การสะกดนามสกุลพระราชทานในกรณีที่มีเครื่องหมายบนตัวอักษรโรมันนั้น ควรเขียนอย่างไร ตามรูปแบบเดิมได้เลยหรือไม่ ?

ผมมีคำถามเดี่ยวกับการสะกดนามสกุลพระราชทาน ซึ่งผมค้นคว้าพบว่าหลายนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นมีพระราชนิยมในการระบุอักษรโรมันเอาไว้ให้ตรงตามรากภาษา หรือพ้องรูปในคำนั้นๆ โดยเฉพาะในนามสกุลพระราชทาน อย่างไรก็ตามผมมีข้อสงสัยว่านามสกุลหลายๆ นามสกุลที่มีเครื่องหมายบนตัวอักษรโรมันหรือที่เราเรียกว่า (Circumflex) ซึงปรากฎอยู่ในหลายนามสกุลที่พระราชทาน จำเป็นจะต้องรักษารูปตามที่พระราชทานหรือไม่ หรืออย่างไร?
เช่น
ชยางคานนท์ Jaya^ngananda
จะเขียนเป็น Jayangananda หรือเขียน Jaya^ngananda ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาดี
ชยาศวิน Jayasvin หรือเขียน Jaya^svin ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาดี
ชลวิจารณะ Jalavicha^rna หรือเขียน Jalavicha^rna ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาดี

ด้วยแรกเริ่มไม่มีข้อสงสัย แต่การเขียนอักษรโรมันเพื่อเทียบอักษรในหนังสือราชการหรือเอกสารต่างๆ ตามการถ่ายอักษรเป็นโรมันนั้น ตัวอักษรที่มีเครื่องหมายบนอักษรโรมันนั้น ทำได้โดยยาก หรืออาจทำได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดข้อสงสัยว่าควรสะกดอย่างไร ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่