How Japan Restores Giant Sinkhole In 7 Days (ย่นเหลือ 2.19 นาที)
หลุมขนาดยักษ์บนท้องถนนที่เมือง Fukuoka ในญี่ปุ่น
ทางไปสถานีรถไฟ JR Hakata Station
คนงานใช้เวลาเพียง 7 วันในการซ่อมแซม
ถนนเส้นนี้เปิดใช้งานอีกครั้งในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 05:00 น.
หลังจากต้องปิดใช้งานตั้งแต่วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 5.00 น.
หลังจากที่ Soichiro Takashima
นายกเทศมนตรีเมือง Fukuoka
ได้ขออภัยต่อประชาชนสำหรับเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น
รวมทั้งทางด้านผู้บริหารบริษัท Taisei
โดย Murata Homareno ประธานบริษัท
และ ผู้อำนวยการอาวุโส Tanaka Shigeyoshi
ได้ออกมาขออภัยกับเหตุการณ์ในครั้งนี้
และรับปากว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ตั้งแต่การเริ่มต้นทำงานจนงานเสร็จเรียบร้อย
การถมหลุมยักษ์บนถนนที่ความกว้าง 30 เมตร ยาว 27 เมตร และลึก 15 เมตร
ต้องใช้ทรายและซีเมนต์จำนวน 6,200 ลูกบาศ์กเมตร
สาเหตุหลุมยุบเพราะมาจากการก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินบริเวณใกล้เคียง
ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง Taisei
ภาพที่ย่นย่อระยะเวลากับผลงานที่แทบไม่น่าเชื่อ
มีผู้คนเข้าชมนับเป็นล้านครั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์
ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่และการทำงานหนัก
เพื่อให้ผลงานคืบหน้าอย่างรวดเร็วในการซ่อมแซมหลุมยักษ์บนถนน
ที่กลายเป็นอุปสรรคอย่างแรงกับธุรกิจท้องถิ่น
ภาพจากวงจรปิดจะเห็นว่ามีรถขุดขนาดใหญ่และรถเครนจำหนวนหลายคัน
ในการขนย้ายเศษวัสดุ และนำท่อน้ำมาแทนที่ก่อนราดยางแอสฟัลต์บนถนน
และถนนก็สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติในวันอังคารที่ผ่านมานี้
หลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยแล้ว
เป็นสัปดาห์ที่ต้องใช้เวลาทำงานกันอย่างรีบเร่ง
เพื่อให้ถนนที่มีการจราจรคับคั่งเปิดใช้งานได้อีกครั้ง
เนื้องานมีทั้งการซ่อมแซมท่อประปา ไฟจราจร และการกลบหลุมยักษ์
ที่ดูดกลืนหลายอย่างลงไปอย่างรวดเร็วในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 5.00 น.
ทำให้ไฟฟ้าดับ สายโทรศัพท์ ท่อแก๊ส ท่อประปา ท่อระบายน้ำเสีย ต่างได้รับความเสียหาย
แต่ไม่มีรายงานว่ามีผู้คนบาดเจ็บแต่อย่างใด
ท่อระบายน้ำเสียได้รับการซ่อมแซมเรียบร้อยในคืนวันเสาร์
ส่วนสายสัญญาณ/โทรศัพท์ของ Nippon Telegraph and Telephone Corp.
