คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 25
ความคิดเห็นที่ 24
ถ้าเป็นการกราบไหว้เพื่อขอให้ตนได้สิ่งที่ตนคาดหมาย แบบนี้เรียกมิจฉา..
แต่ถ้าเป็นกราบไหว้ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี หรือเคารพผู้ที่ควรเคารพ แบบนี้เรียกสัมมา..
แบบนี้จขกท เห็นด้วยหรือไม่ครับ
เลือกคำตอบนี้ ตอบกลับ
0 0
bomb666
4 นาทีที่แล้ว
ไม่เห็นด้วยครับ
เพราะ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า การระลึกถึงเทวดา(เทวตานุสสติ) หมายถึง การระลึกว่า เทวดา ก็มึ ศรัทธา ศีล จาคะ ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์
โดยการระลึกถึงเนืองๆนี้ ผลคือ สมถะ ความสงบ ซึ่งแน่นอนว่า สมาธิ นึ้ย่อมไม่ใช่ สัมมาทิฐิ
และอนุสสติ ที่ตรัสถึงนี้ ก็ไม่ใช่ การกราบไหว้ บูชา บวงสรวง ศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ อะไรแบบนั้น สักหน่อย
v
v
ก็ อนุสสติ เป็นธรรมในหมวด สมาธิ
แล้วจะมา ยัดเยียดให้ เทวตานุสสติ เป็น ธรรมหมวดปัญญา(สัมมาทิฐิ) ไปได้อย่างไรกัน ?
v
v
ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสสติ
(ความระลึกถึงเทวดาเนืองๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาว-
*ดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่
เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่า
เหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย
ศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น
สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจาก
โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น
แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูก
โมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง
เพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อม
ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบ-
*ร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่
สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ
เทวตานุสสติ ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6756&Z=6837
ถ้าเป็นการกราบไหว้เพื่อขอให้ตนได้สิ่งที่ตนคาดหมาย แบบนี้เรียกมิจฉา..
แต่ถ้าเป็นกราบไหว้ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี หรือเคารพผู้ที่ควรเคารพ แบบนี้เรียกสัมมา..
แบบนี้จขกท เห็นด้วยหรือไม่ครับ
เลือกคำตอบนี้ ตอบกลับ
0 0
bomb666
4 นาทีที่แล้ว
ไม่เห็นด้วยครับ
เพราะ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า การระลึกถึงเทวดา(เทวตานุสสติ) หมายถึง การระลึกว่า เทวดา ก็มึ ศรัทธา ศีล จาคะ ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์
โดยการระลึกถึงเนืองๆนี้ ผลคือ สมถะ ความสงบ ซึ่งแน่นอนว่า สมาธิ นึ้ย่อมไม่ใช่ สัมมาทิฐิ
และอนุสสติ ที่ตรัสถึงนี้ ก็ไม่ใช่ การกราบไหว้ บูชา บวงสรวง ศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ อะไรแบบนั้น สักหน่อย
v
v
ก็ อนุสสติ เป็นธรรมในหมวด สมาธิ
แล้วจะมา ยัดเยียดให้ เทวตานุสสติ เป็น ธรรมหมวดปัญญา(สัมมาทิฐิ) ไปได้อย่างไรกัน ?
v
v
ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสสติ
(ความระลึกถึงเทวดาเนืองๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาว-
*ดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่
เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่า
เหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย
ศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น
สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจาก
โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น
แม้ของเราก็มีอยู่ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล
สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูก
โมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง
เพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม ย่อม
ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบ-
*ร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่
สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ
เทวตานุสสติ ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6756&Z=6837
แสดงความคิดเห็น
กราบไหว้ศาลพระภูมิ ฯลฯ คือ ความงมงาย ไม่ใช่ สัมมาทิฐิ ครับท่าน
คิอ นอกจาก ชาวพุทธบางกลุ่ม จะงมงาย ในเรื่องการกราบไหว้ศาลพระภูมิ พระพรหม ฯลฯ อย่างไร้สติ แล้ว
ยังมีความพยายามจะ "มั่วนิ่ม" ถึงกับบอกว่า พฤติกรรม ไร้สติ ของพวกเขา เป็นสัมมาทิฐิ เสียด้วย
เขาอ้างข้อความจากพระสูตรนี้ครับ
แต่ .... เป็นการอ้าง ด้วยความเข้าใจผิด
v
v
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
ถามว่า เข้าใจผิดตรงไหน ?
