การพัฒนาฟุตบอลไทยให้ไปสู่ระดับเอเชีย (ตอนที่ 1)

กระทู้สนทนา
ผมเชื่อว่าระบบลีกอาชีพที่แข็งแกร่งจะเป็นตัวผลักดันให้เราสามารถไปยืนนะจุดนั้นได้อย่างแน่นอน
ซึ่งถ้ามองว่าลีกอาชีพเป็นปลายยอดของปิรามิด ซึ่งลีกและสโมสรก็ต้องมีการพัฒนาไปมากกว่านี้ด้วย (ขอกล่าวต่อไปในครั้งหน้า)

ส่วนฐานของปิรามิด คือการสร้างนักเตะขึ้นไปหล่อเลี้ยงยอดปิรามิด นั่นก็คือ “เยาวชน”
ปัจจุบันเราได้มีการจัดลีกเยาวชนขึ้นมาแล้วซึ่งก็ถือว่ามาถูกทาง โดยวัตถุประสงค์ของลีกเยาวชน คือ มีเวทีให้เด็กๆในแต่ละช่วงอายุได้มีประสบการณ์จากการแข่งขัน

แต่สิ่งที่ยังขาดหายไปและควรจะลงทุนมากกว่านี้ในตอนนี้ คือการพัฒนาบุคลากรผู้ฝึกสอน
ตอนนี้เรายังมีผู้ฝึกสอนที่มีความรู้ความเข้าใจและผ่านการอบรมน้อยเกินไป
จริงแล้วหลักสูตรระดับ C-license ของ AFC ถ้าผ่านแล้วก็สามารถฝึกสอนระดับเยาวชนได้สบาย
ถามว่าแล้วตอนนี้ทำไมยังไม่ทำ

แน่นอนว่าผู้บริหารสมาคมปัจจุบันท่านก็เห็นปัญหานี้ และกำลังดำเนินการแก้ไข
ปัญหาคือ เรามี Instructor หรือ วิทยากรที่จะมาอบรมผู้ฝึกสอนหรือโค้ช ไม่พียงพอ และที่มีอยู่ปัจจุบัน (วิทยากรต้องได้รับรองจาก AFC) ก็ไม่อยากมาทำหน้าที่ตรงนี้เพราะรายได้จากการคุมทีมดีกว่ามาทำหน้าที่วิทยากร ซึ่งล่าสุดทางสมาคมกำลังเปิดหลักสูตรให้ผู้ที่มี A-license มาเข้ารับการสอบเพื่อเป็น instructor เพิ่มซึ่งผมคิดว่ามาถูกทาง (ผู้ที่จะเป็น Instructor หรือวิทยากรได้ต้องผ่านระดับ A-license ซึ่งปัจจุบันเรามีประมาณเกือบ 100 คน)
แต่การแก้ไขปัญหาเฉพะหน้า ในระหว่างการรอเพิ่มจำนวนวิทยากร ผมเองอยากให้ทางสมาคมจ้างวิทยากรจากต่างประเทศหรือคนไทยที่พร้อมมาทำหลักสูตร C-license เพิ่มให้มากที่สุด

โดยจ้างวิทยากร 2 คน+ผู้ช่วยอีก 2 คน ซึ่งจะสามารถเปิดหลักสูตรได้ประมาณเดือนละ 4 ครั้ง (1 ครั้งมีผู้อบรมได้ไม่เกิน 24 คน) 1 หลักสูตร C-license ใช้เวลา 14 วัน ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปี ประเทศไทยจะมีผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรระดับ C-license ได้อย่างน้อย 1,152 คน โดยจะกระจายการจัดไปในแต่ละภาคแต่ละพื้นที่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ (ตั้งแต่ก่อตั้งสมาคมมาปัจจุบันเรามี C-license ไม่ถึง 1,000 คน)

ค่าใช้จ่าย วิทยากร รวมผู้ช่วย ในเวลา 1 ปี น่าจะใช้งบประมาณประมาณ 3-4 ล้านบาท
ส่วนค่าใช้จ่ายการอบรมนั้น ทางสมาคมอาจจะเก็บเฉพาะส่วนการใช้สถานที่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ไม่รวมค่าตัวผู้ฝึกสอน) ก็จะทำให้ค่าสมัครเรียนไม่สูงจนเกินไป

งบประมาณ 4 ล้านบาทในปีแรกกับการได้ผู้ฝึกสอนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 1,000 คน โดยส่วนตัวผมมองว่าคุ้มค่ามาก
เพราะผู้ฝึกสอนเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจ ในการพัฒนาเยาวชนอย่างมีหลักการ มีทั้งศิลป์ และ ศาสตร์ ในการฝึกสอน จะเข้าใจว่า ในแต่ละช่วงอายุ จะต้องพัฒนาอะไร องค์ประกอบของนักกีฬามีอะไรบ้าง โภชนาการที่ถูกต้อง การพัฒนาความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ องค์ประกอบของความฟิต และอื่นๆ
ตอนหน้า ผมจะมาเล่าถึงแนวทางการพัฒนา เด็ก 5-7 ขวบ และ 7-10 ขวบต่อไป
ท่านใดมีข้อเสนอแนะหรืออยากแลกเปลี่ยนอะไรเพิ่มเติมเชิญนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่