ที่มา :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1477901024
ความขัดแย้งระหว่าง ผู้ผลิตสินค้า กับ ช่องทางการจัดจำหน่าย นั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
โดยเฉพาะเมื่อ ใหญ่ ต่อ ใหญ่ มาเจอกัน
ทางร้านค้าก็อยากได้ มาร์จิ้น เพิ่มมากขึ้น
ส่วนเจ้าของสินค้าก็อยากจ่ายต่ำ ๆ เท่าเดิม
เป็นปัญหาคลาสสิกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
และในอนาคตก็คงยังมีอยู่
ล่าสุด กรณี เซเว่นอีเลฟเว่น กับ เอเอไอส เรื่องบัตรเติมเงินและบริการเติมเงินของ วัน-ทู-คอล ก็เช่นกัน
ในอดีต ทาง 7-11 เคยคิดมาร์จิ้นแค่ 5%
ในขณะที่ค่ายอื่นอย่างดีแทค-ทรูมูฟ เอชเจอเข้าไป 7-8%
ตัวเลขที่แตกต่างกันเป็นเรื่อง อำนาจต่อรอง ครับ
วัน-ทู-คอล มีฐานลูกค้าแบบเติมเงินมากกว่าทรูมูฟ เอช และดีแทค ประมาณเท่าตัวแบบเทียบกันค่ายต่อค่าย
วัน-ทู-คอล มี 33 ล้านราย
ดีแทค ประมาณ 20 ล้าน
และ ทรูมูฟ เอช 17 ล้าน
เมื่อฐานลูกค้าเยอะกว่าก็จ่าย มาร์จิ้น น้อยกว่า
แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องการต่อรองในอดีต
มาวันนี้เมื่อ 7-11 เสนอขยับ มาร์จิ้น เพิ่มขึ้นอีก 2% จาก 5%
หรือเพิ่มขึ้น 40% จากเดิม
แบบนี้ก็เป็นเรื่องสิครับ
เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องการต่อรองทางธุรกิจตามปกติทั่วไป
7-11ก็อยากได้รายได้เพิ่ม
รายได้เพิ่มนั้นนอกจากได้มาจากการเพิ่มยอดขายในร้านแล้ว
หนทางหนึ่งก็คือขึ้นมาร์จิ้น หรือ เอ็นทรานซ์ฟี จากเจ้าของสินค้า
ทาง 7-11 อาจอธิบายเหตุผลว่าขอแค่ขยับ มาร์จิ้น ขึ้นมาเท่ากับรายอื่น
เพราะที่ผ่านมาห่างกันมากไป
5% กับ 7% ห่างกันตั้ง 2% หรือ 40%
สินค้าอื่น ๆ ในร้านเจ้าใหญ่ที่ขายดีก็ไม่เคยเสียมาร์จิ้นต่ำกว่าคู่แข่งที่ขายได้น้อย ๆ มากขนาดนี้
นี่คือ มุมของ 7-11
ถ้าเป็นการต่อรองตามปกติธรรมดา อาจจะจบการเจรจาที่ 6%
7-11 ก็ได้เงินเพิ่มขึ้น และมีเหตุผลที่อธิบายกับเจ้าอื่นได้เพราะฐานลูกค้าต่างกันมาก
แต่เกมนี้แปลกครับ เพราะเจรจาหาข้อยุติไม่ได้
อย่าลืมว่า 7-11 กับทรูมูฟ เอช มีเจ้าของคนเดียวกัน
คือ ตระกูลเจียรวนนท์
และตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ คือ คนที่เข้ามารับไม้ต่อจากคุณธนินท์
บารมีของเขาในวันนี้ไม่ได้อยู่แค่ ทรู เพียงที่เดิม
สังเกตไหมครับว่าช่วงหลัง ๆ ร้าน 7-11 จะเต็มไปด้วยสินค้าของ ทรูมูฟ เอช
เด่นชัดมาก
เช่นเดียวกับอาหารในร้านส่วนใหญ่ก็มาจาก ซีพี
เรื่องแบบนี้ปกติธรรมดา และเข้าใจได้ครับ
ถามว่าเกมนี้ ทรูมูฟ เอช เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
ตอบแบบมั่นใจได้เลย
ไม่ทราบ ครับ 555
รู้อย่างเดียวว่าไม่ว่าหมากจะขยับไปทางไหน
เจียรวนนท์ และ ทรูมูฟ เอช ก็ได้
กรณีแรก ถ้าต่อรองเพิ่ม มาร์จิ้น จาก เอไอเอส สำเร็จ
7-11 ก็มีรายได้เพิ่ม
ส่วน เอไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งก็แบกต้นทุนเพิ่ม
กรณีที่สอง ถ้าต่อรองไม่สำเร็จ ล้มโต๊ะเจรจา
7-11 รายได้อาจจะลดลงนิดหน่อย
เพราะยอดขายของเขาปีละประมาณ 400,000 ล้านบาท
หายไป 1,000-1,200 ล้านบาท
ขนหน้าแข้งแค่พลิ้วไหวเท่านั้นเอง
แต่ ทรูมูฟ เอช ได้เต็ม ๆ
เพราะเมื่อคู่แข่งขาดช่องทางการเติมเงินที่มีประสิทธิภาพไป
เขาก็ได้เปรียบทันที
สามารถโฆษณาทับได้เต็มที่ว่าทรูมูฟ เอช เติมเงินสะดวกกว่า
เกมนี้ถ้าใช้ภาษาหมากรุก
เขาเรียกว่า ทรูมูฟ เอช รุกฆาตครับ
