การค้าทางทะเลของจีน ถือเป็นความผิดพลาดของใครครับ

กระทู้สนทนา
เห็นหลายๆกระทู้พูดถึงเรื่องการขาดทุนทางการค้าของจีนจากระบบการค้าแบบบรรณาการ

ซึ่งในณะที่ราชวงศ์หมิงมีพื้นที่กว้างขวางประชากรมากมาย ในขณะที่ซ้องใต้นั่นเล็กกว่าและต้องคอนส่งบรรณาการให้พวกฮวนทางเหนือตลอด แต่บันทึกกลับบรรยายการค้าและภาษีที่เก็บได้จากการค้าทางทะเลไว้ว่ามหาศาลและเมืองท่าทางใต้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรัฐกักเก็บสินค้าสำคัญไว้แต่ให้สิทธิเอกชนเดินเรือและจัดจำหน่ายภาษีภายใต้ภาษีตามกำหนด

ภายหลังจากการปกครองของมองโกลการค้าเหล่านี้เสื่อมโทรมลงจากพวกคนเถื่อน แต่ผมสงสัยว่าเมื่อชาวฮั่นกลับมาปกครองแล้วทำไมถึงได้ยกเลิกกับการค้าแบบเก่าแต่อาศัยรัฐเป็นคนควบคุมตลอด

เคยถกกับเพื่อนแล้วสงสัยกันอยู่ระหว่าง
1.จูหยวนจางเป็นคนเก่งข้มงวดแต่กรมาจาชาวนาและเคยเป็นขอทาน ทำให้จูหยวนจางมองมุมที่แคบเกินไปและมองการค้าพ่อค้าเป็นพวกปลิง เห็นได้จากการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำนาไว้ เช่นระดับภาษีจากชาวนาราวๆ1/50หรือ1/100 ในขณะที่การค้าถ้าจำไม่ผิดราวๆ1/30
2.พวกตงหลิน(จริงๆเหมาเอาพวกหยู) พวกนี้มาพร้อมกับความเจริญของหมิงที่อาศัยบุ๋นสะกดบู๊ตามแบบซ้อง ยกเลิกรูปแบบเก่าที่เน้นบู๊เคยทำให้เกิดเรื่องยุ่งๆมา แต่พวกนี้ก็มองพ่อค้าที่ช่วยกระจายสินค้าและรับประโยชน์จากราคา
3.การมีอำนาจของพวกท้องถิ่นที่ทำการค้าผิดกฏหมาย จนถึงขนาดตั้งกองเรือกันเป็นล่ำเป็นสัน แต่ตรงนี้ควรจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากด้านบนที่ละเลยการค้ามากกว่าจะบอกว่าเป็นต้นเหตุ
4.การขาดวิสัยทัศน์ของฮ่องเต้รัชการsลังจากหย่งเล่อ การส่งกองเดินเรือระดับยักษ์ของหย่งเล่อทำให้หลายประเทศมีทางเลือกแค่ยอมหรือตาย นำสินค้าและความรู้กลับมาสู่จีนเป็นอันมาก ประสบความสำเร็จและส่งออกไปได้อีกหลายครั้ง ในยุคหลังโครงการระดับนี้ถูกยกเลิกไปเพียงเพราะมองว่าต่อเรือเดินสมุทรขาดทุน ทั้งๆที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและแสดงอำนาจได้เป็นอย่งดี ทำให้นโยบายเรือปืนแบบจีนไม่สามารถทำได้เต็มที่ ตรงนี้เคยอ่านเกี่ยวกับการเดินทางของเจิ้งเหอที่ว่าใช้ระบบคล้ายๆจิ้มก้องแต่มีอำนาจต่อรองและเอาสิ่งของมีค่ากลับมาได้เยอะมาก

คนอื่นคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่