ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งจืดและเค็มลดลง อันเป็นผลมาจากการผันแปรของภูมิอากาศ มีการทำประมงด้วยการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเครื่องประมงให้สามารถจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มาก เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
จากการลดลงของจำนวนสัตว์น้ำ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจับสัตว์น้ำมากขึ้น โดยเฉพาะประมงพื้นบ้าน ซึ่งทำการประมงจากเครื่องมือที่ประดิษฐ์จากมือล้วนๆ โดยไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง จากสถานการณ์นี่เอง ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในการฟื้นฟูและอนุรักษ์สัตว์น้ำมากขึ้น อย่างเช่น บ้านเกาะเตียบ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร ชุมชน 60 ครัวเรือน ที่ร่วมตัวกันอย่างเหนียวแน่นในการอนุรักษ์สัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์ที่เพียงกับการทำประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน ด้วยการทำ “ธนาคารปู” โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนแบบบูรณาการ
ธนาคารปูม้า คือการนำแม่ปูม้า ที่มีไข่แก่ติดหน้าท้อง มาฝากไว้ในกระชังที่อยู่ในทะเลหรือในถังน้ำในโรงเรือน เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกขากหน้าท้อง จึงจะนำแม่ปูม้าไปขาย ไข่ที่ถูกฟักออก ก็จะถูกปล่อยสูธรรมชาติ จนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่ ต่อไป
โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนแบบบูรณาการ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของปูม้า ซึ่งระยะเวลาที่แม่ปูม้าอยู่ในธนาคารปู สังเกตได้ง่ายๆคือ แม่ปูม้าที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องจะมีสีต่างๆ กันออกไป เนื่องจากไข่แก่ไม่เท่ากัน เช่น ไข่ที่มีสีส้ม-เหลือง ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 4-7 วัน ไข่ที่มีสีน้ำตาล ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 2-4 วัน ไข่ที่มีสีเทา ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 1-3 วัน และไข่ที่มีสีดำ ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 1-2 วัน ซึ่งไข่สีดำ คือไข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวอ่อน ซึ่งแม่ปู 1 ตัว สามารถผลิตไข่ได้จำนวน 229,538 -2,859,061 ฟอง โดยวงจรชีวิตของปู จะแบ่งดังนี้ คือ ระยะแรกเรียกว่า ระยะ โซ
คือเป็นไข่ปูม้าที่ถูกฟักออกมาแล้ว อายุ 1-10 วัน ซึ่งจะมีปริมาณ 650,000 ตัว ระยะที่2 คือ ระยะเมก้าโลปา คือเป็นลูกปูม้าน้อย ที่มีอายุ 10-15 วัน ระยะที่3 คือ ระยะ Young Crab เป็นลูกปูม้าที่มีอายุ 15-19 วัน และปูม้าที่สามารถวางไข่ได้ จะมีอายุ 3-5 เดือน และ ปูม้า1ตัว สามารถผลิตไข่ได้จำนวน 229,538 -2,859,061 ฟอง เฉลี่ยเท่ากับ 998,292 ฟอง ซึ่งหากทุกคนช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ด้วยการไม่จับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ หรือจับพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์น้ำขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค ก็จะช่วยให้มีปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นได้
ธนาคารปูม้า
ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งจืดและเค็มลดลง อันเป็นผลมาจากการผันแปรของภูมิอากาศ มีการทำประมงด้วยการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเครื่องประมงให้สามารถจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มาก เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
จากการลดลงของจำนวนสัตว์น้ำ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจับสัตว์น้ำมากขึ้น โดยเฉพาะประมงพื้นบ้าน ซึ่งทำการประมงจากเครื่องมือที่ประดิษฐ์จากมือล้วนๆ โดยไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง จากสถานการณ์นี่เอง ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในการฟื้นฟูและอนุรักษ์สัตว์น้ำมากขึ้น อย่างเช่น บ้านเกาะเตียบ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร ชุมชน 60 ครัวเรือน ที่ร่วมตัวกันอย่างเหนียวแน่นในการอนุรักษ์สัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์ที่เพียงกับการทำประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน ด้วยการทำ “ธนาคารปู” โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนแบบบูรณาการ
ธนาคารปูม้า คือการนำแม่ปูม้า ที่มีไข่แก่ติดหน้าท้อง มาฝากไว้ในกระชังที่อยู่ในทะเลหรือในถังน้ำในโรงเรือน เมื่อแม่ปูม้าเขี่ยไข่ออกขากหน้าท้อง จึงจะนำแม่ปูม้าไปขาย ไข่ที่ถูกฟักออก ก็จะถูกปล่อยสูธรรมชาติ จนเติบโตเป็นปูม้าขนาดใหญ่ ต่อไป
โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนแบบบูรณาการ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของปูม้า ซึ่งระยะเวลาที่แม่ปูม้าอยู่ในธนาคารปู สังเกตได้ง่ายๆคือ แม่ปูม้าที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องจะมีสีต่างๆ กันออกไป เนื่องจากไข่แก่ไม่เท่ากัน เช่น ไข่ที่มีสีส้ม-เหลือง ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 4-7 วัน ไข่ที่มีสีน้ำตาล ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 2-4 วัน ไข่ที่มีสีเทา ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 1-3 วัน และไข่ที่มีสีดำ ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 1-2 วัน ซึ่งไข่สีดำ คือไข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวอ่อน ซึ่งแม่ปู 1 ตัว สามารถผลิตไข่ได้จำนวน 229,538 -2,859,061 ฟอง โดยวงจรชีวิตของปู จะแบ่งดังนี้ คือ ระยะแรกเรียกว่า ระยะ โซ คือเป็นไข่ปูม้าที่ถูกฟักออกมาแล้ว อายุ 1-10 วัน ซึ่งจะมีปริมาณ 650,000 ตัว ระยะที่2 คือ ระยะเมก้าโลปา คือเป็นลูกปูม้าน้อย ที่มีอายุ 10-15 วัน ระยะที่3 คือ ระยะ Young Crab เป็นลูกปูม้าที่มีอายุ 15-19 วัน และปูม้าที่สามารถวางไข่ได้ จะมีอายุ 3-5 เดือน และ ปูม้า1ตัว สามารถผลิตไข่ได้จำนวน 229,538 -2,859,061 ฟอง เฉลี่ยเท่ากับ 998,292 ฟอง ซึ่งหากทุกคนช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ด้วยการไม่จับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ หรือจับพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์น้ำขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค ก็จะช่วยให้มีปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นได้