Mon, 2016-10-03 12:37
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
วิเคราะห์ ‘เก้าอี้’ จากรูปในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แปรเปลี่ยนเป็นมโนทัศน์ทางการเมืองที่ถูกใช้และตีความอย่างแพร่หลาย เป็น Pop Culture ของ 6 ตุลาที่ดำรงอยู่ บัณฑิตชี้เป็นภาพสะท้อนความรุนแรงทางการเมืองในสังคมไทยที่ยังไม่จบ
หากจะมีภาพใดของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ตอกตรึงอยู่ในความทรงจำของสังคมไทย ภาพร่างไร้ชีวิตของนักศึกษาถูกแขวนคอห้อยอยู่กับต้นมะขาม ณ ท้องสนามหลวง มีชายผู้หนึ่งยกเก้าอี้ขึ้นเหมือนกำลังจะฟาดไปที่ร่างนั้น รายล้อมด้วยผู้คนที่มองด้วยสายตาและอารมณ์หลายหลากที่ส่งผ่านออกมาทางใบหน้า (แม้จะมีบางคนคิดว่าเป็นฉากในภาพยนตร์ ตามที่พวงทอง ภวัครพันธุ์ แห่งรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวไว้)
‘เก้าอี้’ กลายเป็นภาพที่ถูกฉายซ้ำ ตอกย้ำให้ผู้คนยังคงจดจำว่า เคยเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบและการฆ่าทารุณเกิดขึ้นกลางเมืองหลวงของประเทศไทย ทั้งยังถูกใช้ในงานศิลปะอย่างหลากหลาย เช่น ภาพวาดบนกำแพง ถูกนำไปใช้สื่อความหมายในเพจมานีมีแชร์ แม้กระทั่งถูกนำไปใช้ในความหมายที่ผิดแผกจากความหมายดั้งเดิม
ไปจนถึง ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ ที่กลายเป็นถ้อยคำที่บ่งบอกว่า สังคมไทยยังคงมีจุดเดือดต่ำต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
จาก ‘รูป’ สู่ ‘มโนทัศน์ทางการเมือง’
พจนานุกรมฉบับมติชน นิยามคำว่า ‘เก้าอี้’ ด้วยน้ำเสียงเสียดสีว่า หมายถึง อาวุธหนักประเภทหนึ่งซึ่งมอบเป็นรางวัลแด่คนช่างฝันหรือใช้เป็นบทลงทัณฑ์สำหรับผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง นิยมใช้ฟาดขณะที่ร่างกายลอยอยู่บนอากาศและมีเชือกแขวนคอ โดยมากผู้ที่ใช้อาวุธหนักประเภทนี้มักมองผู้ที่ถูกใช้ไม่ใช่คน โดยเฉพาะไม่ใช่คนไทย
“ไอเดียเรื่องเก้าอี้เป็นภาพสะท้อนหนึ่งของความรุนแรงในสังคมไทย เก้าอี้ 6 ตุลา มันมายังไง ผมคิดว่ามันมาจากป็อป คัลเจอร์ ที่เราเห็นในชีวิตประจำวัน แล้วก็เป็นปรากฏการณ์ที่คนรู้สึกว่าน่าสนใจ เพราะมันอยู่ใกล้ตัวเรามาก แต่มันถูกหยิบมาใช้ในแง่ที่เป็นความหมายทางสังคม ในแง่หนึ่งมันติดใจในสังคมไทย มันปรากฏขึ้นมาในความหมายใหม่ อย่างน้อยที่สุดน่าจะหลัง 20 ปี 6 ตุลา” บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงทัศนะ และกล่าวถึงคำนิยามของพจนานุกรรมฉบับมติชนว่า
“เป็นคำอธิบายที่ผมคิดว่ารวบรัด ชัดเจนที่สุด เพราะฉะนั้นในความหมายหนึ่ง เก้าอี้ถูกใช้ในส่วนที่นอกเหนือจากการเป็นวัฒนธรรมสายตา (Visual Culture) แต่เก้าอี้ถูกใช้ในเชิงคอนเซ็ปต์ทางการเมืองด้วย ทำไมเก้าอี้ 6 ตุลา ถึงกลายจากภาพมาเป็นคำ แสดงว่าภาพถูกแปลความหมายให้เป็นคำ การเคลื่อนตัวจากป็อป คัลเจอร์ที่เราเห็น ก็คือความรุนแรงโหดร้ายว่า ถ้าไม่ใช่คนไทย ถ้าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นคนที่คนไทยไม่ชอบ เป็นคนที่คนไทยรังเกียจ ก็อาจจะถูกจับแขวนคอแล้วก็ฟาดด้วยเก้าอี้”