ก็ได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
Soichiro Takashima นายกเทศมนตรีเมือง Fukuoka ได้ประกาศว่า
" ขอขอบคุณบรรดาคนงานทุกคนที่ทำงานกันอย่างหนักและอย่างเต็มที่
พื้นที่ซ่อมแซมครั้งใหม่นี้แข็งแรงกว่าเดิม 30 เท่า
ด้วยการทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อป้องกันภยันตรายจากการยุบตัวเป็นหลุมในภายหน้าได้
และจะมีการตรวจหาสาเหตุใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก
เพื่อเป็นแนวทางป้องกัน/แก้ไขต่อไป "
มีคน Twitter ว่า
" ผมประหลาดใจมากที่ถนนเปิดใช้งานได้อีกครั้งในหนึ่งสัปดาห์ "
" ประทับใจ ที่มันเร็วมาก "
ผู้คนบนสื่อสังคมออนไลน์ทั่วโลก
ต่างได้ร่วมกันเย้าแหย่ถึงระยะเวลาที่เนิ่นนาน
ของประเทศของพวกเขาในการแก้ไขปัญหาจราจร
" บราซิลจะเป็นเหมือนตอนนี้ / 7 ปีต่อมา "
" ในเปอร์โตริโก [มัน] จะใช้เวลา ... ไม่เป็นไร
เราเป็นหนี้เพียง 72 พันล้านเหรียญสหรัฐ
หลุมก็จะยังคงมีอยู่ตลอดไป "
" ถ้าเป็นอเมริกา [เรา] จะสร้างกำแพงรอบ ๆ มัน "
(ประชด Trump ที่บอกว่าจะสร้างกำแพงกั้น
แนวพรมแดนระหว่างสหรัฐกับเม็กซิโก)
" ในอินโดนีเซียเราต้องใช้เวลา 9 ปี ในการอุดมัน(หลุมยักษ์) "
" การแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
จะทำให้ขาดสัญญลักษณ์บนท้องถนน "
" ถ้ามันเกิดขึ้นในประเทศจีน จะใช้เวลาเพียง 1 ถึง 2 วัน
แต่มีค่าใช้จ่าย 10 พันล้านหยวน และทุบมันทิ้งในในปีถัดไป
นี่คือวิธีการที่เราสร้างงานและโอกาส "
คล้ายเงินผันของประเทศสารขัณฑ์หลายปีก่อน
ขุดถนนให้เป็นคลอง ถมคลองให้เป็นถนน
จะได้มีงบประมาณในการสร้างงานและโอกาส
" มันจะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปี
ในการอุดหลุมแบบนี้ที่ไอร์แลนด์ "
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/Fk3SRV
https://goo.gl/6KiFBT
https://goo.gl/xxLBpU
https://goo.gl/BH0Iw8
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เคยมีคนไปสอบถาม
สำนักงบประมาณแห่งชาติสารขัณฑ์
เรื่องทำไมงานก่อสร้างของภาครัฐจึงล่าช้ามากในแต่ละโครงการก็ได้รับคำตอบว่า
ระยะเวลาก่อสร้างในสัญญาก็เผื่อไว้ 30-40% ของระยะเวลาที่ควรจะเสร็จแล้ว
แถมยังมีเงื่อนไขแนบท้ายสัญญารับเหมาก่อสร้างอีกว่า
สามารถเลื่อนระยะเวลาส่งมอบได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 6 เดือน
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือภัยพิบัติธรรมชาติ
ก็ยังสามารถเลื่อนระยะเวลาได้อีกตามความจำเป็นและสมควร
และยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญารับเหมาก่อสร้างอีกว่า
ในกรณีล่าช้าเพราะการย้ายสาธารณูปโภค
สามารถบวกวันและเลื่อนวันส่งมอบงานได้อีก
เพราะหน่วยงาน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รถไฟ
เงินไม่มา ไม่มีเนื้องาน หรือ
ไม่ได้ตั้งงบประมาณ ทำงานไม่ได้
เลยไม่สามารถลงมือทำการรื้อถอนสิ่งกีดขวางออกไปได้
ผู้รับเหมาก็สบายไปเพราะบวกวันที่ล่าช้าเข้าไปได้อีกจม
เบี้ยปรับตามสัญญากรณีที่งานไม่เสร็จตามสัญญา
ถ้ามีการเลื่อนวันส่งมอบงานแล้วได้รับการอนุมัติ
ก็จะคืนให้กับผู้รับเหมาต่อไปตามสัญญา
ผลก็คือมี คนงานทำงานกันเพียงไม่กี่คน
เหมือนกับการเล่นละครชาตรี/ไหว้แก้บน
ยิ่งรับงานหลายแห่งก็ทิ้งงานตรงนี้ไปทำตรงโน้น
รถยนต์การจราจรจะติดขัด/ชาวบ้านจะเดือดร้อน
ไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับเหมาก่อสร้าง/ส่วนราชการ
เพราะต่างคนต่างไม่สนใจและใส่ใจแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้
ลักษณะเด่นประเทศพัฒนาแต่ด้อยพัฒนา
