กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ชายหญิงคู่หนึ่งต่างชอบไปท่องเที่ยวเหมือนกัน มีความสุขและสนุกทุกครั้งที่วางแผนเที่ยวกัน ได้เดินทางและพบเจออะไรใหม่ ๆ ในตอนแรกก็ไปกันเป็นกลุ่มเพื่อน สักพักก็ไปกันแค่สองคน ต่อมาจึงคบเป็นแฟนกันและในที่สุดก็ตัดสินใจแต่งงาน พอวันหนึ่งเมื่อมีลูก ทั้งคู่ก็เลยไม่มีเวลาไปเที่ยวเหมือนแต่ก่อน ฝ่ายหญิงต้องเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ฝ่ายชายทำงานตามปกติ
แต่เมื่อมีเวลาอยู่บ้านด้วยกันทั้งสองกลับแทบไม่ได้คุยกัน ผู้หญิงนั่งดูละครห้องหนึ่ง ผู้ชายนั่งเล่นคอมอ่านข่าวไอทีอีกห้องหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างมีความสนใจไปคนละแบบก็เลยไม่รู้จะคุยอะไรกันดี เพราะที่ผ่านมาสิ่งที่สนใจร่วมกันมีเพียงอย่างเดียวก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับการไปเที่ยว เมื่อฝ่ายชายยังคงอยากเที่ยวอยู่ ก็เลยไปกับเพื่อนแทน ฝ่ายหญิงก็โกรธว่าทำไมไม่ช่วยดูแลลูกบ้าง
ดูเหมือนเรื่องลูกจะไม่ใช่ความชอบที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย แต่ทั้งคู่ไม่เคยรู้มาก่อน ฝ่ายหญิงบอกถ้าลูกโตกว่านี้จะย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่ถ้าถามว่าหย่ามั้ย ก็คงไม่ เพราะว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร นอกจากแค่อยู่ด้วยกันก็ไม่ต่างจากอยู่คนเดียวเท่านั้นเอง และเพราะว่ายังต้องแคร์ “ลูก” ต้องแคร์ “สังคม” ด้วยเหตุนี้ จากมุมมองของคนในสังคมก็ยังคงเห็นว่าสองคนนี้เป็นคู่รักกันอยู่เหมือนเดิม
…
เรื่องเล่านี้ทำให้เรานึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Lobster ซึ่งว่าด้วยเรื่อง ความโสด และการมีคู่
The Lobster (2015)
โสด เหงา เป็นล็อบสเตอร์
ผู้กำกับ: Yorgos Lanthimos
ผู้เขียนบท: Yorgos Lanthimos, Efthymis Filippou (as Efthimis Filippou)
นักแสดง: Colin Farrell, Rachel Weisz, Jessica Barden
Lobster เล่าเรื่องถึงสังคมแห่งหนึ่งที่บังคับให้ทุกคนต้องมีคู่ มีคนรัก จะเป็นหญิงชาย หรือเกย์ เลสเบี้ยนก็ได้ แต่ในหนังยกเว้นไบเซกชวล โดยให้เหตุผลว่าเพราะมันทำให้สังคมสับสน หากใครในสังคมไม่มีคู่เพราะเหตุใดก็ตาม เช่น พระเอกหย่ากะเมีย เหล่าคนโสดก็จะถูกจัดเข้าไปอยู่ในโรงแรมหนึ่ง แล้วจับคู่กันเองในโรงแรมนั้น ถ้าทำไม่ได้ภายใน 45 วันจะต้องกลายเป็นสัตว์ ซึ่งแล้วแต่จะเลือกว่าอยากจะเป็นอะไร กรณีของพระเอกคือ กุ้งล็อบสเตอร์ พระเอกก็ต้องหาทางพยายามไม่ให้ตัวเองจบชีวิตลงโดยกลายสัตว์ทะเลที่ตนเองเลือกไว้
