เรื่องมันเริ่มจาก ครูที่โรงเรียนสอนว่าดวงอาทิตย์แรกเกิดมีสีน้ำเงินนะ อ.ในมหาลัยบอกว่า มันก็มีสีเหลืองตั้งแต่เกิดนี่แหละ อืมม ผมเลยลองไปศึกษามา แล้วเอามาเล่าต่อให้เพื่อน ๆ ที่สนใจฟังครับ
\\ ผิดพลาดประการใดสามารถ comment บอกได้นะครับ ด่าได้แต่อย่าแรง 5555
ขอเกริ่นก่อนเข้าเรื่องดวงอาทิตย์นะครับ
รูปนี้คือ HR-Diagram ครับ
source :
https://th.wikipedia.org/wiki/ดาวฤกษ์
HR-Diagram ชื่อเต็ม ๆ คือ Hertzsprung-Russell diagram เป็นผลงานของคุณ Ejnar Hertzsprung และคุณ Henry Norris Russell ครับ เป็นแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่างของดาว ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ ความส่องสว่าง ประเภทของดาวฤกษ์ และอุณหภูมิของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง หรือที่แปลแบบไทย ๆ น่ารัก ๆ อีกชื่อคือ "โชติมาตร" ครับ โดยมันเป็นหน่วยวัดความสว่างของ celestial object ครับ นิยามทางฟิสิกส์หรือสูตรในการคำนวณไม่ขอพูดถึงนะครับ ความส่องสว่างแบ่งเป็น ความส่องสว่างปรากฏ ก็คือความสว่างที่เรามองเห็นนั่นเอง ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะมองเห็นไม่เท่ากันหรือสัตว์ที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีกว่ามนุษย์ก็มองเห็นดาวสว่างแตกต่างกันออกไปครับ โดยมีคุณลุงสมัยกรีกได้แบ่งความสว่างออกเป็น 6 ระดับ ตามความสว่างที่ตาลุงแกมองเห็น ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งสว่างมาก // ปัจจุบันก็ค้นพบดาวที่มีความสว่างมากกว่า 6 หรือน้อยกว่า 1 เป็นภูเขากันเลยหละ //
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ ก็คือความส่องสว่างจริง ๆ ของมันเองนั่นแหละ
ทีนี้เรื่องสี แน่นอนครับทุกคนเห็นดาวแต่ละดวงสีไม่เหมือนกัน เกิดจากอะไร ?? หลายคนบอกว่าเกิดจากชั้นบรรยากาศของโลก อันนั้นก็ถูกครับและนั่นทำให้เกิดการที่เรามองเห็นดาวกระพิบ สีของดาวฤกษ์ต่างกันเกิดจากอุณหภูมิพื้นผิวที่ต่างกันครับ โดยเรียงลำดับอุณหภูมิพื้นผิวจากมากไปน้อยได้ดังนี้
น้ำเงิน -> น้ำเงินขาว -> ขาว -> ขาวเหลือง -> เหลือง -> ส้ม -> แดง
แล้วทีนี้ขนาดหรือมวล เมื่อมีมวลมาก ๆ มากดทับ (ในช่วงดาวเกิด) อุณหภูมิที่แกนกลางก็จะเพิ่มมากขึ้น มวลมากขึ้น ๆ ร้อนขึ้น ๆ ทำให้ดาวที่มีขนาดใหญ่เนี่ยจะมีอุณหภูมิที่สูงตามไปด้วยครับเรียงลำดับเหมือนอุณหภูมิ
มาถึงดวงอาทิตย์ของเรา การที่ดวงอาทิตย์จะมีสีน้ำเงินหรือขาวได้ดวงอาทิตย์ต้องมีแรกเริ่มมากกว่าปัจจุบันอย่างน้อย 20 เท่า ดังนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับที่สมัยก่อนดวงอาทิตย์จะมีสีขาวหรือน้ำเงิน
ก็ดวงอาทิตย์หลอมแก๊สที่พื้นผิวแล้วปล่อยออกมาเป็นพลังงานมันทำให้ดวงอาทิตย์มวลหายไปหรือเปล่า ? นั่นไม่ใช่นะครับ ถ้าสมมติดวงอาทิตย์แรกเกิดเป็นสีขาว ดวงอาทิตย์ต้องใหญ่กว่านี้แล้วก็ร้อนกว่านี้ การที่ปล่อยพลังงานออกไปจนหมดไม่สามารถหลอมไฮโดรเจนได้อีกแล้วไม่ได้ทำให้ดวงอาทิตย์หดเล็กลงนะครับ(ยกเว้นการเป็นดาวนิวตรอนนั่นต้องผ่านการระเบิดมาก่อน) แต่มันจะทำให้ดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นต่างหากเพราะเมื่อไฮโดรเจนหมด ดวงอาทิตย์จะเอาธาตุที่หนักกว่ามาหลอมแทนครับ ทำให้ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดงที่ใหญ่มาก ๆ นั่นเองครับ
สรุป.. ดวงอาทิตย์ปัจจุบันเป็นยังไงแต่ก่อนก็เป็นอย่างนั้นครับ "ดาวฤกษ์ไม่ใช่ผลไม้ที่จะเปลี่ยนสีไปตามอายุ"
ขอบคุณที่อ่านมาก ๆ ครับ สามารถ comment ได้ครับ มันเป็นความรู้ที่ผมรวบรวมและสรุปมา ดังนั้นย่อมมีจุดผิดพลาดได้อยู่แล้วครับ
ปล. รู้สึกว่าจะเคยมีข้อสอบ o-net เคยถามว่าดวงอาทิตย์แรกเกิดมีสีอะไรแล้วเฉลยสีขาวด้วยนะครับ 55555555
ดวงอาทิตย์แรกเกิดมีสีอะไรกันนะ ?