การที่ ‘เก้าอี้’ จาก 6 ตุลา แปรเปลี่ยนจาก Visual Culture หรือ Visual Politic กลายมาเป็นคำที่สะท้อนคอนเซ็ปต์หรือมโนทัศน์เกี่ยวกับความรุนแรงในสังคมไทยได้ นั่นย่อมแสดงว่าสังคมไทยมีความรับรู้ใหม่เกี่ยวกับ 6 ตุลา จากเดิมที่ 6 ตุลาเป็นความเคลือบแคลง คลุมเครือ ไม่กล้าพูด อย่างน้อย ‘เก้าอี้’ ก็ทำให้หลายต่อหลายคนรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะพูดถึง 6 ตุลา
“อย่างน้อยที่สุดในแง่ความหมายสุดท้ายที่เราพูดถึงว่า มันเป็นสิ่งที่ใช้กระทำกับคนที่เห็นต่างจากความเป็นไทยกระแสหลัก นี่คือการเคลื่อนตัวจากภาพมาเป็นคำ จากภาพมาเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม แต่คนเข้าใจร่วมกันได้”
*ขอซ่อนไว้นะครับเพราะอาจไม่เหมาะเท่าไหร่หากมีการเข้าใจผิด*
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้‘เก้าอี้มั้ยสัส’
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยถูกรวบรัดให้เหลือในคำว่า ‘เก้าอี้’ คำเดียว การแพร่กระจายแนวคิดเรื่อง 6 ตุลา ก็เดินทางออกไปได้เร็วและไกลขึ้น แน่นอน เมื่อผนวกกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ใครๆ ต่างก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
“เมื่อเราเริ่มกล้าพูดถึงในพื้นที่สาธารณะ คนรุ่นที่ไม่ทัน 6 ตุลาก็คงสงสัยและโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลในยุคข่าวสารเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ทำให้คนร่วมสมัยหรือคนรุ่นใหม่เข้าถึงคลิปภาพที่ไม่เคยเห็นในสื่อสาธารณะทั่วไป นี่ก็เป็นช่องทางที่ทำให้คนกลับไปหาร่องรอยของ 6 ตุลาคม ในที่สุดภาพรับรู้และความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับ 6 ตุลาคมจึงถูกนิยามในความหมายใหม่ เพราะในบริบทใหม่ของสังคมการเมืองไทย หลัง 6 ตุลาคม เราคิดว่าคงไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงโดยรัฐ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาคม 2535
"ทำไมเก้าอี้ 6 ตุลา ถึงกลายจากภาพมาเป็นคำ แสดงว่าภาพถูกแปลความหมายให้เป็นคำ การเคลื่อนตัวจากป็อป คัลเจอร์ที่เราเห็น ก็คือความรุนแรงโหดร้ายว่า ถ้าไม่ใช่คนไทย ถ้าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นคนที่คนไทยไม่ชอบ เป็นคนที่คนไทยรังเกียจ ก็อาจจะถูกจับแขวนคอแล้วก็ฟาดด้วยเก้าอี้”
“หลังปี 2540 คนที่ไม่เคยเห็นคลิปก็คงได้เห็นคลิปมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไทยที่ส่อเค้าความรุนแรงมากขึ้น ผมคิดว่าการพูดถึงเรื่องเก้าอี้น่าจะมาก่อนปี 2553 แล้ว เพียงแต่ว่าเป็นการพูดกันเล่นๆ ในหมู่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ในหมู่เว็บบอร์ด จนในที่สุดคำว่าเก้าอี้ มันกลายเป็นการรับรู้ทางการเมืองแบบหนึ่งว่า อ้อ เห็นต่างทางการเมือง เดี๋ยวโดนนะ ในความหมายนี้ 6 ตุลาก็มีความหมายใหม่ โดยเฉพาะตัวเก้าอี้ที่เปิดโอกาสให้คนปัจจุบันยึดโยงกับความรุนแรง 6 ตุลา เก้าอี้กลายเป็นสัญลักษณ์ความรุนแรงทางการเมือง กลายเป็นสัญลักษณ์ของการกระทำต่อคนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างรุนแรง”
ยกตัวอย่างการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเว็บบอร์ดต่างๆ เมื่อปรากฏความเห็นที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่แตกต่างหรือเบี่ยงเบนไปจากความเห็นกระแสหลัก ก็อาจต้องเผชิญกับการโพสต์ว่า ‘เก้าอี้มั้ยสัส’
