JJNY : 44ปี'6 ตุลา' จัดกิจกรรม/อ.เข็มทองลั่น'รธน.60'คือผีแห่งวงการกม./พิชายเตือนหากส.ว./ปิยบุตรเปิดโครงการอ่านเปลี่ยนโลก

44 ปี '6 ตุลา' ธรรมศาสตร์ จับมือ ครช. จัดกิจกรรมแน่น 'เสวนา-เล่าตำนาน-นิทรรศการ-ละคร-ดนตรี'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2378997
 

 
44 ปี ‘6 ตุลา’ ธรรมศาสตร์ จับมือ ครช. จัดกิจกรรมแน่น ‘เสวนา-เล่าตำนาน-นิทรรศการ-ละคร-ดนตรี’
 
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดงาน ครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 19 ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคมนี้ โดยเวลา 09.50 น. ที่หอประชุมศรีบูรพา มีการเสวนาในหัวข้อ “หา(ย)” : อุดมการณ์- ความทรงจำ- รัฐธรรมนูญ มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง
 
จากนั้นเวลา 13.00 น. มีการฉายสารคดี “ตุลา ต่างความคิดผิดถึงตาย” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื้อหามีการนำภาพเหตุการณ์จริงในวันที่ 6 ตุลา 2519 มาฉาย และอธิบายถึงเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษา และประชาชนที่ ม.ธรรมศาสตร์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรคือเหตุผลสำคัญ ซึ่งในตอนท้ายของสารคดียังมีบทสัมภาษณ์ของ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราภิชานภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา และ รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าว อีกด้วย
 
เวลา 14.15 น. มีกิจกรรม เล่าประสบการณ์ประกอบการแสดง ของผู้หญิงในขบวนการภาคประชาชน ตั้งแต่ 6 ตุลา 19 ถึง 6 ตุลา 63 จำนวน 4 ชุด ในชื่อ “6 Oct For Her who disappeared แด่ผู้หญิงเหล่านั้นที่ไม่มีตัวตน” โดย กลุ่มผู้หญิงปลดแอก เนื้อหากล่าวถึงการต่อสู้ของผู้หญิงและกลุ่มแอลจีบีที หรือผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องการประชาธิปไตย และสิทธิบนเนื้อตัวร่างกาย ซึ่งมองว่าทั้งสองสิ่งนี้เป็นเรื่องเดียวกัน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณทางเข้าหอประชุมศรีบูรพา มีการออกบูธจำหน่ายหนังสือ เสื้อผ้า และของที่ระลึก จากหลายกลุ่มภาคประชาสังคม อาทิ บูธศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.), กลุ่มผู้หญิงปลดแอก นิทรรศการความก้าวหน้าของผู้หญิงไทย และกิจกรรมเขียนความในใจถึงเหตุการณ์ทางการเมือง ทั้งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ, เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 รัฐประหารปี 2549 จนถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยมีผู้เดินชมสินค้าและเลือกหนังสือไม่ขาดสาย
 
ขณะเดียวกัน ที่บริเวณโถงหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแสดงนิทรรศการ “6 ตุลา 19” ภายใต้ชื่อ “แขวน” จัดโดย โครงการจัดตั้งพิพิธกัณฑ์ 6 ตุลา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป แวะเวียนเข้าชมอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับ นิทรรศการแขวน บอกเล่าถึงการแขวนคอเหยื่อในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อการสืบค้น ข้อมูลความรุนแรงต่างๆ ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จากสมมุติฐานชั้นต้นว่ามีเหยื่อที่ถูก “แขวน” กี่คน ที่ไหน และชื่ออะไร จนได้ข้อสรุปว่ามีเหยื่อถูกแขวนถึง 5 คน จากผู้เสียชีวิต 46 คน ตามข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารชันสูตรพลิกศพ ซึ่งจากคำถามดังกล่าวนำไปสู่ข้อสงสัยต่อว่าทำไมคนไทยถึงโหดร้ายได้เพียงนี้ มีปัจจัยอะไรอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งคำถามต่อกระทำการในวันนั้น ทั้งมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว ทั้งผู้กระทำการและผู้อยู่เบื้องหลังว่าทำไม “อาชญากรรมรัฐ” จึงถูก “แขวน” ไว้บนที่สูงจนไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ โดยนิทรรศการแขวน จะจัดขึ้นถึงวันที่ 11 ตุลาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น.
 
