พอดีคนรู้จักผม พ่อของเพื่อนไปค้ำประกันให้คนอื่นและแกเสียไปเมื่อต้นปีนี้เองครับ
เลยเป็นกังวลว่า หากช่วงนี้มีเหตุอันใด คนที่ไปค้ำให้เบี้ยวหนี้จะโดนฟ้องมั้ย
ผมจึงรบกวนสอบถามหน่อยนะครับ
แน่ล่ะ กรณีผู้ค้ำตาย ความรับผิดผู้ค้ำยังไงก็ตกไปถึงทายาท
แต่หากเกินระยะเวลา 1 ปีตามกฎหมายมรดก ทายาทยังต้องต้องแบ่งทรัพย์สินไปชำระหนี้ตามภาระที่พ่อค้ำประกันไว้มั้ยเหรอครับ
คือไอ้ผมก็ลองศึกษาข้อกฎหมาย ดู
แต่เห็นมีฎกีา 2 อัน พิพากษา ไม่เหมือนกัน ก็เลย งงเต๊กเลยครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6023/2538
"จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติจากทางราชการให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนของโจทก์และทำสัญญาให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการชดใช้ทุน หากผิดสัญญายอมชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์โดยมี ก. เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ เมื่อปรากฎว่า ก.ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายลงในระหว่างเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดสัญญาและยังไม่ผิดนัด จึงยังไม่มีหนี้ของ ก.ที่โจทก์จะเรียกให้รับผิดได้ สัญญาค้ำประกันของ ก.ที่ทำไว้ต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ตกทอดไปยังทายาท จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของก.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ "
ฎีกา อันนี้บอกทายาทไม่ต้องรับผิด เพราะถือว่าตอนนั้นภาระหนี้ยังไม่เกิด
กับฎีกาที่2
คำพิพากษาฎีกาที่ 1268/ 2555
“ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อพ.ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่1 ตามป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่พ.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาระงับไปเพราะความตายของพ.ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามป.พ.พ.มาตรา1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 จำเลยที่3ซึ่งเป็นทายาทย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของพ.ผู้ตาย แต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน”
ฎีกานี้ บอก ทายาทต้องรับผิด
สรุปกรณีเพื่อนผม หากระยะเวลาเกิน 1 ปี ยังต้องรับผิดอยู่มั้ยเหรอครับ
รบกวนหน่อยนะครับ
รบกวนสอบถามเรื่อง ผู้ค้ำประกันตาย กับ ความรับผิดของทายาท ครับ
เลยเป็นกังวลว่า หากช่วงนี้มีเหตุอันใด คนที่ไปค้ำให้เบี้ยวหนี้จะโดนฟ้องมั้ย
ผมจึงรบกวนสอบถามหน่อยนะครับ
แน่ล่ะ กรณีผู้ค้ำตาย ความรับผิดผู้ค้ำยังไงก็ตกไปถึงทายาท
แต่หากเกินระยะเวลา 1 ปีตามกฎหมายมรดก ทายาทยังต้องต้องแบ่งทรัพย์สินไปชำระหนี้ตามภาระที่พ่อค้ำประกันไว้มั้ยเหรอครับ
คือไอ้ผมก็ลองศึกษาข้อกฎหมาย ดู
แต่เห็นมีฎกีา 2 อัน พิพากษา ไม่เหมือนกัน ก็เลย งงเต๊กเลยครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6023/2538
"จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติจากทางราชการให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนของโจทก์และทำสัญญาให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการชดใช้ทุน หากผิดสัญญายอมชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์โดยมี ก. เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ เมื่อปรากฎว่า ก.ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายลงในระหว่างเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดสัญญาและยังไม่ผิดนัด จึงยังไม่มีหนี้ของ ก.ที่โจทก์จะเรียกให้รับผิดได้ สัญญาค้ำประกันของ ก.ที่ทำไว้ต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ตกทอดไปยังทายาท จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของก.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ "
ฎีกา อันนี้บอกทายาทไม่ต้องรับผิด เพราะถือว่าตอนนั้นภาระหนี้ยังไม่เกิด
กับฎีกาที่2
คำพิพากษาฎีกาที่ 1268/ 2555
“ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อพ.ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่1 ตามป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่พ.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาระงับไปเพราะความตายของพ.ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามป.พ.พ.มาตรา1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 จำเลยที่3ซึ่งเป็นทายาทย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของพ.ผู้ตาย แต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน”
ฎีกานี้ บอก ทายาทต้องรับผิด
สรุปกรณีเพื่อนผม หากระยะเวลาเกิน 1 ปี ยังต้องรับผิดอยู่มั้ยเหรอครับ
รบกวนหน่อยนะครับ