คือ ไม่สนใจ External Cost มีการบริหารจัดการที่แย่มาก
เวลาจะก่อสร้างก็เปิดพื้นที่เส้นทางก่อสร้างให้กว้าง ๆ ไว้ก่อน
รถยนต์ รถบรรทุก คนงานของบริษัทก่อสร้างจะได้ทำงานสะดวก ๆ
รถยนต์ชาวบ้านจะติด จะมีปัญหาเดือดร้อนในการเดินทาง
ก็ไม่ใช่เรื่อง/หน้าที่ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง/ส่วนราชการ
ไม่สนใจว่าค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจเป็นอย่างไร
ต้นทุนทางสังคม/สิ่งแวดล้อมเป็นเช่นไร
กระทบหรือมีผลเสียหายต่อชาวบ้านและชุมชนอย่างไร
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมักจะทำตนเป็นคนหูหนวกตาบอดเป็นใบ้
หรือขอทำตนเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาไว้ก่อน
พอชาวบ้านโวยวายร้องเรียนกันมาก
ก็จะมีบางคนออกมาชี้แจงด้วยวาทกรรมกลวงเปล่า
ขายผ้าเอาหน้ารอดไปเป็นวัน ๆ เฉพาะกาล
มีพื้นที่บางแห่งของส่วนราชการ/เอกชน
ต้องล้อมรั้วกันวัวกันสัตว์ที่เร่ร่อนหากิน
เดินทางเข้าไปทำลายทรัพย์สิน
ถ้าคิดมูลค่าการเลี้ยงวัว/สัตว์ที่เร่ร่อน
จะน้อยมากเมื่อคิดเปรียบเทียบกับ
ต้นทุนของสังคม/สิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปหลายด้าน
แต่น้อยคนจะใส่ใจหรือสนใจกับเรื่องแบบนี้
.
ญี่ปุ่นใช้เวลา 7 วันซ่อมหลุมขนาดยักษ์กว้าง 30 เมตร ลึก 15 เมตร
How Japan Restores Giant Sinkhole In 7 Days (ย่นเหลือ 2.19 นาที)
หลุมขนาดยักษ์บนท้องถนนที่เมือง Fukuoka ในญี่ปุ่น
ทางไปสถานีรถไฟ JR Hakata Station
คนงานใช้เวลาเพียง 7 วันในการซ่อมแซม
ถนนเส้นนี้เปิดใช้งานอีกครั้งในวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 05:00 น.
หลังจากต้องปิดใช้งานตั้งแต่วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 5.00 น.
หลังจากที่ Soichiro Takashima
นายกเทศมนตรีเมือง Fukuoka
ได้ขออภัยต่อประชาชนสำหรับเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น
รวมทั้งทางด้านผู้บริหารบริษัท Taisei
โดย Murata Homareno ประธานบริษัท
และ ผู้อำนวยการอาวุโส Tanaka Shigeyoshi
ได้ออกมาขออภัยกับเหตุการณ์ในครั้งนี้
และรับปากว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ตั้งแต่การเริ่มต้นทำงานจนงานเสร็จเรียบร้อย
การถมหลุมยักษ์บนถนนที่ความกว้าง 30 เมตร ยาว 27 เมตร และลึก 15 เมตร
ต้องใช้ทรายและซีเมนต์จำนวน 6,200 ลูกบาศ์กเมตร
สาเหตุหลุมยุบเพราะมาจากการก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินบริเวณใกล้เคียง
ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง Taisei
ภาพที่ย่นย่อระยะเวลากับผลงานที่แทบไม่น่าเชื่อ
มีผู้คนเข้าชมนับเป็นล้านครั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์
ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่และการทำงานหนัก
เพื่อให้ผลงานคืบหน้าอย่างรวดเร็วในการซ่อมแซมหลุมยักษ์บนถนน
ที่กลายเป็นอุปสรรคอย่างแรงกับธุรกิจท้องถิ่น
ภาพจากวงจรปิดจะเห็นว่ามีรถขุดขนาดใหญ่และรถเครนจำหนวนหลายคัน
ในการขนย้ายเศษวัสดุ และนำท่อน้ำมาแทนที่ก่อนราดยางแอสฟัลต์บนถนน
และถนนก็สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติในวันอังคารที่ผ่านมานี้
หลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยแล้ว
เป็นสัปดาห์ที่ต้องใช้เวลาทำงานกันอย่างรีบเร่ง
เพื่อให้ถนนที่มีการจราจรคับคั่งเปิดใช้งานได้อีกครั้ง
เนื้องานมีทั้งการซ่อมแซมท่อประปา ไฟจราจร และการกลบหลุมยักษ์
ที่ดูดกลืนหลายอย่างลงไปอย่างรวดเร็วในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 5.00 น.