ถามว่าชอบมั้ย เราว่าก็โอเคนะ หนังมันจะดำเนินเรื่องเนิบ ๆ แต่มีจิกกัดประเด็นต่าง ๆ ตลอดทางอยู่ไม่น้อย หนังค่อนข้างดาร์กและมองโลกแง่ร้ายพอสมควร เนื้อหาไม่ได้มีจุดพีคมากสำหรับเรา แต่ก็มีหลายประเด็นที่ให้กลับมาขบคิด เหมือนเป็นการเล่าเรื่องแบบ allegory ซะมาก คือเปรียบเปรยและเทียบเคียงสังคมในหนังคู่ไปกับสังคมในชีวิตจริงของเราตลอดทั้งเรื่อง และนำเสนอแบบสุดโต่งมาก ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การที่สังคมบีบบังคับให้ประชากรมีคู่ ใครที่เป็นโสดก็จะแปลก ในหนังคือถ้าหาคู่ไม่ได้ก็กลายเป็นสัตว์ ก็เหมือนกับตาย/ถูกขับออกจากสังคม นอกจากนั้นก็ยังจิกกัดเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับความรักในหลาย ๆ ประเด็นปลีกย่อย ไล่ไปตั้งแต่การพยายามมีคู่ครองในทุกทางเพื่อไม่ให้สังคมครหา การครองตัวเป็นโสดในสังคมคือพวกแปลกแยก กลายเป็นคนนอกกฎหมาย การเปรียบการเต้นรำกับการมีคู่ การไร้ซึ่งคู่รักก็เหมือนกับเรามีแขนข้างเดียว ถ้าอยากเป็นคนที่ “สมบูรณ์” ก็ต้องมีคนรัก หรือการแสดงโชว์ในหนังเพื่อบอกว่าในวัยชราหากอยู่คนเดียวก็อาจทำให้ถึงตายได้ (ก็เหมือนกับการที่มีคนมาบอกเราว่า ถ้าไม่แต่งงานมีลูกหลาน พอแก่ตัวไปใครจะดูแล) การมีลูกคือการทำให้ชีวิตรักเติมเต็มที่สุด และการหาคู่คือการมองหาคนที่เหมือนกันกับเรา หรือจิกกัดกระทั่งพวกที่ประกาศก้องว่าตัวเองไม่อยากมีคู่ ว่าแท้จริงแล้วก็อิจฉาพวกคนมีคู่อยู่ลึก ๆ ในด้านประเด็นสังคมเหล่านี้มีการเสียดสีให้เราขำอยู่เรื่อย ๆ ว่าเออคิดได้ไง แต่ส่วนที่เราชอบมากกว่าคือตรงที่หนังตั้งคำถามว่าคนเรารักกันด้วยเหตุผลกลใด
หนังแสดงให้เราเห็นว่าการหาคู่ หรือการมีความรักนั้น คือการมองหาคนที่เหมือนกันกับเรา โอเค บางแห่งอาจจะบอกว่าคนเรามักจะมองหาคนที่ตรงกันข้ามเพื่อมาเติมเต็ม (ซึ่งเราก็ว่าประเด็นนี้ก็น่าคิด แต่ในหนังไม่ได้พูดถึงแง่มุมนี้อย่างชัดแจ้งนัก เพราะงั้นเราจะขอข้ามไป) ประเด็น “ความเหมือน” นี้น่าสนใจ เพราะในทางจิตวิทยาบอกว่า ลึก ๆ แล้ว คนเรามักจะชอบตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้ามีใครเหมือนกันกับเรา เราก็จะมองว่าดี และความจริงก็คือคนเราเวลาชอบพอกัน รักกัน ก็ต้องเพราะว่ามีอะไรคล้ายกันบ้างล่ะ อาจจะมีความชอบกิจกรรมเหมือนกัน ความสนใจไปในทางเดียวกัน มีความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ตรงกัน แต่ในหนังจะสื่อออกมาแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนให้พอเห็นภาพ เช่น ขาเป๋เหมือนกัน หรือสายตาสั้นเหมือนกัน เป็นต้น
ในเรื่องก็มีจะมีผู้หญิงที่เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ ผู้ชายคนหนึ่งไปชอบเขาก็เลยแกล้งทำเป็นเลือดกำเดาไหลเพื่อผู้หญิงจะได้มารัก มันก็เป็นวิธีหนึ่งเหมือนโลกจริงของเราล่ะมั้ง กับการเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้อีกฝ่ายมารัก แต่ในนัยหนึ่งก็สื่อว่าอาจเป็นการรักตัวเองมากกว่าก็ได้ ถ้ามองแง่ดีอาจจะเรียกว่าการปรับตัวเข้าหากัน