[ทีวีดิจิตอลญี่ปุ่น/เมกา/บราซิล/ปินส์] เลขช่องก็มีย่อยลงไปอีกกับตัวจุด ( . )

สวัสดีครับ

วันนี้ไปกันเร็ว กระทู้วันนี้จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ Multi Channel และเลขช่องย่อย ที่ย่อยลงไปจากเลขช่องทั่วไป ซึ่งก็คือเลขช่องหลังจุด ให้พอเห็นภาพ เผื่อว่าได้ไปใช้ทีวีตามประเทศเหล่านี้แล้วงงว่าจะกดเลขยังไง และมีที่มายังไงครับ ไม่ลงเทคนิคมาก เน้นการใช้งานครับ

-----
คำนิยามในกระทู้
- โซน = พื้นที่ออกอากาศโทรทัศน์ในเมืองหรือจังหวัดนั้นๆ โดยแต่ละโซนจะมีช่องไม่เท่ากัน
-----

ที่ผมใส่ไว้หัวกระทู้หลายประเทศ ก็เพราะเนื้อหาที่จะพูดถึงเรื่องช่องย่อยนั้น จะเกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอลระบบ ATSC (อเมริกา, เกาหลีใต้) และ ISDB (ญี่ปุ่น, บราซิล, ฟิลิปปินส์) ครับ

* ผมเคยพูดถึงเรื่องของฟิลิปปินส์ว่าทีวีดิจิตอลจะใช้ระบบไหน (เลือกแล้วแต่มีมติต่อเพราะต้องสรุประบบภายในปี 2015 ว่าตามอาเซียนหรือจะใช้ระบบญี่ปุ่น) สรุปว่าใช้ ISDB-T นะครับ ระบบญี่ปุ่น แต่เป็นเวอร์ชั่น Inter ซึ่งส่งบีบอัดภาพแบบ H.264 ส่งมาได้ประมาณ 1 ปีแล้วครับในเขตเมือง Manila และเมืองใกล้เคียง แต่ยังอยู่สถานะ Test กันเป็นส่วนใหญ่ครับ รัฐบาลวางแผนเปลี่ยนผ่านประมาณ 5ปี แต่ทีวีที่ขายในฟิลิปปินส์เป็น DVB-T2 หมด ฉะนั้น ต่อกล่องถ้าอยากดูครับ (เพราะทีวีที่เข้าไปขายสเปคอาเซียนครับ)

พูดถึงของ ATSC ก่อน โดยเน้นไปที่ทีวีที่อเมริกาครับ

ที่อเมริกา แต่ละสถานี จะมีอยู่ 1 Mux ซึ่งจำนวนช่องใน Mux ก็แล้วแต่ว่ามีการรับเป็นเครือข่ายช่องไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับการบริหารของแต่ละสถานี (ช่องใหญ่ไม่ได้คุมหมดครับ บริษัทท้องถิ่นนั้นๆเค้าเลือก แต่ถ้าสถานีนั้น ช่องใหญ่เป็นเจ้าของ เค้าก็จัดเอง) ในอเมริกา มีทั้งสถานีของช่องใหญ่ กับสถานีอิสระ (Independent) ถ้าโซนบริการนั้นมีคนต่างชาติเยอะ ก็เป็นไปได้ที่จะมีสถานีของคนชาตินั้นๆอยู่ด้วย

ทีวีดิจิตอลในอเมริกา นิยมอิงเลขช่อง (Virtual channel) ตามชื่อช่องหรือเลขช่องเดิมในระบบอนาล๊อก แม้จะอยู่ความถี่อื่นก็ตาม (แต่ก็มีหลายสถานีที่ปิดอนาล๊อกแล้วเอาความถี่นั้นมาใช้ส่งทีวีดิจิตอล โดยย้ายจากความถี่เดิมที่ใช้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน)

โดยที่การแสดงผลเลขช่อง จะใช้รูปแบบ เลขช่องหลัก . เลขช่องย่อย
เลขหลังจุดคือช่องย่อยภายใน Mux

ซึ่งการกดรีโมทนั้น ถ้ากดเลขลงไปเฉยๆ จะเป็นช่องหลักอย่างเดียว อยากได้ช่องย่อย ให้กดปุ่ม " . " หรือ " - " บนรีโมท (แล้วแต่ยี่ห้อเค้าจะใช้สัญลักษณ์ตัวไหน) โดยกดเลขหลัก ตามด้วยจุด ตามด้วยเลขย่อย แต่ถ้ากดขึ้นลง ก็ไล่เรียงช่องปกติ เจอทุกช่องที่มี  



