(ก่อนที่ทุกๆท่านจะอ่านต่อไปขอให้เข้าใจตรงกันก่อนนะครับว่า จุดประสงค์ของกระทู้นี้ไม่ใช่การแก้ตัวให้กับการกระทำของตัวละครนะครับ แต่เป็นการบอกถึงบทบาทของ “เควส พารายา” ในฐานะตัวละครตัวหนึ่งที่มีหน้าที่ในการดำเนินเรื่องเท่านั้น)
สวัสดีครับผมเหล่าสมาชิกพันทิปทุกๆท่าน
ถ้าเราพูดกันถึงตัวละครที่น่ารำคาญและถูกเกลียดมากที่สุดในกันดั้มทุกๆภาคเท่าที่เคยสร้างมา มักจะมีชื่อนึงที่ติดโผอยู่เสมอ นั่นก็คือชื่อของยัยเด็กสุดติ่งที่มัดผมสองข้างไม่เท่ากัน “เควส พารายา” นั่นเอง
(เครดิตภาพจาก กันดั้มวิเกีย)
โดยเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เกลียดเธอนั้นมีตั้งแต่ ไม่ชอบบทบาทของเธอในเรื่อง ไม่ชอบคาแร็คเตอร์ดีไซน์ ไม่ชอบเสียงพากย์ ไปจนถึงการบอกว่าไม่ชอบเพราะ “เธอเป็นตัวละครที่เขียนบทขึ้นได้ไม่ดี”เลยทีเดียว ซึ่งเหตุผลแรกๆมันคือ “รสนิยมส่วนบุคคล” ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถโต้แย้งได้ด้วยหลักวิชาการใดๆก็ตาม (เพราะเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลนั่นเอง) แต่ถ้าจะบอกว่าเควสเป็น “ตัวละครที่เขียนบทขึ้นได้ไม่ดี” แล้วล่ะก็ ผมคงต้องขอค้านอย่างสุดๆเลยล่ะครับ เพราะถ้าว่ากันในแง่ของการเขียนบทตัวละครในภาพยนตร์แล้วเควสเป็นตัวละครที่แทบจะเรียกได้เลยว่า “เขียนขึ้นมาได้ดีพอสมควร” โดยเหตุผลหลักๆที่ทำให้เธอเป็นตัวละครตามที่ผมกล่าวไปข้างต้นจะมีอยู่สองข้อ ดังนี้ครับ
(ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าผมจะพูดถึงในแง่ของ “การเขียนบท” เท่านั้น ไม่ขอพูดถึงเรื่องการให้ความบันเทิง หรือ การสร้างตัวละครให้ดึงดูดนะครับ)
ข้อแรก.ตัวละคร “เควส พารายา” มีเหตุผลรองรับการกระทำทุกอย่างในเรื่อง
ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะภาพยนตร์ จะมีหลักพื้นฐานสำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เขียนบทต้องคำนึงถึงเสมอในการเขียนตัวละครที่ดีครับ นั่นคือ “ในการเขียนตัวละครที่ดีนั้น ผู้เขียนต้องคำนึงถึง ภูมิหลัง ลักษณะนิสัย ความต้องการ ที่เป็นแรงจูงใจและต้นเหตุของการกระทำนั้นๆของแต่ละตัวละครที่ถูกเขียนขึ้นมาเป็นสำคัญด้วย” พูดให้สั้นๆก็คือ “ตัวละครที่ถูกเขียนขึ้นมาต้องมีที่มาที่ไปของการกระทำนั่นเอง” (สิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในหลักที่พวกนักวิจารณ์ใช้ชี้ว่าตัวละครตัวไหนดีหรือไม่ดีเช่นกันนะครับ)
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่าตัวละครอย่าง “เควส พารายา” เนี่ยมีที่มาที่ไปของการกระทำที่ทำให้ตัวละครตัวนี้กลายเป็น “ติ่ง” ที่เราสุดแสนจะรำคาญกันรึเปล่า?