ถ้าทำได้ตลอดชีวิตก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หนังกลับแสดงให้เห็นว่าการไม่เป็นตัวของตัวเองจะทำได้ไม่นานนัก หรือหากฝืนมากเกินไปเดี๋ยวอีกฝ่ายก็รู้ว่าเราโกหกอยู่ดี (อย่างในกรณีพระเอกที่ต้องฝืนเป็นคนโหดเหี้ยมใจร้าย) และยังเล่าในมุมที่ว่า หากสิ่งที่เราคิดว่าคนรักเป็นแบบนั้นมาตลอดกลับกลายเป็นการโกหกหลอกลวง เราจะยังรับได้มั้ย (กรณีผู้หญิงเลือดกำเดาไหลที่รู้ความจริง)
หนังอาจจะบอกเราว่า ความรักที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่เราพบว่า เขาเป็นคนที่มี “อะไรบางอย่าง” เหมือนกันกับเรา แล้วมันก็เลยทำให้เราเกิดความสนใจ ชอบ ไปจนถึงขั้นรัก แล้วก็มาตั้งคำถามกับเราต่อว่า หากวันหนึ่งคุณสมบัติที่ว่านั้นไม่มีอยู่แล้วจะทำยังไงล่ะ อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าความรักที่แท้จริง เวลาคุณรักใครสักคน คนเรามักจะบอกว่า เรารักเพราะเขาเป็นเขา (โคตร cliché อ่ะ และก็กว้างมากด้วย) เอาจริง ๆ ถ้าให้สาธยาย มันก็ต้องเจาะจงถึงคุณสมบัติอยู่ดี นอกจากนิสัยเช่น เขาเป็นคนใจดี ฉลาด น่ารัก เป็นสุภาพบุรุษ เป็นแม่บ้านแม่เรือน อะไรแบบนี้แล้ว มันก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นความชอบร่วมกันด้วย เช่น รักสัตว์เหมือนกัน ชอบกินอาหารข้างทางเหมือนกัน ชอบร้องเพลงเหมือนกัน ชอบไปทะเลเหมือนกัน เป็นต้น
ทว่า หากวันนึงเขาไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว เขาไม่มีคุณสมบัติอะไรที่ว่ามาทั้งหมดนั้นอีกต่อไป เขาไม่ได้เป็นคนใจดีอีกแล้ว (เพราะโดนกระทำมาเยอะจนเปลี่ยนไป) ไม่ได้ชอบกินอาหารข้างทางแล้ว (เพราะว่ามีเงินกินของแพงแล้วเลยเลิก) เราจะยังรักเขาอยู่หรือเปล่า? เพราะความเป็นจริงคนเราเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เวลาเปลี่ยนคนก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะด้วยตัวตนของเขาเองหรือเหตุการณ์แวดล้อมบังคับ เช่นเรื่องเล่าสมมุติข้างต้นที่สถานการณ์บีบให้ฝ่ายหญิงต้องเลิกไปท่องเที่ยว คนเราอาจจะรักคนที่แตกต่างกับเราได้ แต่เวลาดำเนินชีวิตไปด้วยกันจริง ๆ ถ้าไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ไม่ว่าจะความสนใจหรือความชอบ มันจะไปรอดมั้ย? เราจะทำได้นานเท่าไหร่? อย่างพระเอกสุดท้ายก็ต้องมาถามหาสิ่งที่มี “ร่วมกัน” ระหว่างเขากับนางเอกอยู่ดี หรือถ้าเราจะต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้รักกับเขาต่อไปได้ เราจะยอมไหม? แล้วถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนตัวเองแบบนั้น มันจะเรียกว่าไม่รักหรือเปล่า? หรือถ้าเราจะยังคงสถานภาพว่าเป็นคู่รักกันต่อไป แกล้งทำเป็นว่ารักอีกฝ่ายเพราะต้องการการยอมรับในสังคมทั้งที่หมดรักกันแล้ว มันก็คือการรักตัวเองฝ่ายเดียวอยู่ดีใช่ไหม?
