเป็นการใช้เสียง ไม่ว่าคำพูด หรือดนตรี ต่างส่งผลต่อตัวหนังเองด้วย
สิ่งที่ชินไคมักนำเสนอในหนัง คือการใช้เทคนิกเสียงมาเชื่อมแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน ทั้งเสียง Voiceover (ตัวละครบรรยาย) , ดนตรีประกอบ (คลอกับภาพจอดำ หรือ Cut to Black ) เพื่อสรุปเหตุการณ์นั้นๆ และเปิดประเด็นอื่นในเหตุการณ์ถัดไป เสมือนกระดาษขาวคั่นหน้าหนังสือในแต่ละบทและโยนเข้าสู่บทถัดไปให้คนดูคิดตาม และกว่าจะรู้ตัวหนังก็ทิ้งปลายเปิดสำหรับคนดูแล้ว เพื่อให้คนดูตระหนักถึงปัจจุบัน ถีบตัวเองจากความอินในอดีต(ที่สวมบทเป็นตัวละครในหนัง) กลับมาเดินต่อไปในอนาคต
6.กำแพงที่แบ่งกั้น
{พบได้ใน Voice of a Distant Star จนถึง Your Name}
ชินไคมักให้ตัวละครแต่ละตัวมีพื้นที่ของตัวเอง จากการสร้าง "กำแพง" ที่แบ่งแยกตัวละครออกเป็น “สองฝั่ง” ตั้งแต่ She and her cat (ฝั่งคนกับฝั่งแมว), Voice of a Distant Star (ฝั่งมนุษย์กับอวกาศ), The Place Promised in Our Early Days (ฝั่งความจริงกับความฝัน), 5 Centimeters Per Second (อยู่คนละเมือง), Children Who Chase Lost Voices (ฝั่งคนเป็นกับคนตาย), The Gardens of Words (ฝั่งครูกับนักเรียน) หรือล่าสุดใน Your Name ที่เล่นประเด็นสองฝั่งทุกรูปแบบมานำเสนอในเรื่องเดียว แถมด้วยประเด็นฝั่งเพศสภาพ ที่หยิบมาต่อยอดอย่างสนุกสนาน
ตัวละครของชินไคมักปิดกั้นตัวเองไว้ เพราะห่วงความรู้สึกของตนจนไม่กล้าเผยให้อีกฝ่ายรู้ กระทั่งรู้ตัวว่าจะไม่มีโอกาสให้พูดอีกแล้ว ถึงจะเริ่มไขว่คว้ามัน
และพยายามฝ่าพรมแดนไปอีกฝั่งหนึ่ง หรืออย่างน้อยที่สุดคือหาจุดร่วมของทั้งสองฝั่งที่สามารถส่งความรู้สึกถึงกันได้ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งของอย่างโทรศัพท์ใน Voice of a Distant Star และสถานที่อย่างศาลาพักใจใน The Garden of Words นั่นเอง
ทั้งหมดคือจุดเด่นที่ทำให้หนังของชินไคโดนใจผู้ชมแทบทุกกลุ่ม จากการเล่าเรื่องหลายมุมมองจนสะกิดใจผู้ชมหลายกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน กับแนวคิดการทลายกำแพงของตัวเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย หลังจากที่ตัวละครทำให้ผู้ชมตระหนักได้ว่า การเอาแต่หลบอยู่หลังกำแพงที่เราสร้างขึ้นนั้น ทำให้พลาดสิ่งสำคัญอะไรไปบ้าง
และนั่นคือเอกลักษณ์ในงานของชินไค มาโกโตะที่เพจเรารวบรวมมา ท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับหนัง โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า "หนังเรื่องนี้สื่อถึงอะไร" ก็สามารถกด Like และติดตามได้ในเพจ "Movies Can Talk หนังพูดได้" กับการรีวิวหนังใหม่ทุกสัปดาห์ และสรรหาหนังเก่ามาเล่าให้ฟัง สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านนะครับ
https://www.facebook.com/Moviescantalk/
Movies Can Talk หนังพูดได้ เพราะว่าหนังมีเรื่องที่เล่าหนังจึงพูดให้เราฟังได้ หรือถ้าทำไม่ได้ เราจะทำให้คุณเอง
6 เอกลักษณ์ในงานของ ชินไค มาโกโตะ (สาวกห้ามพลาด!!!!!!)
