พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

สวัสดีค่ะ ต่อจากกระทู้ที่แล้วนะคะ >> http://ppantip.com/topic/35801312 << พาแม่ไปกราบพระบรมศพ ณ พระบรมมหาราชวัง

วันนี้เราจะพาไปเที่ยว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กันค่ะ ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าที่นี่เป็นครั้งแรกที่เรากับแม่ได้มา บรรยากาศด้านนอกบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าที่นี่อายุมากกว่าเราหลายร้อยปีนัก แต่ยังคงความสวยงามและทรงคุณค่ายิ่งนัก แบบอาคารที่เห็นมีความเก่าแก่และการตกแต่งเหมือนอาคารยุโรปค่ะ


ภาพถ่ายจาก Google


ภาพถ่ายจาก Google


ประวัติพอสังเวป
     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า สร้างขึ้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตก โดย นายคาร์โลอัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาเลียนประจำราชสำนักสยามเป็นผู้ออกแบบ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากโรงงานเครื่องจักรที่เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมคือ อาคารหลักด้านหน้าเป็นทรงปั้นหยา สูงสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าว สองข้างอาคารหลักต่อเป็นปีกทอดยาว เป็นอาคารชั้นเดียวหักมุมฉากสี่ด้านบรรจบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเชื่อมต่อกัน บริเวณสันหลังคา เชิงชาย ช่องบานประตู หน้าต่างประดับด้วยลวดลายฉลุไม้อย่างงดงาม
ที่มาของชื่อ "หอศิลปเจ้าฟ้า"
     คำว่า "หอศิลปเจ้าฟ้า" เป็นคำที่คุ้นหูคุ้นปากของผู้คนโดยทั่วไป ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเดิม ที่ตั้งของหอศิลป จะเป็นวังของเจ้าฟ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เพราะพื้นที่บริเวณนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นที่ประทับของเจ้านายวังหน้าหลายพระองค์ แต่เหตุที่เรียกชื่อเช่นนั้นเป็นเพราะเป็นการเรียกชื่อตามชื่อถนน ที่ตั้งของหอศิลป คือ ถนนเจ้าฟ้า
     เมื่อมีการสืบค้นต่อไปพบว่า เป็นวังที่ประทับของเจ้าฟ้าองค์สุดท้ายที่ประทับอยู่ ที่วังปากคลอง วัดชนะสงคราม (บริเวณที่ตั้งของกรมข่าวทหารบก) เมื่อมีการตัดถนนผ่านบริเวณวังของพระองค์ จึงถวายพระเกียรติของพระองค์ ด้วยการเรียกถนนที่ตัดใหม่นี้ว่า ถนนเจ้าฟ้า

พอเข้ามาด้านในแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้เราฝากกระเป๋าได้นะคะ จะได้ไม่ต้องเดินถือสัมภาระมากมายให้หนักค่ะ  และถือว่าเป็นข่าวดีอีกเรื่องหนึ่งที่ว่า ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ จัดให้ประชาชนเข้าฟรี!! ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 59 - 31 มกราคา 60  ซึ่งจากปกติจะเก็บค่าเข้าชม  ชาวไทย : 30 บาท ชาวต่างชาติ : 200 บาท สามารถเข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ จะวางแปรนห้องต่าง ๆ ไว้แบบนี้นะคะ
     1.ห้องเฉลิมพระเกียรติ
     2.ห้องจัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณี
     3.ห้องจัดแสดงสิลปะไทยแบบตะวันตก
     4.ห้องประติมากรรม
     5.ห้องโถงกลาง
     6.อาคารเรือนกระจก
     7.ห้องนิทรรศการ 1-8
     8.อาคารนิทรรศการหมุนเวียน
     9.ห้องเอนกประสงค์
    10.สำนักงาน
    11.ห้องประชุม
    12.ลานนิทรรศการกลางแจ้ง
    13.ที่จอดรถ
    14.ทางเข้า

>>พอรู้รายละเอียดคร่าว ๆ แล้ว งั้นเราไปชมพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ<< เริ่มจาก
ห้องที่ 2 "ห้องจัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณี"
     ห้องจัดแสดงงานศิลปะซึ่งอยู่ในยุคสมัยระหว่างอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในช่วงแรกเป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะในงานจิตรกรรมไทยประเพณีตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นมา ซึ่งเป็นการเขียนภาพแบบ 2 มิติ และมีเนื้อหาเรื่องราวเพื่ออุทิศแก่ศาสนา

     รวมทั้งมีการแบ่งประเภทของสื่อที่มาใช้ในการสร้างสรรค์งานออกตามลักษณะ ได้แก่ พระบฎ ตู้พระธรรม จิตรกรรมฝาผนัง และสมุดไทย ในช่วงที่สองเป็นการจัดแสดงภาพงานจิตรกรรมแบบไทยที่เริ่มได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นงานของขรัวอินโข่ง ที่มีการใช้หลักทัศนียภาพและทิวทัศน์แบบตะวันตกเข้ามาประกอบในงาน ทำให้เกิดความลึกตื้นและใกล้ไกล เกิดเป็นภาพ 3 มิติขึ้น ในช่วงที่สาม เป็นการจัดแสดงภาพพระเมรุ ซึ่งเป็นภาพชุดที่มาจากการจัดการประกวดงานศิลปะครั้งแรกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อนำภาพที่ชนะการประกวดมาประดับตกแต่งพระเมรุมาศในปี พ.ศ. 2430 ในช่วงที่สี่ เป็นการจัดแสดงงานจิตรกรรมชุดภาพจากวรรณคดี ช่วงสุดท้ายเป็นภาพจากจิตรกรรมและงานออกแบบพัดยศโดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลตะวันตกในงานจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีการพัฒนาสืบต่อกันมาในยุคหลัง
     ข้อมูลจาก : http://www.finearts.go.th/museumnationalgallery/index.php/the-joomla-community/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3/item/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5.html