หนังมันก็ตลกร้ายไม่ใช่น้อย คู่พระเอกและนางเอกที่ตอนแรกเหมือนจะทำให้เรารู้สึกว่าคู่นี้เขารักกันจริง ไม่เหมือนคู่อื่นที่ฉาบฉวย เสแสร้ง และหลอกลวงกัน คู่นี้คือรักแท้สิ เรารักกันเพราะตัวตนที่แท้จริงของอีกฝ่ายนะ เราพยายามปรับตัวเข้าหากันนะ และจะยอมเสียสละให้กันและกันได้เสมอ แต่สุดท้ายแล้วหนังก็นำเสนอว่า มันก็ไม่ได้แตกต่างจากคู่รักคู่อื่นนักหรอก ไม่ได้ดีไปกว่าหรือแย่ไปกว่ากัน ซึ่งก็คงคล้ายๆ กับคนส่วนใหญ่ที่มักคิดเข้าข้างตัวเองโดยมองว่าความรักของคู่ตัวเองนั้นพิเศษกว่าคนอื่น ๆ เสมอ
จนกระทั่งตอนจบนั้น หนังก็ยังคงทิ้งคำถามสำคัญให้เราข้องใจอยู่ดีว่า…
การที่คนเรามีคู่นั้น มันเป็นเพราะเรารักเขา หรือเพราะเรารักตัวเองกันแน่ ?
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2016/09/14/the-lobster-2015/
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt3464902/
[Review] The Lobster เหตุใดคนเราถึง (อยาก) มีคู่ ?
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ชายหญิงคู่หนึ่งต่างชอบไปท่องเที่ยวเหมือนกัน มีความสุขและสนุกทุกครั้งที่วางแผนเที่ยวกัน ได้เดินทางและพบเจออะไรใหม่ ๆ ในตอนแรกก็ไปกันเป็นกลุ่มเพื่อน สักพักก็ไปกันแค่สองคน ต่อมาจึงคบเป็นแฟนกันและในที่สุดก็ตัดสินใจแต่งงาน พอวันหนึ่งเมื่อมีลูก ทั้งคู่ก็เลยไม่มีเวลาไปเที่ยวเหมือนแต่ก่อน ฝ่ายหญิงต้องเลี้ยงลูกอยู่บ้าน ฝ่ายชายทำงานตามปกติ
แต่เมื่อมีเวลาอยู่บ้านด้วยกันทั้งสองกลับแทบไม่ได้คุยกัน ผู้หญิงนั่งดูละครห้องหนึ่ง ผู้ชายนั่งเล่นคอมอ่านข่าวไอทีอีกห้องหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างมีความสนใจไปคนละแบบก็เลยไม่รู้จะคุยอะไรกันดี เพราะที่ผ่านมาสิ่งที่สนใจร่วมกันมีเพียงอย่างเดียวก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับการไปเที่ยว เมื่อฝ่ายชายยังคงอยากเที่ยวอยู่ ก็เลยไปกับเพื่อนแทน ฝ่ายหญิงก็โกรธว่าทำไมไม่ช่วยดูแลลูกบ้าง
ดูเหมือนเรื่องลูกจะไม่ใช่ความชอบที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย แต่ทั้งคู่ไม่เคยรู้มาก่อน ฝ่ายหญิงบอกถ้าลูกโตกว่านี้จะย้ายไปอยู่ที่อื่น แต่ถ้าถามว่าหย่ามั้ย ก็คงไม่ เพราะว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร นอกจากแค่อยู่ด้วยกันก็ไม่ต่างจากอยู่คนเดียวเท่านั้นเอง และเพราะว่ายังต้องแคร์ “ลูก” ต้องแคร์ “สังคม” ด้วยเหตุนี้ จากมุมมองของคนในสังคมก็ยังคงเห็นว่าสองคนนี้เป็นคู่รักกันอยู่เหมือนเดิม
…
