กงเกวียนกำเกวียน โดย สรกล อดุลยานนท์
28 November 2010
ใครจะไปนึกว่าวันหนึ่ง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะอยู่ในชะตากรรมเดียวกับ “ทักษิณ ชินวัตร”
ต้องเผชิญหน้ากับ “กลุ่มพันธมิตร” ที่เคยรักใคร่กลมเกลียวกันมาก่อน
และเป็น “แนวร่วม” ในการขับไล่รัฐบาล “ทักษิณ-สมัคร-สมชาย”
ก่อนหน้านี้ในการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ “อภิสิทธิ์” วิเคราะห์สถานการณ์แบบโยน “ระเบิด” ถามทางว่า “ม็อบพันธมิตร” ที่นัดชุมนุมกันในวันที่ 11 ธันวาคม มีบางคนต้องการสร้าง “เงื่อนไข” ให้ “กองทัพ” ทำรัฐประหาร
“รัฐประหาร” ในมุมของ “อภิสิทธิ์” คือ การพบกันระหว่าง “เชื้อเพลิง” กับ “ไฟ”
“เชื้อเพลิง” คือกลุ่มพันธมิตร
“ไฟ” คือ “กองทัพ”
ถ้ามีแต่ “เชื้อเพลิง” แต่ “ไฟ” ไม่เล่นด้วย การรัฐประหารก็ไม่เกิด
ดังนั้น ประเด็นเรื่อง “รัฐประหาร” ที่ “อภิสิทธิ์” จุดขึ้นมา หลายคนจึงมองว่า “ระเบิด” ที่โยนออกมาพุ่งเป้าไปที่ “กองทัพ”
มากกว่า “กลุ่มพันธมิตร”
จำได้ว่า “อภิสิทธิ์” เคยมีวาทกรรมหนึ่งที่คมคายอย่างยิ่ง
“การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป”
ครับ การรัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากที่เมืองไทยว่างเว้นการรัฐประหารมานานถึง 15 ปี
เมื่อการแก้ปัญหาทางการเมืองที่สุดแสนจะ “โบราณ” และ “ล้าหลัง” ถูกนำมาใช้อีกครั้ง “ความเป็นไปได้” ที่จะเกิดการรัฐประหารครั้งต่อไปจึงสูงขึ้น
“อภิสิทธิ์” ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
แต่พูดสั้นๆ แค่นี้ เพราะ “เนื้อหา” ส่วนใหญ่ “อภิสิทธิ์” จะพูดถึง “เงื่อนไข” ที่เกิดจากนักการเมืองมากกว่า
ในหนังสือ “ร้อยฝันวันฟ้าใหม่” ของ “อภิสิทธิ์”
เขาบอกว่าการป้องกันการรัฐประหารที่ดีที่สุด คือ นักการเมืองต้องไม่สร้างเงื่อนไขแบบนี้อีก
ความผิดพลาดของ “อภิสิทธิ์” คือเขาไม่ปิดประตูตาย ปฏิเสธการรัฐประหารอย่างสิ้นเชิง
ระดับต่อให้เป้าหมายดีแค่ไหน นักการเมืองเลวเพียงใด “กองทัพ” ก็ไม่มีสิทธิรัฐประหาร
แต่แง้มประตูไว้นิดๆ ว่ารัฐประหารจะชอบธรรมเมื่อนักการเมืองสร้าง “เงื่อนไข” ขึ้นมา
ย้อนอดีตกลับไป จำ “เงื่อนไข” หรือ “เหตุผล” 4 ข้อที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ใช้ในการรัฐประหารได้ไหมครับ
1.เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน
2.รัฐบาลทุจริต ประพฤติมิชอบ และเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องอย่างกว้างขวาง
3.แทรกแซงอำนาจขององค์กรอิสระ
4.ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
อ่าน “เงื่อนไข” เหล่านี้แล้ว “อภิสิทธิ์” ก็มีสิทธิหนาวๆ ร้อนๆ