เขาเข้าใจผิด หรือ พยายามมั่วนิ่มว่า การกราบไหว้ บูชา บวงสรวง ฯลฯ เป็นสัมมาทิฐิ
ทั้งๆที่ พระพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสอย่างนั้น และ เนื้อความจากพระสูตร ก็ไม่ได้มีความมุ่งหมายอย่างนั้นเลย
กล่าวคือ สัมมาทิฐิ เป็นเรื่องของ ความเห็น ไม่ใช่เรื่องการกระทำ นะครับ
แล้ว ข้อความจากพระสูตรนึ้ ชึ้ให้เห็น "สาระ" ในเรื่องอะไร ?
พระพุทธเจ้าทรงชึ้ให้เห็นถึง ความเห็นชอบ คือ ความเชื่อในเรื่องกรรม ว่าทุกๆการกระทำ ย่อมมึผล
แต่ว่า การกระทำนั้นๆ จะส่งผลอย่างไร ? ดี หรือ ร้าย ? และควรกระทำ หรือไม่ ? ...... นั่นมันเป็นอึกประเด็นหนึ่ง นะครับ
นั่นจึงหมายความว่า ความเป็นสัมมาทิฐิ ตามพระสูตรนี้ ไม่ได้บอกว่า การกราบไหว้ศาลพระภูมิ ไหว้พระพรหม บูชา บวงสรวง ฯลฯ เป็นสัมมาทิฐิ สักหน่อย
แต่ทรงหมายถึง ความเห็น หรือ ความเชื่อว่า ทุกๆการกระทำย่อมส่งผล เชื่อในเหตุ เชื่อในปัจจัย นี้ต่างหาก ที่เป็นสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
กรณีเช่นนึ้ จึงเหมือนกับว่า ชาวพุทธบางพวก กำลังพยายาม กล่าวตู่ บิดเบือน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
เพื่อมารับรอง รับใช้ มิจฉาทิฐิ ความงมงายของพวกตนเสียมากกว่า จะเป็นการ ทำนุบำรุงรักษาพระธรรมวินัย นะครับ
อนุโมทนา ครับท่าน
v
v
วาทะ ๓
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ เจ ภวํ ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ ชาวโอกกลชนบท.
บทว่า วสฺสภญฺญา ได้แก่ ชน ๒ พวก คือพวกวัสสะและพวกภัญญะ.
บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ
บทว่า นตฺถิกวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วย่อมไม่มีผล.
ชนผู้มีวาทะดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวลงแน่นอนในทัสสนะ ๓ ประการเหล่านี้.
ถามว่า ก็การกำหนดแน่นอนแห่งทัสสนะเหล่านี้ มีได้อย่างไร?
ตอบว่า ก็บุคคลผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้ นั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน สาธยายอยู่ พิจารณาอยู่ มิจฉาสติของบุคคลผู้นั้นย่อมตั้งมั่นในอารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล เมื่อกายแตกย่อมขาดสูญ จิตของผู้นั้นย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป. ในชวนะที่หนึ่งยังพอแก้ไขได้ ในชวนะที่สองเป็นต้นก็ยังพอแก้ไขได้เหมือนกัน. แต่ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงแก้ไขไม่ได้ เป็นผู้มีปกติไม่หวนกลับ เช่นกับภิกษุชื่ออริฏฐกัณฏกะ.
ในบรรดาทัสสนะเหล่านั้น บางคนก้าวลงสู่ทัสสนะเดียว บางคน ๒ ทัสสนะ บางคน ๓ ทัสสนะ จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับต่อจากชาตินั้น จะป่วยกล่าวไปไยที่จะไปสู่พระนิพพาน สัตว์นี้ชื่อว่า เป็นหลักตอแห่งวัฏฏะ เฝ้าแผ่นดิน โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มีการออกไปจากภพ แม้ชนพวกวัสสะและภัญญะก็ได้เป็นเช่นนี้.
บทว่า นินฺทาพฺยาโรสอุปารมภภยา ความว่า เพราะกลัวตนจะถูกนินทา ถูกกระทบกระทั่ง และถูกว่าร้าย.
คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252