เรื่องเล่านี้ทำให้เรานึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Lobster ซึ่งว่าด้วยเรื่อง ความโสด และการมีคู่
The Lobster (2015)
โสด เหงา เป็นล็อบสเตอร์
ผู้กำกับ: Yorgos Lanthimos
ผู้เขียนบท: Yorgos Lanthimos, Efthymis Filippou (as Efthimis Filippou)
นักแสดง: Colin Farrell, Rachel Weisz, Jessica Barden
Lobster เล่าเรื่องถึงสังคมแห่งหนึ่งที่บังคับให้ทุกคนต้องมีคู่ มีคนรัก จะเป็นหญิงชาย หรือเกย์ เลสเบี้ยนก็ได้ แต่ในหนังยกเว้นไบเซกชวล โดยให้เหตุผลว่าเพราะมันทำให้สังคมสับสน หากใครในสังคมไม่มีคู่เพราะเหตุใดก็ตาม เช่น พระเอกหย่ากะเมีย เหล่าคนโสดก็จะถูกจัดเข้าไปอยู่ในโรงแรมหนึ่ง แล้วจับคู่กันเองในโรงแรมนั้น ถ้าทำไม่ได้ภายใน 45 วันจะต้องกลายเป็นสัตว์ ซึ่งแล้วแต่จะเลือกว่าอยากจะเป็นอะไร กรณีของพระเอกคือ กุ้งล็อบสเตอร์ พระเอกก็ต้องหาทางพยายามไม่ให้ตัวเองจบชีวิตลงโดยกลายสัตว์ทะเลที่ตนเองเลือกไว้
ถามว่าชอบมั้ย เราว่าก็โอเคนะ หนังมันจะดำเนินเรื่องเนิบ ๆ แต่มีจิกกัดประเด็นต่าง ๆ ตลอดทางอยู่ไม่น้อย หนังค่อนข้างดาร์กและมองโลกแง่ร้ายพอสมควร เนื้อหาไม่ได้มีจุดพีคมากสำหรับเรา แต่ก็มีหลายประเด็นที่ให้กลับมาขบคิด เหมือนเป็นการเล่าเรื่องแบบ allegory ซะมาก คือเปรียบเปรยและเทียบเคียงสังคมในหนังคู่ไปกับสังคมในชีวิตจริงของเราตลอดทั้งเรื่อง และนำเสนอแบบสุดโต่งมาก ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การที่สังคมบีบบังคับให้ประชากรมีคู่ ใครที่เป็นโสดก็จะแปลก ในหนังคือถ้าหาคู่ไม่ได้ก็กลายเป็นสัตว์ ก็เหมือนกับตาย/ถูกขับออกจากสังคม นอกจากนั้นก็ยังจิกกัดเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับความรักในหลาย ๆ ประเด็นปลีกย่อย ไล่ไปตั้งแต่การพยายามมีคู่ครองในทุกทางเพื่อไม่ให้สังคมครหา การครองตัวเป็นโสดในสังคมคือพวกแปลกแยก กลายเป็นคนนอกกฎหมาย การเปรียบการเต้นรำกับการมีคู่ การไร้ซึ่งคู่รักก็เหมือนกับเรามีแขนข้างเดียว ถ้าอยากเป็นคนที่ “สมบูรณ์” ก็ต้องมีคนรัก หรือการแสดงโชว์ในหนังเพื่อบอกว่าในวัยชราหากอยู่คนเดียวก็อาจทำให้ถึงตายได้ (ก็เหมือนกับการที่มีคนมาบอกเราว่า ถ้าไม่แต่งงานมีลูกหลาน พอแก่ตัวไปใครจะดูแล) การมีลูกคือการทำให้ชีวิตรักเติมเต็มที่สุด และการหาคู่คือการมองหาคนที่เหมือนกันกับเรา หรือจิกกัดกระทั่งพวกที่ประกาศก้องว่าตัวเองไม่อยากมีคู่ ว่าแท้จริงแล้วก็อิจฉาพวกคนมีคู่อยู่ลึก ๆ ในด้านประเด็นสังคมเหล่านี้มีการเสียดสีให้เราขำอยู่เรื่อย ๆ ว่าเออคิดได้ไง แต่ส่วนที่เราชอบมากกว่าคือตรงที่หนังตั้งคำถามว่าคนเรารักกันด้วยเหตุผลกลใด