\\ ผิดพลาดประการใดสามารถ comment บอกได้นะครับ ด่าได้แต่อย่าแรง 5555
ขอเกริ่นก่อนเข้าเรื่องดวงอาทิตย์นะครับ
รูปนี้คือ HR-Diagram ครับ
source : https://th.wikipedia.org/wiki/ดาวฤกษ์
HR-Diagram ชื่อเต็ม ๆ คือ Hertzsprung-Russell diagram เป็นผลงานของคุณ Ejnar Hertzsprung และคุณ Henry Norris Russell ครับ เป็นแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่างของดาว ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ ความส่องสว่าง ประเภทของดาวฤกษ์ และอุณหภูมิของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง หรือที่แปลแบบไทย ๆ น่ารัก ๆ อีกชื่อคือ "โชติมาตร" ครับ โดยมันเป็นหน่วยวัดความสว่างของ celestial object ครับ นิยามทางฟิสิกส์หรือสูตรในการคำนวณไม่ขอพูดถึงนะครับ ความส่องสว่างแบ่งเป็น ความส่องสว่างปรากฏ ก็คือความสว่างที่เรามองเห็นนั่นเอง ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะมองเห็นไม่เท่ากันหรือสัตว์ที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีกว่ามนุษย์ก็มองเห็นดาวสว่างแตกต่างกันออกไปครับ โดยมีคุณลุงสมัยกรีกได้แบ่งความสว่างออกเป็น 6 ระดับ ตามความสว่างที่ตาลุงแกมองเห็น ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งสว่างมาก // ปัจจุบันก็ค้นพบดาวที่มีความสว่างมากกว่า 6 หรือน้อยกว่า 1 เป็นภูเขากันเลยหละ //
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ ก็คือความส่องสว่างจริง ๆ ของมันเองนั่นแหละ
ทีนี้เรื่องสี แน่นอนครับทุกคนเห็นดาวแต่ละดวงสีไม่เหมือนกัน เกิดจากอะไร ?? หลายคนบอกว่าเกิดจากชั้นบรรยากาศของโลก อันนั้นก็ถูกครับและนั่นทำให้เกิดการที่เรามองเห็นดาวกระพิบ สีของดาวฤกษ์ต่างกันเกิดจากอุณหภูมิพื้นผิวที่ต่างกันครับ โดยเรียงลำดับอุณหภูมิพื้นผิวจากมากไปน้อยได้ดังนี้
น้ำเงิน -> น้ำเงินขาว -> ขาว -> ขาวเหลือง -> เหลือง -> ส้ม -> แดง
แล้วทีนี้ขนาดหรือมวล เมื่อมีมวลมาก ๆ มากดทับ (ในช่วงดาวเกิด) อุณหภูมิที่แกนกลางก็จะเพิ่มมากขึ้น มวลมากขึ้น ๆ ร้อนขึ้น ๆ ทำให้ดาวที่มีขนาดใหญ่เนี่ยจะมีอุณหภูมิที่สูงตามไปด้วยครับเรียงลำดับเหมือนอุณหภูมิ
มาถึงดวงอาทิตย์ของเรา การที่ดวงอาทิตย์จะมีสีน้ำเงินหรือขาวได้ดวงอาทิตย์ต้องมีแรกเริ่มมากกว่าปัจจุบันอย่างน้อย 20 เท่า ดังนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับที่สมัยก่อนดวงอาทิตย์จะมีสีขาวหรือน้ำเงิน
ก็ดวงอาทิตย์หลอมแก๊สที่พื้นผิวแล้วปล่อยออกมาเป็นพลังงานมันทำให้ดวงอาทิตย์มวลหายไปหรือเปล่า ? นั่นไม่ใช่นะครับ ถ้าสมมติดวงอาทิตย์แรกเกิดเป็นสีขาว ดวงอาทิตย์ต้องใหญ่กว่านี้แล้วก็ร้อนกว่านี้ การที่ปล่อยพลังงานออกไปจนหมดไม่สามารถหลอมไฮโดรเจนได้อีกแล้วไม่ได้ทำให้ดวงอาทิตย์หดเล็กลงนะครับ(ยกเว้นการเป็นดาวนิวตรอนนั่นต้องผ่านการระเบิดมาก่อน) แต่มันจะทำให้ดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นต่างหากเพราะเมื่อไฮโดรเจนหมด ดวงอาทิตย์จะเอาธาตุที่หนักกว่ามาหลอมแทนครับ ทำให้ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดงที่ใหญ่มาก ๆ นั่นเองครับ
สรุป.. ดวงอาทิตย์ปัจจุบันเป็นยังไงแต่ก่อนก็เป็นอย่างนั้นครับ "ดาวฤกษ์ไม่ใช่ผลไม้ที่จะเปลี่ยนสีไปตามอายุ"
ขอบคุณที่อ่านมาก ๆ ครับ สามารถ comment ได้ครับ มันเป็นความรู้ที่ผมรวบรวมและสรุปมา ดังนั้นย่อมมีจุดผิดพลาดได้อยู่แล้วครับ
ปล. รู้สึกว่าจะเคยมีข้อสอบ o-net เคยถามว่าดวงอาทิตย์แรกเกิดมีสีอะไรแล้วเฉลยสีขาวด้วยนะครับ 55555555