บัณฑิต อธิบายว่า ‘เก้าอี้’ ถูกแปลงจากมโนทัศน์เรื่องความรุนแรงที่กระทำต่อกันในเชิงกายภาพมาเป็นภาพสะท้อนความรุนแรง
“เก้าอี้มั้ยหรือเก้าอี้เฉยๆ ก็รู้แล้ว นี่คือการดำรงอยู่ของ 6 ตุลา ในป็อป คัลเจอร์ ทั้งที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม”
‘เก้าอี้’ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ
‘เก้าอี้’ อาจทำหน้าที่เป็นไวรัล มาร์เก็ตติ้งของเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่อีกด้านของเหรียญ ‘เก้าอี้’ ก็ไปลดทอนความสลับซับซ้อนและความสำคัญของเหตุการณ์หรือไม่ บัณฑิตมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา
“เวลาเราพูดถึงกรณีปัญหาเรื่องป็อป คัลเจอร์กับการทำให้สาธารณ์ หรือการทำให้ความหมายดั้งเดิมมันหมดไปหรือหลุดจากบริบทเดิม มันเหมือนชักใบให้เรือเสีย แต่ว่าการทำให้สาธารณ์ ในอีกด้านหนึ่งมันทำให้สังคมรู้จักเรื่องราวเหล่านั้นมากขึ้น
“ทีนี้ รู้แล้ว เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ศึกษาทำความเข้าใจหรือเปล่า อันนี้ก็จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคนที่สนใจเรื่องนี้ คือเด็กรุ่นใหม่จำนวนมากเข้าใจ 6 ตุลาผ่านเก้าอี้ ผ่านมานีมีแชร์ มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ความหมายจะถูกพราก ถูกเปลี่ยน แต่ถึงมันจะถูกเปลี่ยนอย่างไร คำว่าเก้าอี้ก็ถูกใช้แทนความรุนแรงในสังคมไทยในความหมายใดความหมายหนึ่งอยู่เสมอ”
คำถามที่เก็บไว้สุดท้าย ทั้งที่ควรเป็นคำถามแรกคือ แล้วทำไมต้องเป็น ‘เก้าอี้’ ทั้งที่มีหลายภาพจากเหตุการณ์เดียวกันปรากฏออกสู่สังคม
“ผมว่าเพราะมันง่าย มันรวบยอด มันแทน มันเป็นสัญลักษณ์ มันคือการสรุปรวบยอดความรุนแรงให้เหลือเพียงภาพไม่กี่ภาพ แต่มันก็ทรงพลังมากๆ มันสื่อให้เห็นว่าความรุนแรงยังไม่จบสิ้นไปจากสังคมไทย วันไหนที่สังคมไทยไม่มีความรุนแรง เก้าอี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายไปเลย แต่วันไหนการใช้ความรุนแรงต่อคนที่เห็นต่างทางการเมืองมันก็กลับมา ผมว่าเก้าอี้มันยังมีชีวิตอยู่”
การมีชีวิตอยู่ของ ‘เก้าอี้’ ในสังคมไทย ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน คงไม่ใช่เป็นเพียงการยืนยันการมีอยู่ของ 6 ตุลา ไม่ใช่แค่เครื่องมือแพร่ระบาดความคิด-ความเชื่อของ 6 ตุลา ในเหลื่อมมุมที่น่าหวั่นวิตกกว่า การที่ ‘เก้าอี้’ ยังมีชีวิตอยู่ บัณฑิตชี้ให้เห็นว่าเพราะความรุนแรงยังไม่ได้หายไปจากสังคมไทย ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ มันอาจกำลังบอกว่า มันใกล้จุดที่คนในสังคมจะใช้ความรุนแรงต่อกัน ‘เก้าอี้’ จึงเกิดใหม่ มีความหมายใหม่ โดยยึดโยงกับ 6 ตุลา ยึดโยงกับความรุนแรงทางการเมืองต่อความเห็นที่แตกต่าง
“6 ตุลายังมีชีวิตอยู่ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่ ความรุนแรงทางการเมืองยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง”
ลืมใส่เครดิต
Credit :
ลาก ‘เก้าอี้’ มานั่งคุย: ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ จากรูปสู่คำ ความรุนแรงยังไม่จบ
http://prachatai.org/journal/2016/10/68170