ในภาพยนตร์ช่วงแรกๆได้ทำการแสดงให้ผู้ชมเห็นแล้วว่า ครอบครัวของเควสเป็นครอบครัวของนักการเมืองที่อยู่บนสังคมชั้นสูง มีเงิน มีอำนาจ (ขนาดที่ว่าสามารถสั่งการหนึ่งในหน่วยพิเศษของสหพันธ์ได้เลยทีเดียว)
แต่อีกด้านนึงภาพยนตร์ก็นำเสนออีกเช่นกันว่า ครอบครัวของเควสก็ไม่ใช่ครอบครัวที่มีความอบอุ่นหรือเป็น “ครอบครัวที่ดีนัก” ผ่านทางฉากต่างๆในช่วงแรกของภาพยนตร์ (อาทิเช่น ฉากที่เควสกัดมือแม่เลี้ยง หรือฉากที่พ่อของเควสมัวแต่สนใจในอำนาจชั่วคราวที่สหพันธ์มอบให้จนไม่ได้สนใจเลยว่าลูกสาวตัวเองหนีไปแล้ว)
แต่ส่วนตัวแล้วฉากที่ผมมองว่ามันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเควสกับคนในครอบครัวได้ดีที่สุดก็คงไม่พ้น
“ฉากที่เควสกับพ่อกำลังโดยสารอยู่ในการะสวยอวกาศเพื่อลี้ภัยจากฟิฟต์ลูน่าที่กำลังตกมาที่โลก” นั่นเอง
โดยในฉากนี้กระสวยอวกาศดังกล่าวได้เจอกับอุบัติเหตุจนเสียการทรงตัวไปชั่วขณะนึง แต่ในตอนนั้นแทนที่พ่อของเควสจะทำหน้าที่พ่อที่ดีในการช่วยเหลือลูกสาว เขากลับมัวแต่ก้มหัวด้วยความกลัวว่าตัวเองจะตาย โดยไม่ไยดีความปลอดภัยของลูกสาวเลย
“พระเจ้าช่วยลูกด้วย” (พูดโดยไม่สนลูกตัวเองเลยซักนิด)
(ฉากที่ผมกล่าวถึงไปด้านบนนี่เป็นแค่หนึ่งในฉากที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวของผู้เป็นพ่อของเควสเท่านั้นนะครับ แต่เท่านี้คนดูอย่างเราๆก็คงจะสรุปกันได้แล้วว่าคนๆนี้ “เห็นแก่ตัวมาก”แค่ไหน)
ทีนี้ผมอยากให้ทุกๆท่านลองแทนตัวเองในมุมมองของเควสดูนะครับว่า ถ้าเราเป็นเด็กอายุไม่ถึง15 ปี ที่ต้องเติบโตมากับครอบครัวที่มีแต่เงินทอง แต่ไม่มีความใส่ใจดูแลกันและกัน และหัวหน้าครอบครัวอย่างผู้เป็นพ่อเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างนี้ เราจะกลายมาเป็นเด็กที่ “โหยหาความรัก ความดูแลเอาใจใส่ และความเข้าใจ” เหมือนกับเควสรึเปล่า?
“ถ้าไม่มีนิวไทป์ล่ะก็ครอบครัวที่แยกกันอยู่บนโลกกับในอวกาศจะสูญเสียสายสัมพันธ์ของครอบครัวไปนะ”
“เหรอ แม่ของชั้นน่ะอยู่บนอวกาศ ส่วนชั้นน่ะอยู่กับครอบครัวที่โลกล่ะ”
และสิ่งที่ผมบอกไปด้านบนนี่แหละครับคือที่มาของนิสัย และแนวคิดของเควสที่ปรากฎออกมา ซึ่งจะเป็นที่มาของเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องดังเช่น
เหตุการณ์ที่เควสสนใจในตัวของอามุโร่จนถึงเหตุการณ์ที่เธอไปเข้ากับชาร์
อธิบายเหตุการณ์นี้สั้นๆก็คือ เควสที่พลัง “นิวไทป์” เพิ่งตื่นได้รับรู้ถึงความอบอุ่นแบบที่จะเกิดขึ้นเมื่อนิวไทป์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้มีการใกล้ชิดกันจากตัวของอามุโร่ เธอจึงรีบตัดสินทันทีว่านี่คือ “ความรัก” ทำให้เมื่อเธอได้พบกับเชน(ที่เป็นบุคคลที่อามุโร่รักจริงๆ) เธอจึงรู้สึกราวกับว่ากับว่าตัวเองถูกทรยศ (ไอ้เจ้าความอบอุ่นที่ผมกล่าวถึงเนี่ยมีการแสดงให้เห็นหลายครั้งแล้วนะครับในกันดั้มภาคที่ผ่านๆมาไม่ว่าจะเป็น จุดเริ่มต้นของคู่คัตสึกับซาร่า หรือ ความรู้สึกที่ฮามานมีกับจูโด้)
“ชั้นน่ะสนใจในตัวของอามุโร่ เพราะเขาเป็นนิวไทป์เป็นคนที่สามารถทำความเข้าใจกันได้แม้ว่าจะอยู่หางไกล แต่ทำไมคุณ(เชน)ถึงต้องเข้ามาขวางด้วย!!”
