เพลงสรรเสริญพระบารมีเดิมนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องเรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 และได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการ สำหรับเนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบัน เป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
สมาชิกเฟซบุ๊ก พฤฒิพล ประชุมผล จากพิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทยได้เผยแพร่คลิปการบันทึกเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกของโลก และสาธิตวิธีการเล่นกลับโดยใช้เครื่องเล่นกระบอกเสียงเอดิสัน ของพิพิธภัณท์ ในคลิประบุว่า การบันทึกเสียงครั้งแรกเกิดขึ้นที่สวนสัตว์ ณ กรุงเบอร์ลิน ปี 2443 โดยเป็นการบันทึกลงบนกระบอกเสียงของเอดิสันแบบไขขี้ผึ้งเปล่า บรรเลงโดย : คณะนายบุศย์มหินทร์ บันทึกเสียงโดย : ด็อกเตอร์คาร์ล สตุ๊มฟ์
ขอเชิญรับฟังครับ
เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มีการบันทึกเสียงไว้ครั้งแรก
ซึ่งจากนั้นมาการดนตรีไทยได้พัฒนาไปแบบอย่างตะวันตกและสากลมากขึ้น มีการนำเพลงสรรเสริญพระบารมีเล่นโดยวงอุริยางค์ วงออเคสตรา วงดนตรีสากล ตามวาระที่เหมาะสมในโอกาสต่างๆตามความเหมาะสม
ครั้น ถึงเดือนตุลาคม 2559 ในหลวงในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่รักยิ่งของปวงประชานได้สวรรคต ประชาชนซึ่งเคารพรักและผูกพันกับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ออกมาถวายความเคารพและความอาลัย และหนึ่งในการกระทำนั้นก็คือการร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เอง
นอกเหนือจากการร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ได้รับการกล่าวขวัญและยกย่องว่าไพเราะ เศร้าซึ้ง และร้องออกมาจากใจ จนทั้งคนร้องและคนฟังต่างก็พากันน้ำตาซึม ก็คือเพลงสรรเสริญพระบารมีของวง Vietrio และ JeebBangkok ซึ่งขับร้องโดยคุณป่าน กัญญภัส ศรีณรงค์ ใช้เครื่องดนตรีคลาสสิค ได้แก่ ไวโอลิน เชลโล เปียนโน ซึ่งมีผู้เข้าไปชมและฟังกันอย่างมากมายในหลายลิงค์ที่มีอยู่ แต่ขอนำเอาเพลงสรรเสริญพระบารมีเวอร์ชั่นนี้ที่ทางวง Vietrio นำมาลงในรูปแบบ HD มาให้รับฟังกัน เทียบกับคลิปที่ได้มีการบันทึกเพลงนี้ไว้ครั้งแรกของโลก
เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ไพเราะที่สุดเพลงหนึง ที่เล่นโดยวงดนตรีคลาสสิค
Vietrio & JeebBangkok
บับร้องโดยคุณป่าน กัญญภัส ศรีณรงค์ ชยานุวัฒน์
สำหรับเครื่องเล่นกระบอกเสียงเอดิสัน นั้น เป็นเครื่องเล่น Brown blank wax cylinder เป็นพัฒนาการจาก เครื่องเล่นเพลง ที่ ถูกประดิษฐ์โดย โทมัส เอวา เอดิสัน ซึ่งช่วงแรกถูกผลิตจากกระบอกปูนปาสเตอร์ หุ้มด้วยแผ่นดีบุก บันทึกเสียงโดยสลักปลายเข็มลงบนกระบอก เวลาเล่นจะนำกระบอกเสียงเสียบลงไปในแกนของเครื่องเล่นกระบอกเสียง แล้วจึงใช้มือหมุนแกนดังกล่าวเพื่อตั้งลาน โดยมีลักษณะการทำงานคล้ายการเคลื่อนไหวของตุ๊กตาไขลาน ดั่งทีเราเห็นได้บ่อยๆ ในหนังย้อนยุคนั่นเอง ( อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://daily.rabbit.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87 )
ด้านหนึ่งจะมีลำโพงรับเสียง เสียงจะเดินทางไปกระทบแผ่นรับเสียงทีมีหัวเข็มอยู่ ละจะกดลงบนผิวของแผ่นดีบุก หรือผิวของไขขี้ผึ้ง โดยแผ่นดีบุกหรือไขขี้ผึ่งจะหมุนไปรอบๆและมีการเปลี่ยนแนวการบันทึกไปเป็นลำดับ จะเกิดร่องบนแผ่นดีบุก หรือไขขี้ผึ้ง ซึ่งเมื่อเอาเข็มรับเสียงมาสัมผัส ก็จะก่อให้เกิดเสียงที่ได้บันทึกไว้นั้นเอง
ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเรื่องกระบอกเสียงไขขี้ผึ้งนี้ได้จาก คลิปต่อไปนี้ครับ
http://www.edisontechcenter.org/waxCylMake.html
-✿✿✿✿❤...เพลงสรรเสริญพระบารมีจากบันทึกบน Brown blank wax cylinder พศ. 2443 สู่ Youtube HD พศ.2559...❤✿✿✿✿-
สมาชิกเฟซบุ๊ก พฤฒิพล ประชุมผล จากพิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทยได้เผยแพร่คลิปการบันทึกเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งแรกของโลก และสาธิตวิธีการเล่นกลับโดยใช้เครื่องเล่นกระบอกเสียงเอดิสัน ของพิพิธภัณท์ ในคลิประบุว่า การบันทึกเสียงครั้งแรกเกิดขึ้นที่สวนสัตว์ ณ กรุงเบอร์ลิน ปี 2443 โดยเป็นการบันทึกลงบนกระบอกเสียงของเอดิสันแบบไขขี้ผึ้งเปล่า บรรเลงโดย : คณะนายบุศย์มหินทร์ บันทึกเสียงโดย : ด็อกเตอร์คาร์ล สตุ๊มฟ์
ขอเชิญรับฟังครับ
เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มีการบันทึกเสียงไว้ครั้งแรก
ซึ่งจากนั้นมาการดนตรีไทยได้พัฒนาไปแบบอย่างตะวันตกและสากลมากขึ้น มีการนำเพลงสรรเสริญพระบารมีเล่นโดยวงอุริยางค์ วงออเคสตรา วงดนตรีสากล ตามวาระที่เหมาะสมในโอกาสต่างๆตามความเหมาะสม
ครั้น ถึงเดือนตุลาคม 2559 ในหลวงในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่รักยิ่งของปวงประชานได้สวรรคต ประชาชนซึ่งเคารพรักและผูกพันกับพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ออกมาถวายความเคารพและความอาลัย และหนึ่งในการกระทำนั้นก็คือการร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้เอง
นอกเหนือจากการร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ได้รับการกล่าวขวัญและยกย่องว่าไพเราะ เศร้าซึ้ง และร้องออกมาจากใจ จนทั้งคนร้องและคนฟังต่างก็พากันน้ำตาซึม ก็คือเพลงสรรเสริญพระบารมีของวง Vietrio และ JeebBangkok ซึ่งขับร้องโดยคุณป่าน กัญญภัส ศรีณรงค์ ใช้เครื่องดนตรีคลาสสิค ได้แก่ ไวโอลิน เชลโล เปียนโน ซึ่งมีผู้เข้าไปชมและฟังกันอย่างมากมายในหลายลิงค์ที่มีอยู่ แต่ขอนำเอาเพลงสรรเสริญพระบารมีเวอร์ชั่นนี้ที่ทางวง Vietrio นำมาลงในรูปแบบ HD มาให้รับฟังกัน เทียบกับคลิปที่ได้มีการบันทึกเพลงนี้ไว้ครั้งแรกของโลก
เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่ไพเราะที่สุดเพลงหนึง ที่เล่นโดยวงดนตรีคลาสสิค
Vietrio & JeebBangkok
บับร้องโดยคุณป่าน กัญญภัส ศรีณรงค์ ชยานุวัฒน์
สำหรับเครื่องเล่นกระบอกเสียงเอดิสัน นั้น เป็นเครื่องเล่น Brown blank wax cylinder เป็นพัฒนาการจาก เครื่องเล่นเพลง ที่ ถูกประดิษฐ์โดย โทมัส เอวา เอดิสัน ซึ่งช่วงแรกถูกผลิตจากกระบอกปูนปาสเตอร์ หุ้มด้วยแผ่นดีบุก บันทึกเสียงโดยสลักปลายเข็มลงบนกระบอก เวลาเล่นจะนำกระบอกเสียงเสียบลงไปในแกนของเครื่องเล่นกระบอกเสียง แล้วจึงใช้มือหมุนแกนดังกล่าวเพื่อตั้งลาน โดยมีลักษณะการทำงานคล้ายการเคลื่อนไหวของตุ๊กตาไขลาน ดั่งทีเราเห็นได้บ่อยๆ ในหนังย้อนยุคนั่นเอง ( อ้างอิง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ )
ด้านหนึ่งจะมีลำโพงรับเสียง เสียงจะเดินทางไปกระทบแผ่นรับเสียงทีมีหัวเข็มอยู่ ละจะกดลงบนผิวของแผ่นดีบุก หรือผิวของไขขี้ผึ้ง โดยแผ่นดีบุกหรือไขขี้ผึ่งจะหมุนไปรอบๆและมีการเปลี่ยนแนวการบันทึกไปเป็นลำดับ จะเกิดร่องบนแผ่นดีบุก หรือไขขี้ผึ้ง ซึ่งเมื่อเอาเข็มรับเสียงมาสัมผัส ก็จะก่อให้เกิดเสียงที่ได้บันทึกไว้นั้นเอง
ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเรื่องกระบอกเสียงไขขี้ผึ้งนี้ได้จาก คลิปต่อไปนี้ครับ
http://www.edisontechcenter.org/waxCylMake.html