สวัสดีครับ
วันนี้ก็มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับทีวีที่ญี่ปุ่นมาอีกแล้ว น่าสนใจดี เกี่ยวกับ EPG ครับ
เรามาชมมาอ่านกันครับ
-------------------------
* กระทู้นี้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อเพิ่ม หรือ แก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด จะแก้ในตัวกระทู้เลยนะครับ โดยถ้าแก้จะขีดฆ่าข้อมูลเดิม แล้วเติมข้อมูลใหม่ลงไป
-------------------------
ที่ญี่ปุ่นทีวีอนาล็อกจะใช้ระบบ NTSC แบบเดียวกับอเมริกา แต่จะเป็นสเปคปรับปรุง ที่เรียกว่า NTSC-J (เหมือนจะต่างที่ตอนแปลงสัญญาณบางจุด แต่ข้อมูลหายากครับ อันนี้ผมก็ไม่รู้ต่างกันยังไง) ตรงนี้ไม่ใช่ประเด็น
ถ้าเป็นสเปคยุโรปอย่าง PAL ที่จริงใช้ Teletext แทนก็ได้ครับ เรียกเป็นแผง ใส่เลขเมนู รอข้อมูลวนมาถึง ซึ่งของญี่ปุ่นไม่มีให้ใช้
EPG ที่ใช้บนระบบทีวีอนาล็อกของญี่ปุ่นนั้นเรียกว่าระบบ "ADAMS" ครับ เป็นระบบที่ทาง NTT กับช่อง TV Asahi ร่วมกันพัฒนาและเริ่มใช้งานเดือนมิถุนายน ค.ศ.1997 โดยใช้กับทีวีอนาล็อกภาคพื้นดินทั่วประเทศ กับทีวีดาวเทียมอนาล็อก BS 4ช่อง (NHK BS 1/2, WOWOW, BS Hi)
ตัวระบบของมันก็คือการแทรกข้อมูลตัวอักษรที่เป็นดิจิตอล มากับสัญญาณภาพ (สามารถส่งดิจิตอลได้ แต่ยังส่งได้แค่ Data เสริมครับ เล็กๆน้อยๆ Teletext ก็หลักการเดียวกัน ส่งได้น้อย จึงต้องรอเวียนข้อมูล)
โดยใน 1 เส้น จะใส่ได้ 4 ตัวอักษร รวมทั้งหมด 60 เส้น (ตามมาตรฐาน NTSC) จะได้มากที่สุด 5280 ตัวอักษรต่อวินาที
การส่งสัญญาณ EPG จะรวมส่งจากช่องเครือ TV Asahi ในแต่ละโซน (ปล่อย EPG ของทุกช่องในโซนมาให้) แล้วเอามารวมข้อมูลกันในหน้า EPG ของเครื่องรับ โดยจะส่งข้อมูลช่วงหัวค่ำของทุกๆวันครับ (ถ้าเครื่องรับ Standby อยู่ มันก็จะดึงข้อมูลเข้ามาเอง)
โดยหน้า EPG จะแสดงผลเหมือนกับ EPG ของทีวีดิจิตอลเลยครับ แต่จะไม่แสดงรายละเอียดรายการมากนัก แล้วก็ไม่แสดงโลโก้ช่อง แบบการส่งทางดิจิตอลทั้งภาคพื้นดิน, ดาวเทียม และเคเบิ้ล
* สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกล่อง Recoders ครับ แล้วก็พวกทีวีรุ่น Hi-end หน่อย (รองรับดาวเทียม BS ในตัว) ของ Sharp, Toshiba, NEC, Hitachi ครับ
อีกระบบที่คล้ายกันกับของ ADAMS ก็คือ G Guide ซึ่งมีอยู่ทั้งแบบอนาล็อกกับดิจิตอล ความต่างอยู่ที่ G Guide ของทีวีอนาล็อก จะส่งจาก 1 ช่องต่อ 1 โซน โดยจะส่งผ่านช่องเครือข่ายของ TBS ทั่วประเทศครับ ข้อมูลก็จะเหมือนกับ ADAMS ข้อดีคือขึ้นข้อมูลทุกช่องในโซนที่เราอยู่ ต่างจาก ADAMS ที่แต่ละช่องส่งกันเอง (G Guide รวมส่งให้นั่นเอง)
