ถ้าพูดถึงกลุ่มดาวจักรราศี (Zodiac) หรือกลุ่มดาวที่เส้นสุริยวิถีพาดผ่าน แน่นอนว่าทุกคนคงรู้จักกันดีว่า ในอดีตจะประกอบด้วยกลุ่มดาว 12 กลุ่ม ซึ่งคนไทยได้เอาชื่อมาตั้งเป็นชื่อเดือน คือ
ราศีเมษ กลุ่มดาวแกะ (Aries)
ราศีพฤษภ กลุ่มดาววัว (Taurus)
ราศีเมถุน กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)
ราศีกรกฎ กลุ่มดาวปู (Cancer)
ราศีสิงห์ กลุ่มดาวสิงโต (Leo)
ราศีกันย์ กลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo)
ราศีตุลย์ กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)
ราศีพิจิก กลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius)
ราศีธนู กลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)
ราศีมกร กลุ่มดาวแพะทะเล (Capricornus)
ราศีกุมภ์ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius)
ราศีมีน กลุ่มดาวปลา (Pisces)
และจากการแบ่งพื้นที่ท้องฟ้าของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติในปี 1930 ทำให้เส้นสุริยวิถีบางส่วนที่เคยอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ได้ถูกแบ่งให้อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) แทน
ซึ่งนอกจากดวงอาทิตย์แล้ว บรรดาดาวเคราะห์ รวมถึงดวงจันทร์ของโลก ก็จะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นสุริยวิถีนี้ด้วยเช่นกัน
แต่....
เนื่องจากเส้นสุริยวิถีบางส่วนนั้นจะ "เฉียด" ผ่านกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มดาวจักรราศีในระยะใกล้มาก
และเนื่องจากดาวเคราะห์และดวงจันทร์นั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นสุริยวิถีพอดี แต่จะเอียงเล็กน้อย ทำให้บางครั้งก็จะอยู่เหนือแนวเส้นสุริยวิถีเล็กน้อย และบางครั้งก็จะอยู่เยื้องลงมาทางใต้เล็กน้อยเช่นกัน
ดังนั้นจึงทำให้ในบางช่วงเวลา ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ อาจจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มดาวจักรราศีได้เช่นกัน
Jean Meeus ได้เคยลองคำนวณไว้ พบว่า มีอีกประมาณ 9 กลุ่มดาว ที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ มีโอกาสผ่านเข้าไปได้เช่นกัน นั่นก็คือ
กลุ่มดาวซีตัส (Cetus)
กลุ่มดาวสารถี (Auriga)
กลุ่มดาวนายพราน (Orion)
กลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra)
กลุ่มดาวเซกแทนต์ (Sextans)
กลุ่มดาวถ้วย (Crater)
กลุ่มดาวนกกา (Corvus)
กลุ่มดาวโล่ (Scutum)
กลุ่มดาวม้าบิน (Pegasus)
แต่ที่แนวสุริยวิถีเฉียดใกล้มากจริง ๆ และมีโอกาสที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์จะผ่านเข้าไปได้มาก ดูจากแผนที่แล้วก็จะมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มดาวซีตัส กลุ่มดาวนายพราน และกลุ่มดาวเซกแทนต์
ดังเช่นเมื่อต้นปีนี้ ดวงจันทร์ก็เคยผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวนายพราน ตรงบริเวณกระบองของนายพราน ใกล้ ๆ เขาของกลุ่มดาววัวมาแล้ว
และในวันที่ 17 นี้ เท่าที่ดูในโปรแกรม Stallerium ก็จะเห็นว่าดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวนายพรานอีกครั้ง แต่คนไทยจะไม่เห็นเพราะเป็นช่วงกลางวัน พอตกเย็นก็จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่แล้ว
และก่อนหน้านี้วันที่ 12 ก็มีช่วงหนึ่งที่ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวซีตัสเช่นกัน
(ถ้าเป็นดาวอังคาร เส้นสุริยวิถีบนดาวอังคาร จะผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวซีตัสด้วย)
ก่อนหน้านี้ในปี 2011 ดวงจันทร์ก็เคยผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวเซกแทนต์มาแล้ว
ข้อมูลจาก
http://www.space.com/5417-ecliptic-zodiac-work.html
รูปประกอบ
http://www.astronomy.com/news-observing/ask%20astro/2009/04/the%20constellation%20ophiuchus%20lies%20partly%20on%20the%20ecliptic%20so%20why%20isnt%20it%20considered%20one%20of%20the%20zodiacal%20signs
http://gis.stackexchange.com/questions/88085/where-to-get-the-modern-constellations-as-a-vector-file
http://earthsky.org/tonight/moon-beams-north-of-orion-south-of-ecliptic
http://astroguyz.com/2011/01/18/18-01-11-the-signs-they-are-a-changin%E2%80%99/
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่าน
คุณรู้หรือไม่ว่า ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ สามารถเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวที่ไม่ใช่กลุ่มดาวจักรราศีได้ด้วย
ราศีเมษ กลุ่มดาวแกะ (Aries)
ราศีพฤษภ กลุ่มดาววัว (Taurus)
ราศีเมถุน กลุ่มดาวคนคู่ (Gemini)
ราศีกรกฎ กลุ่มดาวปู (Cancer)
ราศีสิงห์ กลุ่มดาวสิงโต (Leo)
ราศีกันย์ กลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo)
ราศีตุลย์ กลุ่มดาวคันชั่ง (Libra)
ราศีพิจิก กลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius)
ราศีธนู กลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)
ราศีมกร กลุ่มดาวแพะทะเล (Capricornus)
ราศีกุมภ์ กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius)
ราศีมีน กลุ่มดาวปลา (Pisces)
และจากการแบ่งพื้นที่ท้องฟ้าของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติในปี 1930 ทำให้เส้นสุริยวิถีบางส่วนที่เคยอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ได้ถูกแบ่งให้อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) แทน
ซึ่งนอกจากดวงอาทิตย์แล้ว บรรดาดาวเคราะห์ รวมถึงดวงจันทร์ของโลก ก็จะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นสุริยวิถีนี้ด้วยเช่นกัน
แต่....