หนังแสดงให้เราเห็นว่าการหาคู่ หรือการมีความรักนั้น คือการมองหาคนที่เหมือนกันกับเรา โอเค บางแห่งอาจจะบอกว่าคนเรามักจะมองหาคนที่ตรงกันข้ามเพื่อมาเติมเต็ม (ซึ่งเราก็ว่าประเด็นนี้ก็น่าคิด แต่ในหนังไม่ได้พูดถึงแง่มุมนี้อย่างชัดแจ้งนัก เพราะงั้นเราจะขอข้ามไป) ประเด็น “ความเหมือน” นี้น่าสนใจ เพราะในทางจิตวิทยาบอกว่า ลึก ๆ แล้ว คนเรามักจะชอบตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้ามีใครเหมือนกันกับเรา เราก็จะมองว่าดี และความจริงก็คือคนเราเวลาชอบพอกัน รักกัน ก็ต้องเพราะว่ามีอะไรคล้ายกันบ้างล่ะ อาจจะมีความชอบกิจกรรมเหมือนกัน ความสนใจไปในทางเดียวกัน มีความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ตรงกัน แต่ในหนังจะสื่อออกมาแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนให้พอเห็นภาพ เช่น ขาเป๋เหมือนกัน หรือสายตาสั้นเหมือนกัน เป็นต้น
ในเรื่องก็มีจะมีผู้หญิงที่เลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ ผู้ชายคนหนึ่งไปชอบเขาก็เลยแกล้งทำเป็นเลือดกำเดาไหลเพื่อผู้หญิงจะได้มารัก มันก็เป็นวิธีหนึ่งเหมือนโลกจริงของเราล่ะมั้ง กับการเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้อีกฝ่ายมารัก แต่ในนัยหนึ่งก็สื่อว่าอาจเป็นการรักตัวเองมากกว่าก็ได้ ถ้ามองแง่ดีอาจจะเรียกว่าการปรับตัวเข้าหากัน ถ้าทำได้ตลอดชีวิตก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หนังกลับแสดงให้เห็นว่าการไม่เป็นตัวของตัวเองจะทำได้ไม่นานนัก หรือหากฝืนมากเกินไปเดี๋ยวอีกฝ่ายก็รู้ว่าเราโกหกอยู่ดี (อย่างในกรณีพระเอกที่ต้องฝืนเป็นคนโหดเหี้ยมใจร้าย) และยังเล่าในมุมที่ว่า หากสิ่งที่เราคิดว่าคนรักเป็นแบบนั้นมาตลอดกลับกลายเป็นการโกหกหลอกลวง เราจะยังรับได้มั้ย (กรณีผู้หญิงเลือดกำเดาไหลที่รู้ความจริง)
หนังอาจจะบอกเราว่า ความรักที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่เราพบว่า เขาเป็นคนที่มี “อะไรบางอย่าง” เหมือนกันกับเรา แล้วมันก็เลยทำให้เราเกิดความสนใจ ชอบ ไปจนถึงขั้นรัก แล้วก็มาตั้งคำถามกับเราต่อว่า หากวันหนึ่งคุณสมบัติที่ว่านั้นไม่มีอยู่แล้วจะทำยังไงล่ะ อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าความรักที่แท้จริง เวลาคุณรักใครสักคน คนเรามักจะบอกว่า เรารักเพราะเขาเป็นเขา (โคตร cliché อ่ะ และก็กว้างมากด้วย) เอาจริง ๆ ถ้าให้สาธยาย มันก็ต้องเจาะจงถึงคุณสมบัติอยู่ดี นอกจากนิสัยเช่น เขาเป็นคนใจดี ฉลาด น่ารัก เป็นสุภาพบุรุษ เป็นแม่บ้านแม่เรือน อะไรแบบนี้แล้ว มันก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นความชอบร่วมกันด้วย เช่น รักสัตว์เหมือนกัน ชอบกินอาหารข้างทางเหมือนกัน ชอบร้องเพลงเหมือนกัน ชอบไปทะเลเหมือนกัน เป็นต้น