เวลา 15.10 น. มีกิจกรรม บอกเล่า “ตำนาน 6 ตุลา 2519” โดยตัวแทนนักศึกษา และการ์ดผู้ชุมนุม จากเหตุการณ์ 4-6 ตุลาคม 2519 ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง
 
เวลา 16.10 น. มีกิจกรรม รายการศิลปวัฒนธรรม อาทิ การแสดง “THE MONUMENT” โดย BABY MIME SHOW
 
จากนั้น เวลา 16.30 น. มีการแสดง ดนตรีแร็พ โดย RAP AGAINST D_________SHIP (R.A.D) ที่โด่งดังจากเพลง ประเทศกูมี และอีกหลายบทเพลง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนเดินทางมาร่วมกิจกรรมตั้งแค่เช้าจรดค่ำ
 
สำหรับกิจกรรม ครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 19 จะจัดขึ้น ถึงวันที่ 6 ตุลาคมนี้ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 

 
'อ.เข็มทอง ลั่น 'รธน.60' คือผีแห่งวงการกฎหมาย - 6 ตุลาวนซ้ำได้ เหตุไทยมีวัฒนธรรม ลอยนวล-พ้นผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2378642
  
‘อ.เข็มทอง ลั่น ‘รธน.60’ คือผีแห่งวงการกฎหมาย – 6 ตุลาวนซ้ำได้ เหตุไทยมีวัฒนธรรม ‘ลอยนวล-พ้นผิด’
 
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดงานครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 19 โดยเวลา 09.50 น. มีการเสวนาในหัวข้อ “หา(ย)” : อุดมการณ์- ความทรงจำ- รัฐธรรมนูญ
 
เวลา 11.07 น. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย กล่าวว่า ตัวเองเป็นเหมือนนักเรียน ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่มาฟังการแลกเปลี่ยน เพราะการศึกษาไม่มีมีการเรียนการสอน เรื่อง 6 ตุลา รู้เพียงเล็กน้อย แม้เรียนรัฐศาสตร์ กลับไม่มีความทรงจำของ 6 ตุลา ดังนั้น จึงมองว่าธรรมเนียมการเล่าเรื่อง 6 ตุลา มีที่ ม.ธรรมศาสตร์ที่เดียว
 
“เราเรียนกฎหมายฉบับที่ใช้อยู่ ตอนเข้ามาเป็นนิสิต นิติศาสตร์ แรกๆ ได้หนังสือ 2 เล่ม คือ ภาษากฎหมายไทย และคู่มือนักศึกษากฎหมาย มีหลายเรื่อง ที่นิติศาสตร์ไม่รู้ เราข้ามไป ซึ่งฟังแล้วเขิน ที่เป็นนักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญมีที่น้อยมาก ถ้าสามเณรถนอมกลับมา เชื่อว่า ต้องมีอะไรให้นักกฎหมายมหาชนพูด เป็นเรื่องของคน และอุดมการณ์ อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่ออ่านรัฐธรรมนูญ ปี 17 พบว่า ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แย่ ค่อนข้างคล่องตัว มีลักษะก้าวหน้าขึ้นหลายอย่าง สถาบันการเมืองที่ง่าย เกิดขึ้นจริง แต่อยู่ได้แค่ 2 ปีก็ตายลงไป คือสิ่งที่กระทบใจนัก”
 
