09.00 INDEX : เส้นทาง การเมือง ประชาธิปัตย์ ท่าทีต่อ นายกรัฐมนตรี “คนนอก”....มติชนออนไลน์../sao..เหลือ..noi
แผนลึกอันเหมือนกับ“หวยล็อก” เรื่องนายกรัฐมนตรี “คนนอก”อันเป็น “ยุทธศาสตร์”ของคสช.
ทำให้ไม่เพียงแต่ “พรรคเพื่อไทย” คิดหนัก
หากแน่นอนและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับว่า “พรรคประชาธิปัตย์” ก็ต้องคิดหนัก
ระหว่าง 2 พรรคนี้คิด”ต่างกัน”
เพราะพรรคเพื่อไทยรับรู้อย่างต่อเนื่องว่า “เป้าหมาย”ในการทำลายล้างคือ “พรรคเพื่อไทย”
ไม่ว่ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
ไม่ว่ารัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ก็ยังดำรงจุดมุ่งหมาย ไม่แปรเปลี่ยน
พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย
ทางเลือกของ “พรรคเพื่อไทย” จึงเหลืออยู่ไม่มากนัก นี่ย่อมตรงกันข้ามกับ “พรรคประชาธิปัตย์”
ยังมี”ทางเลือก”หลายทางสำหรับ”พรรคประชาธิปัตย์”
ทางเลือก 1 คือ เดินไปบนเส้นทางเดียวกันกับ “กปปส.” คือกลาย เป็นส่วนหนึ่งของ “คสช.”
เหมือนกับทางสายนี้ “ไม่ยาก”
ไม่ยากเพราะว่าบรรดาแกนนำ “กปปส.” ล้วนยังแนบแน่นอยู่กับ “พรรคประชาธิปัตย์”
ไม่ว่า นายถาวร เสนเนียม ไม่ว่า นายวิทยา แก้วภราดัย
หากเมื่อใดพรรคประชาธิปัตย์เห็นชอบด้วยกับแนวทางนี้ของ “กปปส.” ทุกอย่างก็โอเค
นั่นก็คือ มีโอกาสเข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับ “คสช.”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงมิได้เป็น”นายกรัฐมนตรี” แต่ก็จะน่าจะได้ตำแหน่งใหญ่ ตำแหน่งสำคัญ
ถามว่าแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โอเคหรือไม่
ณ วันนี้ ยังไม่มีคำตอบจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าในฐานะ หัวหน้าพรรค ไม่ว่าในฐานะส่วนตัว
แต่หากดูจาก “แนวทาง”ของ “พรรคประชาธิปัตย์”
การเห็นชอบกับรัฐประหารไม่ว่าเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
“พรรคประชาธิปัตย์” ก็เหนื่อยอย่างยิ่งอยู่แล้ว
เห็นได้จาก ความหงุดหงิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ
เป็นความหงุดหงิดที่”สวนทาง” กับ”กปปส.”
กระนั้น อิทธิพลของ “กปปส.” ในพรรคประชาธิปัตย์ ณ วันนี้ก็ยังหนาแน่น แข็งแกร่ง
จะไปร่วมกับ”คสช.”ก็”ลำบาก”
จะไปร่วมกับ “พรรคเพื่อไทย” ก็ยิ่งเหน็ดเหนื่อยอย่างแสนสาหัส
แลไปข้างหน้าก็ไม่มีความหวัง แลข้างหลังก็ไม่มีความภูมิใจ
09.00 INDEX : เส้นทาง การเมือง ประชาธิปัตย์ ท่าทีต่อ นายกรัฐมนตรี “คนนอก”....มติชนออนไลน์../sao..เหลือ..noi
ทำให้ไม่เพียงแต่ “พรรคเพื่อไทย” คิดหนัก
หากแน่นอนและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับว่า “พรรคประชาธิปัตย์” ก็ต้องคิดหนัก
ระหว่าง 2 พรรคนี้คิด”ต่างกัน”
เพราะพรรคเพื่อไทยรับรู้อย่างต่อเนื่องว่า “เป้าหมาย”ในการทำลายล้างคือ “พรรคเพื่อไทย”
ไม่ว่ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
ไม่ว่ารัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ก็ยังดำรงจุดมุ่งหมาย ไม่แปรเปลี่ยน
พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย
ทางเลือกของ “พรรคเพื่อไทย” จึงเหลืออยู่ไม่มากนัก นี่ย่อมตรงกันข้ามกับ “พรรคประชาธิปัตย์”
ยังมี”ทางเลือก”หลายทางสำหรับ”พรรคประชาธิปัตย์”
ทางเลือก 1 คือ เดินไปบนเส้นทางเดียวกันกับ “กปปส.” คือกลาย เป็นส่วนหนึ่งของ “คสช.”
เหมือนกับทางสายนี้ “ไม่ยาก”
ไม่ยากเพราะว่าบรรดาแกนนำ “กปปส.” ล้วนยังแนบแน่นอยู่กับ “พรรคประชาธิปัตย์”
ไม่ว่า นายถาวร เสนเนียม ไม่ว่า นายวิทยา แก้วภราดัย
หากเมื่อใดพรรคประชาธิปัตย์เห็นชอบด้วยกับแนวทางนี้ของ “กปปส.” ทุกอย่างก็โอเค
นั่นก็คือ มีโอกาสเข้าร่วมเป็นรัฐบาลกับ “คสช.”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงมิได้เป็น”นายกรัฐมนตรี” แต่ก็จะน่าจะได้ตำแหน่งใหญ่ ตำแหน่งสำคัญ
ถามว่าแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โอเคหรือไม่
ณ วันนี้ ยังไม่มีคำตอบจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าในฐานะ หัวหน้าพรรค ไม่ว่าในฐานะส่วนตัว
แต่หากดูจาก “แนวทาง”ของ “พรรคประชาธิปัตย์”
การเห็นชอบกับรัฐประหารไม่ว่าเมื่อเดือนกันยายน 2549 ไม่ว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557
“พรรคประชาธิปัตย์” ก็เหนื่อยอย่างยิ่งอยู่แล้ว
เห็นได้จาก ความหงุดหงิดของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ
เป็นความหงุดหงิดที่”สวนทาง” กับ”กปปส.”
กระนั้น อิทธิพลของ “กปปส.” ในพรรคประชาธิปัตย์ ณ วันนี้ก็ยังหนาแน่น แข็งแกร่ง
จะไปร่วมกับ”คสช.”ก็”ลำบาก”
จะไปร่วมกับ “พรรคเพื่อไทย” ก็ยิ่งเหน็ดเหนื่อยอย่างแสนสาหัส
แลไปข้างหน้าก็ไม่มีความหวัง แลข้างหลังก็ไม่มีความภูมิใจ