ลาก ‘เก้าอี้’ มานั่งคุย: ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ จากรูปสู่คำ ความรุนแรงยังไม่จบ
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
วิเคราะห์ ‘เก้าอี้’ จากรูปในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แปรเปลี่ยนเป็นมโนทัศน์ทางการเมืองที่ถูกใช้และตีความอย่างแพร่หลาย เป็น Pop Culture ของ 6 ตุลาที่ดำรงอยู่ บัณฑิตชี้เป็นภาพสะท้อนความรุนแรงทางการเมืองในสังคมไทยที่ยังไม่จบ
หากจะมีภาพใดของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ตอกตรึงอยู่ในความทรงจำของสังคมไทย ภาพร่างไร้ชีวิตของนักศึกษาถูกแขวนคอห้อยอยู่กับต้นมะขาม ณ ท้องสนามหลวง มีชายผู้หนึ่งยกเก้าอี้ขึ้นเหมือนกำลังจะฟาดไปที่ร่างนั้น รายล้อมด้วยผู้คนที่มองด้วยสายตาและอารมณ์หลายหลากที่ส่งผ่านออกมาทางใบหน้า (แม้จะมีบางคนคิดว่าเป็นฉากในภาพยนตร์ ตามที่พวงทอง ภวัครพันธุ์ แห่งรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวไว้)
‘เก้าอี้’ กลายเป็นภาพที่ถูกฉายซ้ำ ตอกย้ำให้ผู้คนยังคงจดจำว่า เคยเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบและการฆ่าทารุณเกิดขึ้นกลางเมืองหลวงของประเทศไทย ทั้งยังถูกใช้ในงานศิลปะอย่างหลากหลาย เช่น ภาพวาดบนกำแพง ถูกนำไปใช้สื่อความหมายในเพจมานีมีแชร์ แม้กระทั่งถูกนำไปใช้ในความหมายที่ผิดแผกจากความหมายดั้งเดิม
ไปจนถึง ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ ที่กลายเป็นถ้อยคำที่บ่งบอกว่า สังคมไทยยังคงมีจุดเดือดต่ำต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
จาก ‘รูป’ สู่ ‘มโนทัศน์ทางการเมือง’
พจนานุกรมฉบับมติชน นิยามคำว่า ‘เก้าอี้’ ด้วยน้ำเสียงเสียดสีว่า หมายถึง อาวุธหนักประเภทหนึ่งซึ่งมอบเป็นรางวัลแด่คนช่างฝันหรือใช้เป็นบทลงทัณฑ์สำหรับผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง นิยมใช้ฟาดขณะที่ร่างกายลอยอยู่บนอากาศและมีเชือกแขวนคอ โดยมากผู้ที่ใช้อาวุธหนักประเภทนี้มักมองผู้ที่ถูกใช้ไม่ใช่คน โดยเฉพาะไม่ใช่คนไทย
“ไอเดียเรื่องเก้าอี้เป็นภาพสะท้อนหนึ่งของความรุนแรงในสังคมไทย เก้าอี้ 6 ตุลา มันมายังไง ผมคิดว่ามันมาจากป็อป คัลเจอร์ ที่เราเห็นในชีวิตประจำวัน แล้วก็เป็นปรากฏการณ์ที่คนรู้สึกว่าน่าสนใจ เพราะมันอยู่ใกล้ตัวเรามาก แต่มันถูกหยิบมาใช้ในแง่ที่เป็นความหมายทางสังคม ในแง่หนึ่งมันติดใจในสังคมไทย มันปรากฏขึ้นมาในความหมายใหม่ อย่างน้อยที่สุดน่าจะหลัง 20 ปี 6 ตุลา” บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงทัศนะ และกล่าวถึงคำนิยามของพจนานุกรรมฉบับมติชนว่า
“เป็นคำอธิบายที่ผมคิดว่ารวบรัด ชัดเจนที่สุด เพราะฉะนั้นในความหมายหนึ่ง เก้าอี้ถูกใช้ในส่วนที่นอกเหนือจากการเป็นวัฒนธรรมสายตา (Visual Culture) แต่เก้าอี้ถูกใช้ในเชิงคอนเซ็ปต์ทางการเมืองด้วย ทำไมเก้าอี้ 6 ตุลา ถึงกลายจากภาพมาเป็นคำ แสดงว่าภาพถูกแปลความหมายให้เป็นคำ การเคลื่อนตัวจากป็อป คัลเจอร์ที่เราเห็น ก็คือความรุนแรงโหดร้ายว่า ถ้าไม่ใช่คนไทย ถ้าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นคนที่คนไทยไม่ชอบ เป็นคนที่คนไทยรังเกียจ ก็อาจจะถูกจับแขวนคอแล้วก็ฟาดด้วยเก้าอี้”