ยกตัวอย่างสถานี LA 18 ในเขตโซน Los Angeles ครับ (เป็นสถานีของคนเอเชีย ที่จริงใน LA มีช่องเวียดนาม กัมพูชา ด้วยนะครับ)



สมมติว่าผมกดเลข 18 แค่นั้น (กด 1 แล้วก็ 8) = ก็จะเป็นช่อง LA - 18 (18.1)

ถ้าผมอยากดูช่อง MBC-D ซึ่งต้องกดเลข 18.3 ก็กดเป็น -> กด 1 แล้วก็ 8 แล้วก็ "." หรือ "-" ตามด้วย 3 = ได้ดูช่อง MBC-D ที่เลข 18.3 ครับ



สำหรับการกดเลขแบบนี้ เคเบิ้ลทีวีที่อเมริกาไม่ได้นำไปใช้ครับ แต่ใช้การแตกไลน์เลขเป็นกลุ่มๆเยอะๆแทน เลขวิ่งไป 1พันกว่าๆ สุดที่ 2 พัน สำหรับ DirecTV (เลขกระโดดเยอะครับ ช่องซ้ำก็มี) แล้วก็หลักการกดแบบจุด ก็นำไปใช้กับที่เม็กซิโก บราซิล และฟิลิปปินส์ด้วยครับ (2 ประเทศหลังนี้ใช้ระบบ ISDB ซึ่งรองรับการกดเลขย่อย)

แต่ถ้าต้องการดูเฉพาะพวกฟรีทีวีใหญ่ จำแค่เลขช่องหลักพอครับ แล้วกดเลขไปเลย ไม่ต้องกดจุดตามด้วยเลขย่อย เพราะช่องใหญ่เค้าไว้หน้าสุด ก็คือ .1 อยู่แล้วครับ เป็นช่องใน Mux ที่จะเจอก่อน เช่น ช่อง CBS LA เลขช่อง 2.1 ก็กดเลข 2 ตัวเดียว แค่นั้นจบ (แต่บางโซนอยู่เลข 50 60 นู่นก็มี ลองไล่ๆดูครับ)

* ที่เกาหลีใต้ ซึ่งใช้ ATSC นำระบบเลขย่อยใช้กับสถานี EBS สถานีเดียว เพราะมี 2 ช่อง (EBS1 [10.1] กับ EBS2 [10.2]) สถานีอื่น จะใช้ 1 ช่องต่อ 1 Mux ครับ ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบิทเรตวิ่งไปได้ 16-18 Mbps (MPEG2) แต่ถ้าอยู่กับ EBS จะขึ้น 8-10Mbps ต่อช่อง (MPEG2)



-----

ต่อมาเป็นของที่ญี่ปุ่น Only ครับ รูปแบบจะแปลกกว่าของอเมริกา ...เพราะไม่ Full Time...

หลักการของญี่ปุ่นจะใช้หลัก 1 ช่อง ต่อ 1 Mux อยู่แล้ว คล้ายๆรูปแบบของเกาหลีใต้ แต่ว่าจะมีการย่อยช่องออกมาเป็นเลขย่อย แต่ไม่ได้เป็นจุดหรือขีดแบบอเมริกา (ผมเชื่อว่างงกัน)

มาดูหลักการเรียงเลขช่องบนระบบของญี่ปุ่นก่อนครับ

เลขช่องของญี่ปุ่นในทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียม ทีวีเคเบิ้ล ที่เป็นดิจิตอล ตัวเลขช่องที่ส่งมาจากระบบ ไม่มาเป็นเลขหลักหน่วยครับ แต่ตั้งค่าให้อิงกับรีโมทเป็นเลขบนปุ่มรีโมท ส่วนเลขที่อยู่นอกเหนือการปุ่มรีโมท 12 ปุ่ม จะใช้เลขหลักร้อยในการกดรีโมทครับ

ทีวีดิจิตอล หลักสิบ
ทีวีดิจิตอลช่องที่ 1 = ปุ่มรีโมทเลข 1 => ทีวีแสดงผลเลข 011
ทีวีดิจิตอลช่องที่ 5 = ปุ่มรีโมทเลข 5 => ทีวีแสดงผลเลข 051
ทีวีดิจิตอลช่องที่ 12 = ปุ่มรีโมทเลข 12 => ทีวีแสดงผลเลข 121*



ทีวีดาวเทียม/เคเบิ้ล หลักร้อย
ทีวีดาวเทียมBS ช่องที่ 1 = ปุ่มรีโมทเลข 1 => ทีวีแสดงผลเลข 101*
ทีวีดาวเทียมBS ช่องที่ 3 = ปุ่มรีโมทเลข 3 => ทีวีแสดงผลเลข 103*
ทีวีดาวเทียมBS ช่องที่ 5 = ปุ่มรีโมทเลข 5 => ทีวีแสดงผลเลข 151
ทีวีดาวเทียมBS ช่องที่ 11 = ปุ่มรีโมทเลข 11 => ทีวีแสดงผลเลข 211
ทีวีดาวเทียมBS ช่องที่ 12 = ปุ่มรีโมทเลข 12 => ทีวีแสดงผลเลข 222*