นี่คือภูมิหลัง ของ ชินไค มาโคโตะ เหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา จากการข้ามสายวรรณกรรมสู่อนิเมชั่น ด้วยแนวคิดและภูมิหลังไม่ตรงสายงาน อนิเมชั่นของชินไคจึงไม่เหมือนใครและเป็นเอกลักษณ์ คำถามคือ "แล้วอะไรคือเอกลักษณ์ในงานของชินไค?"
ทางเพจ "Movies Can Talk หนังพูดได้” โดย 3 แอดมิน ตอง,เอ็ม,หมูลี จึงมาร่วมสันนิษฐาน และ นำเสนอว่าชินไคทำไมชอบเล่าเรื่องแบบนี้ มีไว้ทำอะไร ด้วยความน่าสนใจของผู้กำกับท่านนี้ เราขอแถลงไขด้วย “ 6 เอกลักษณ์ในงานชินไค มาโกโตะ ” โดยจับส่วนเด่นชัดมาเขียน มาแชร์ด้วยกัน ดังนั้นเรามา
“หลับตาฝันถึงชินไค” ดูซิว่าเราต่างเจออะไรกันมาบ้าง มาเชยชมด้วยกันเถิดครับ
1.คัดลอกจากสถานที่จริง
{พบได้ใน : 5 centimeters per second , Garden of words , Your Name}
หากใครเคยดูงานของ ชินไค มาโคโตะ แล้วเกิดติดตาฉากในหนังจนอยากไปญี่ปุ่นโดยพลันเพราะอยากเดินตามรอยสถานที่ในหนัง แสดงว่ามาถูกทางแล้ว
ด้วยตัวหนังส่วนมากว่าด้วยธีมของคำว่า”ความทรงจำ” สถานที่จึงเป็นสิ่งควรค่าแก่การคำนึงถึง ชินไคเลือกการรีเซิร์จและถ่ายรูปเป็นพันๆภาพมาวาดเป็นฉากหลังดั่งที่เห็นในหนัง โดยชินไคเคยกล่าวว่า “การใช้สถานที่จริงจะทำให้คนดูคุ้นเคย สามารถดูหนังสลับระหว่างตนเองกับตัวละครในหนังได้”
สถานที่ในหนังจึงไม่ได้เป็นแค่การคัดลอกฉากเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจำลองสถานที่จริงเพื่อเกิดเป็นความทรงจำแด่คนดูและสัมผัสได้จริง โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นที่ต่างชินกับบรรยากาศรถไฟ , ฤดูกาลดอกซากูระบานสะพรั่ง หรือ ศาลเจ้าพร้อมมิโกะประจำศาล ล้วนเป็นภาพคุ้นตาและทำให้พวกเขารู้สึกอินกับเหตุการณ์และสถานที่ง่ายขึ้น
สถานที่ที่หลายคนตามไปเก็บตกกันคงหนีไม่พ้นย่านชินจูกุ ไม่ว่าจะเป็น สถานีชินจูกุ (ใน 5 centimeters per second) , สวนชินจูกุเงียวเอน (ใน The Garden of words) อันเป็นที่ๆ ชินไคเคยใช้ชีวิตในที่แห่งนี้อยู่เป็นสิบปี ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียดและปราณีตจากความผูกพันธ์และคุ้นเคยสถานที่
สำหรับ Your Name ถือเป็นอีกความท้าทายในการใช้หลายสถานที่ นอกจากพื้นที่ในชินจูกุแล้ว จังหวัดสมมติของ มิสึฮะ นางเอกของเรื่อง หลายฉากจำลองมาจากเมืองฮิดะ จังหวัดกิฟุ ที่มีสถานีรถไฟ , ศาลเจ้าฮิดะ-ซันโนะกุ ฮิเอะ และห้องสมุดสาธารณะ รวมถึงการใช้เกาะโอกะชิมะ เป็นฉากหลักของเรื่อง
ความขยันของชินไค ไม่เพียงสร้างภาพจำแก่สถานที่เท่านั้น มันยังดึงดูดให้ผู้คนต่างเสาะหาสถานที่จริงเพื่อความโรแมนติกในการผูกติดชีวิตตนกับหนังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย
2.แสงแบบนี้นี่แหละชินไค
{พบได้ใน Voice of a Distant Star จนถึง Your Name}
