((มาลาริน)) ความล้มเหลวจำนำข้าว <..เกยอู้หวานจับใจ๋ น้องอู้จะใดไว้กับชาวนา ลืม น้องลืมแล้วกา จะหื้อชาวนาอยู่ดีกิ๋นดี..>

กระทู้คำถาม
ดิฉันได้อ่านสุนทรพจน์ของอดีตนายกที่กล่าวว่า..ถ้ามีโอกาสมาเป็นรัฐบาลจะช่วยดันราคาข้าวของชาวนาให้สูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  คืนนี้ดิฉันนอนไม่หลับเลยค่ะ..  

ตามข่าวนี้ค่ะ..>>>
..ภายหลังการพูดคุยประมาณ 20 นาทีกับกลุ่มชาวนา น.ส.ยิ่งลักษณ์ เริ่มตาแดงกล่ำ มีน้ำตาคลอเบ้า ได้รับปากหากมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลอีก จะช่วยดันราคาข้าวของชาวนาให้สูงขึ้น..

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/772597
นานานอน

ดิฉันเลยอยากมาทบทวนความจำ..ในอดีตอันแสนเศร้าของชาวนา  สงสัยว่าอดีตนายกทำไมลืมง่ายจริงหนอ.. จึงอยากจะขอมารอบสองอีกครั้ง...คุณพระช่วยด้วยค่ะ...สาธุ

มาย้อนอดีตกันกับบทความนี้..

นานาเสียใจ

มกราคม 2557
ในช่วงนี้นอกจากข่าวความไม่สงบทางการเมืองที่กำลังเข้าสู่ภาวะตึงเครียดระดับสูงแล้ว ยังมีอีกข่าวสำคัญอีกประการคือ การชุมนุมของชาวนา

ในภาคอีสานและภาคเหนือ ในการเรียกร้องเงินค่าข้าวที่นำไปจำนำไว้กับรัฐบาล ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของชาวนาที่ได้จำนำข้าวปีเพาะปลูกฤดู 2556/2557 ที่รัฐบาลโดยธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตรฯ หรือ ธ.ก.ส. ติดค้างเงินชาวนามาเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นมา)

คิดถึงหัวอกพี่น้องชาวนาแล้วน่าเห็นใจยิ่ง เพราะข้าวที่ผลิตได้และนำไปจำนำก็คาดหวังว่าจะมีเงินมาใช้จ่ายทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตประเภทปุ๋ย ค่าเช่าที่นา ค่าแรง ฯลฯ และยังมีค่าใช้จ่ายประจำวัน ชาวนาไม่มีเงินสายป่านยาว จึงก่อให้เกิดความเดือดร้อนดังกล่าวกดดันทำให้มีชาวนาในจังหวัดบุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ผูกคอตายไปแล้ว ดังนั้น จึงทำให้ชาวนาชุมนุมกันและปิดถนนทั้งในภาคเหนือและภาคอีสานและกำลังขยายวงกว้างออกไป ความเจ็บช้ำน้ำใจของชาวนาอีกประการนั้นก็จะเกิดจากความโกรธที่ถูกรัฐบาลผัดหนี้มาครั้งแล้วครั้งเล่ามาเป็นเวลากว่า 4 เดือนและบางรายอาจจะยาวนานกว่านั้น

ในปัจจุบันมีใบประทวนหรือสัญญาจำนำข้าวระหว่าง ธ.ก.ส. และชาวนาอยู่รวมประมาณ 1.4 ล้านสัญญา คิดเป็นวงเงินที่รัฐบาลจะต้องหาเงินมาจ่ายเงินคืนชาวนาประมาณ 130,000-140,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เป็นชาวนาในภาคอีสาน และอีกเกือบร้อยละ 30 เป็นชาวนาในภาคเหนือ และอีกร้อยละ 15 เป็นชาวนาในภาคกลาง เนื่องจากภาคอีสานและภาคเหนือเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคเพื่อไทย ดังนั้น จึงทำให้รัฐบาลมีความเร่งรีบที่จะหาเงินมาจ่ายให้ชาวนาโดยเร็ว และก่อนกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้