อาจารย์ ดร.เข็มทองกล่าวว่า 6 ตุลา เกิดการละเมิดกฎหมายชนิดใหม่ อุกอาจ กลางเมือง ท่ามกลางสายตาคนจำนวนมาก คือลักษณะพิเศษในรัฐที่ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
“ความรุนแรงเกิดได้จากรัฐ การฆ่าคน ก็ต้องมีความผิด 6 ตุลาจึงสำคัญตรงนี้ หากมีการลุกฮือของมวลชน ในการใช้ความรุนแรงกลางเมืองได้โดยไม่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ก็ต้องเป็นมวลชนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบางส่วนให้กระทำได้ ซึ่งหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แทบไม่ค่อยมีใครพูดด้วยความภูมิใจ ทุกคนเงียบหาย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาต่อมา ลึกสุด คือในระดับอุดมการณ์ที่ไม่หายไป อาจแผ่วลงบางช่วง แต่ปี 48-49 ก็กระพืออุดมการณ์แบบนี้ขึ้นมาได้”
 
6 ตุลาคือความขัดแย้งขั้นพื้นฐานมากๆ สรุปแล้ว เราฆ่าคนเพื่อรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองได้หรือไม่ เพราะมีคนสมาทานพร้อมฆ่าคนอีกฝ่ายโดยไม่ต้องรับผิดใดๆ รัฐธรรมนูญ 17 จึงอยู่ได้ไม่นาน โดนทหาร มวลชนกดดันขนาดนั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนรับมือวิกฤตขนาดนั้นได้ จึงต้องล้มไป คือกรณีศึกษาในการปลุกมวลชนขึ้นมาท้าทายรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา ก็ว่าได้”
 
อาจารย์ ดร.เข็มทอง กล่าวต่อว่า ปี 63 ก็เริ่มเห็นการปลุกมวลชน ไม่เพียงการเมืองระดับชาติ การจัดการภารกิจบางเรื่อง เช่น วัดพระธรรมกาย สื่อฝ่ายขวามีส่วน สภาพแบบนี้ อะไรที่เขียนในรัฐธรรมนูญไม่มีผล ใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการบางอย่างก็ว่าได้ จึงต้องทำลายรัฐธรรมนูญลงไป
 
รัฐธรรมนูญปี 60 จะเห็นการถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลาย เช่น เสรีภาพในการแสดงออก บางเรื่องพูดไม่ได้ ต้องปิดปาก รัฐธรรมนูญในแง่กฎหมายสูงสุดเกิดไม่ได้ เป็นได้ในแง่เครื่องมือ สุดท้ายมวลชนปีกขวา แผ่วไป และมีการปลุกใหม่ในปี 63
 
ที่น่าสนใจคือ ผู้นำอำนาจประชานิยม มีมวลชนขนาดใหญ่สนับสนุนอยู่ ในขณะที่อำนาจนิยมในไทย มวลชนนิดเดียว ใช้เพื่อยืนยันว่า ฝั่งประชาธิปไตยมีมวลชนเสียงข้างมาก ซึ่ง เขาก็พร้อมหยิบแสนกว่าชื่อได้เช่นกัน ทั้งหมดเพื่อท้าทายการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญ ทั้ง ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ การใช้มวลชน และอุดมการณ์ที่ไม่ลงรอย จึงต้องถามว่า ฝั่งไหนกันแน่ที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันง่อนแง่น รัฐธรรมนูญ ปี 60 จะเรียกว่าผี หรือฝันร้ายดี เพราะไม่ว่าจะจับปัญหาไหน น่าแปลกที่เดินวนไปที่ 6 ตุลาอยู่ดี เพราะประเทศเรามีวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ทหารไม่กลับเข้ากรมกอง
 
“ถ้าเรายังไม่สะสาง ชำระให้เข้าใจ โอกาสที่จะเดินไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงจะยาก เราจะเดินวนอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป็นผีที่หลอนวงการกฎหมายรัฐธรรมนูญ”  อาจารย์ ดร.เข็มทองกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่