เนื่องจากเส้นสุริยวิถีบางส่วนนั้นจะ "เฉียด" ผ่านกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มดาวจักรราศีในระยะใกล้มาก
และเนื่องจากดาวเคราะห์และดวงจันทร์นั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นสุริยวิถีพอดี แต่จะเอียงเล็กน้อย ทำให้บางครั้งก็จะอยู่เหนือแนวเส้นสุริยวิถีเล็กน้อย และบางครั้งก็จะอยู่เยื้องลงมาทางใต้เล็กน้อยเช่นกัน
ดังนั้นจึงทำให้ในบางช่วงเวลา ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ อาจจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มดาวจักรราศีได้เช่นกัน
Jean Meeus ได้เคยลองคำนวณไว้ พบว่า มีอีกประมาณ 9 กลุ่มดาว ที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ มีโอกาสผ่านเข้าไปได้เช่นกัน นั่นก็คือ
กลุ่มดาวซีตัส (Cetus)
กลุ่มดาวสารถี (Auriga)
กลุ่มดาวนายพราน (Orion)
กลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra)
กลุ่มดาวเซกแทนต์ (Sextans)
กลุ่มดาวถ้วย (Crater)
กลุ่มดาวนกกา (Corvus)
กลุ่มดาวโล่ (Scutum)
กลุ่มดาวม้าบิน (Pegasus)
แต่ที่แนวสุริยวิถีเฉียดใกล้มากจริง ๆ และมีโอกาสที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์จะผ่านเข้าไปได้มาก ดูจากแผนที่แล้วก็จะมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มดาวซีตัส กลุ่มดาวนายพราน และกลุ่มดาวเซกแทนต์
ดังเช่นเมื่อต้นปีนี้ ดวงจันทร์ก็เคยผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวนายพราน ตรงบริเวณกระบองของนายพราน ใกล้ ๆ เขาของกลุ่มดาววัวมาแล้ว
และในวันที่ 17 นี้ เท่าที่ดูในโปรแกรม Stallerium ก็จะเห็นว่าดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวนายพรานอีกครั้ง แต่คนไทยจะไม่เห็นเพราะเป็นช่วงกลางวัน พอตกเย็นก็จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่แล้ว
และก่อนหน้านี้วันที่ 12 ก็มีช่วงหนึ่งที่ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวซีตัสเช่นกัน
(ถ้าเป็นดาวอังคาร เส้นสุริยวิถีบนดาวอังคาร จะผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวซีตัสด้วย)
ก่อนหน้านี้ในปี 2011 ดวงจันทร์ก็เคยผ่านเข้าไปในกลุ่มดาวเซกแทนต์มาแล้ว
ข้อมูลจาก
http://www.space.com/5417-ecliptic-zodiac-work.html
รูปประกอบ
http://www.astronomy.com/news-observing/ask%20astro/2009/04/the%20constellation%20ophiuchus%20lies%20partly%20on%20the%20ecliptic%20so%20why%20isnt%20it%20considered%20one%20of%20the%20zodiacal%20signs
http://gis.stackexchange.com/questions/88085/where-to-get-the-modern-constellations-as-a-vector-file
http://earthsky.org/tonight/moon-beams-north-of-orion-south-of-ecliptic
http://astroguyz.com/2011/01/18/18-01-11-the-signs-they-are-a-changin%E2%80%99/
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่าน