เพราะถ้าสถานการณ์เมื่อปี 2549 ยังบอกว่าสังคมไทยแตกแยก ปี 2553 ก็คงอยู่ในระดับแตกละเอียด
ส่วนเรื่องทุจริต รัฐบาลชุดนี้ไม่แพ้รัฐบาล “ทักษิณ” เผลอๆ จะชนะแบบขาดลอยด้วย
เรื่องแทรกแซงองค์กรอิสระ
คลิป “วิรัช” กับ “เลขาฯศาล” ก็ชัดยิ่งกว่าชัด
ส่วนเรื่อง “สถาบันเบื้องสูง” ครั้งก่อนกลุ่มพันธมิตรเป็นคนเปิดประเด็นโจมตี “ทักษิณ”
แต่ “อภิสิทธิ์” ไม่โดน มีแต่ข้อหาใหม่…”ขายชาติ”
ไม่แปลกที่วันนี้ “อภิสิทธิ์” จะมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ขึ้นมา
ทั้งที่ พล.อ.สนธิเคยสารภาพกับ “สำราญ รอดเพชร” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ว่าเขาคิดเงื่อนไข 4 ข้อนี้ขึ้นมาเมื่อวันที่ 20 กันยายนหลังยึดอำนาจสำเร็จแล้ว
“4 ข้อนี้เราคิดขึ้นมาฉุกเฉิน ว่างั้นเถอะ ที่คิดว่ามีเหตุมีผล…”
ใครที่คิดว่าการรัฐประหารเมื่อปี 2549 จะเป็นการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
ให้กลับไปอ่านคำพูดของ “อภิสิทธิ์” อีกครั้ง
“การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป”
…อาเมน
มติชนออนไลน์, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(ที่มา คอลัมน์ สถานีความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553)
Credit :
https://mynoz.wordpress.com/2010/11/28/%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%81/
กงเกวียนกำเกวียน โดย สรกล อดุลยานนท์
28 November 2010
ใครจะไปนึกว่าวันหนึ่ง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จะอยู่ในชะตากรรมเดียวกับ “ทักษิณ ชินวัตร”
ต้องเผชิญหน้ากับ “กลุ่มพันธมิตร” ที่เคยรักใคร่กลมเกลียวกันมาก่อน
และเป็น “แนวร่วม” ในการขับไล่รัฐบาล “ทักษิณ-สมัคร-สมชาย”
ก่อนหน้านี้ในการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ “อภิสิทธิ์” วิเคราะห์สถานการณ์แบบโยน “ระเบิด” ถามทางว่า “ม็อบพันธมิตร” ที่นัดชุมนุมกันในวันที่ 11 ธันวาคม มีบางคนต้องการสร้าง “เงื่อนไข” ให้ “กองทัพ” ทำรัฐประหาร
“รัฐประหาร” ในมุมของ “อภิสิทธิ์” คือ การพบกันระหว่าง “เชื้อเพลิง” กับ “ไฟ”
“เชื้อเพลิง” คือกลุ่มพันธมิตร
“ไฟ” คือ “กองทัพ”
ถ้ามีแต่ “เชื้อเพลิง” แต่ “ไฟ” ไม่เล่นด้วย การรัฐประหารก็ไม่เกิด
ดังนั้น ประเด็นเรื่อง “รัฐประหาร” ที่ “อภิสิทธิ์” จุดขึ้นมา หลายคนจึงมองว่า “ระเบิด” ที่โยนออกมาพุ่งเป้าไปที่ “กองทัพ”
มากกว่า “กลุ่มพันธมิตร”
จำได้ว่า “อภิสิทธิ์” เคยมีวาทกรรมหนึ่งที่คมคายอย่างยิ่ง
“การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป”
ครับ การรัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากที่เมืองไทยว่างเว้นการรัฐประหารมานานถึง 15 ปี