จุดเด่นในงานของชินไคที่สัมผัสได้ คือการใช้แสงที่ช่วยให้เกิดงานภาพอันประณีต ด้วยฝีมือกำกับศิลป์ที่ต่อให้เปลี่ยนลายเส้นเปลี่ยนคนวาด ก็ยังบ่งบอกสไตล์เฉพาะตัวว่าเป็นชินไคได้ชัดเจน
ชินไคมักใช้ภาพย้อนแสงและให้เงาตกกระทบบนตัวละคร แสงของชินไคมีหน้าที่แบ่งตัวละครเป็น 2 ด้าน คือด้านที่รับแสงและด้านที่มีเงาตกกระทบ สะท้อนภาวะของตัวละครที่ต้องอยู่กับตัวเอง (ในเงา) ขณะเดียวกันก็ต้องมีปฏิสัมพันธ์ภายนอก (รับแสง) ไปด้วย
งานภาพจะมีสีแบ็คกราวนด์หลักๆ อย่างสีน้ำเงิน เขียว และชมพู ที่ใช้เป็นฉากหลังอยู่บ่อยๆ โดย 2 สีแรกมักใช้เป็นแบ็คกราวนด์พื้นฐาน ก่อนจะให้สีชมพูมาตัดกับ 2 สีแรก จากนั้นใช้แสงมาช่วยขับเน้นวัตถุสีชมพูอีกที ทำให้ภาพของชินไคมีความอวบอิ่มและหวานเจือปนอยู่
เอกลักษณ์อีกอย่างของชินไค คือเส้นแสงสองสายที่ตัดกันเป็นรูปสีแยกไฟแดงที่เรียกว่า Lens Flare (แสงส่องประกายจ้า) เพื่อขับอารมณ์โรแมนติกให้ชัดขึ้น โดยเฉพาะฉากที่คู่พระนางมาพบกัน แสงจากเลนส์นี้ก็จะยิ่งเด่นชัด เพื่อเปรียบเทียบการพบกันของตัวละครกับเส้นแสงที่ตัดกันนั่นเอง
โดยชินไคให้เหตุผลว่า การเพิ่มรายละเอียดภาพและการใช้แสง นอกจากทำให้ภาพดูสมจริงแล้ว ยังขับเน้นอารมณ์ในฉากนั้นๆให้ดูสำคัญและน่าจดจำขึ้นด้วย ซึ่งคิดกันตั้งแต่ตอนทำสตอรี่บอร์ดแล้ว ที่ยังเขียนเป็นภาพวาดด้วยมือแทนที่จะวาดในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เห็นจุดหรือจังหวะที่จะเลือกใช้แสงได้ลงตัว จนเกิดเป็นแสงสไตล์ชินไคออกมา
3.VoiceOver แห่งความเหงา
{พบได้ในหนังเรื่อง : หนังสั้นเรื่อง She and Her Cat จนถึง Your Name}
*หมายเหตุ ภาพนี้มาจากตัวอย่างหนังโฆษณาของชินไคชื่อว่า "Cross Road" ครับ
อาจเป็นเทคนิกจำเจเสียหน่อยสำหรับหนังเหงา เสียงของตัวละครต่างพัดพาให้ทั้งสองเจอกัน ทำไมมันถึงเข้ากับหนังชินไคเสียได้
ส่วนหนึ่งมาจากสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีโลกส่วนตัวสูง และรักษาความเป็นปัจเจกเพื่อรักษามารยาทในสังคม ตัวละครต่างพูดจากการที่รู้สึกว่าเข้ากับสถานที่และผู้คนไม่ได้ การใช้เสียงบรรยายความรู้สึกตัวละครเป็นการแชร์ความรู้สึกจริงๆถึง "สิ่งที่ไม่สามารถพูดออกมาได้"
นอกจากมีบทบาทในวงการอนิเมชั่น ชินไคมักเขียนวรรณกรรมควบคู่กับอนิเมชั่นที่เขาทำ สิ่งที่คาดหวังได้คือ บทบรรยายเป็นกวี เป็นห้วงๆของชั่วเวลาหนึ่งที่เราต่างรำพันถึงอดีต จนเกิดเป็นความทรงจำของตัวละครขึ้น โดยคนดูมีส่วนในการสวมบทอินไปกับความรู้สึกตัวละครด้วย
ชินไคใช้ภาพสถานที่สวยๆ โลเคชั่นโล่งๆ อันพบได้ในชีวิตประจำวัน ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยวผ่านตัวละครหลัก(อาจมากกว่า 1 ตัว) เสียงเอื้อนเอ่ยจากปากของพวกเขาได้กระทบกัน เกิดเป็นความโรแมนติกถึงความคิดอยากเข้าใกล้ แต่ ณ ปัจจุบันตัวละครยังไม่ได้ทำตามที่คิด จากโลกส่วนตัวที่กั้นไว้นั่นเอง