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

* รีโมททีวีของญี่ปุ่นมีถึงเลข 12 ครับ (ปุ่มตัวเลข 12 ปุ่ม) โดยปุ่ม 10 จะใช้ร่วมกับเลข 0
* ทีวีดิจิตอล โดยปกติจะมีการใช้เลขถึงแค่ช่อง 10 มียกเว้น 1 ช่อง คือช่องของ Tokyo Open University อยู่ปุ่มเลข 12 (121) ส่งเฉพาะโซนโตเกียวเท่านั้น
* ช่อง BS 200 (รีโมทเลข 10) ไม่ใช่ BS 201 (นั่นเป็นช่องย่อยเค้า) กับ BS 222 (รีโมทเลข 12) ก็ยกเว้นครับ

สำหรับช่องทีวีของญี่ปุ่นที่มีการทำช่องย่อย (マルチ) *ช่องที่กล่าวมาส่ง HD ทั้งหมด
- ช่องทีวีดิจิตอล
- ช่องดาวเทียม BS 1-12 (101-222) + BS 231
ช่องที่เหลือ ไม่มีการทำช่องย่อยครับ และใช้การอิงเลขตามปกติเหมือนช่องทีวีทั่วไปหลักสากล



การทำช่องย่อยของญี่ปุ่นจะมีการทำสูงสุด 3 ช่องย่อย
ถ้าทำ 2 ช่องย่อย ช่องหลักจะเป็นภาพ HD ช่องรองเป็นภาพ SD
ถาทำ 3 ช่องย่อย ทุกช่องใน Mux จะเป็นภาพ SD
ที่เป็นแบบนี้เพราะบิทเรตช่องในแต่ละ Mux มีให้ประมาณ 17 Mbps (Data Rate รวม สูงกว่านี้ แต่ตัดไปเพราะ Datacasting กินไป 2 Mbps แล้วครับ ไหนจะ EPG 8วัน + One Seg + ซับ + รูปโลโก้ช่อง)



* สำหรับบนดาวเทียม BS ช่อง 9 (WOWOW 191,192,193) กับ 10 (Star Channel 200,201,202) จะมีช่องย่อย (Full Time) สถานีละ 3 ช่อง เป็น HD หมดครับ เพราะ Transponder กว้าง และมีการส่งข้าม Transponder กัน

วิธีกดรีโมท สำหรับกดช่องย่อย ก็คือกดช่องหลักไปก่อน เช่น จะเปิด Fuji TV ที่มีช่องย่อย 3 ช่อง 081, 082, 083
มี 3 วิธีหลัก
- Fuji TV อยู่รีโมทเลข 8 ก็กดเลข 8 -> ตามด้วยกดปุ่มเลื่อนช่องขึ้น ก็จะไปช่องย่อยครับ
- กดปุ่ม "チャンネル番号入力" หรือ "3桁入力" แล้วกดเลข 10 -> ช่องหลัก (ในที่นี้กด 8) -> ช่องย่อย (เลือกเอา 1, 2 หรือ 3)
- เข้า EPG "番組表" แล้วเลื่อนไปหาช่องย่อยนั้น แล้วกด OK





แต่ช่องของ BS WOWOW (BS 191, 192, 193) จะล้ำกว่าอีก 1 ขั้น โดยให้เข้าไปช่องหลักก่อน ปุ่มเลข 9 (191) แล้วกดปุ่มสีครับ (ปุ่มสี สำหรับทีวีญี่ปุ่น โคตรมีประโยชน์)



แต่ตามปกติ จะทำกันแค่ 2 ช่องครับ
เท่าที่สังเกต 3 ช่อง จะมีเฉพาะช่อง 12 ซึ่งเป็นช่องของ Tokyo Open University ที่จะชอบย่อยเป็น 3 ช่องย่อยครับ
* สำหรับช่องของ Tokyo Open University การทำช่องย่อยจะต่างจากช่องอื่นตรงที่ว่า เนื้อหารายการทางทีวีดิจิตอลกับดาวเทียมBS เนื้อหาเหมือนกัน (ทีวีดิจิตอล 12 = BS 231) แต่ว่าทางทีวีดิจิตอล อาจจะเปิดหรือไม่เปิดช่องย่อยไว้ แล้วแต่ที่ส่งมา แต่ของดาวเทียมBS จะเปิดเลขไว้ 3 ช่องย่อยตลอด แต่ว่าตามปกติที่ออกอากาศเฉพาะช่องหลัก จะเป็นภาพ HD ย่อยเมื่อไรก็เป็น SD



