จากกรณีของละคร "นางอาย"
ที่ผลิตออกมาเป็นยุคปัจจุบัน แทนที่จะเป็นพีเรียดตามบทประพันธ์
นั่นทำให้ผมนึกถึงละครในตำนาน
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ทั้งในด้านการดำเนินเรื่อง รูปแบบ รวมถึงเคยเผชิญปัญหาแบบนี้เหมือนกัน
นั่นคือ "้น้ำใสใจจริง"
น้ำใสใจจริง เป็นบทประพันธ์ของ ว.วินิจฉัยกุล (คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์)
ที่เขียนมาจากประสบการณ์ชีวิตจริง ในการบรรจุเป็นอาจารย์ที่ ม.ศิลปากร ทับแก้ว (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม)
ตามประวัติกล่าวว่า ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้ขยายวิทยาเขต ม.ศิลปากร จากวังท่าพระ ไปที่พระราชวังสนามจันทร์
ใช้บริเวณพระราชวังของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาเขตนี้ เมื่อ พ.ศ.2512
คุณหญิงวินิตาได้บรรจุเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกที่นั่น
เหตุการณ์ตามนวนิยาย น้ำใสใจจริง จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 2510 กว่าๆ
ตอนนั้น มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ยังไม่ค่อยมี โดยเฉพาะจังหวัดปริมณฑล
การใช้ชีวิตของนักศึกษา จึงเป็นไปอย่างลำบาก โดยเฉพาะรุ่นบุกเบิก
เมื่อช่อง 7 นำเรื่องนี้มาสร้างใน พ.ศ.2537
นำแสดงโดยนักแสดงวัยรุ่นยอดนิยม คือ ศรราม เทพพิทักษ์ แคทรียา อิงลิช สมชาย เข็มกลัด นัท มีเรีย
ละครเรื่องนี้โด่งดังมาก ได้รับเสียงชื่นชมทั้งความสนุกสนาน และความผูกพันระหว่างเพื่อนฝูง แม้ในปัจจุบัน
ที่สำคัญก็คือ สร้างเป็นละครแนวพีเรียด (เวอร์ชั่นละครเวทีดรีมบ็อกซ์ก็เป็นพีเรียดเช่นกัน)
มาถึง พ.ศ.2543 ช่อง 3 ได้ทำละครเรื่องนี้มาทำใหม่ โดยค่ายบรอดคาซท์
นำแสดงโดย อ้น สราวุฒิ ศรีริต้า เจนเซ่น อัษฎา พานิชกุล (ที่เล่นเป็นนิโคไลในรักเร่) แพรว คณิตกุล (เพิ่งรู้นะว่านางเคยเล่นละครด้วย)
ดูรูปก่อน
เดาออกเลยใช่ไหม ว่าใช่แนวพีเรียดหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ เวอร์ชั่นหลังจึงสู้สมัยช่อง 7 ไม่ได้
ตอนนั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์คงหนัก เท่าๆ กับนางอายตอนนี้
ถ้าจำไม่ผิด ว.วินิจฉัยกุล ถึงกับออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ด้วย
เอาจริงนะครับ
ขึ้นชื่อว่า "ละครรีเมค" หลีกไม่พ้นหรอกคำว่า "เปรียบเทียบ"
แต่นั่นยังไม่เลวร้ายเท่าไหร่
หากผู้สร้าง เคารพในบทประพันธ์ และตีความได้ถูกต้องตามตัวอักษร
หรือถ้าตีความใหม่ก็ให้มีเหตุผลเพียงพอมารองรับ
แต่ต้องไม่ถึงกับตีตราบาปให้บทประพันธ์ หรือเปลี่ยนเค้าโครงให้ไปผิดทิศผิดทาง
แต่หากผู้สร้าง ตีความบทประพันธ์ได้ไม่ดีพอ
โดยเฉพาะบริบทสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกมาจาก "วรรณกรรม" ได้
แล้วผลิตออกมา แบบสุกเอาเผากิน
อยากจะดัดแปลงปรับเปลี่ยน ก็สักแต่ทำๆ พอเป็นชิ้นเป็นอัน
ผลออกมาจะเป็นอย่างไร...ก็เห็นๆ กันอยู่