แต่หลังจากนั้นเมื่อเควสได้เจอกับชาร์ ชาร์ก็เลยอาศัยความอบอุ่นนี้มาประกอบกับการพูดในสิ่งที่เขารู้ว่าเควสต้องการจะฟัง(ทั้งเรื่องของนิวไทป์ และเรื่องของความรัก) จนเควสเองตกหลุมเชื่อซะเต็มเปาเลยว่าชาร์นี่แหละคือคนที่รัก และเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง
แต่จริงๆแล้วชาร์ก็ไม่ได้รักอะไรเธอหรอกครับสิ่งที่เขาทำนั้น ถ้าว่ากันซื่อๆเลยก็คือการ "หลอกใช้ความใว้ใจ และความหวาดกลัวของเธอเท่านั้น” (ขยายความคือ "ชาร์โยนเธอลงไปในสนามรบ ให้เธอต้องเจอกับกระแสความคิดของทหารมากมายจนเธอหวาดกลัวและต้องการที่พึ่ง และเมื่อชาร์ทำตัวเป็นที่พึ่งให้เธอ เควสก็จะยิ่งถลำลึกในตัวชาร์เข้าไปอีก”)
“เด็กดี...”
สุดท้ายแล้วเมื่อเควสต้องเจอกับความคิดจำนวนมากของคนในสนามรบ (ทั้งความคิดของคนที่กำลังฆ่ากัน คนที่เธอฆ่า และคนที่กำลังจะตาย) จิตใจของเธอก็รับไม่ไหวจนเกิดเหตุการณ์ตามภาพข้างล่างนี้นั่นเอง
“ระ...รู้สึกอย่างกับว่าตัวเองจะระเบิดเลย!”
(เหตุการณพวกนี้เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ดีที่สุดเลยครับว่าเควสเป็นคนที่โหยหาความรัก และต้องการมันมากขนาดไหน แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เราเห็นเหมือนกันว่าเควสไม่รู้จัก “ความรัก” เลย (เนื่องจากตั้งแต่เกิดมาเควสแทบไม่เคยได้รับสิ่งๆนี้จากคนในครอบครัวบนโลกเลย))
สรุปแล้ว เราก็คงบอกได้ล่ะนะครับว่าเควสเนี่ยเป็น “ติ่งท่านชาร์ขนานแท้” (จากการที่เธอยึดติดกับชาร์มากเกินไป กับการที่เธอชอบใช้อารมณ์เหวี่ยงใส่คนรอบข้างโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล) แต่ถึงแบบนั้นเราก็บอกไม่ได้หรอกนะครับว่าเควสเป็น “ตัวละครที่เขียนบทได้ไม่มีที่มาที่ไป” เพราะว่าที่มาที่ไปของเควสถูกก็อธิบายออกมาในหนังจนเรียบร้อยหมดเปลือกแล้ว (การยึดติดกับชาร์ เกิดจากความโหยหาในความรัก ประกอบกับความสับสนระหว่างความรักกับ สายสัมพันธ์ของนิวไทป์ ส่วนการชอบใช้อารมณ์ เป็นผลมาจากความโดดเดี่ยวในวัยเด็ก)
*ต่อเหตุผลที่สองในคห.1 นะครับ
(วิเคราะห์กันดั้ม) เควส พารายา กับบทบาทและหน้าที่ของเธอใน Mobile Suit Gundam Char’s Counterattack
สวัสดีครับผมเหล่าสมาชิกพันทิปทุกๆท่าน
ถ้าเราพูดกันถึงตัวละครที่น่ารำคาญและถูกเกลียดมากที่สุดในกันดั้มทุกๆภาคเท่าที่เคยสร้างมา มักจะมีชื่อนึงที่ติดโผอยู่เสมอ นั่นก็คือชื่อของยัยเด็กสุดติ่งที่มัดผมสองข้างไม่เท่ากัน “เควส พารายา” นั่นเอง
(เครดิตภาพจาก กันดั้มวิเกีย)
โดยเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เกลียดเธอนั้นมีตั้งแต่ ไม่ชอบบทบาทของเธอในเรื่อง ไม่ชอบคาแร็คเตอร์ดีไซน์ ไม่ชอบเสียงพากย์ ไปจนถึงการบอกว่าไม่ชอบเพราะ “เธอเป็นตัวละครที่เขียนบทขึ้นได้ไม่ดี”เลยทีเดียว ซึ่งเหตุผลแรกๆมันคือ “รสนิยมส่วนบุคคล” ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถโต้แย้งได้ด้วยหลักวิชาการใดๆก็ตาม (เพราะเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลนั่นเอง) แต่ถ้าจะบอกว่าเควสเป็น “ตัวละครที่เขียนบทขึ้นได้ไม่ดี” แล้วล่ะก็ ผมคงต้องขอค้านอย่างสุดๆเลยล่ะครับ เพราะถ้าว่ากันในแง่ของการเขียนบทตัวละครในภาพยนตร์แล้วเควสเป็นตัวละครที่แทบจะเรียกได้เลยว่า “เขียนขึ้นมาได้ดีพอสมควร” โดยเหตุผลหลักๆที่ทำให้เธอเป็นตัวละครตามที่ผมกล่าวไปข้างต้นจะมีอยู่สองข้อ ดังนี้ครับ
(ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าผมจะพูดถึงในแง่ของ “การเขียนบท” เท่านั้น ไม่ขอพูดถึงเรื่องการให้ความบันเทิง หรือ การสร้างตัวละครให้ดึงดูดนะครับ)
ข้อแรก.ตัวละคร “เควส พารายา” มีเหตุผลรองรับการกระทำทุกอย่างในเรื่อง
ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะภาพยนตร์ จะมีหลักพื้นฐานสำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เขียนบทต้องคำนึงถึงเสมอในการเขียนตัวละครที่ดีครับ นั่นคือ “ในการเขียนตัวละครที่ดีนั้น ผู้เขียนต้องคำนึงถึง ภูมิหลัง ลักษณะนิสัย ความต้องการ ที่เป็นแรงจูงใจและต้นเหตุของการกระทำนั้นๆของแต่ละตัวละครที่ถูกเขียนขึ้นมาเป็นสำคัญด้วย” พูดให้สั้นๆก็คือ “ตัวละครที่ถูกเขียนขึ้นมาต้องมีที่มาที่ไปของการกระทำนั่นเอง” (สิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในหลักที่พวกนักวิจารณ์ใช้ชี้ว่าตัวละครตัวไหนดีหรือไม่ดีเช่นกันนะครับ)
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่าตัวละครอย่าง “เควส พารายา” เนี่ยมีที่มาที่ไปของการกระทำที่ทำให้ตัวละครตัวนี้กลายเป็น “ติ่ง” ที่เราสุดแสนจะรำคาญกันรึเปล่า?
(เครดิตภาพจากกระทู้ http://topicstock.ppantip.com/chalermthai/topicstock/2010/01/A8722660/A8722660.html)
แต่อีกด้านนึงภาพยนตร์ก็นำเสนออีกเช่นกันว่า ครอบครัวของเควสก็ไม่ใช่ครอบครัวที่มีความอบอุ่นหรือเป็น “ครอบครัวที่ดีนัก” ผ่านทางฉากต่างๆในช่วงแรกของภาพยนตร์ (อาทิเช่น ฉากที่เควสกัดมือแม่เลี้ยง หรือฉากที่พ่อของเควสมัวแต่สนใจในอำนาจชั่วคราวที่สหพันธ์มอบให้จนไม่ได้สนใจเลยว่าลูกสาวตัวเองหนีไปแล้ว)
แต่ส่วนตัวแล้วฉากที่ผมมองว่ามันแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเควสกับคนในครอบครัวได้ดีที่สุดก็คงไม่พ้น
“ฉากที่เควสกับพ่อกำลังโดยสารอยู่ในการะสวยอวกาศเพื่อลี้ภัยจากฟิฟต์ลูน่าที่กำลังตกมาที่โลก” นั่นเอง
โดยในฉากนี้กระสวยอวกาศดังกล่าวได้เจอกับอุบัติเหตุจนเสียการทรงตัวไปชั่วขณะนึง แต่ในตอนนั้นแทนที่พ่อของเควสจะทำหน้าที่พ่อที่ดีในการช่วยเหลือลูกสาว เขากลับมัวแต่ก้มหัวด้วยความกลัวว่าตัวเองจะตาย โดยไม่ไยดีความปลอดภัยของลูกสาวเลย
“พระเจ้าช่วยลูกด้วย” (พูดโดยไม่สนลูกตัวเองเลยซักนิด)
ทีนี้ผมอยากให้ทุกๆท่านลองแทนตัวเองในมุมมองของเควสดูนะครับว่า ถ้าเราเป็นเด็กอายุไม่ถึง15 ปี ที่ต้องเติบโตมากับครอบครัวที่มีแต่เงินทอง แต่ไม่มีความใส่ใจดูแลกันและกัน และหัวหน้าครอบครัวอย่างผู้เป็นพ่อเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างนี้ เราจะกลายมาเป็นเด็กที่ “โหยหาความรัก ความดูแลเอาใจใส่ และความเข้าใจ” เหมือนกับเควสรึเปล่า?
