ทำมัย สอบ กพ. ต้องแยก ภาคความรู้ความสามรถทั่วไป(คณิต/ไทย) กับภาษาอังกฤษ ทำไม่ไม่รวมกันทั้ง 2 ภาค แล้วตัดที่เกณฑ์60%

กระทู้คำถาม
คือผมสอบ กพ. มาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมเค้าต้อง แบ่งเกณการผ่านเป็น
ส่วน1. ความรู้ความสามารถทั่วไป 60% ผ่าน
ส่วน 2. ภาษาอังกฤษ 50% ผ่าน
ทำไมไม่รวมทั้ง 2 ส่วนทีเดียว แล้วให้เกณฑ์ผ่านที่ 60% เลยไม่ต้องแยก

                   คือผมเห็นว่าการศึกษาของไทยตอนนี้ มีสายที่ให้เลือกเรียนหลักๆ คือสาย คำนวน กับ สายศิล  ต่างคนต่างมีความสามารถที่แตกต่างกันจึงเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง พอจบปริญญามา อยากรับราชการ แต่ที่สำคัญที่สุดก่อนจะเป็นข้าราชการพลเรือนได้ต้องผ่านภาค ก. ของ ก.พ. แล้วจึงมีสิทธิไปสอบภาค ข. ของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เปิดสอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน

ที่ผมมาตั้งกระทู้ในวันนี้

          คือผมเห็นเพื่อนผมหลายคนสอบผ่านความรู้ความสามาถทั่วไป แต่ตกอังกฤษ ดียังมีให้ซ่อมอีก 1 รอบ  ส่วนคนบางคนสอบผ่านอังกฤษตกทั่วไป (คณิต/ไทย) อันนี้โชคร้ายซ่อมไม่ได้ ที่สำคัญเปิดสอบ ปีละครั้ง ไม่ผ่านรอบนี้รอไปอีก 1 ปี

         ผมคิดว่าการตัดเกณฑ์แบบนี้มันเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันของผู้สอบมาก เพราะความถนัดของแต่ละคนแตกต่างกัน คือ

         บางกลุ่มสอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(คณิต/ไทย) ได้คะแนนสูงกว่า 100 หรือ 120 คะแนน จาก150 คะแนน ด้วยซ้ำไป แต่คนจำพวกนี้ส่วนมากจะตกภาษาอังกฤษ แต่ดีที่ซ่อมได้ 1 รอบ ภาษาอังกฤษนี้คนที่ไม่รู้ พื้นฐานไม่แน่น ต่อให้ซ่อมได้10ครั้งก็ตกทั้ง10ครั้งครับผมคิดว่า ต้องใช้เวลามากในการศึกษาจนสามารถที่จะทำข้อสอบได้  ยิ่งวัยทำงานที่ห่างหายจากภาษาอังกฤษด้วยแล้วยิ่งแย่กว่า เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าจะศึกษาจนสอบผ่านได้ น่าเห็นใจ

           กับอีกบางกลุ่มสอบผ่านภาษาอังกฤษแต่ตกความสามรถทั่วไป คนกลุ่มนี้หน้าเห็นใจไม่แพ้กันเพราะซ่อมไม่ได้เลย สอบใหม่อีกที ปีหน้า ต่อให้คุณสอบได้คะแนนภาษาอังกฤษได้เต็มหรือมากแค่ไหน ถ้าตกความสามรถทั่วไป ยังไงก็คือไม่ผ่าน คนที่มีความสามารถด้านนี้แทบจะไม่ต่างอะไรจากกลุ่มแรกเลย เราต้องใช้การฝึกฝนเป็นอย่างมากกว่าจะผ่านความสามารถทั่วไปได้ ฝึกจนเกือบท้อ ทั้งที่ ภาษาอังกฤษนี้ทำได้คะแนนเกือบเต็ม
          
           ผมคิดว่าน่าจะให้ความเท่าเทียมกับคนสองกลุ่มนี้ในการสอบของ ก.พ. ควรรวมคะแนนทั้งสองส่วน ความสามรถทั่วไป กับอังกฤษ เข้าด้วยกันแล้วตัดคะแนนผ่านที่ 60% ที่เดียวเลยไม่ควรแยก
      คนที่ถนัดความสามารถทั่วไป ก็จะได้เอาคะแนนส่วนนี้มาดึงคะแนนส่วนที่ด้อย (ภาษาอังกฤษ) ขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองสอบผ่านให้ได้ ในแต่ละครั้ง
      คนที่ถนัดภาษาอังกฤษก็เช่นกัน ก็จะได้เอาคะแนนส่วนที่ตัวเองถนัดมาดึงคะแนนส่วนที่ด้อย (ความสามาถทั่วไป) ขึ้มมาเพื่อให้สอบผ่านในแต่ละครั้ง

       เพราะสุดท้ายแล้วคนที่สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ก็ต้อง ไปสอบภาค ข. ของหน่วยงานราชการอื่นอีกทีอยู่ดี แต่ละหน่วยงานต้องการคนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว เช่น

                กระทรวงมหาดไทย ต้องการนักวิเคราะห์ฯ  แต่ต้องผ่านภาค ก. (คนเก่งความสามารถทั่วไป (คณิต/ไทย) อยากสอบ แต่ติดที่ ภาค ก.ของ กพ. ทั้งที่ทำคะแนนได้เกิน80% แต่ตกอังกฤษ  ซ่อมได้ก็ตกอีกเพราะอายุมากแล้วห่างหายไปนานแล้วต่อให้ไปเรียนก็สู้เด็กไม่ได้ สอบมาตั้งแต่ยังไม่มีอังกฤษ พอเริ่มจับทางได้สอบผ่านได้คะแนน เกิน 120 คะแนน แต่ก้อมีภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามา ต้องมาเริ่มเรียนใหม่ก็ไม่ทันแล้ว น่าเสียดายแทนคนกลุ่มนี้ที่มีความสารถ แต่ติดที่จุดเล็กๆเท่านั้น)

                กระทรวงต่างประเทศ ต้องการคนที่มีความสารถด้านภาษา แต่ต้องผ่านภาค ก.  (คนเก่งภาษาหลายคนอยากสอบ แต่ติดที่ ก.พ. ได้อังกฤษคะแนนเกิน 80% แต่ติดที่ตกทั่วไป เลยสอบไม่ได้ พลาดโอกาสไป ทั้งที่งานนั้นเป็นงานที่ตนเองมีความสามรถเพียงพอ)

สุดท้ายละ อยากให้เพื่อนๆช่วยแสดงความคิดเห็นหน่อยว่าควรรวมหรือแยกเกณฑ์ผ่าน(เหมือนเดิม จึงจะดีกว่ากัน เพราะอะไร ความคิดผมอาจจะเห็นแก่ตัวเกินไปก็ได้ (ด่าได้แต่อย่าแรง) สงสัยมานานละ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่