โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจาก
พระดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม
หน่วยงานราชการพิเศษที่ประสานงานโครงการ คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
“แกล้งดิน” มหัศจรรย์ใต้พระบารมี ที่ “ศูนย์ฯพิกุลทอง” จ.นราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส
“...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหา
ดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษา ทดลองในกำหนด 2 ปี และพืช
ที่ทดลองควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ วันที่ 16 กันยายน 2527
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัด
นราธิวาส พบว่าพื้นที่ส่วนมากมีสภาพเป็น“ดินพรุ” ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีสภาพน้ำขัง เป็นดินเปรี้ยวที่มีสภาพความเป็นกรด
อย่างรุนแรง และเป็นดินที่มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถทำการเกษตรได้
โครงการแกล้งดินประสบความสำเร็จในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้
พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับ
กันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไป
กับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จน
สามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้
ทั้งนี้หนึ่งในความสำเร็จที่เด่นชัดในเรื่องการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ก็คือโครงการ“ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.ทะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการพระราชดำริแห่งนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525
แปลงผลไม้ในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ศูฯนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลอง และแก้ปัญหาเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว เพื่อนำมา
ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ภายใต้แนวคิด “ป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้ยั่งยืน”
ซึ่งผลสำเร็จจากการแกล้งดิน สามารถพลิกฟื้นเปลี่ยนพื้นดินจากที่เคยใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาปลูกพืชผักและทำการเกษตร
ชนิดต่างๆได้เป็นอย่างดี
นับเป็นความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ผลสำเร็จจากโครงการแล้งดิน ได้ถูกต่อยอดนำไปสู่
การพัฒนาด้านอื่นๆอีกหลากหลายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้
แปลงข้าวที่เติบโตงอกงามในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯหลังการแกล้งดิน
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสนองแนวพระราชดำริ เน้นการ
เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการขยายผลสู่ประชาชนภายนอกโครงการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีพื้นที่กว่า 1,740 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆภายใต้แนวคิด“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”
ที่มีการจัดโซนพื้นที่อย่างเป็นระบบ และมีการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม
พร้อมกันนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาท่องเที่ยวเรียนรู้ดูงาน สัมผัสกับสิ่งที่น่า
สนใจต่างๆภายในศูนย์ อาทิ
แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่ศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ศูนย์บริการข้อมูล ณ จุดเดียว เป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการศึกษาและงานขยายผลการพัฒนาพื้นที่ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้
แก่เกษตรกรในพื้นที่และการให้บริการข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ศูนย์บริการวิเคราะห์ดิน ให้บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ และคำแนะนำการปรับปรุงบำรุงดิน รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ของดิน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ฐานดิน เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดดิน ชั้นดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูทรัพยากรดินโดยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี
ชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดิน การปลูกหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ การปลูกพืชปุ๋ยสดและการใช้ประโยชน์ การใช้วัสดุปรับปรุง
บำรุงดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
อาคารอำนวยการ
โครงการแกล้งดิน ศึกษาการเกิด การพัฒนาของดินเปรี้ยวจัด และเทคนิคการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อใช้ประโยชน์ใน
การปลูกพืช
การปลูกข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด สาธิต การปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเปรี้ยว ตลอดจนการเปรียบเทียบการ
ใช้ปุ๋ยอัตราต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและให้ผลผลิตสูง
เกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงสาธิตการบริหารจัดการดินและน้ำ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การประมง(สาธิต)ในบ่อน้ำเปรี้ยว
การเลี้ยงปลาเสริมรายได้ ศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ปลาที่ทนต่อน้ำเปรี้ยว และการเลี้ยงปลาสวยงามในพื้นพรุ
การเลี้ยงกบในกระชัง รวมไปถึงการทำการเกษตรผสมผสานบริเวณของบ่อเลี้ยงปลา และแจกจ่ายพันธ์ปลา
พืชสวนครัวประดับ แบบเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การจัดปลูกผักสวนครัวเชิงภูมิทัศน์ การนำภาชนะและวัสดุเหลือใช่
