
เรียกให้ถูก "กุหลาบพันปลี" ไม่ใช่ กุหลาบพันปี รบกวนมาช่วยกันหาข้อมูลคะจากที่ได้ยินข้อมูลมา ขอสอบถามผู้รู้ว่าอันไหนน่าจะถูกต้องที่สุดค่ะ
กุหลาบพันปลี
กุหลาบพันปลี (อังกฤษ: Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชนิด
แต่เนื่องจากมีดอกเหมือนกุหลาบและ สังเกตุที่ช่อๆ นึงจะมีหลายดอกมากเขาเรียกดอกลักษณะแบบนี้ว่า "ปลี" (ไม่ใช่ 1000 ปี ถึงออกดอก หรือลักษณะต้นที่มีมอสขึ้นแล้วเรียกพันปี) อันนี้คนเข้าใจผิดกันมากแม้กระทั้งนักดูพรรณไม้รุ่นใหม่ๆถึงกลางๆ
คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ῥόδον rhódon หมายถึง "กุหลาบ" และ δένδρον déndron หมายถึง "ต้นไม้"
ลักษณะกุหลาบพันปลีเป็นไม้พุ่ม กระจายพันธุ์ในแถบทวีปเอเชีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย โดยเฉพาะในทวีปเอเชียจะพบตามภูเขาสูงตามแถบแนวเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่จากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร โดยพบได้จนถึงจีนตอนใต้ และเกาหลี จนถึงญี่ปุ่น
กุหลาบพันปีชนิด Rhododendron arboreum ยังเป็นไม้ดอกประจำประเทศเนปาลอีกด้วย
ชนิดที่พบในประเทศไทย
คำแดง (Rhododendron arboreum) มีลักษณะดอกสีแดง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นต้น
ดอกสามสี (Rhododendron lyi) มีลักษณะดอกสีขาวออกเป็นช่อสั้น ๆ กระจายพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
คำขาวเชียงดาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ของดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์ เท่านั้น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมกุหลาบแดงมลายู (Rhododendron malayanum) มีลักษณะดอกสีแดง เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ มีความสูงของต้น 1-2 เมตร พบในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น
กุหลาบพันปีลังกาหลวง (Rhododendron microphyton) มีลักษณะดอกสีขาวมีจุดสีแดง พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ออกดอกและผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
คำขาว (Rhododendron moulmainense) มีลักษณะดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกคำแดง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น ยอดเขาบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
กุหลาบแดง (Rhododendron simsii) พบในภาคอีสานที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร
นมวัวดอย (Rhododendron surasianum) ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่งช่อละ 3-4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนบางบริเวณ บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 เมตร ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา
กุหลาบป่า (Rhododendron taliense) ดอกมีสีขาวครีมจนถึงสีเหลือง ลักษณะดอกเป็นช่ออัดแน่นแบบร่ม ดอกย่อยมีจำนวน 10–15 ดอก ในประเทศไทยพบเฉพาะยอดเขาสูงในภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, ดอยเชียงดาว, ดอยลังกาหลวง เท่านั้น
กายอม หรือ กุหลาบขาว (Rhododendron veitchianum) มีลักษณะเป็นกาฝาก อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป
กุหลาบพันปลี ที่ใช้ล.ลิงสะกด เป็นข้อมูลจากอ.อะไรจำชื่อไม่ได้ แต่ท่านเป็นที่ปรึกษาและให้การแนะนำกับสมเด็จย่าสมัยท่านศึกษาพันธุ์ไม้
ข้อมูลบางส่วนและรูปภาพจาก google
เรียกให้ถูก "กุหลาบพันปลี" ไม่ใช่ กุหลาบพันปี
เรียกให้ถูก "กุหลาบพันปลี" ไม่ใช่ กุหลาบพันปี รบกวนมาช่วยกันหาข้อมูลคะจากที่ได้ยินข้อมูลมา ขอสอบถามผู้รู้ว่าอันไหนน่าจะถูกต้องที่สุดค่ะ
กุหลาบพันปลี
กุหลาบพันปลี (อังกฤษ: Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชนิด
แต่เนื่องจากมีดอกเหมือนกุหลาบและ สังเกตุที่ช่อๆ นึงจะมีหลายดอกมากเขาเรียกดอกลักษณะแบบนี้ว่า "ปลี" (ไม่ใช่ 1000 ปี ถึงออกดอก หรือลักษณะต้นที่มีมอสขึ้นแล้วเรียกพันปี) อันนี้คนเข้าใจผิดกันมากแม้กระทั้งนักดูพรรณไม้รุ่นใหม่ๆถึงกลางๆ
คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ῥόδον rhódon หมายถึง "กุหลาบ" และ δένδρον déndron หมายถึง "ต้นไม้"
ลักษณะกุหลาบพันปลีเป็นไม้พุ่ม กระจายพันธุ์ในแถบทวีปเอเชีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย โดยเฉพาะในทวีปเอเชียจะพบตามภูเขาสูงตามแถบแนวเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่จากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร โดยพบได้จนถึงจีนตอนใต้ และเกาหลี จนถึงญี่ปุ่น
กุหลาบพันปีชนิด Rhododendron arboreum ยังเป็นไม้ดอกประจำประเทศเนปาลอีกด้วย
ชนิดที่พบในประเทศไทย
คำแดง (Rhododendron arboreum) มีลักษณะดอกสีแดง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์, อุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นต้น
ดอกสามสี (Rhododendron lyi) มีลักษณะดอกสีขาวออกเป็นช่อสั้น ๆ กระจายพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
คำขาวเชียงดาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ของดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์ เท่านั้น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมกุหลาบแดงมลายู (Rhododendron malayanum) มีลักษณะดอกสีแดง เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ มีความสูงของต้น 1-2 เมตร พบในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น
กุหลาบพันปีลังกาหลวง (Rhododendron microphyton) มีลักษณะดอกสีขาวมีจุดสีแดง พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ออกดอกและผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
คำขาว (Rhododendron moulmainense) มีลักษณะดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกคำแดง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น ยอดเขาบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
กุหลาบแดง (Rhododendron simsii) พบในภาคอีสานที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร
นมวัวดอย (Rhododendron surasianum) ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่งช่อละ 3-4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนบางบริเวณ บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 เมตร ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา
กุหลาบป่า (Rhododendron taliense) ดอกมีสีขาวครีมจนถึงสีเหลือง ลักษณะดอกเป็นช่ออัดแน่นแบบร่ม ดอกย่อยมีจำนวน 10–15 ดอก ในประเทศไทยพบเฉพาะยอดเขาสูงในภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, ดอยเชียงดาว, ดอยลังกาหลวง เท่านั้น
กายอม หรือ กุหลาบขาว (Rhododendron veitchianum) มีลักษณะเป็นกาฝาก อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป
กุหลาบพันปลี ที่ใช้ล.ลิงสะกด เป็นข้อมูลจากอ.อะไรจำชื่อไม่ได้ แต่ท่านเป็นที่ปรึกษาและให้การแนะนำกับสมเด็จย่าสมัยท่านศึกษาพันธุ์ไม้
ข้อมูลบางส่วนและรูปภาพจาก google