เกร็ด : Other World หนังสั้นเรื่องแรกของชินไคและเป็นเพียงเรื่องเดียวใช้ข้อความตัวอักษรบรรยายเหตุการณ์แทนการใช้เสียงพากษ์ตัวละคร
4.ระยะห่างของความสัมพันธ์
{พบได้ในทุกงานของชินไค}
งานของชินไคจะพูดถึงระยะห่างอยู่ที่มีหลากหลายแบบ เช่น ระยะของการเดินทาง (ใน Children Who Chase Lost Voices) ระยะห่างของเธอกับฉัน (ใน Voices of a Distant Star) ระยะที่อยู่ใกล้กันแต่ความรู้สึกกลับแสนไกล (ใน 5 Centimeters Per Second) ระยะห่างของอายุ (ใน The Garden of Words) ฯลฯ ชินไคใส่เอาไว้ในงานของเขาที่สร้างความปวดจิ๊ดให้ผู้คนมากมาย
การสร้างระยะห่างของชินไค เป็นเงื่อนไขที่ผลักตัวละครห่างไกลออกไปถึงแม้จะอยู่ใกล้กัน หนังของชินไคเหมือนเดินทางไปกับการสื่อสารที่ล้มเหลว การมีอยู่ของเครื่องมือช่วยการสื่อสาร อย่างโซเซียลมีเดีย , จดหมาย , โทรศัพท์ รวมถึงการคมนาคมแสนสะดวกทั้งรถไฟ จักรยาน เพื่อต่อระยะให้ใกล้กัน แต่แท้จริงก็ไม่ได้ใกล้กัน เพราะเราต่างก็ไม่เห็นจริงๆว่าอีกฝ่ายเป็นยังไง เป็นแบบที่เขาบอกหรือเปล่า การสื่อสารในงานของชินไคจึงรู้หน้าไม่รู้ใจ เพราะคนเราต่างสร้างระยะห่างขึ้นมาเอง
ชินไคใช้เรื่องความห่างไกลจากสิ่งที่ผูกพัน ไม่ว่าจะครอบครัว สถานที่ คนรัก มาขยี้ให้คนดูรู้สึกเข้าถึงได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ การที่คนเข้าใจความรู้สึกเดียวกันกลับต้องห่างไกลกัน เกิดเป็นสิ่งที่ผูกพันมาก ดึงดูดให้คนดูมีความรู้สึกร่วมกัน เหงาไปด้วยกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน และเข้าหาหนังได้โดยง่าย
5.เขียนโครงสร้างหนังเหมือนอ่านหนังสือ เคล็ดลับการเล่าเรื่องของชินไค
{พบได้ในหนังเรื่อง : The Place Promised in Our Early Days ถึง Your Name}
สำหรับชินไค การเริ่มต้นหนังของเขามักเริ่มต้นด้วยเสียงคำนึงของตัวละคร ก่อนค่อยๆเผยข้อมูลสิ่งที่เขาพูดไม่ว่าจะเป็น ผู้คนที่เขาพูดถึง , สถานที่ๆเขารู้จัก และเหตุการณ์สำคัญออกมาเป็นภาพ มองเผินๆ เหมือนเป็นการนำเสนอความรู้สึกลอยๆ แต่นั้นล่ะคือเสน่ห์ในหนังของชินไค เสียงที่ว่าไม่ต่างจากการให้คนดูสวมบทเป็นตัวเอกตอนอ่านนิยายเสียเลย
ด้วยชินไคเองจบวรรณกรรมญี่ปุ่นและเขียนนิยายเป็นทุนเดิม จึงถ่ายทอดน้ำเสียงออกมาเป็นกวี ส่วนหนึ่งเพราะชินไคเคยบอกว่าได้อิทธิพลจากงานของฮารูกิ มูราคามิ
จะเห็นว่าทั้งสองต่างพูดเรื่องความเหงาและการสำรวจจิตใจตัวเอกที่คำนึงถึงอดีตที่ผ่านมา ผ่านถ้อยคำในแต่ละบทด้วยชุดสถานที่และเหตุการณ์ต่างๆที่ตนประสบมาและจบปลายเปิดให้คนดูคิดต่อ เหมือนคนย้อนกลับไปหาอดีตและหยุดคิดได้เพื่อกลับมาอยู่กับปัจจุบันอีกครั้ง ด้วยความที่ชินไคเป็นคนรักสันโดษ , ชอบฟังเพลง และ เลี้ยงแมว (ซึ่งคล้ายกับมูราคามิ เพียงแต่ทางดนตรี ชินไคเป็นป็อปมากกว่าแจ๊สแบบมูราคามิ) จุดเอกของชินไค จึงเป็นการใช้เสียง ไม่ว่าคำพูด หรือดนตรี ต่างส่งผลต่อตัวหนังเองด้วย