การที่ ‘เก้าอี้’ จาก 6 ตุลา แปรเปลี่ยนจาก Visual Culture หรือ Visual Politic กลายมาเป็นคำที่สะท้อนคอนเซ็ปต์หรือมโนทัศน์เกี่ยวกับความรุนแรงในสังคมไทยได้ นั่นย่อมแสดงว่าสังคมไทยมีความรับรู้ใหม่เกี่ยวกับ 6 ตุลา จากเดิมที่ 6 ตุลาเป็นความเคลือบแคลง คลุมเครือ ไม่กล้าพูด อย่างน้อย ‘เก้าอี้’ ก็ทำให้หลายต่อหลายคนรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะพูดถึง 6 ตุลา
“อย่างน้อยที่สุดในแง่ความหมายสุดท้ายที่เราพูดถึงว่า มันเป็นสิ่งที่ใช้กระทำกับคนที่เห็นต่างจากความเป็นไทยกระแสหลัก นี่คือการเคลื่อนตัวจากภาพมาเป็นคำ จากภาพมาเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม แต่คนเข้าใจร่วมกันได้”
*ขอซ่อนไว้นะครับเพราะอาจไม่เหมาะเท่าไหร่หากมีการเข้าใจผิด*[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยถูกรวบรัดให้เหลือในคำว่า ‘เก้าอี้’ คำเดียว การแพร่กระจายแนวคิดเรื่อง 6 ตุลา ก็เดินทางออกไปได้เร็วและไกลขึ้น แน่นอน เมื่อผนวกกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ใครๆ ต่างก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
“เมื่อเราเริ่มกล้าพูดถึงในพื้นที่สาธารณะ คนรุ่นที่ไม่ทัน 6 ตุลาก็คงสงสัยและโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลในยุคข่าวสารเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ทำให้คนร่วมสมัยหรือคนรุ่นใหม่เข้าถึงคลิปภาพที่ไม่เคยเห็นในสื่อสาธารณะทั่วไป นี่ก็เป็นช่องทางที่ทำให้คนกลับไปหาร่องรอยของ 6 ตุลาคม ในที่สุดภาพรับรู้และความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับ 6 ตุลาคมจึงถูกนิยามในความหมายใหม่ เพราะในบริบทใหม่ของสังคมการเมืองไทย หลัง 6 ตุลาคม เราคิดว่าคงไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงโดยรัฐ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาคม 2535
"ทำไมเก้าอี้ 6 ตุลา ถึงกลายจากภาพมาเป็นคำ แสดงว่าภาพถูกแปลความหมายให้เป็นคำ การเคลื่อนตัวจากป็อป คัลเจอร์ที่เราเห็น ก็คือความรุนแรงโหดร้ายว่า ถ้าไม่ใช่คนไทย ถ้าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นคนที่คนไทยไม่ชอบ เป็นคนที่คนไทยรังเกียจ ก็อาจจะถูกจับแขวนคอแล้วก็ฟาดด้วยเก้าอี้”
“หลังปี 2540 คนที่ไม่เคยเห็นคลิปก็คงได้เห็นคลิปมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การเมืองไทยที่ส่อเค้าความรุนแรงมากขึ้น ผมคิดว่าการพูดถึงเรื่องเก้าอี้น่าจะมาก่อนปี 2553 แล้ว เพียงแต่ว่าเป็นการพูดกันเล่นๆ ในหมู่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ในหมู่เว็บบอร์ด จนในที่สุดคำว่าเก้าอี้ มันกลายเป็นการรับรู้ทางการเมืองแบบหนึ่งว่า อ้อ เห็นต่างทางการเมือง เดี๋ยวโดนนะ ในความหมายนี้ 6 ตุลาก็มีความหมายใหม่ โดยเฉพาะตัวเก้าอี้ที่เปิดโอกาสให้คนปัจจุบันยึดโยงกับความรุนแรง 6 ตุลา เก้าอี้กลายเป็นสัญลักษณ์ความรุนแรงทางการเมือง กลายเป็นสัญลักษณ์ของการกระทำต่อคนที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างรุนแรง”
ยกตัวอย่างการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเว็บบอร์ดต่างๆ เมื่อปรากฏความเห็นที่เชื่อมโยงกับสถาบันการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่แตกต่างหรือเบี่ยงเบนไปจากความเห็นกระแสหลัก ก็อาจต้องเผชิญกับการโพสต์ว่า ‘เก้าอี้มั้ยสัส’
