สติสูตร
[๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอันประณีต
ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
จักแสดงฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เธอจักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจว่าจิตมีราคะจักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ
หรือจิตยังไม่หลุดพ้นจักรู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
(ต่อมาทรงตรัสถึง ภิกษุมีสมาธิ ฯลฯ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จะเข้าถึงธรรมต่างๆที่ตรัสไว้ข้างบนว่าเป็นฐานะที่จะมีได้)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีสมาธิอันสงบ มีสมาธิอันประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ
มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
จักแสดงฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
จักใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
จักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจว่า จิตมีราคะก็จักรู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ
หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็จักรู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้
จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
จาก เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๙๖๑ - ๙๙๙๑. หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=9961&Z=9991&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=321
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=341
พึงเจริญสติให้รู้ชัดซึ่งวิมุติอันหาอาสวะมิได้กันต่อไป
สติสูตร แต่ตรัสถึงสมาธิ
[๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอันประณีต
ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
จักแสดงฤทธิ์ได้หลายๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เธอจักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจว่าจิตมีราคะจักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ
หรือจิตยังไม่หลุดพ้นจักรู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
(ต่อมาทรงตรัสถึง ภิกษุมีสมาธิ ฯลฯ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จะเข้าถึงธรรมต่างๆที่ตรัสไว้ข้างบนว่าเป็นฐานะที่จะมีได้)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จาก เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๙๖๑ - ๙๙๙๑. หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=9961&Z=9991&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=321
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=341
พึงเจริญสติให้รู้ชัดซึ่งวิมุติอันหาอาสวะมิได้กันต่อไป