หากพิจารณาจำนวนใบประทวนและวงเงินแล้วจะเห็นได้ว่าวงเงินต่อใบประทวนจะอยู่ประมาณใบละเกือบ 1 ล้านบาท และชาวนาทำอย่างไรในช่วงเวลา 4 เดือนเศษที่ผ่านมา ที่ชาวนาทำคือ หนึ่ง การกู้เงินจากนอกระบบซึ่งต้องจ่ายดอกประมาณร้อยละ 10 ต่อเดือน และสอง นำใบประทวนไปขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ซึ่งได้เงินไม่เต็มจำนวนและต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ยุติธรรมกับชาวนาเพราะข้าวของตนเองอยู่ในมือรัฐบาลไม่มีดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่รัฐบาลควรจะต้องรับผิดชอบต่อใบประทวนที่นำไปกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ซึ่งหากต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้แล้วชาวนาก็จะไม่แทบจะไม่ได้รับประโยชน์จากการจำนำข้าวเลย แถมยังไม่รู้ว่าจะได้รับเงินเมื่อไร

รัฐบาลจึงเดือดร้อนจัดในการหาเงินมาคืนให้กับชาวก่อนที่สถานการณ์จะบานปลายและเลวร้ายยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงเห็นความพยายามที่ขอกู้เงินจำนวน 130,000 ล้านบาทที่เริ่มจากจะขอใช้เงินสภาพคล่องหรือเงินสำรองของ ธ.ก.ส. ซึ่งก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส. เองก็ใช้เงินสภาพคล่องจำนวนประมาณ 91,000 ล้านบาทให้รัฐบาลยืมในโครงการนี้อยู่แล้ว และเมื่อเกิดข่าวแพร่หลายก็มีการคัดค้านจากพนักงานและเจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ดังนั้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายมาเป็นธนาคารของรัฐอีกแห่งคือ ธนาคารออมสิน ก็เผชิญการประท้วงคัดค้านจากพนักงานอีกเช่นกัน ต่อมามีข่าวว่ามีการติดต่อกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งก็เผชิญการคัดค้านด้วยเช่นกันจากพนักงาน ทั้งนี้ เพราะหากคณะกรรมการหรือผู้บริหารธนาคารเหล่านี้จะดื้อดึงปล่อยกู้ออกไป ก็อาจจะประสบกับปัญหาการแห่ถอนเงินจากประชาชน อันเกิดจากความไม่ไว้วางใจของผู้ฝากเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินกลัวที่สุดเพราะสถาบันการเงินอยู่ได้ด้วยความเชื่อถือเชื่อมั่นของประชาชน และหากเกิดปรากฏการณ์แห่ถอนเงินแล้วธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นล้มได้

เมื่อหาเงินจากสถาบันการเงินของรัฐไม่ได้จึงได้หันเข็มมายังสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งเงินกองทุนนั้นเป็นเงินของผู้ประกันตนของแรงงานทั่วประเทศจำนวนประมาณ 12 ล้านคน ย้ำนะคะว่าเงินดังกล่าวเป็นที่มีเจ้าของไม่ใช่จะให้นักการเมืองมาหยิบไปใช้ตามอำเภอใจได้ และเช่นเดียวกันเกิดการคัดค้านจากสหพันธ์แรงงานที่ประกาศปกป้องเงินของตนเอง และยังเปิดเผยว่ารัฐบาลเองก็ยังติดค้างเงินจ่ายสมทบในส่วนของรัฐบาลเองอยู่หลายหมื่นล้านบาท

ความล้มเหลวความผิดพลาดของโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลดังกล่าวเกิดจากความมาสมเหตุสมผลของโครงการที่กำหนดเงินจำนำสูงเกินกว่าราคาตลาดสูงถึงร้อยละ 40 เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันในขั้นตอนดำเนินงาน และความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ที่รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาเพื่อเป็นมาตรฐานในอนาคตต่อไป และเหนืออื่นใดโครงการรับจำนวนข้าวนี้ได้มีคำเตือนและคำแนะนำจากฝ่ายต่างๆ ทั้ง ฝ่ายค้าน นักวิชาการ นักธุรกิจหรือองค์การระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลกหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บริษัทจัดลำดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นที่ไม่ใช่จะมีผลกระทบเฉพาะกับชาวนา แต่กระทบต่อการส่งออก การพัฒนาพันธ์ข้าว และที่สำคัญคือโครงการดังกล่าวไม่มีความยั่งยืน ที่คนไทยจะต้องจ่ายค่าบทเรียนด้วยราคาแพง ในขณะที่นักการเมืองและคนที่โกงกลับลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคมนี้ต่อไป

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/559638
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่