สิ่งที่ชินไคมักนำเสนอในหนัง คือการใช้เทคนิกเสียงมาเชื่อมแต่ละเหตุการณ์เข้าด้วยกัน ทั้งเสียง Voiceover (ตัวละครบรรยาย) , ดนตรีประกอบ (คลอกับภาพจอดำ หรือ Cut to Black ) เพื่อสรุปเหตุการณ์นั้นๆ และเปิดประเด็นอื่นในเหตุการณ์ถัดไป เสมือนกระดาษขาวคั่นหน้าหนังสือในแต่ละบทและโยนเข้าสู่บทถัดไปให้คนดูคิดตาม และกว่าจะรู้ตัวหนังก็ทิ้งปลายเปิดสำหรับคนดูแล้ว เพื่อให้คนดูตระหนักถึงปัจจุบัน ถีบตัวเองจากความอินในอดีต(ที่สวมบทเป็นตัวละครในหนัง) กลับมาเดินต่อไปในอนาคต
6.กำแพงที่แบ่งกั้น
{พบได้ใน Voice of a Distant Star จนถึง Your Name}
ชินไคมักให้ตัวละครแต่ละตัวมีพื้นที่ของตัวเอง จากการสร้าง "กำแพง" ที่แบ่งแยกตัวละครออกเป็น “สองฝั่ง” ตั้งแต่ She and her cat (ฝั่งคนกับฝั่งแมว), Voice of a Distant Star (ฝั่งมนุษย์กับอวกาศ), The Place Promised in Our Early Days (ฝั่งความจริงกับความฝัน), 5 Centimeters Per Second (อยู่คนละเมือง), Children Who Chase Lost Voices (ฝั่งคนเป็นกับคนตาย), The Gardens of Words (ฝั่งครูกับนักเรียน) หรือล่าสุดใน Your Name ที่เล่นประเด็นสองฝั่งทุกรูปแบบมานำเสนอในเรื่องเดียว แถมด้วยประเด็นฝั่งเพศสภาพ ที่หยิบมาต่อยอดอย่างสนุกสนาน
ตัวละครของชินไคมักปิดกั้นตัวเองไว้ เพราะห่วงความรู้สึกของตนจนไม่กล้าเผยให้อีกฝ่ายรู้ กระทั่งรู้ตัวว่าจะไม่มีโอกาสให้พูดอีกแล้ว ถึงจะเริ่มไขว่คว้ามัน
และพยายามฝ่าพรมแดนไปอีกฝั่งหนึ่ง หรืออย่างน้อยที่สุดคือหาจุดร่วมของทั้งสองฝั่งที่สามารถส่งความรู้สึกถึงกันได้ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งของอย่างโทรศัพท์ใน Voice of a Distant Star และสถานที่อย่างศาลาพักใจใน The Garden of Words นั่นเอง
ทั้งหมดคือจุดเด่นที่ทำให้หนังของชินไคโดนใจผู้ชมแทบทุกกลุ่ม จากการเล่าเรื่องหลายมุมมองจนสะกิดใจผู้ชมหลายกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน กับแนวคิดการทลายกำแพงของตัวเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย หลังจากที่ตัวละครทำให้ผู้ชมตระหนักได้ว่า การเอาแต่หลบอยู่หลังกำแพงที่เราสร้างขึ้นนั้น ทำให้พลาดสิ่งสำคัญอะไรไปบ้าง
และนั่นคือเอกลักษณ์ในงานของชินไค มาโกโตะที่เพจเรารวบรวมมา ท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับหนัง โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า "หนังเรื่องนี้สื่อถึงอะไร" ก็สามารถกด Like และติดตามได้ในเพจ "Movies Can Talk หนังพูดได้" กับการรีวิวหนังใหม่ทุกสัปดาห์ และสรรหาหนังเก่ามาเล่าให้ฟัง สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านนะครับ
https://www.facebook.com/Moviescantalk/
Movies Can Talk หนังพูดได้ เพราะว่าหนังมีเรื่องที่เล่าหนังจึงพูดให้เราฟังได้ หรือถ้าทำไม่ได้ เราจะทำให้คุณเอง