โดยการใช้งานก็ไปตั้งไว้ว่าความถี่ไหนเป็น Host โดยเลือกความถี่ช่องเครือ TBS โดยส่ง 1 วัน 5 เวลาครับ อย่าปิดเครื่องรับตอนเค้าส่งข้อมูลมาเป็นพอ (ไม่ได้ส่งมาตลอด) จะต่างจากของ ADAMS ที่ไม่ต้องเลือกความถี่ Host
(สังเกตที่สีชมพูครับ นั่นคือความถี่ Host ที่เราจะต้องเลือกไว้ มีเขียนในคู่มือครับ ว่าอยู่จังหวัดไหน ให้เลือกความถี่อะไร)
* สำหรับ G Guide จะอยู่ในกล่อง Recorder และทีวีของ Pioneer, Panasonic. Sony ครับ
อีกรูปแบบนึง แต่ว่าไม่ได้ดึงผ่านสัญญาณทีวี ก็คือ iNET เป็นการดึงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตครับ ข้อดีของระบบนี้คือมี EPG จากทุกระบบทั้ง CS/BS รวมถึง Sukapa! (Pay TV) ดึงเข้ามาด้วย สำหรับไว้ดูผังรายการเพื่อบันทึกรายการทีวี (ต่อสายเชื่อมระหว่างกล่อง Recorder กับกล่อง Sukapa! ด้วยสาย i-Link สามารถสั่งบันทึกจากกล่อง Recoder ได้เลย) แต่ไม่มีผังของทีวีดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้งานระบบนี้แล้วครับ (พวกเครื่องรับที่รับ BS/CS ดิจิตอลได้ ก็รับผัง EPG ได้โดยตรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ iNET ก็ได้)
วิธีการก็คือจูนช่องเข้ามา แล้วก็ใส่เลขไปรษณีย์เข้าไป ตัวเครื่องรับจะดึงข้อมูล EPG มาลงให้เราเองครับ ตามโซนที่ตั้งไว้ เช่น ใส่เลขไปรษณีย์เขตโตเกียว ก็จะขึ้น EPG ของช่องทีวีโซนโตเกียว แต่เราก็ต้องเข้าไปกำหนดเองอีกทีนึงโดยดึงช่องเข้ามาให้ตรงกับ Code (ทุกช่องจะมีโค้ดกำกับอยู่ เขียนไว้ในคู่มือของทีวีครับ) พวกช่องดาวเทียม เราก็ตั้งค่าเมนูให้มันดึงข้อมูลมาด้วยไปเลือกช่องขึ้นมาเอง ซึ่งการที่จะมีข้อมูล EPG จากระบบนี้ได้ ตัวเครื่องรับจะต้องต่อเน็ตตลอดเวลา
* ระบบนี้ใช้ได้เฉพาะกล่อง Recoder, คอมที่รองรับสัญญาณทีวี กับทีวีสเปคสูงๆหน่อย ปัจจุบันไม่มีมาให้แล้วครับ (ระบบ iNET สามารถใช้ผังร่วมกับ EPG ช่องดิจิตอลได้)
Credit ข้อมูล :
https://ja.wikipedia.org/wiki/ADAMS
http://pc.watch.impress.co.jp/docs/article/20010712/key173.htm
https://www.toshiba.co.jp/regza/bd_dvd/arc/products/lineup/digital_wepg.html
https://www.toshiba.co.jp/regza/bd_dvd/arc/products/hdd/rd-xv44_02.html
-------------------------