ทำให้ไฟฟ้าดับ สายโทรศัพท์ ท่อแก๊ส ท่อประปา ท่อระบายน้ำเสีย ต่างได้รับความเสียหาย
แต่ไม่มีรายงานว่ามีผู้คนบาดเจ็บแต่อย่างใด
ท่อระบายน้ำเสียได้รับการซ่อมแซมเรียบร้อยในคืนวันเสาร์
ส่วนสายสัญญาณ/โทรศัพท์ของ Nippon Telegraph and Telephone Corp.
ก็ได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วเช่นกัน
Soichiro Takashima นายกเทศมนตรีเมือง Fukuoka ได้ประกาศว่า
" ขอขอบคุณบรรดาคนงานทุกคนที่ทำงานกันอย่างหนักและอย่างเต็มที่
พื้นที่ซ่อมแซมครั้งใหม่นี้แข็งแรงกว่าเดิม 30 เท่า
ด้วยการทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อป้องกันภยันตรายจากการยุบตัวเป็นหลุมในภายหน้าได้
และจะมีการตรวจหาสาเหตุใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก
เพื่อเป็นแนวทางป้องกัน/แก้ไขต่อไป "
มีคน Twitter ว่า
" ผมประหลาดใจมากที่ถนนเปิดใช้งานได้อีกครั้งในหนึ่งสัปดาห์ "
" ประทับใจ ที่มันเร็วมาก "
ผู้คนบนสื่อสังคมออนไลน์ทั่วโลก
ต่างได้ร่วมกันเย้าแหย่ถึงระยะเวลาที่เนิ่นนาน
ของประเทศของพวกเขาในการแก้ไขปัญหาจราจร
" บราซิลจะเป็นเหมือนตอนนี้ / 7 ปีต่อมา "
" ในเปอร์โตริโก [มัน] จะใช้เวลา ... ไม่เป็นไร
เราเป็นหนี้เพียง 72 พันล้านเหรียญสหรัฐ
หลุมก็จะยังคงมีอยู่ตลอดไป "
" ถ้าเป็นอเมริกา [เรา] จะสร้างกำแพงรอบ ๆ มัน "
(ประชด Trump ที่บอกว่าจะสร้างกำแพงกั้น
แนวพรมแดนระหว่างสหรัฐกับเม็กซิโก)
" ในอินโดนีเซียเราต้องใช้เวลา 9 ปี ในการอุดมัน(หลุมยักษ์) "
" การแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
จะทำให้ขาดสัญญลักษณ์บนท้องถนน "
" ถ้ามันเกิดขึ้นในประเทศจีน จะใช้เวลาเพียง 1 ถึง 2 วัน
แต่มีค่าใช้จ่าย 10 พันล้านหยวน และทุบมันทิ้งในในปีถัดไป
นี่คือวิธีการที่เราสร้างงานและโอกาส "
คล้ายเงินผันของประเทศสารขัณฑ์หลายปีก่อน
ขุดถนนให้เป็นคลอง ถมคลองให้เป็นถนน
จะได้มีงบประมาณในการสร้างงานและโอกาส
" มันจะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปี
ในการอุดหลุมแบบนี้ที่ไอร์แลนด์ "
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/Fk3SRV
https://goo.gl/6KiFBT
https://goo.gl/xxLBpU
https://goo.gl/BH0Iw8
หลุมขนาดยักษ์บนถนนขนาด 5 ช่องจราจร กัดเซาะดินและเผยให้เห็นถึงโครงสร้างเหล็กใต้ดินของอาคารพาณิชย์
ที่เมือง Fukuoka ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น วันที่ 8 พฤศจิกายน 2016 © JIJI Press / AFP
หลุมยุบกว้าง 30 เมตร Photograph: KYODO/Reuters
ผู้บริหารบริษัท Taisei โดย Murata Homareno กับ Tanaka Shigeyoshi
ได้ออกมาขออภัยกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ที่มา : https://goo.gl/3hiCUx
คนงานทำงานกันทั้งกลางวันกลางคืนเพื่อซ่อมแซมหลุมขนาดใหญ่
หน้าสถานีรถไฟ JR Hakata Station. Photograph: The Asahi Shimbun via Getty Images
ภาพเพิ่มเติม https://goo.gl/6ZgblT