ศึก "เติมเงิน" มือถือ คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์
ความขัดแย้งระหว่าง ผู้ผลิตสินค้า กับ ช่องทางการจัดจำหน่าย นั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
โดยเฉพาะเมื่อ ใหญ่ ต่อ ใหญ่ มาเจอกัน
ทางร้านค้าก็อยากได้ มาร์จิ้น เพิ่มมากขึ้น
ส่วนเจ้าของสินค้าก็อยากจ่ายต่ำ ๆ เท่าเดิม
เป็นปัญหาคลาสสิกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
และในอนาคตก็คงยังมีอยู่
ล่าสุด กรณี เซเว่นอีเลฟเว่น กับ เอเอไอส เรื่องบัตรเติมเงินและบริการเติมเงินของ วัน-ทู-คอล ก็เช่นกัน
ในอดีต ทาง 7-11 เคยคิดมาร์จิ้นแค่ 5%
ในขณะที่ค่ายอื่นอย่างดีแทค-ทรูมูฟ เอชเจอเข้าไป 7-8%
ตัวเลขที่แตกต่างกันเป็นเรื่อง อำนาจต่อรอง ครับ
วัน-ทู-คอล มีฐานลูกค้าแบบเติมเงินมากกว่าทรูมูฟ เอช และดีแทค ประมาณเท่าตัวแบบเทียบกันค่ายต่อค่าย
วัน-ทู-คอล มี 33 ล้านราย
ดีแทค ประมาณ 20 ล้าน
และ ทรูมูฟ เอช 17 ล้าน
เมื่อฐานลูกค้าเยอะกว่าก็จ่าย มาร์จิ้น น้อยกว่า
แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องการต่อรองในอดีต
มาวันนี้เมื่อ 7-11 เสนอขยับ มาร์จิ้น เพิ่มขึ้นอีก 2% จาก 5%
หรือเพิ่มขึ้น 40% จากเดิม
แบบนี้ก็เป็นเรื่องสิครับ
เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องการต่อรองทางธุรกิจตามปกติทั่วไป
7-11ก็อยากได้รายได้เพิ่ม
รายได้เพิ่มนั้นนอกจากได้มาจากการเพิ่มยอดขายในร้านแล้ว
หนทางหนึ่งก็คือขึ้นมาร์จิ้น หรือ เอ็นทรานซ์ฟี จากเจ้าของสินค้า
ทาง 7-11 อาจอธิบายเหตุผลว่าขอแค่ขยับ มาร์จิ้น ขึ้นมาเท่ากับรายอื่น
เพราะที่ผ่านมาห่างกันมากไป
5% กับ 7% ห่างกันตั้ง 2% หรือ 40%
สินค้าอื่น ๆ ในร้านเจ้าใหญ่ที่ขายดีก็ไม่เคยเสียมาร์จิ้นต่ำกว่าคู่แข่งที่ขายได้น้อย ๆ มากขนาดนี้
นี่คือ มุมของ 7-11
ถ้าเป็นการต่อรองตามปกติธรรมดา อาจจะจบการเจรจาที่ 6%
7-11 ก็ได้เงินเพิ่มขึ้น และมีเหตุผลที่อธิบายกับเจ้าอื่นได้เพราะฐานลูกค้าต่างกันมาก
แต่เกมนี้แปลกครับ เพราะเจรจาหาข้อยุติไม่ได้
อย่าลืมว่า 7-11 กับทรูมูฟ เอช มีเจ้าของคนเดียวกัน
คือ ตระกูลเจียรวนนท์
และตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า คุณศุภชัย เจียรวนนท์ คือ คนที่เข้ามารับไม้ต่อจากคุณธนินท์
บารมีของเขาในวันนี้ไม่ได้อยู่แค่ ทรู เพียงที่เดิม
สังเกตไหมครับว่าช่วงหลัง ๆ ร้าน 7-11 จะเต็มไปด้วยสินค้าของ ทรูมูฟ เอช
เด่นชัดมาก
เช่นเดียวกับอาหารในร้านส่วนใหญ่ก็มาจาก ซีพี
เรื่องแบบนี้ปกติธรรมดา และเข้าใจได้ครับ
ถามว่าเกมนี้ ทรูมูฟ เอช เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
ตอบแบบมั่นใจได้เลย
ไม่ทราบ ครับ 555
รู้อย่างเดียวว่าไม่ว่าหมากจะขยับไปทางไหน
เจียรวนนท์ และ ทรูมูฟ เอช ก็ได้
กรณีแรก ถ้าต่อรองเพิ่ม มาร์จิ้น จาก เอไอเอส สำเร็จ
7-11 ก็มีรายได้เพิ่ม
ส่วน เอไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งก็แบกต้นทุนเพิ่ม
กรณีที่สอง ถ้าต่อรองไม่สำเร็จ ล้มโต๊ะเจรจา
7-11 รายได้อาจจะลดลงนิดหน่อย
เพราะยอดขายของเขาปีละประมาณ 400,000 ล้านบาท
หายไป 1,000-1,200 ล้านบาท
ขนหน้าแข้งแค่พลิ้วไหวเท่านั้นเอง
แต่ ทรูมูฟ เอช ได้เต็ม ๆ
เพราะเมื่อคู่แข่งขาดช่องทางการเติมเงินที่มีประสิทธิภาพไป
เขาก็ได้เปรียบทันที
สามารถโฆษณาทับได้เต็มที่ว่าทรูมูฟ เอช เติมเงินสะดวกกว่า
เกมนี้ถ้าใช้ภาษาหมากรุก
เขาเรียกว่า ทรูมูฟ เอช รุกฆาตครับ