ห้องที่ 3 "ห้องจัดแสดงศิลปะไทยแบบตะวันตก"
     ห้องจัดแสดงบริเวณนี้เป็นการนำเสนอเรื่องราวของแนวทางศิลปะในประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญเท่าเทียมกับอารยประเทศ  ซึ่งเกิดจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5 รับวิทยาการด้านต่างๆ กลับมารวมทั้งในด้านศิลบะและสถาปัตยกรรม ยุคนี้จึงมีรูปแบบที่แตกต่างจากงานจิตรกรรมไทยประเพณีอย่างสิ้นเชิง

      งานที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัติย์และราชวงศ์ทั้งที่วาดขึ้นโดยศิลปินต่างประเทศและชาวไทยสะท้อนถึงความนิยมในงานแบบตะวันตก ที่เริ่มต้นจากในราชสำนัก งานของศิลปินชาวไทยนำมาจัดแสดงเป็นผลงานของพระสรลักษณ์ลิขิต ซึ่งเป็นศิลปินในราชสำนักที่ได้รับการศึกษาศิลปะแบบตะวันตกจากสถาบันในประเทศอิตาลี  ทั้งนี้รวมถึงผลงานของท่านที่เป็นการวาดเลียนแบบเพื่อการศึกษางานศิลปะที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศอีกด้วย อาทิเช่น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
ไม่ปรากฏนามศิลปิน , สีน้ำมันบนผ้าใบ


สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกกาเจ้า พระราชโอรส และ พระราชธิดา
ไม่ปรากฏนามศิลปิน ,สีน้ำมัน , ประมาณ พ.ศ. 2434 - 2440
     ข้อมูลจาก : http://www.finearts.go.th/museumnationalgallery/index.php/the-joomla-community/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3/item/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81.html

ห้องที่4 "ห้องประติมากรรม"
     ห้องจัดแสดงผลงานประติมากรรมในยุคของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนและอุปถัมภ์ศิลปกรรมแขนงต่างๆ แทนราชสำนัก

      และเป็นช่วงที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (มหาวิทยาลัยศิลปากร) และเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยธรรมประเทศ จนได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

พระบรมรูปพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ศาสตราจารย์ศิปล์ พีระศรี
สำริด , สูง 56 ซม.
พ.ศ. 2502 (งานต้นแบบ)
พ.ศ .2558(งานหล่อใหม่)

ห้องที่7 "ห้องนิทรรศการ 1-8"
ตอนที่เราไปเป็นช่วงที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์จัดนิทรรศการ นามธรรมของสายน้ำ (Abstract of Water)
จัดแสดงระหว่างวันที่ 4- 27 พฤศจิกายน 2559 โดย อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์ ณ ห้องนิทรรศการ 5 - 8 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า

ภาพจาก : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok/?fref=ts
และ
นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัยของพานาโซนิค ครั้งที่ 18 “เพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ”
จัดแสดงระหว่างวันที่ 4- 27 พฤศจิกายน 2559 ณ ห้องนิทรรศการ 1- 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า

ภาพจาก : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok/?fref=ts

ห้องจัดแสดงนิทรรศการจิตรกรรมฝีพระหัตถ์

     ห้องนี้เป็นการจัดแสดงงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นภาพเขียนชุดสีน้ำเพื่อประกอบบทละครเรื่องศกุนตลาที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นและผลงานจิตรกรรมภาพสีนำ้มันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน การจัดแสดงในส่วนนี้ไม่ยึดหลักเกณฑ์ในการดำเนินเรื่องตามระยะเวลาแต่เน้นเรื่องแนวความคิดและเนื้อหาเป็นประการสำคุญ แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะภาพในด้านศิลปะของพระมหากษัตริยิ์ไทยทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย

จิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศกุนตลา ตอน ท้าวทุษยันต์ เห็นนางศกุนตลาครั้งแรก
จิตรกร: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จิตรกรรมสีน้ำ, ๓๗.๕ x ๔๙ เซนติเมตร, พ.ศ. ๒๔๖๓
ภาพจาก : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok/?fref=ts


จิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศกุนตลา ตอน ท้าวทุษยันต์โลมนางศกุนตลา
จิตรกร: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จิตรกรรมสีน้ำ, ๓๗.๕ x ๔๙ เซนติเมตร, พ.ศ. ๒๔๖๓
ภาพจาก : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok/?fref=ts


จิตรกรรมฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
จิตรกร : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
Artist : His Majesty King Bhumibol Adulyadej (Rama IX)
สีน้ำมัน, ๔๑.๕ x ๕๔ เซนติเมตร, พ.ศ. ๒๕๐๗
ภาพจาก : https://www.facebook.com/TheNationalGalleryBangkok/?fref=ts

ประชาสัมพันธ์
     มูลนิธิร่มฉัตร ร่วมกับ มูลนิธิ คิงเพาเวอร์ และคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกันจัดการประกวดศิลปกรรมเพชรยอดมงกุฎ ประจำปีพุทธศักราช 2558 “จิตรกรรมเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 1 และประติมากรรมเพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 5" โดยจัดแสดงผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดศิลปกรรมดังกล่าว ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ระหว่างวันที่ 14 - 30 กันยายน 2559 ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/pg/TheNationalGalleryBangkok/photos/?tab=album&album_id=855327587931932

พาพันขอบคุณขอบคุณค่ะหากทุกคนอ่านมาจนบรรทัดสุดท้ายนี้ พาพันขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่