เมื่อการแก้ปัญหาทางการเมืองที่สุดแสนจะ “โบราณ” และ “ล้าหลัง” ถูกนำมาใช้อีกครั้ง “ความเป็นไปได้” ที่จะเกิดการรัฐประหารครั้งต่อไปจึงสูงขึ้น
“อภิสิทธิ์” ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
แต่พูดสั้นๆ แค่นี้ เพราะ “เนื้อหา” ส่วนใหญ่ “อภิสิทธิ์” จะพูดถึง “เงื่อนไข” ที่เกิดจากนักการเมืองมากกว่า
ในหนังสือ “ร้อยฝันวันฟ้าใหม่” ของ “อภิสิทธิ์” เขาบอกว่าการป้องกันการรัฐประหารที่ดีที่สุด คือ นักการเมืองต้องไม่สร้างเงื่อนไขแบบนี้อีก
ความผิดพลาดของ “อภิสิทธิ์” คือเขาไม่ปิดประตูตาย ปฏิเสธการรัฐประหารอย่างสิ้นเชิง
ระดับต่อให้เป้าหมายดีแค่ไหน นักการเมืองเลวเพียงใด “กองทัพ” ก็ไม่มีสิทธิรัฐประหาร
แต่แง้มประตูไว้นิดๆ ว่ารัฐประหารจะชอบธรรมเมื่อนักการเมืองสร้าง “เงื่อนไข” ขึ้นมา
ย้อนอดีตกลับไป จำ “เงื่อนไข” หรือ “เหตุผล” 4 ข้อที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ใช้ในการรัฐประหารได้ไหมครับ
1.เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน
2.รัฐบาลทุจริต ประพฤติมิชอบ และเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องอย่างกว้างขวาง
3.แทรกแซงอำนาจขององค์กรอิสระ
4.ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
อ่าน “เงื่อนไข” เหล่านี้แล้ว “อภิสิทธิ์” ก็มีสิทธิหนาวๆ ร้อนๆ
เพราะถ้าสถานการณ์เมื่อปี 2549 ยังบอกว่าสังคมไทยแตกแยก ปี 2553 ก็คงอยู่ในระดับแตกละเอียด
ส่วนเรื่องทุจริต รัฐบาลชุดนี้ไม่แพ้รัฐบาล “ทักษิณ” เผลอๆ จะชนะแบบขาดลอยด้วย
เรื่องแทรกแซงองค์กรอิสระ
คลิป “วิรัช” กับ “เลขาฯศาล” ก็ชัดยิ่งกว่าชัด
ส่วนเรื่อง “สถาบันเบื้องสูง” ครั้งก่อนกลุ่มพันธมิตรเป็นคนเปิดประเด็นโจมตี “ทักษิณ”
แต่ “อภิสิทธิ์” ไม่โดน มีแต่ข้อหาใหม่…”ขายชาติ”
ไม่แปลกที่วันนี้ “อภิสิทธิ์” จะมีอาการหนาวๆ ร้อนๆ ขึ้นมา
ทั้งที่ พล.อ.สนธิเคยสารภาพกับ “สำราญ รอดเพชร” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ว่าเขาคิดเงื่อนไข 4 ข้อนี้ขึ้นมาเมื่อวันที่ 20 กันยายนหลังยึดอำนาจสำเร็จแล้ว
“4 ข้อนี้เราคิดขึ้นมาฉุกเฉิน ว่างั้นเถอะ ที่คิดว่ามีเหตุมีผล…”
ใครที่คิดว่าการรัฐประหารเมื่อปี 2549 จะเป็นการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
ให้กลับไปอ่านคำพูดของ “อภิสิทธิ์” อีกครั้ง
“การมีรัฐประหารทุกครั้ง เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ของการมีรัฐประหารครั้งต่อไป”
…อาเมน
มติชนออนไลน์, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
(ที่มา คอลัมน์ สถานีความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2553)
Credit : https://mynoz.wordpress.com/2010/11/28/%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%81/