ก่อนและหลัง
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เคยมีคนไปสอบถามสำนักงบประมาณแห่งชาติสารขัณฑ์
เรื่องทำไมงานก่อสร้างของภาครัฐจึงล่าช้ามากในแต่ละโครงการก็ได้รับคำตอบว่า
ระยะเวลาก่อสร้างในสัญญาก็เผื่อไว้ 30-40% ของระยะเวลาที่ควรจะเสร็จแล้ว
แถมยังมีเงื่อนไขแนบท้ายสัญญารับเหมาก่อสร้างอีกว่า
สามารถเลื่อนระยะเวลาส่งมอบได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละไม่เกิน 6 เดือน
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือภัยพิบัติธรรมชาติ
ก็ยังสามารถเลื่อนระยะเวลาได้อีกตามความจำเป็นและสมควร
และยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในสัญญารับเหมาก่อสร้างอีกว่า
ในกรณีล่าช้าเพราะการย้ายสาธารณูปโภค
สามารถบวกวันและเลื่อนวันส่งมอบงานได้อีก
เพราะหน่วยงาน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รถไฟ
เงินไม่มา ไม่มีเนื้องาน หรือ
ไม่ได้ตั้งงบประมาณ ทำงานไม่ได้
เลยไม่สามารถลงมือทำการรื้อถอนสิ่งกีดขวางออกไปได้
ผู้รับเหมาก็สบายไปเพราะบวกวันที่ล่าช้าเข้าไปได้อีกจม
เบี้ยปรับตามสัญญากรณีที่งานไม่เสร็จตามสัญญา
ถ้ามีการเลื่อนวันส่งมอบงานแล้วได้รับการอนุมัติ
ก็จะคืนให้กับผู้รับเหมาต่อไปตามสัญญา
ผลก็คือมี คนงานทำงานกันเพียงไม่กี่คน
เหมือนกับการเล่นละครชาตรี/ไหว้แก้บน
ยิ่งรับงานหลายแห่งก็ทิ้งงานตรงนี้ไปทำตรงโน้น
รถยนต์การจราจรจะติดขัด/ชาวบ้านจะเดือดร้อน
ไม่ใช่หน้าที่ของผู้รับเหมาก่อสร้าง/ส่วนราชการ
เพราะต่างคนต่างไม่สนใจและใส่ใจแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้
ลักษณะเด่นประเทศพัฒนาแต่ด้อยพัฒนา
คือ ไม่สนใจ External Cost มีการบริหารจัดการที่แย่มาก
เวลาจะก่อสร้างก็เปิดพื้นที่เส้นทางก่อสร้างให้กว้าง ๆ ไว้ก่อน
รถยนต์ รถบรรทุก คนงานของบริษัทก่อสร้างจะได้ทำงานสะดวก ๆ
รถยนต์ชาวบ้านจะติด จะมีปัญหาเดือดร้อนในการเดินทาง
ก็ไม่ใช่เรื่อง/หน้าที่ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง/ส่วนราชการ
ไม่สนใจว่าค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจเป็นอย่างไร
ต้นทุนทางสังคม/สิ่งแวดล้อมเป็นเช่นไร
กระทบหรือมีผลเสียหายต่อชาวบ้านและชุมชนอย่างไร
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมักจะทำตนเป็นคนหูหนวกตาบอดเป็นใบ้
หรือขอทำตนเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาไว้ก่อน
พอชาวบ้านโวยวายร้องเรียนกันมาก
ก็จะมีบางคนออกมาชี้แจงด้วยวาทกรรมกลวงเปล่า
ขายผ้าเอาหน้ารอดไปเป็นวัน ๆ เฉพาะกาล
มีพื้นที่บางแห่งของส่วนราชการ/เอกชน
ต้องล้อมรั้วกันวัวกันสัตว์ที่เร่ร่อนหากิน
เดินทางเข้าไปทำลายทรัพย์สิน
ถ้าคิดมูลค่าการเลี้ยงวัว/สัตว์ที่เร่ร่อน
จะน้อยมากเมื่อคิดเปรียบเทียบกับ
ต้นทุนของสังคม/สิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปหลายด้าน
แต่น้อยคนจะใส่ใจหรือสนใจกับเรื่องแบบนี้
.