“ถ้าไม่มีนิวไทป์ล่ะก็ครอบครัวที่แยกกันอยู่บนโลกกับในอวกาศจะสูญเสียสายสัมพันธ์ของครอบครัวไปนะ”
“เหรอ แม่ของชั้นน่ะอยู่บนอวกาศ ส่วนชั้นน่ะอยู่กับครอบครัวที่โลกล่ะ”
และสิ่งที่ผมบอกไปด้านบนนี่แหละครับคือที่มาของนิสัย และแนวคิดของเควสที่ปรากฎออกมา ซึ่งจะเป็นที่มาของเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องดังเช่น
เหตุการณ์ที่เควสสนใจในตัวของอามุโร่จนถึงเหตุการณ์ที่เธอไปเข้ากับชาร์
อธิบายเหตุการณ์นี้สั้นๆก็คือ เควสที่พลัง “นิวไทป์” เพิ่งตื่นได้รับรู้ถึงความอบอุ่นแบบที่จะเกิดขึ้นเมื่อนิวไทป์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้มีการใกล้ชิดกันจากตัวของอามุโร่ เธอจึงรีบตัดสินทันทีว่านี่คือ “ความรัก” ทำให้เมื่อเธอได้พบกับเชน(ที่เป็นบุคคลที่อามุโร่รักจริงๆ) เธอจึงรู้สึกราวกับว่ากับว่าตัวเองถูกทรยศ (ไอ้เจ้าความอบอุ่นที่ผมกล่าวถึงเนี่ยมีการแสดงให้เห็นหลายครั้งแล้วนะครับในกันดั้มภาคที่ผ่านๆมาไม่ว่าจะเป็น จุดเริ่มต้นของคู่คัตสึกับซาร่า หรือ ความรู้สึกที่ฮามานมีกับจูโด้)
“ชั้นน่ะสนใจในตัวของอามุโร่ เพราะเขาเป็นนิวไทป์เป็นคนที่สามารถทำความเข้าใจกันได้แม้ว่าจะอยู่หางไกล แต่ทำไมคุณ(เชน)ถึงต้องเข้ามาขวางด้วย!!”
แต่จริงๆแล้วชาร์ก็ไม่ได้รักอะไรเธอหรอกครับสิ่งที่เขาทำนั้น ถ้าว่ากันซื่อๆเลยก็คือการ "หลอกใช้ความใว้ใจ และความหวาดกลัวของเธอเท่านั้น” (ขยายความคือ "ชาร์โยนเธอลงไปในสนามรบ ให้เธอต้องเจอกับกระแสความคิดของทหารมากมายจนเธอหวาดกลัวและต้องการที่พึ่ง และเมื่อชาร์ทำตัวเป็นที่พึ่งให้เธอ เควสก็จะยิ่งถลำลึกในตัวชาร์เข้าไปอีก”)
“เด็กดี...”
“ระ...รู้สึกอย่างกับว่าตัวเองจะระเบิดเลย!”
สรุปแล้ว เราก็คงบอกได้ล่ะนะครับว่าเควสเนี่ยเป็น “ติ่งท่านชาร์ขนานแท้” (จากการที่เธอยึดติดกับชาร์มากเกินไป กับการที่เธอชอบใช้อารมณ์เหวี่ยงใส่คนรอบข้างโดยไม่คำนึงถึงเหตุผล) แต่ถึงแบบนั้นเราก็บอกไม่ได้หรอกนะครับว่าเควสเป็น “ตัวละครที่เขียนบทได้ไม่มีที่มาที่ไป” เพราะว่าที่มาที่ไปของเควสถูกก็อธิบายออกมาในหนังจนเรียบร้อยหมดเปลือกแล้ว (การยึดติดกับชาร์ เกิดจากความโหยหาในความรัก ประกอบกับความสับสนระหว่างความรักกับ สายสัมพันธ์ของนิวไทป์ ส่วนการชอบใช้อารมณ์ เป็นผลมาจากความโดดเดี่ยวในวัยเด็ก)