บัณฑิต อธิบายว่า ‘เก้าอี้’ ถูกแปลงจากมโนทัศน์เรื่องความรุนแรงที่กระทำต่อกันในเชิงกายภาพมาเป็นภาพสะท้อนความรุนแรง
“เก้าอี้มั้ยหรือเก้าอี้เฉยๆ ก็รู้แล้ว นี่คือการดำรงอยู่ของ 6 ตุลา ในป็อป คัลเจอร์ ทั้งที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม”
‘เก้าอี้’ ความรุนแรงที่รอวันปะทุ
‘เก้าอี้’ อาจทำหน้าที่เป็นไวรัล มาร์เก็ตติ้งของเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่อีกด้านของเหรียญ ‘เก้าอี้’ ก็ไปลดทอนความสลับซับซ้อนและความสำคัญของเหตุการณ์หรือไม่ บัณฑิตมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา
“เวลาเราพูดถึงกรณีปัญหาเรื่องป็อป คัลเจอร์กับการทำให้สาธารณ์ หรือการทำให้ความหมายดั้งเดิมมันหมดไปหรือหลุดจากบริบทเดิม มันเหมือนชักใบให้เรือเสีย แต่ว่าการทำให้สาธารณ์ ในอีกด้านหนึ่งมันทำให้สังคมรู้จักเรื่องราวเหล่านั้นมากขึ้น
“ทีนี้ รู้แล้ว เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ศึกษาทำความเข้าใจหรือเปล่า อันนี้ก็จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคนที่สนใจเรื่องนี้ คือเด็กรุ่นใหม่จำนวนมากเข้าใจ 6 ตุลาผ่านเก้าอี้ ผ่านมานีมีแชร์ มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ความหมายจะถูกพราก ถูกเปลี่ยน แต่ถึงมันจะถูกเปลี่ยนอย่างไร คำว่าเก้าอี้ก็ถูกใช้แทนความรุนแรงในสังคมไทยในความหมายใดความหมายหนึ่งอยู่เสมอ”
คำถามที่เก็บไว้สุดท้าย ทั้งที่ควรเป็นคำถามแรกคือ แล้วทำไมต้องเป็น ‘เก้าอี้’ ทั้งที่มีหลายภาพจากเหตุการณ์เดียวกันปรากฏออกสู่สังคม
“ผมว่าเพราะมันง่าย มันรวบยอด มันแทน มันเป็นสัญลักษณ์ มันคือการสรุปรวบยอดความรุนแรงให้เหลือเพียงภาพไม่กี่ภาพ แต่มันก็ทรงพลังมากๆ มันสื่อให้เห็นว่าความรุนแรงยังไม่จบสิ้นไปจากสังคมไทย วันไหนที่สังคมไทยไม่มีความรุนแรง เก้าอี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายไปเลย แต่วันไหนการใช้ความรุนแรงต่อคนที่เห็นต่างทางการเมืองมันก็กลับมา ผมว่าเก้าอี้มันยังมีชีวิตอยู่”
การมีชีวิตอยู่ของ ‘เก้าอี้’ ในสังคมไทย ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน คงไม่ใช่เป็นเพียงการยืนยันการมีอยู่ของ 6 ตุลา ไม่ใช่แค่เครื่องมือแพร่ระบาดความคิด-ความเชื่อของ 6 ตุลา ในเหลื่อมมุมที่น่าหวั่นวิตกกว่า การที่ ‘เก้าอี้’ ยังมีชีวิตอยู่ บัณฑิตชี้ให้เห็นว่าเพราะความรุนแรงยังไม่ได้หายไปจากสังคมไทย ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ มันอาจกำลังบอกว่า มันใกล้จุดที่คนในสังคมจะใช้ความรุนแรงต่อกัน ‘เก้าอี้’ จึงเกิดใหม่ มีความหมายใหม่ โดยยึดโยงกับ 6 ตุลา ยึดโยงกับความรุนแรงทางการเมืองต่อความเห็นที่แตกต่าง
“6 ตุลายังมีชีวิตอยู่ เพราะความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่ ความรุนแรงทางการเมืองยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง”
ลืมใส่เครดิต
Credit :
ลาก ‘เก้าอี้’ มานั่งคุย: ‘เก้าอี้มั้ยสัส’ จากรูปสู่คำ ความรุนแรงยังไม่จบ
http://prachatai.org/journal/2016/10/68170