[ทีวีญี่ปุ่น] EPG บนระบบอนาล็อก
วันนี้ก็มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับทีวีที่ญี่ปุ่นมาอีกแล้ว น่าสนใจดี เกี่ยวกับ EPG ครับ
เรามาชมมาอ่านกันครับ
-------------------------
* กระทู้นี้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เพื่อเพิ่ม หรือ แก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด จะแก้ในตัวกระทู้เลยนะครับ โดยถ้าแก้จะขีดฆ่าข้อมูลเดิม แล้วเติมข้อมูลใหม่ลงไป
-------------------------
ที่ญี่ปุ่นทีวีอนาล็อกจะใช้ระบบ NTSC แบบเดียวกับอเมริกา แต่จะเป็นสเปคปรับปรุง ที่เรียกว่า NTSC-J (เหมือนจะต่างที่ตอนแปลงสัญญาณบางจุด แต่ข้อมูลหายากครับ อันนี้ผมก็ไม่รู้ต่างกันยังไง) ตรงนี้ไม่ใช่ประเด็น
ถ้าเป็นสเปคยุโรปอย่าง PAL ที่จริงใช้ Teletext แทนก็ได้ครับ เรียกเป็นแผง ใส่เลขเมนู รอข้อมูลวนมาถึง ซึ่งของญี่ปุ่นไม่มีให้ใช้
EPG ที่ใช้บนระบบทีวีอนาล็อกของญี่ปุ่นนั้นเรียกว่าระบบ "ADAMS" ครับ เป็นระบบที่ทาง NTT กับช่อง TV Asahi ร่วมกันพัฒนาและเริ่มใช้งานเดือนมิถุนายน ค.ศ.1997 โดยใช้กับทีวีอนาล็อกภาคพื้นดินทั่วประเทศ กับทีวีดาวเทียมอนาล็อก BS 4ช่อง (NHK BS 1/2, WOWOW, BS Hi)
ตัวระบบของมันก็คือการแทรกข้อมูลตัวอักษรที่เป็นดิจิตอล มากับสัญญาณภาพ (สามารถส่งดิจิตอลได้ แต่ยังส่งได้แค่ Data เสริมครับ เล็กๆน้อยๆ Teletext ก็หลักการเดียวกัน ส่งได้น้อย จึงต้องรอเวียนข้อมูล)
โดยใน 1 เส้น จะใส่ได้ 4 ตัวอักษร รวมทั้งหมด 60 เส้น (ตามมาตรฐาน NTSC) จะได้มากที่สุด 5280 ตัวอักษรต่อวินาที
การส่งสัญญาณ EPG จะรวมส่งจากช่องเครือ TV Asahi ในแต่ละโซน (ปล่อย EPG ของทุกช่องในโซนมาให้) แล้วเอามารวมข้อมูลกันในหน้า EPG ของเครื่องรับ โดยจะส่งข้อมูลช่วงหัวค่ำของทุกๆวันครับ (ถ้าเครื่องรับ Standby อยู่ มันก็จะดึงข้อมูลเข้ามาเอง)
โดยหน้า EPG จะแสดงผลเหมือนกับ EPG ของทีวีดิจิตอลเลยครับ แต่จะไม่แสดงรายละเอียดรายการมากนัก แล้วก็ไม่แสดงโลโก้ช่อง แบบการส่งทางดิจิตอลทั้งภาคพื้นดิน, ดาวเทียม และเคเบิ้ล
* สำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกล่อง Recoders ครับ แล้วก็พวกทีวีรุ่น Hi-end หน่อย (รองรับดาวเทียม BS ในตัว) ของ Sharp, Toshiba, NEC, Hitachi ครับ
อีกระบบที่คล้ายกันกับของ ADAMS ก็คือ G Guide ซึ่งมีอยู่ทั้งแบบอนาล็อกกับดิจิตอล ความต่างอยู่ที่ G Guide ของทีวีอนาล็อก จะส่งจาก 1 ช่องต่อ 1 โซน โดยจะส่งผ่านช่องเครือข่ายของ TBS ทั่วประเทศครับ ข้อมูลก็จะเหมือนกับ ADAMS ข้อดีคือขึ้นข้อมูลทุกช่องในโซนที่เราอยู่ ต่างจาก ADAMS ที่แต่ละช่องส่งกันเอง (G Guide รวมส่งให้นั่นเอง)