จาก "น้ำใสใจจริง" ถึง "นางอาย" : บทเรียนละครไทยแนวรักวัยรุ่นที่ควรตระหนักถึงคำว่า "พีเรียด"
ที่ผลิตออกมาเป็นยุคปัจจุบัน แทนที่จะเป็นพีเรียดตามบทประพันธ์
นั่นทำให้ผมนึกถึงละครในตำนาน
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ทั้งในด้านการดำเนินเรื่อง รูปแบบ รวมถึงเคยเผชิญปัญหาแบบนี้เหมือนกัน
นั่นคือ "้น้ำใสใจจริง"
น้ำใสใจจริง เป็นบทประพันธ์ของ ว.วินิจฉัยกุล (คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์)
ที่เขียนมาจากประสบการณ์ชีวิตจริง ในการบรรจุเป็นอาจารย์ที่ ม.ศิลปากร ทับแก้ว (วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม)
ตามประวัติกล่าวว่า ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้ขยายวิทยาเขต ม.ศิลปากร จากวังท่าพระ ไปที่พระราชวังสนามจันทร์
ใช้บริเวณพระราชวังของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาเขตนี้ เมื่อ พ.ศ.2512
คุณหญิงวินิตาได้บรรจุเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกที่นั่น
เหตุการณ์ตามนวนิยาย น้ำใสใจจริง จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 2510 กว่าๆ
ตอนนั้น มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัด ยังไม่ค่อยมี โดยเฉพาะจังหวัดปริมณฑล
การใช้ชีวิตของนักศึกษา จึงเป็นไปอย่างลำบาก โดยเฉพาะรุ่นบุกเบิก
เมื่อช่อง 7 นำเรื่องนี้มาสร้างใน พ.ศ.2537
นำแสดงโดยนักแสดงวัยรุ่นยอดนิยม คือ ศรราม เทพพิทักษ์ แคทรียา อิงลิช สมชาย เข็มกลัด นัท มีเรีย
ละครเรื่องนี้โด่งดังมาก ได้รับเสียงชื่นชมทั้งความสนุกสนาน และความผูกพันระหว่างเพื่อนฝูง แม้ในปัจจุบัน
ที่สำคัญก็คือ สร้างเป็นละครแนวพีเรียด (เวอร์ชั่นละครเวทีดรีมบ็อกซ์ก็เป็นพีเรียดเช่นกัน)
มาถึง พ.ศ.2543 ช่อง 3 ได้ทำละครเรื่องนี้มาทำใหม่ โดยค่ายบรอดคาซท์
นำแสดงโดย อ้น สราวุฒิ ศรีริต้า เจนเซ่น อัษฎา พานิชกุล (ที่เล่นเป็นนิโคไลในรักเร่) แพรว คณิตกุล (เพิ่งรู้นะว่านางเคยเล่นละครด้วย)
ดูรูปก่อน
เดาออกเลยใช่ไหม ว่าใช่แนวพีเรียดหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ เวอร์ชั่นหลังจึงสู้สมัยช่อง 7 ไม่ได้
ตอนนั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์คงหนัก เท่าๆ กับนางอายตอนนี้
ถ้าจำไม่ผิด ว.วินิจฉัยกุล ถึงกับออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ด้วย
เอาจริงนะครับ
ขึ้นชื่อว่า "ละครรีเมค" หลีกไม่พ้นหรอกคำว่า "เปรียบเทียบ"
แต่นั่นยังไม่เลวร้ายเท่าไหร่
หากผู้สร้าง เคารพในบทประพันธ์ และตีความได้ถูกต้องตามตัวอักษร
หรือถ้าตีความใหม่ก็ให้มีเหตุผลเพียงพอมารองรับ
แต่ต้องไม่ถึงกับตีตราบาปให้บทประพันธ์ หรือเปลี่ยนเค้าโครงให้ไปผิดทิศผิดทาง
แต่หากผู้สร้าง ตีความบทประพันธ์ได้ไม่ดีพอ
โดยเฉพาะบริบทสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกมาจาก "วรรณกรรม" ได้
แล้วผลิตออกมา แบบสุกเอาเผากิน
อยากจะดัดแปลงปรับเปลี่ยน ก็สักแต่ทำๆ พอเป็นชิ้นเป็นอัน
ผลออกมาจะเป็นอย่างไร...ก็เห็นๆ กันอยู่