มาประยุกต์ การปลูกพืชผักรูปแบบต่างๆ และเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ผืนป่าที่เติบโตในพื้นที่ดินพรุในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ป่าพรุและป่าเสม็ดจำลอง การปลูกป่าในพื้นที่พรุ เพื่อการศึกษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติของป่าพรุ และวิวัฒนาการการ
เกิดพรุ ศึกษาการนำไม้และใบไม้เสม็ด เพื่อการแปรรูป พร้อมทั้งการผลิตกล้าไม้ไว้สำหรับแจกจ่ายประชาชนทั่วไป เพื่อนำ
ไปปลูกที่บ้าน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ
ไบโอดีเซล เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม และการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแบบง่ายๆ ที่สามารถ
ผลิตเองได้ในครัวเรือนจากน้ำมันพืช ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ภายในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯมีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระเบียบสวยงาม
นอกจากนี้ก็ยังมีสวนสวยต่างๆ ได้แก่
สวน 50 ปี ครองราชย์ รวบรวมพืชตระกูลปาล์มนานาชนิดทั้งในและต่างประเทศ,สวนพฤกษาศาสตร์พันธุ์ไม้ม่วง
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สวนเรียนรู้พันธุ์ไม้ม่วงกว่า 100 ชนิด,สวน 72 พรรษา สวนรวบรวมพันธุ์ไม้หายากใกล้
สูญพันธุ์และพืชสมุนไพร กว่า 400 ชนิด,สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม์ 76 พรรษา สวนพรรณไม้มงคลนานาชนิด,สวนสาธิต
การเกษตรเฉลิมพระเกรียรติ 80 พรรษา สวนสาธิตการปลูกไม้ผล พืชผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น,สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
สวนพักผ่อนหย่อนใจที่ปลูกด้วยไม้โตเร็ว พันธุ์ไม้พื้นเมือง พันธุ์ไม้หอม และสระบัว
หลังการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พืชพันธุ์ก็เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
และนี่ก็คือสิ่งน่าสนใจอันหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ซึ่งนอกจากจะ
เป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรดจัด ด้วยวิธีการ“แกล้งดิน”ตามแนวพระราชดำริแล้ว
ยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ภายในศูนย์ฯแห่งนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางในการทำมาหากิน หรือมาประยุกต์ให้ในการดำรงชีวิต
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง
ได้อย่างยั่งยืน
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”...
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722
ห้องเพลงคนรากหญ้า ***รวมใจคนไทยอาลัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย*** กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (10/11/2016)
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจาก
พระดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม
หน่วยงานราชการพิเศษที่ประสานงานโครงการ คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส
“แกล้งดิน” มหัศจรรย์ใต้พระบารมี ที่ “ศูนย์ฯพิกุลทอง” จ.นราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส
“...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหา
ดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษา ทดลองในกำหนด 2 ปี และพืช
ที่ทดลองควรเป็นข้าว...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ วันที่ 16 กันยายน 2527
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัด
นราธิวาส พบว่าพื้นที่ส่วนมากมีสภาพเป็น“ดินพรุ” ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีสภาพน้ำขัง เป็นดินเปรี้ยวที่มีสภาพความเป็นกรด
อย่างรุนแรง และเป็นดินที่มีคุณภาพต่ำ ไม่สามารถทำการเกษตรได้
โครงการแกล้งดินประสบความสำเร็จในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้
พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับ
กันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไป
กับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จน
สามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้
ทั้งนี้หนึ่งในความสำเร็จที่เด่นชัดในเรื่องการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ก็คือโครงการ“ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่ตั้งอยู่ที่ ต.ทะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการพระราชดำริแห่งนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525
แปลงผลไม้ในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ศูฯนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาค้นคว้า วิจัยทดลอง และแก้ปัญหาเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว เพื่อนำมา
ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ภายใต้แนวคิด “ป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้ยั่งยืน”
ซึ่งผลสำเร็จจากการแกล้งดิน สามารถพลิกฟื้นเปลี่ยนพื้นดินจากที่เคยใช้ประโยชน์ไม่ได้ให้กลับมาปลูกพืชผักและทำการเกษตร
ชนิดต่างๆได้เป็นอย่างดี
นับเป็นความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ผลสำเร็จจากโครงการแล้งดิน ได้ถูกต่อยอดนำไปสู่
การพัฒนาด้านอื่นๆอีกหลากหลายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้
แปลงข้าวที่เติบโตงอกงามในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯหลังการแกล้งดิน
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต
ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานแบบบูรณาการเพื่อสนองแนวพระราชดำริ เน้นการ
เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการขยายผลสู่ประชาชนภายนอกโครงการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีพื้นที่กว่า 1,740 ไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆภายใต้แนวคิด“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”
ที่มีการจัดโซนพื้นที่อย่างเป็นระบบ และมีการจัดแต่งภูมิทัศน์อย่างสวยงาม
พร้อมกันนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ยังเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าไปศึกษาท่องเที่ยวเรียนรู้ดูงาน สัมผัสกับสิ่งที่น่า
สนใจต่างๆภายในศูนย์ อาทิ
แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่ศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ศูนย์บริการข้อมูล ณ จุดเดียว เป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการศึกษาและงานขยายผลการพัฒนาพื้นที่ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้
แก่เกษตรกรในพื้นที่และการให้บริการข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ศูนย์บริการวิเคราะห์ดิน ให้บริการวิเคราะห์ดิน น้ำ และคำแนะนำการปรับปรุงบำรุงดิน รวมไปถึงการใช้ประโยชน์ของดิน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ฐานดิน เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดดิน ชั้นดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การฟื้นฟูทรัพยากรดินโดยใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี
ชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดิน การปลูกหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ การปลูกพืชปุ๋ยสดและการใช้ประโยชน์ การใช้วัสดุปรับปรุง
บำรุงดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
อาคารอำนวยการ
โครงการแกล้งดิน ศึกษาการเกิด การพัฒนาของดินเปรี้ยวจัด และเทคนิคการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อใช้ประโยชน์ใน
การปลูกพืช
การปลูกข้าวพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด สาธิต การปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในพื้นที่ดินเปรี้ยว ตลอดจนการเปรียบเทียบการ
ใช้ปุ๋ยอัตราต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวและให้ผลผลิตสูง
เกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงสาธิตการบริหารจัดการดินและน้ำ ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การประมง(สาธิต)ในบ่อน้ำเปรี้ยว
การเลี้ยงปลาเสริมรายได้ ศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ปลาที่ทนต่อน้ำเปรี้ยว และการเลี้ยงปลาสวยงามในพื้นพรุ
การเลี้ยงกบในกระชัง รวมไปถึงการทำการเกษตรผสมผสานบริเวณของบ่อเลี้ยงปลา และแจกจ่ายพันธ์ปลา
พืชสวนครัวประดับ แบบเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การจัดปลูกผักสวนครัวเชิงภูมิทัศน์ การนำภาชนะและวัสดุเหลือใช่
มาประยุกต์ การปลูกพืชผักรูปแบบต่างๆ และเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ผืนป่าที่เติบโตในพื้นที่ดินพรุในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯ
ป่าพรุและป่าเสม็ดจำลอง การปลูกป่าในพื้นที่พรุ เพื่อการศึกษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติของป่าพรุ และวิวัฒนาการการ
เกิดพรุ ศึกษาการนำไม้และใบไม้เสม็ด เพื่อการแปรรูป พร้อมทั้งการผลิตกล้าไม้ไว้สำหรับแจกจ่ายประชาชนทั่วไป เพื่อนำ
ไปปลูกที่บ้าน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ
ไบโอดีเซล เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม และการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแบบง่ายๆ ที่สามารถ
ผลิตเองได้ในครัวเรือนจากน้ำมันพืช ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ภายในศูนย์ฯพัฒนาพิกุลทองฯมีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระเบียบสวยงาม
นอกจากนี้ก็ยังมีสวนสวยต่างๆ ได้แก่
สวน 50 ปี ครองราชย์ รวบรวมพืชตระกูลปาล์มนานาชนิดทั้งในและต่างประเทศ,สวนพฤกษาศาสตร์พันธุ์ไม้ม่วง
เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สวนเรียนรู้พันธุ์ไม้ม่วงกว่า 100 ชนิด,สวน 72 พรรษา สวนรวบรวมพันธุ์ไม้หายากใกล้
สูญพันธุ์และพืชสมุนไพร กว่า 400 ชนิด,สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม์ 76 พรรษา สวนพรรณไม้มงคลนานาชนิด,สวนสาธิต
การเกษตรเฉลิมพระเกรียรติ 80 พรรษา สวนสาธิตการปลูกไม้ผล พืชผัก เลี้ยงปลา เป็นต้น,สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
สวนพักผ่อนหย่อนใจที่ปลูกด้วยไม้โตเร็ว พันธุ์ไม้พื้นเมือง พันธุ์ไม้หอม และสระบัว
หลังการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พืชพันธุ์ก็เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
และนี่ก็คือสิ่งน่าสนใจอันหลากหลายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ซึ่งนอกจากจะ
เป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการแก้ปัญหาดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรดจัด ด้วยวิธีการ“แกล้งดิน”ตามแนวพระราชดำริแล้ว
ยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ภายในศูนย์ฯแห่งนี้มาปรับใช้เป็นแนวทางในการทำมาหากิน หรือมาประยุกต์ให้ในการดำรงชีวิต
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง
ได้อย่างยั่งยืน
นับเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ใต้พระบารมีของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”...
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของคนไทยตลอดไป
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722