โดยการใช้งานก็ไปตั้งไว้ว่าความถี่ไหนเป็น Host โดยเลือกความถี่ช่องเครือ TBS โดยส่ง 1 วัน 5 เวลาครับ อย่าปิดเครื่องรับตอนเค้าส่งข้อมูลมาเป็นพอ (ไม่ได้ส่งมาตลอด) จะต่างจากของ ADAMS ที่ไม่ต้องเลือกความถี่ Host
(สังเกตที่สีชมพูครับ นั่นคือความถี่ Host ที่เราจะต้องเลือกไว้ มีเขียนในคู่มือครับ ว่าอยู่จังหวัดไหน ให้เลือกความถี่อะไร)
* สำหรับ G Guide จะอยู่ในกล่อง Recorder และทีวีของ Pioneer, Panasonic. Sony ครับ
อีกรูปแบบนึง แต่ว่าไม่ได้ดึงผ่านสัญญาณทีวี ก็คือ iNET เป็นการดึงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตครับ ข้อดีของระบบนี้คือมี EPG จากทุกระบบทั้ง CS/BS รวมถึง Sukapa! (Pay TV) ดึงเข้ามาด้วย สำหรับไว้ดูผังรายการเพื่อบันทึกรายการทีวี (ต่อสายเชื่อมระหว่างกล่อง Recorder กับกล่อง Sukapa! ด้วยสาย i-Link สามารถสั่งบันทึกจากกล่อง Recoder ได้เลย) แต่ไม่มีผังของทีวีดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้งานระบบนี้แล้วครับ (พวกเครื่องรับที่รับ BS/CS ดิจิตอลได้ ก็รับผัง EPG ได้โดยตรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ iNET ก็ได้)
วิธีการก็คือจูนช่องเข้ามา แล้วก็ใส่เลขไปรษณีย์เข้าไป ตัวเครื่องรับจะดึงข้อมูล EPG มาลงให้เราเองครับ ตามโซนที่ตั้งไว้ เช่น ใส่เลขไปรษณีย์เขตโตเกียว ก็จะขึ้น EPG ของช่องทีวีโซนโตเกียว แต่เราก็ต้องเข้าไปกำหนดเองอีกทีนึงโดยดึงช่องเข้ามาให้ตรงกับ Code (ทุกช่องจะมีโค้ดกำกับอยู่ เขียนไว้ในคู่มือของทีวีครับ) พวกช่องดาวเทียม เราก็ตั้งค่าเมนูให้มันดึงข้อมูลมาด้วยไปเลือกช่องขึ้นมาเอง ซึ่งการที่จะมีข้อมูล EPG จากระบบนี้ได้ ตัวเครื่องรับจะต้องต่อเน็ตตลอดเวลา
* ระบบนี้ใช้ได้เฉพาะกล่อง Recoder, คอมที่รองรับสัญญาณทีวี กับทีวีสเปคสูงๆหน่อย ปัจจุบันไม่มีมาให้แล้วครับ (ระบบ iNET สามารถใช้ผังร่วมกับ EPG ช่องดิจิตอลได้)
Credit ข้อมูล :
https://ja.wikipedia.org/wiki/ADAMS
http://pc.watch.impress.co.jp/docs/article/20010712/key173.htm
https://www.toshiba.co.jp/regza/bd_dvd/arc/products/lineup/digital_wepg.html
https://www.toshiba.co.jp/regza/bd_dvd/arc/products/hdd/rd-xv44_02.html
-------------------------