ทว่า หากวันนึงเขาไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว เขาไม่มีคุณสมบัติอะไรที่ว่ามาทั้งหมดนั้นอีกต่อไป เขาไม่ได้เป็นคนใจดีอีกแล้ว (เพราะโดนกระทำมาเยอะจนเปลี่ยนไป) ไม่ได้ชอบกินอาหารข้างทางแล้ว (เพราะว่ามีเงินกินของแพงแล้วเลยเลิก) เราจะยังรักเขาอยู่หรือเปล่า? เพราะความเป็นจริงคนเราเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เวลาเปลี่ยนคนก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะด้วยตัวตนของเขาเองหรือเหตุการณ์แวดล้อมบังคับ เช่นเรื่องเล่าสมมุติข้างต้นที่สถานการณ์บีบให้ฝ่ายหญิงต้องเลิกไปท่องเที่ยว คนเราอาจจะรักคนที่แตกต่างกับเราได้ แต่เวลาดำเนินชีวิตไปด้วยกันจริง ๆ ถ้าไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ไม่ว่าจะความสนใจหรือความชอบ มันจะไปรอดมั้ย? เราจะทำได้นานเท่าไหร่? อย่างพระเอกสุดท้ายก็ต้องมาถามหาสิ่งที่มี “ร่วมกัน” ระหว่างเขากับนางเอกอยู่ดี หรือถ้าเราจะต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้รักกับเขาต่อไปได้ เราจะยอมไหม? แล้วถ้าเราไม่อยากเปลี่ยนตัวเองแบบนั้น มันจะเรียกว่าไม่รักหรือเปล่า? หรือถ้าเราจะยังคงสถานภาพว่าเป็นคู่รักกันต่อไป แกล้งทำเป็นว่ารักอีกฝ่ายเพราะต้องการการยอมรับในสังคมทั้งที่หมดรักกันแล้ว มันก็คือการรักตัวเองฝ่ายเดียวอยู่ดีใช่ไหม?
หนังมันก็ตลกร้ายไม่ใช่น้อย คู่พระเอกและนางเอกที่ตอนแรกเหมือนจะทำให้เรารู้สึกว่าคู่นี้เขารักกันจริง ไม่เหมือนคู่อื่นที่ฉาบฉวย เสแสร้ง และหลอกลวงกัน คู่นี้คือรักแท้สิ เรารักกันเพราะตัวตนที่แท้จริงของอีกฝ่ายนะ เราพยายามปรับตัวเข้าหากันนะ และจะยอมเสียสละให้กันและกันได้เสมอ แต่สุดท้ายแล้วหนังก็นำเสนอว่า มันก็ไม่ได้แตกต่างจากคู่รักคู่อื่นนักหรอก ไม่ได้ดีไปกว่าหรือแย่ไปกว่ากัน ซึ่งก็คงคล้ายๆ กับคนส่วนใหญ่ที่มักคิดเข้าข้างตัวเองโดยมองว่าความรักของคู่ตัวเองนั้นพิเศษกว่าคนอื่น ๆ เสมอ
จนกระทั่งตอนจบนั้น หนังก็ยังคงทิ้งคำถามสำคัญให้เราข้องใจอยู่ดีว่า…
การที่คนเรามีคู่นั้น มันเป็นเพราะเรารักเขา หรือเพราะเรารักตัวเองกันแน่ ?
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2016/09/14/the-lobster-2015/
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt3464902/