การเปิดช่องย่อยนั้น บางทีสถานีเค้าก็ตั้งเปิดช่องย่อยไว้เลย แต่ว่าป้อนรายการช่องหลักช่องเดียวตามปกติ
เช่น TV Asahi ทีวีดิจิตอลช่อง 5 (051) เป็น HD เค้าก็เปิดเลข 052 (ย่อย1) กับ 053 (ย่อย2) ไว้ ซึ่งจะเห็นได้บน EPG
ซึ่งถ้าใน Mux มีแค่ช่องเดียว เลขหลักกับเลขย่อย ทีวีจะแสดงผล EPG เป็นผังเดียวกัน ร่วมกันเลย ไม่แยก ตอนกดปุ่มขึ้นลง มันจะข้ามไปช่องหลักช่องต่อไปเลย ไม่เข้าช่องย่อย เพราะทีวีรู้ว่ามันคอนเท้นท์เดียวกัน แต่ถ้ามีรายการวิ่งในช่องย่อย ก็จะเข้าช่องย่อย 052, 053 ปกติ แล้วถึงไปช่องหลักช่องต่อไป 071 อะไรก็ว่าไป (ระบบมันฉลาดมากและละเอียดมาก คิดมารอบคอบหมดเลย)



เมื่อก่อนทำกันบ่อย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำกัน
ในความคิดผม คือ ช่องฟรีทีวีเค้ามีช่องบนดาวเทียม BS อยู่แล้ว ซึ่งดูฟรีด้วย (เว้นแต่ NHK เสียตังค์) หรือจะระบบ CS เสียตังค์อีก พวกรายการสดเค้าสามารถโอนไปออกช่องดาวเทียมเหล่านี้ได้ ถ้าทาง BS เป็น HD (ตอนโอลิมปิก ช่องทาง BS ก็ช่วยถ่ายสดครับ) มันกินบิทเรตช่องครับ ทำให้ HD ภาพแย่ลง ช่องรองเป็นแค่ SD แต่ถ้าเป็นกีฬาสำคัญเค้าก็จะลงฟรีทีวีตามปกติ จะเห็นทำช่องย่อยน้อยมากในแต่ละปี ถ้าบ่อยหน่อยก็ช่องทีวีดิจิตอลเลข 12 โตเกียว กับ NHK E tele ช่อง 2 ครับ ย่อยช่องเป็นรายการสอนหนังสือเป็นครั้งคราว

ในญี่ปุ่นจะมีสถานีเดียวที่ทำช่องย่อย 2 ช่องแบบถาวร ก็คือสถานี TOKYO MX ทีวีอิสระโซนโตเกียวครับ ทำเมื่อ 1 เมษายน 2014
แยกเป็น TOKYO MX1 กับ TOKYO MX2 โดยช่องหลัก ปุ่มรีโมทเลข 9 (091) เป็น HD ช่องย่อย 092 เป็น SD
โดยบิทเรต HD ลดลงจาก 14Mbps เหลือ 10Mbps โดยประมาณ และ SD บิทเรตประมาณ 6Mbps ครับ (สเปค SD ของญี่ปุ่น MPEG2 ส่ง 6 Mbps ครับ)
ขาเมะจะรู้สึกได้ว่าอนิเมะช่วง 2014 ขึ้นมาที่ออกทาง TOKYO MX ภาพจะแตกขึ้น ก็เพราะแบบนี้แหละครับ
* บางทีก็อาจทำ HD คู่ครับ เช่นในรูป รายการหุ้น แต่บิทเรตจะน้อย แต่ตอนออกอากาศหลักๆคือ ช่อง 091 HD, 092 SD




(Datacasting 2Mbps นี้มีคุณอนันต์ เช็คหุ้นได้ เช็คข่าว เช็คอากาศ เช็ครถไฟหยุดวิ่ง วิ่งสด ไม่ต้องเปิดเน็ต แจ่มจริง)

http://www.asuka-xp.com/tokyo-marketwide.html
(ลองเข้าไปดูครับ นั่งอยู่บ้าน ดูหุ้นวิ่ง จิ้มหุ้นที่สนใจซักตัว ดูหุ้นขึ้นๆลงๆแบบสดๆ)

-----

จบกระทู้แล้วครับ เหนื่อยมาก นั่งพิมพ์นานทีเดียว เกือบ1หมื่นตัวอีกษรแล้ว เหลืออีกไม่ถึงร้อย

งั้นก็สวัสดีครับ ขอบคุณที่อ่านครับผม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่